Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หญิงตั้งครรภ์อายุ 25 ปี G2P0Ab1L0 GA 38+4 weeks - Coggle…
หญิงตั้งครรภ์อายุ 25 ปี G2P0Ab1L0 GA 38+4 weeks
แบบแผนสุขภาพที่ผิดปกติ
แบบแผนที่ 4 กิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย (Activity-Exercise Pattern) กิจวัตรประจำวัน : ตื่นนอนเวลา 07.30 น. รับประทานอาหารเช้า 08.30 น. ทำงานโรงงานบดแร่ รับประทานอาหาร 12.00 น. หลังจากทานอาหารกลางวันทำงาน และเลิกงานเวลา 16.30 น. กลับมารับประทานอาหารเย็นที่บ้านกับครอบครัว จากนั้นไปอาบน้ำ และเข้านอนเวลาประมาณ 22.00 น. ระหว่างที่นอนมีตื่นมาปัสสาวะบ่อยครั้ง มารดาไม่ได้ไม่ได้ออกกำลังกาย
ความสามารถและข้อจํากัดในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน : สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเองได้ตามปกติ แต่เวลานั่งหรือนอนนานๆ จะปวดหลังบ่อยๆ
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 4 มารดาระยะตั้งครรภ์ปวดหลัง เนื่องจากมดลูกโตขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้ฝึกการใช้ท่าทางที่ถูกต้อง โดยการนั่งหรือยืนให้คอ ไหล่ และหลังอยู่ในแนวตรง และปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
เวลาก้มเก็บของ ควรย่อเข่าลงก่อน แล้วค่อยเก็บของ และควรถือของใกล้ตัว เพื่อให้ไม่ต้องออกแรงมากเกินไป และไม่ควรยกของหนักเกิน 12 กิโลกรัม
นอนตะแคงใช้หมอนหรือผ้าหนุนหลัง และข้อพับเข่า
ออกกำลังกายท่า Pelvic rocking เพื่อบรรเทาอาการปวดหลัง วิธีการบริหารโดยการเตรียมตัวอยู่ในท่าคลาน โดยที่มือ และเข่าตั้งสองข้างอยู่ในแนวตรงตั้งจาก สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แขม่วท้อง โก่งหลังบริเวณเอว และก้มหน้าคางชิดอก กับ 1 ถึง 5 หลังจากนั้นหายใจออก คลายการเกร็งกล้ามเนื้อ แอ่นหลังลงและเงยหน้าขึ้น นับ 1 ถึง 5 แล้วทำหลังตรง และหายใจเข้าทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ ทำประมาณวันละ 10-12 ครั้งต่อวัน
ไม่ควรซื้อยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดการอักเสบมารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์
(ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, 2560)
แบบแผนที่ 2 โภชนาการและเมตาบอลิซึม (Nutritional Metabolism Patterns) สุขนิสัยในการรับประทานอาหาร/การรับประทานอาหารปกติในชีวิตประจําวัน : มารดาให้ข้อมูลว่าขณะตั้งครรภ์ รับประทานอาหารมากขึ้น อาหารบางอย่างจะทำเองบ้าง แต่ส่วนมากจะซื้ออาหารมารับประทานเอง แต่ละมื้อ จะรับประทานข้าวหอมมะลิประมาณ 2 – 3 ทัพพี ดื่มนมจืด 1 กล่องก่อนนอน ชอบรับประทานอาหารจำพวกผัดกะเพรา เนื้อสัตว์ทอด อาหารทุกมื้อจะรับประทานผักด้วย 1 จาน ประมาณ 7 – 8 ช้อนชา ชอบรับประทานขนมหวานโดยเฉพาะกล้วยบวชชีสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 1 ถ้วยหลังอาหารเย็น กล้วยน้ำว้าวันละ 2 ลูกเป็นประจำเกือบทุกวัน ดื่มน้ำวันละ 900 มล. บ่อยครั้งหลังรับประทานอาหารเสร็จมักจะรู้สึกแสบร้อนตรงบริเวณกลางอก
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 5 มารดาได้รับสารน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเนื่องจากมารดาดื่มน้ำน้อย
กิจกรรมการพยาบาล
1.บอกปริมาณน้ำที่มารดาควรดื่มน้ำราวๆ 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน หรือ 7- 8 แก้วต่อวัน โดยแนะนำให้คุณแม่ค่อยๆ จิบน้ำไปทีละนิดทั้งวัน
บอกผลเสียของการดื่มน้ำน้อย เพราะการดื่มน้ำน้อยไปอาจส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์ได้ โดยหากร่างกายของคุณแม่ขาดน้ำมากๆ อาจจะทำให้เกิดภาวะเลือดมีความเข้มข้น ส่งผลให้การหลั่งฮอร์โมนอ็อกซิโทซิน (Oxytocin) มีมากเกินไป และอาจจะทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด และอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
ให้มารดาเช็คอาการของตนเอง ว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ เช่น รู้สึกวิงเวียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ริมฝีปากแห้ง ผิวแห้ง หน้าท้องแตกลาย ปัสสาวะมีสีเข้ม และปัสสาวะน้อยลง หากมีอาการดังกล่าวให้รีบดื่มมน้ำทันที
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 3 มารดามีภาวะกรดไหลย้อนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้กรณีศึกษาหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และไม่อยู่ในพื้นที่ที่มีคนสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันกระเพาะหลั่งกรดออกมาเยอะมากขึ้น
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันแอลกอฮอล์ไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารเปิดออก ส่งผลให้กรดจากกระเพาะไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหาร
แนะนำไม่ให้เอนตัวนอนทันทีเมื่อรับประทานอาหารเสร็จเพื่อป้องกันการไหลย้อนขึ้นมาของกรดที่หลอดอาหาร ควรนั่งหลังรับประทานอาหารเสร็จอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
แนะนำให้กรณีศึกษานอนศีรษะสูงโดยหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นโดยใช้วัสดุขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนรองศีรษะ จะทำให้ลำตัวหักพับงอ ความดันในช่องท้องจะมากขึ้นส่งผลให้กรดไหลย้อนไหลขึ้นมา
แนะนำให้กรณีศึกษาพยายามไม่เครียด โดยอาจหากิจกรรมทำในยามว่างทำคลายเครียด เช่น แนะนำให้คุยกับทารกในครรภ์ พยายามกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ หากิจกรรมที่ชื่นชอบทำเวลามีความเครียดหรือความกังวลเพื่อลดการเกิดภาวะหลอดอาหารมีความไวเกินจากสิ่งกระตุ้น หากกรณีศึกษามีความเครียด หลอดอาหารจะไวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถรู้ได้ทันที
แนะนำให้กรณีศึกษาหลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยว เพื่อป้องกันการกระตุ้นให้กรดไหลออกมามากกว่าปกติ
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเผ็ด อาหารในกระเพาะถูกย่อยช้าลง ทำให้กรดหลั่งออกมามากขึ้น ส่งให้สตรีมีครรภ์เกิดภาวะกรดไหลย้อน
แนะนำให้กรณีศึกษาหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน เพื่อป้องกันหูรูดหลอดอาหารตอนล่างหย่อนมากขึ้นทำให้เกิดกรดไหลย้อน
หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูงจำพวก อาหารประเภททอด อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล เพื่อป้องกันอาหารไปค้างในกระเพาะนานเนื่องจากอาหารประเภทนี้ใช้เวลาย่อยนานกว่าปกติ ทำให้เกิดกรดไหลย้อน
แนะนำให้สตรีมีครรภ์ไม่รับประทานอาหารดึกเกินไป เพราะการเอนตัวหลังนอนเมื่อรับประทานอิ่มในมื้อดึก ส่งผลให้กรดไหลย้อนขึ้นมาได้
แนะนำให้กรณีศึกษาหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเยอะเกินไป เพื่อป้องกันกระเพาะอาหารเต็มแล้วเกิดแรงดันสูงทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร
ชื่องานวิจัยที่ค้นพบ : The Effect of heartburn management program on frequency and severity of heartburn in pregnant women
วิธีการวิจัย วิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประสบการณ์ การมีอาการแสบร้อนยอดอก และแบบบันทึกอาการแสบร้อนยอดอก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายสถิติ การทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon.signed.ranks.test).และสถิติการทดสอบแมนน์-วิทนี (Mann-Whitney.U Test)มีกลุ่มตัวอย่างเป็น หญิงตั้งครรภ์ 48 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติจากพยาบาลประจําการร่วมกับโปรแกรมการจัดการอาการแสบร้อน ยอดอกจากผู้วิจัยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลจากพยาบาลประจําการตามปกติ
ผลการวิจัย : ผลการศึกษาพบว่าความถี่และความรุนแรงของอาการในกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p.<..05) ความถี่และความรุนแรงของอาการแสบร้อนยอดอกในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการอาการแสบร้อนยอดอก สามารถนํามาใช้เป็นแนวทาง ในการวางแผนการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแสบร้อนยอดอก เพื่อลดความถี่และความรุนแรงของอาการ
ระดับของหลักฐานเชิงประจักษ์ : ระดับ 6
การนำไปประยุกต์ใช้ในการพยาบาล : กิจกรรมการพยาบาลที่ประยุกต์จากงานวิจัยได้แก่
แนะนำให้กรณีศึกษาหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และไม่อยู่ในพื้นที่ที่มีคนสูบบุหรี่
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แนะนำไม่ให้เอนตัวนอนทันทีเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ
แนะนำให้นอนศีรษะสูง
แนะนำพยายามไม่เครียด
หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยว
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือน้ำอัดลม
หลีกเลี่ยงการขนมหวาน
หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
ไม่รับประทานอาหารดึกเกินไป
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเยอะเกินไป
กรอบแนวคิด
โปรแกรมการจัดการอาการแสบร้อนยอดอกการประเมินประสบการณ์เกี่ยวกับอาการแสบร้อนยอดอก การให้ความรู้รายบุคคล
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรม
การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร กระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิบัติด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
การประยุกต์ใช้ในเคสกรณีศึกษา
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรม
การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร
แบบแผนที่ 6 สติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive-Perception Pattern)
สติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive-Perception Pattern)
ก่อนและขณะตั้งครรภ์การรับรู้ประสาทสัมผัสปกติ ตาทั้งสองข้างมองเห็น ปกติ จมูก ได้กลิ่นปกติ
ลิ้นสามารถรับรสและแยกรสได้ หูทั้งสองข้างได้ยินปกติ ผิวหนังสามารถรับสัมผัสได้ตามปกติ
ขณะตั้งครรภ์ รับรู้และยอมรับว่าตนเองกำลังจะมีบุตร มาเข้าร่วมโรงเรียนพ่อแม่ 2 ครั้ง แต่ยังไม่เข้าใจในเรื่องการรับประทานอาหาร การจัดการกับอาการไม่สุขสบายในระยะไตรมาสที่ 3 และยังไม่ทราบในเรื่องของการเตรียมตัวคลอดว่าต้องเตรียมเอกสาร และต้องเตรียมอุปกรณ์ของใช้อะไรไปโรงพยาบาลตอนคลอดลูกเพราะยังไม่เคยผ่านการคลอดบุตร และยังไม่ทราบอาการเจ็บครรภ์เตือนและเจ็บครรภ์จริง
ความเจ็บปวด : สามารถบอกตำแหน่งที่ปวดได้ ซึ่งมารดามีอาการปวดหลัง pain score 4 คะแนน
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 6 มีความพร้อมในเรื่องของการดูตนเองในขณะตั้งครรภ์ และมีการปรับตัวเป็นบทบาทของมารดา
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนําอาการเจ็บครรภ์จริงเจ็บครรภ์เตือนเจ็บครรภ์เตือน
เจ็บครรภ์เตือน เมื่อใกล้คลอด มดลูกจะมีการหดรัดตัวแข็งบ่อยขึ้น โดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์แต่มีความรู้สึกปวดหน่วงๆ บริเวณหัวหน่าว มดลูกจะหดรัดตัวแข็ง 4-5 ครั้ง แล้วหายไป เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่าเดินมดลูกจะคลายตัว นอกจากนี้สตรีตั้งครรภ์ยังคงสามารถนอนหลับพักผ่อนได้
เจ็บครรภ์จริง เมื่อเข้าสู่ระยะคลอด มดลูกจะมีการหดรัดตัวแข็ง อาการปวดจะเริ่มบริเวณท้อง
ท้องน้อย แล้วปวดร้าวไปที่หลัง และหน้าขา เมื่อลุกเดินจะปวดมากขึ้น อาจมีมูกหรือมูกปนเลือดออกทาง
ช่องคลอด มดลุกจะหดรัดตัว แรงและถี่แรงขึ้นเรื่อย สตรีตั้งครรภ์ควรรีบมาโรงพยาบาล
แนะนําอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ ได้แก่ มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องอย่างรุนแรงเป็น
เวลานาน ปวดศีรษะรุนแรงโดยไม่ทุเลา มือ หน้า ข้อเท้า บวม ลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลงน้อยกว่า 3 ครั้งใน1 ชั่วโมง อาเจียนมาก แพ้ท้องมาก อาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
แนะนําการเตรียมสิ่งของมาคลอด
3.1 ของใช้สําหรับสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ เสื้อผ้า 1 ชุด แปรงสีฟัน ยาสีฟัน หวี แป้ง สบู่ น้ำยาสระผม ผ้าเช็ดตัว
3.2 ของใช้สําหรับบุตร ได้แก่ ผ้าอ้อมอย่างน้อย 2 โหล เสื้อ หมวก ถุงเท้า ถุงมือ ผ้าขนหนูอย่างน้อย 6 ผื่น ชักให้เรียบร้อย ไม่ควรซื้อผ้าจากร้านแล้วนํามาใช้ห่อตัวลูก เพราะน้ำยาหรือเชื้อโรคที่ติดอยู่กับผ้าจะระคายเคืองผิวทรกทําให้ทารกติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเกิดผื่นคัน บริเวณผิวหนังและใบหน้า
3.3 การเตรียมเอกสารสําคัญต่าง ( เช่น บัตรประจําตัวโรงพยาบาล รายงานใบฝากครรภ์ หรือสมุดสีชมพู ใบตั้งชื่อบุตร สําเนาบัตรประชาชนของสตรีตั้งครรภ์และสามี และสําเนาสมุดทะเบียนบ้านเพื่อนํามาแจ้งเกิดที่เทศบาล
ส่งเสริมการปรับบทบาทการเป็นมารดา โดยให้ได้รับการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมจากสามี มารดา หรือบุคคลใกล้ชิด ให้มารดารับรู้ถึงความรัก ความห่วงใย มีกำลังใจ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความภูมิใจที่ได้เป็นมารดา สามารถจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวล และสามารถปรับบทบาทการเป็นมารดาได้อยางเหมาะสม
เปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์ชักถามข้อสงสัย
แบบแผนที่ 7 การรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์ (Self-Perception Self-Concept Pattern)
ความสามารถของตนเอง : มารดาทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนเดิม แต่ในขณะตั้งครรภ์ตนเองจะระมัดระวังมากขึ้นในกิจกรรมที่เสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง : รู้สึกมีคุณค่าในตนเองเหมือนก่อนตั้งครรภ์ มารดายังคงมีความสำคัญกับบุคคลในครอบครัวเช่นเดิม และรู้สึกว่าคนในครอบครัวดูแลตนเองดีขึ้นกว่าเดิม ความรู้สึกไม่สบายใจหรือวิตกกังวล : มารดากังวลเกี่ยวกับการเตรียมตัวคลอดว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง เตรียมสิ่งของอะไรไปบ้างหากไปคลอดลูก ผลของการตั้งครรภ์ต่อ การดำเนินชีวิต : ระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ต้องใส่ใจในการดูแลตนเองมากขึ้นเนื่องจากมารดาเคยแท้งบุตรคนแรกไปตอนตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน เช่นดูแลตนเองเรื่องการรับประทานจะพยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การวางแผนในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ : กรณีศึกษาให้ข้อมูลว่า “เมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ ระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น อยากให้ทารกมีสุขภาพที่แข็งแรง และพยายามปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับจากแพทย์และพยาบาล”
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 7 ส่งเสริมมารดาตั้งครรภ์ในการดูแลส่งเสริมสมองและกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายการส่งเสริมสมองของทารกและพัฒนาการทารกในครรภ์ ได้แก่ สารอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสมองมีดังนี้ โฟเลต อาหารที่มีปริมาณโฟเลตสูงได้แก่ผักใบเขียวต่างๆ เช่น คะน้า นอกจากนี้โฟเลตในอาหารจะถูกดูดซึมได้น้อยกว่าการรับประทานในรูปของยาเม็ด ดังนั้นจึงควรรับประทานโฟเลตเสริมในขนาด 0.4-4 มิลลิกรัมต่อวัน ธาตุเหล็กซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ เลือด ตับ เครื่องในไก่ปลา นอกจากนี้มารดาตั้งครรภ์ทุกคนที่ไปรับบริการที่คลินิกฝากครรภ์จะได้รับยาเม็ดวิตามินรวม ที่ ประกอบด้วยธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม,ไอโอดีน 150 ไมโครกรัม, กรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม รับประทานทุกวัน ตลอดการตั้งครรภ์ก็จะท าให้ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ ไอโอดีน มารดาตั้งครรภ์สามารถการป้องกันการขาดไอโอดีนท าได้ด้วยการรับประทานอาหาร ที่มีไอโอดีนสูง เช่น อาหารทะเล กรดไขมัน มารดาตั้งครรภ์สามารถรับประทานกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3
การออกกำลังกาย เช่น โยคะ การว่ายน้ำและการเต้นแอโรบิกในน้ำเป็น แนวทางหนึ่งที่ช่วยท าให้ร่างกายจะรู้สึกสดชื่นมีพลัง และหลั่งสารความสุข (Endophins) เพิ่มขึ้นทำให้มีผลต่อ พัฒนาการสมองทารก
การจัดสิ่งแวดล้อมให้แก่ทารกในครรภ์เพื่อกระตุ้นระบบประสาททารกในครรภ์แบ่ง เป็น 4 ด้าน คือด้านการมองเห็น ด้านการได้ยิน ด้านการรับความรู้สึก และด้านการเคลื่อนไหว
ประเมินสภาพ (Assessment)
กรณีศึกษา สตรีมีครรภ์ อายุ 25 ปี G2P0Ab1L0 GA 38+4 weeks LMP : 20/06/2565 EDC : 27/03/2566 by LMP
อาชีพ : ทำงานโรงงาน (เสมียน) รายได้ : 9,000 บาท/เดือน
สิทธิการรักษา : บัตรทอง โรงพยาบาลพระพุทธบาท
อาชีพสามี : สามีทำงานขับรถโรงงานบดแร่ รายได้ : 15,000 บาท/เดือน
ค่าใช้จ่าย : เพียงพ่อต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว
ปฏิเสธประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
ประวัติทางสูติกรรม: มีประจําเดือนครั้งแรกเมื่ออายุ 12 ปี ประจําเดือนมาสม่ำเสมอ
เป็นประจําเดือนแต่ละครั้งนาน 4-5 วัน ใช้ผ้าอนามัยวันละ 2-3 ผืน ไม่มีอาการปวดท้อง
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 155 เซนติเมตร BMI = 24.97 kg/m2 น้ำหนักปัจจุบัน 80.4 กิโลกรัม น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละ 0.6 kg/สัปดาห์ (น้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 20.4 กิโลกรัม)
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 2 เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายขณะตั้งครรภ์ (โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง) เนื่องจาก น้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ และมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
กำหนดเป้าหมายของน้ำหนักร่วมกับหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดน้ำหนักที่เกินขณะตั้งครรภ์
ติดตามน้ำหนัก โดยแต่ละสัปดาห์ไม่ควรเพิ่มมากกว่า 0.3 kg/weeks และบอกผลของน้ำหนัก
ประเมินการรับรู้น้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ และพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ถูกต้องของมารดา เพื่อเป็นแนวทางในการให้คำแนะนำ เนื่องจากในระยะตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มารดาพร้อมจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพทารก
บอกผลเสียของการมีน้ำหนักเกินระหว่างตั้งครรภ์ เช่น อาจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอาจจะทำให้ทารกน้ำหนักมากเกินไป หรือทารกตัวโตซึ่งจะส่งผลต่อการคลอดบุตรได้
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่สำคัญในการควบคุมเบาหวาน เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
ให้รับประทานอาหารที่มีแคลลอรี่อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เพื่อจำกัดจำนวนน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกาย ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง นมข้นหวาน ขนมหวานต่าง ๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน องุ่น มะม่วงสุก เป็นต้น(กาญจนา ศรีสวัสดิ์. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ Health Promoting Behavior in Pregnancy)
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่สำคัญในการควบคุมระดับความดันโลหิต เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
ไม่ควรบริโภคเกลือหรือเครื่องปรุง เกิน 1 ช้อนชา น้ำปลาไม่เกิน 5 ช้อนชา
แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม เพื่อป้องกันปริมาณน้ำในเนื้อเยื่อจะเพิ่มขึ้นทำให้เกิดอาการบวมได้
แนะนำให้ออกกำลังกาย
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เช่น การเดินระยะเวลา 20-60 นาที มีความต่อเนื่อง 3 ช่วงต่อกัน มีการอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย (Warm Up) 5-10 นาที ออกกำลังกาย 20-30 นาทีและผ่อนคลายหลังออกกำลังกาย (Cool Down) 5-10 นาที
ควรเริ่มออกกำลังกายครั้งละน้อยๆ ก่อน แล้วควรเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
ห้ามออกกำลังกายแบบมีการกระตุกรุนแรง เปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็วหรือเคลื่อนไหวของข้อมาก
ควรมีการพักการออกกำลังกายในท่านอนตะแคงซ้ายงอเข่าเล็กน้อย ให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ควรตรวจชีพจรหลังออกกำลังกายโดยชีพจรหลังการออกกำลังกายไม่ควรเกิน 120 ครั้ง/นาที
เนื่องจากตั้งครรภ์เกิน 4 เดือนไปแล้ว ไม่ควรออกกำลังกายในท่านอน หรือนอนหงายนาน ๆ เพราะอาจเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะนอนหงายจากการกดทับเส้นเลือด
ขณะเปลี่ยนท่าต้องค่อย ๆ เปลี่ยน เพื่อลดการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า
ดื่มน้ำก่อน ระหว่างและหลังออกกำลังกาย
ห้ามรับประทานอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย
หยุดออกกำลังกายทันที หากมีอาการปวดต่างๆ เลือดออกทางช่องคลอด มดลูกหดรัดตัวผิดปกตินานเกิน 15 นาทีหรือหดรัดตัวบ่อย
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด การเพิ่มของน้ำหนักและติดตามคัดกรองภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เพื่อการตรวจประเมินอาการและให้การรักษาพยาบาลได้อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Complete Blood Count
Hb : 12.6 %
Hct : 32.5 %
MCV : 75.5 %
MCH : 24.5
VDRL : Negative
HbsAg : Negative
HIV : Negative
DCIP : Positive (สามี Negative)
Urine glucose : NegativeUrine
albumin : Negative
มารดาเป็นพาหะธาลัสซีเมียและมีภาวะโลหิตจาง
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 1 เสี่ยงต่อการเกิดเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนเนื่องจากมารดามีภาวะโลหิตจาง
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลหิตจางเพื่อให้มารดาเห็นความสำคัญในการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก
ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในเรื่องต่างๆ ดังนี้
2.1 การรับประทานอาหารควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าครบ 5 หมู่ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เนื้อสัตว์
ต่างๆ นมยีสต์เนยแข็งถั่วต่างๆ ผลไม้และผักใบเขียว
2.2 การพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงในกลางคืนและนอนพักหลังรับประทานอาหารกลางวัน
วันละ 30 นาที - 1 ชั่วโมง
2.3 แนะนําให้รับประทานยาตามแผนการรักษา Triferdine 1
1 และได้รับ Ferrous Fumarate 1
1 oral pc
2.3 สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ซีด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ใจสั่น ปวดศีรษะ เป็นต้น
ข้อมูลที่ผิดปกติ
มารดา
(Complete Blood Count) Hct ครั้งที่ 1 38.9% ครั้งที่ 2 32.5%, MCV 75.5 FL, DCIP Positive
มารดาบอกว่า มารดาเป็นพาหะธาลัสซีเมียและมีภาวะโลหิตจาง
ชอบรับประทานขนมหวานโดยเฉพาะกล้วยบวชชีสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 1 ถ้วยหลังอาหารเย็น กล้วยน้ำว้าวันละ 2 ลูกเป็นประจำเกือบทุกวัน
ค่า BMI = 24.97 kg/m2 แปลผลเป็น น้ำหนักเกินเกณฑ์.
น้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจากเดิม 20.4 กิโลกรัม
ประทานอาหารเค็มบ่อย และชอบรับประทานกับข้าวเป็นกะเพราหมูเกือบทุกวัน
รับประทานหมูทอด และไข่เจียวเป็นประจำ
มารดาดื่มน้ำวันละ 900 ml
ผิวหนังแห้ง
มีอาการปวดหลัง ตอนที่นั่งนอนนานๆ
เดินหลังแอ่น
ปวดหลัง 4 คะแนน
มีอาการแสบร้อนบริเวณกลางอกหลังรับประทานอาหารเสร็จบ่อยครั้ง
คนไข้กินอิ่มเกิน กินจนแน่นอึดอัด
มารดาไม่สามารถตอบคำถามเรื่องการเจ็บครรภ์จริง เจ็บครรภ์เตือน
มีอาการบวมที่ขาทั้งสองข้าง กดบุ๋ม 1+
มารดาสอบถามเรื่องการเตรียมเอกสารและการ
เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ไปโรงพยาบาลตอนคลอดลูก
มีความพร้อมในเรื่องของการปรับตัวเป็นบิดามารดา เตรียมเสื้อผ้าเด็กแล้ว
สอบถามเรื่องการคลอดลูก เพราะไม่เคยมีประสบการณ์บุตร
รับประทานตรงยาเสริมธาตุเหล็กตามเวลา
มาโรงเรียนพ่อแม่ 2 ครั้งแล้ว
มีความพร้อมในการดูแลตนเองที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย
ฟันผุ 4 ซี่ ได้รับการรักษาแล้ว
มีความใส่ใจในการดูแลตนเองเนื่องจากเคยแท้งบุตรมาแล้ว
มารดาบอกว่า “หลังกินข้าวลูกดิ้นดี ถีบท้องบ้าง โก่งตัวบ้าง”
มารดาบอกว่า “ก่อนพ่อจะไปทำงาน พ่อจะมาลูบท้องและคุยกับลูกตลอด”
รายได้มารดา 9,000 บาท สามีรายได้ 15,000 บาท
การตรวจร่างกายตามระบบ
General appearance : หญิงตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่ ผิวคล้ำ สีหน้ายิ้มแย้ม รู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง แต่งกายสะอาด
Skin : ผิวสีน้าตาลเข้ม ผิวหนังชุ่มชื้น มีเหงื่อออกตามผิวหนังบริเวณข้อพับ ไม่มีผื่น ไม่มีการอักเสบ ไม่มีรอยโรค กดผิวหนังบริเวณขา ขาทั้งสองข้างบวม ไม่พบฝ้าที่บริเวณใบหน้า
Eyes : หนังตาไม่บวม ไม่มีการอักเสบ เยื่อบุตาไม่ซีด ตาขาวไม่เหลือง การมองเห็นชัดเจนทั้งสองข้าง
Mouth: ปากสมมาตรกันทั้ง 2 ข้าง ลักษณะชุ่มชื่น ภายในปากไม่มีแผล เคยมีฟันผุ 4 ซี่ และเหงือกอักเสบ มารดาได้ไปทำฟันมาเรียบร้อยแล้ว
Throat : คลําไม่พบก้อน ไม่บวมโต ไม่มีการโป่งพองในหลอดเลือดบริเวณคอ ต่อมไทรอยด์ไม่บวมโต กดไม่เจ็บ ต่อมน้าเหลืองไม่บวมโต
Breast : ขนาดเต้านมมีการขยายใหญ่ขึ้น ลานเต้านมกว้างขึ้น เต้านมนิ่ม คลำไม่พบก้อน หัวนมทั้งสองข้างปกติ
Abdomen : การดู : พบ linea nigra พบ Striae gravidarum สีขาวจางๆ
บวม : พบอาการบวมที่ขาทั้งสองข้าง