Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การรับเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี - Coggle Diagram
บทที่ 5
การรับเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
การรับเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
การที่องค์กรจะตามทันความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้นองค์กรจะต้องจัดหาเทคโนโลยีที่ต้องการและนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ได้
วิธีการได้มาซึ่งเทคโนโลยี
การจ้างผู้อื่นทำการวิจัยและพัฒนา
การใช้ใบอนุญาต (licensing)
การร่วมทุนกับบริษัทอื่น
การซื้อเทคโนโลยี
การใช้ผลงานวิจัยจากภายในบริษัท
การแพร่ของเทคโนโลยี
ความซับซ้อน (Complexity)
การเข้ากันได้กับสิ่งที่มีอยู่เดิม
(Compability)
การทดลองได้ (Trialability)
คุณประโยชน์ในเชิงเปรียบเทียบ (Relative advantage)
การสังเกตได้ (Observability)
วงจรชีวิตของการรับเทคโนโลยี
Everett Rogers(1995)ได้นำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการแพร่ของเทคโนโลยีว่าเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะของคนหรือองค์กรต่างๆ ในการรับเทคโนโลยีโดย สามารถแบ่งคนเป็นกลุ่มต่างๆ ที่จะรับเทคโนโลยีด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันซึ่งจะทำการแบ่งกลุ่มคนหรือองค์กรออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มนักนวัตกรรม (in-novators)
เป็นกลุ่มผู้บุกเบิกรุ่นแรกที่นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มนักนวัตกรรมเป็นผู้ที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีมากและคอยติดตามความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีใหม่ๆ
2 กลุ่มผู้รับเทคโนโลยีช่วงต้น (early adopters)
เป็นกลุ่มผู้มีวิสัยทัศน์ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในช่วงต้นๆเนื่องจากตระหนักถึงคุณค่าของเทคโนโลยีนั้นจัดเป็นพวกชนกลุ่มน้อย
3 กลุ่มชนส่วนใหญ่ช่วงต้น (early majority)
กลุ่มนี้มีจำนวนมากเป็นกลุ่มที่ต้องการเห็นผลจริงในทางปฏิบัติกลุ่มนี้มักต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นกลุ่มที่มีความเข้าใจในเทคโนโลยีพอสมควร
5 กลุ่มชนล้าหลัง (laggards)
เป็นกลุ่มที่ไม่ชอบเทคโนโลยีและเป็นนักอนุรักษ์นิยมตัวจริงกลุ่มชนนี้จะนำเทคโนโลยีไปใช้จะต้องมีประโยชน์ต่อการดำรงชีพหรือถูกกดดันจากสังคมเท่านั้นจึงจะยอมใช้เทคโนโลยี หรือ อาจใช้ เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้
4 กลุ่มชนส่วนใหญ่ช่วงหลัง (late majority)
กลุ่มนี้มีจำนวนมากเท่ากับกลุ่มที่สามจัดเป็นพวกอนุรักษ์นิยมมากกว่ากลุ่มที่สาม หรือมีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีน้อยกว่านั้นเองเป็นกลุ่มที่นำเทคโนโลยีมาใช้ค่อนข้างช้าเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี
หุบเหวแห่งนวัตกรรม (Chasm)
ทฤษฎีหุบเหวแห่งนวัตกรรมซึ่งจะเห็นว่ามีช่องว่างระหว่างกลุ่มผู้รับเทคโนโลยีช่วงต้นกับกลุ่มชนส่วนใหญ่ช่วงต้นช่องว่างนี้เรียกว่าหุบเหวแห่งนวัตกรรมช่องว่างนี้แทนความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างลักษณะของชน 2 กลุ่ม
เปรียบเสมือนกับดักที่ทำให้นวัตกรรมไม่ประสบความสำเร็จการก้าวข้ามจากกลุ่มผู้รับเทคโนโลยีช่วงต้นไปยังกลุ่มชนส่วนใหญ่ช่วงต้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากกลุ่มผู้รับเทคโนโลยีช่วงต้นมักมีความเป็นอิสระสูงและถูกกระตุ้นโดยโอกาสใหม่ๆดังนั้นจึงมองเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว
ความสัมพันธ์ระหว่างการแพร่ของเทคโนโลยี การสื่อสาร และช่องทางการสื่อสาร
การยอมรับเทคโนโลยีว่าจะเป็นไปอย่างรวดเร็วหรือไม่นั้นการสื่อสารเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมจะมีช่องทางการสื่อสาร 2 ชนิดคือการสื่อสารแบบปากต่อปากและการใช้สื่อสาธารณะ