Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asian Literature, จัดทำโดย…
วรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Southeast Asian Literature
ตัวอย่าง วรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่าสนใจ
ประเทศลาว
ดวงแก้ว, ควายโดยสาร,ไปตามจดหมาย,พลิกแผ่นดิน ปลิ้นแผ่นฟ้า, กระดูกอเมริกัน, ความบิดเบี้ยวของบางสิ่งบางอย่าง
ประเทศอินโดนีเซีย
เรือนไม้สัก, ชีวิตสั้น ๆ อันเป็นสุขของนายโจนัต, นักชาตินิยมอันดับหนึ่ง, สินค้าของซาบู, ม้าบินของมาเรียปินโต,นางฟ้าเร่ร่อน
ประเทศกัมพูชา
4 ปีนรกในเขมร, หนีไฟนรก, ช้อนหักคันเดียว, ฉันคือใคร, ราชินีเนินขยะ
ประเทศเวียดนาม
คิมฟุก บาดแผลจากสงคราม, จี๊แผ่ว, ท่ามกลางแสงจันทร์, บันทึกของ ดั่ง ถุ่ยเจิ่ม
ประเทศพม่า
จนกว่าจะถึงวันแห่งเอกราช, น้ำมัน, ของฝากจากเมืองกรุง,
ประเทศฟิลิปปินส์
แผ่นดินดาบา-ดาบา, แผ่นดินขบถ, คนกับหมา, หญิงสองสะดือ
ประเทศมาเลเซีย
ชำระ, โต๊ะกลมกับน้ำหอม
ประเทศสิงคโปร์
ประตู, นักข่าว, วรรณกรรมกลุ่มนักเขียนสตรีนิยม
ประเทศบรูไนดารุสซาราม
อภัยโทษ
ภาพรวมของวรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การศึกษาวรรณกรรมอาเซียนพบว่า มีลักษณะร่วมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมในแง่ รูปแบบ กลวิธีการนำเสนอ เนื้อหา และแนวคิด นอกจากนี้ยังมีประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมที่ถูกนำเสนอทั้งเหมือนและแตกต่างกัน ในส่วนที่แตกต่างกันส่วนมากเป็นรายละเอียดทางสังคมและวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละสังคม ส่วนสิ่งที่เหมือนคล้ายกันคือแต่ละประเทศต่างมีประสบการณ์ร่วมในการตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก
10 ประเทศอาเซียน
ประเทศลาว
ประเทศพม่า
ประเทศเวียดนาม
ประเทศไทย
ประเทศกัมพูชา
ประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศมาเลเซีย
ประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
การสร้างสรรค์วรรณกรรม
วรรณกรรมยุคก่อนอาณานิคม
วรรณกรรมก่อนยุคอาณานิคม ส่วนใหญ่เป็นการสร้างสรรค์ตามขนบดั้งเดิม
แต่งด้วยร้องกรองสั้น ๆ หรือบทร้องในวิถีชีวิต เช่น บทกล่อมเด็ก บทประกอบพิธีกรรม
ร้อยแก้วส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในประเพณีมุขปาฐะ เช่น ตำนานปรัมปรา นิทานพื้นเมือง พงศาวดาร เป็นต้น
วรรณกรรมแสดงให้เห็นลักษณะร่วมทางสังคมวัฒนธรรม และรสนิยมทางวรรณศิลป์ของผู้คนในแต่ละภูมิภาค
เช่น นิทานเรื่อง "ศรีธนญชัย" มีปรากฏอยู่ในประเพณีมุขปาฐะของทุกประเทศ
แสดงให้เห็นสังคมในภูมิภาคนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและรับอิทธิพลซึ่งกันและกัน หรือมีรสนิยมทางวรรณศิลป์ร่วมกัน
จุดเด่นมักสะท้อนอัตลักษณ์วัฒนธรรมอันเป็นเฉพาะของแต่ละประเทศได้ดี เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมค่อนข้างมาก
วรรณกรรมยุคอาณานิคม
ส่วนใหญ่นำเสนอเรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ และบันทึกประจำวันเชิงอัตชีวประวัติหรือวรรณกรรม "ประจักษณ์พยาน"
ด้านเนื้อหา
เนื้อหาส่วนใหญ่ในยุคอาณานิคมจะเกี่ยวข้องกับการปลุกระดมเรียกร้องเอกราช และถ่ายทอดอุดมการณ์ลัทธิชาตินิยม ซึ่งเป็นลักษณะร่วมกันในภูมิภาคนี้อย่างเห็นได้ชัด
เนื่องจากแต่ละประเทศตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก (ยกเว้นประเทศไทย)
ทุกประเทศต่างใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องมือถ่ายทอดอุดมการณ์ชาตินิยม และปลุกระดมมวลชนเข้าร่วมต่อต้านเจ้าอาณานิคมอย่างเข้มข้น
จัดเป็นวรรณกรรมแนว "ต่อสู้กู้ชาติ"
ตัวอย่าง
วรรณกรรมพม่า
หยิบยกปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบมานำเสนอให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความเลวร้ายของเจ้าอาณานิคมและปลุกระดมให้คนพม่าลุกขึ้นสู้
เช่น รวมเรื่องสั้น "จนกว่าจะถึงวันแห่งเอกราช"
เช่น วรรณกรรมเรื่อง "น้ำมัน"
วรรณกรรมพม่ายังให้ความสำคัญกับประเด็นความขัดแย้งทางชาติพันธ์หลังจากที่ได้เอกราช
สะท้อนมุมมองและปัญหาสังคมพม่า โดยเฉพาะกลวิธีการสร้างเรื่องโดยให้ตัวละครเอกเป็นผู้เล่าเรื่องจากประสบการณ์ตรงหรือเล่าในสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่
วรรณกรรมกัมพูชา
นิยมนำเหตุการณ์ยุคเขมรแดงมาเขียน
ชี้ให้เห็นสังคมอันเลวร้ายในยุคเขมรแดงอย่างตรงไปตรงมา
เช่น บันทึกเรื่อง "สี่ปีนรกเขมร" ของยาสึโกะ
เช่น เรื่อง "หนีไฟนรก" บันทึกของกิมลั้งสตรีชาวเขมร
ด้านกลวิธีการนำเสนอ
ส่วนใหญ่มักนำฉากหรือสถานที่จริงมาเป็นองค์ประกอบหลักสำคัญในการดำเนินเรื่องและสัมพันธ์กับเนื้อหาและแนวคิดหลักของเรื่อง
นำเสนอภาพการต่อสู้
การเสียสละ
การแสดงปฏิภาณไหวพริบในการหนีเอาตัวรอดในยามคับขันในช่วงสงคราม
เพื่อปลุกเร้าให้ผู้อ่านเห็นความเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และการเสียสละชีวิตเพื่อเอกราชของชาติ
เช่น ฉากสู้รบของเกี๋ยนในสมรภูมิรบเขตเวียดนามเหนือเรื่อง "ปวดร้าวแห่งสงคราม"
แสดงให้เห็นภาพความเลวร้ายของสงครามที่พรั่งพรูออกมาจากห้วงคำนึงของเขาซึ่งมีการสลับฉากไปมาระหว่างอดีตกับปัจจุบันซึ่งสร้างความสะเทือนใจแก่ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี
ด้านตัวละคร
นิยมสร้างตัวละครเป็นคู่ตรงข้ามกัน
ฝ่ายปฏิวัติกอบกู้เอกราช
สร้างให้เป็นคนรักชาติรักแผ่นดิน เข้มแข็ง เสียสละอดทน นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
ฝ่ายปฏิปักษ์
เจ้าอาณานิคมหรือไม่ก็เป็นผู้ปกครองซึ่งเป็นคนชาติเดียวกันที่ทำงานรับใช้เจ้าอาณานิคม
วรรณกรรมยุคหลังอาณานิคม
ลักษณะการสร้างสรรค์วรรณกรรมของหลายประเทศได้ปรับเปลี่ยนท่าทีในการสร้างสรรค์
เริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์สังคมและผู้นำรัฐบาลมาขึ้น
เนื่องจากเห็นว่า การฟื้นฟูประเทศภายใต้การปกครองของผู้นำรัฐบาลส่วนใหญ่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาประเทศไปสู่ความคาดหวังได้
เช่น ประเทศเวียดนาม
นักเขียนจำนวนหนึ่งเริ่มตั้งคำถามกับการพัฒนาประเทศของรัฐบาล การเยียวยาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่สืบเนื่องมาจากสงคราม
เช่น ประเทศพม่า
นักเขียนหัวก้าวหน้าส่วนหนึ่งเริ่มวิพากษ์สังคมพม่าที่เริ่มเปิดรับกระแสโลกใหม่จนทำให้วัฒนธรรมของตนเองเริ่มสั้นคลอน
ด้านตัวละคร
เริ่มปรับเปลี่ยนจากสร้างตัวละครเป็นคู่ขัดแย้งที่มีความหลากหลายมากขึ้น
เช่น
นำเสนอประเด็นขัดแย้งทางอุดมการณ์ความคิดระหว่างความเป็นปัจเจกกับความเป็นสังคมองค์รวม
พบมากในวรรณกรรมเวียดนาม และลาว
คู่ขัดแย้งตัวละครอาจเป็นผู้นำ ข้าราชการ
ด้านเนื้อหาและแนวคิด
มีเนื้อหาคาบเกี่ยวกับยุคอาณานิคมเนื่องจากบางประเทศอาจนำเหตุการณ์ในยุคต่อสู้กู้ชาติมานำเสนอเพื่อตอกย้ำให้คนในสังคมตระหนักถึงความเป็นชาติ ที่แลกมาด้วยหยาดเหงื่อ น้ำตา เลือดเนื้อ
กรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยุคเขมรแดง
นักเขียนร่วมสมัยนิยมนำเหตุการณ์ ความโหดร้ายทารุณ และผลพวงจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการทำลายโครงสร้างของระบบสังคมและวัฒนธรรมเขมรมานำเสนออย่างต่อเนื่อง
วรรณกรรมยุคโลกาภิวัฒน์ ทุนนิยม บริโภคนิยม
ยุคที่การสร้างสรรค์วรรณกรรมได้คลี่คลายมาจากยุต่อสู้กู้ชาติ
ด้านเนื้อหาแนวคิด
นำเสนอภาพสังคมที่แปลกแตกต่างไปจากยุคต่อสู้กู้ชาติ
เช่นวรรณกรรมประเทศอินโดนีเชีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์นำเสนอความขัดแย้งทางความคิด สังคม และวัฒนธรรม
มุ่งเน้นเนื้อหาทำให้เห็นถึงผลกระทบของทุนนิยม บริโภคนิยมที่เข้ามาส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต สังคมและวัฒนธรรมของตนเอง
ด้านกลวิธีการนำเสนอ
ส่วนใหญ่จะใช้สัญลักษณ์ในการนำเสนอเป็นส่วนใหญ่
เช่น เรื่อง "หญิงสองสะดือ" ของฟิลิปปินส์ ใช้ฝุ่นและปูเป็นสัญลักษณ์แทนสังคมฟิลิปปินส์ที่ยังเต็มไปด้วยฝุ่นละอองของยุคสงครามที่ยังหลงเหลือให้เห็นซากปรักหักพังและร่องรอยของความเสียหายของประเทศจากการตกเป็นอาณานิคม ขณะเดียวกันก็กำลังแสวงหาทิศทางหรือแนวทางในการพัฒนาประเทศให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน โดยนำเสนอผ่าน "ปู"
สังคมและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปรากฏในวรรณกรรมร่วมสมัย
การถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบจากเจ้าอาณานิคม/รัฐบาล และการต่อต้านการครอบงำ
การปลุกจิตสำนึกชาตินิยมเพื่อเรียกร้องเอกราช
ความขัดแย้งทางการเมืองและชาติพันธุ์หลังได้เอกราช
ผลกระทบจากสงครามกอบกู้เอกราช และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
สถานภาพและบทบาทสตรี
การพลัดถิ่น
ปัญหาอัตลักษณ์
พลวัตและการปรับตัวทางสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคโลกาภิวัตน์ บริโภคนิยมในบริบทอดีตประเทศอาณานิคม
จัดทำโดย นางสาวชลลดา ต๊ะเรือน 620110433