Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chapter 14The child with Emergency care, นางสาวอัญทิรา ตากองค์ 64122230102…
Chapter 14The child with Emergency care
ความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละช่วงวัย
วัยทารก
อายุตั้งแต่แรกเกิด-1 ปี วัยนี้ยังต้องพึ่งพาผู้อื่น เริ่มที่จะพลิกคว่ำ นั่ง คลาน ยืน ใช้นิ้วมือในการหยิบสิ่งของได้ดีขึ้นตามลำดับ ชนิดของอุบัติเหตุ เช่น พลัดตกหกล้ม บาดเจ็บจากความร้อน กินสารพิษ จมน้ำ สิ่งแปลกปลอมติดคอหรือหลอดลม
วัยเตาะแตะ
อายุ 1-3 ปี เป็นวัยที่มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นจากเดินเป็นวิ่งแต่ยังทำได้ไม่ดีนัก เด็กเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ จึงเล่นหรือทำกิจกรรมช้ำๆ ชอบการปีนป่าย กระโดด วิ่ง ขี่จักรยาน 3 ล้อชอบรื้อของในที่ต่างๆ ชนิดของอุบัติเหตุ เช่นพลัดตกหกล้ม ตกจากที่สูง ตกบันได ทำให้มีแผลฟกช้ำ สิ่งแปลกปลอมติดคอ ถูกไฟไหม้ ถูกไฟฟ้าดูด จมน้ำ ถูกรถยนต์ชน
วัยก่อนวัยเรียน
เป็นวัยที่ใช้กล้ามเนื้อแขน ขา มือ ได้ดีขึ้น มีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้นชอบซักถาม แต่ไม่สามารถคิดเป็นเชิงนามธรรมได้ มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีการลองผิดลองถูกชนิดของอุบัติเหตุในเด็กวัยนี้ เช่นพลัดตกหกลัม ตกจากที่สูงจากการปีนป่ายต้นไม้ การขี่จักรยาน จมน้ำถูกไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ถูกสัตว์เลี้ยงกัด หรือสัตว์มีพิษต่อย
4.วัยเรียน
อายุ 6-12 ปี เป็นวัยที่มีทักษะของการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานและควบคุมได้ดี เข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น รู้จักรับผิดชอบ เข้าใจความหมายในสิ่งที่เป็นนามธรรมต้องการความอิสระช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น มีการใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต แต่ชอบมีพฤติกรรมอวดเก่ง เชื่อมั่นในตัวเองจึงขาดความรอบคอบระมัดระวัง ชนิดของอุบัติเหตุในเด็กวัยนี้ เช่นการขี่จักรยานการข้ามถนน การตกรถมล์การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ ทำให้หกล้ม ปะทะกับผู้อื่นขณะเล่นกีฬาการจมน้ำ ถูกไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อตน้ำร้อนลวกอาวุธปืน หยิบอาวุธปืนที่ผู้ใหญ่เก็บไว้ไม่มิดชิดมาเล่นจนเกิดปืนลั่นถูกตนเองหรือ
วัยรุ่น
อายุ 12-18 ปี เป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต มีการเจริญเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการทางเพศ
อย่างมาก ต้องการอิสระ ได้รับอิทธิพลจากเพื่อน ชอบการท้าทาย การแข่งขัน เริ่มมีเหตุผลมากขึ้น มีการเล่นกีฬา จึงเกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อและกระดูกได้มากชนิดของอุบัติเหตุในเด็กวัยนี้ เช่นจากการเล่นกีฬาหรือแข่งขันกีฬา การขับขี่รถจักรยานยนต์
การพยาบาลเด็กที่ได้รับอันตรายจากไฟไหม้และน้ำร้อนลวก
ความหมาย
ารบาดเจ็บที่ได้รับจากสารเหลวที่ร้อนหรือสารที่ติดไฟได้ เช่น น้ำมันร้อน น้ำร้อน กระแสไฟฟ้าหรือสารเคมีต่างๆ ความรุนแรงของการถูกๆไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นผิวหนัง ความกว้าง ตำแหน่งของบาดแผล
การช่วยเหลือเบื้องต้น
หยุดการเกิดไฟไหม้ที่ตัวคนไข้ โดยการดับไฟเอาเสื้อผ้าที่เปื้อนของร้อนๆ ออกถ้าคนไข้เพิ่งได้รับบาดแผลไหม้และเป็นบาดแผลที่ไม่ลึกตลอดชั้นผิวหนัง (เป็นแค่บาดแผล first หรือ second degree burn) การใช้ผ้าชุบน้ำเย็นที่มีอุณหภูมิ 15
-20
C ประคบบาดแผลจะช่วยทุเลาอาการปวดแสบแผล และลดความลึกของบาดแผลลง
ไฟไหม้เสื้อผ้า
ใช้น้ำดับไฟ โดยให้เด็กนอนลง หันส่วนที่ติดไฟไว้ด้านบน แล้วใช้น้ำราดลงไป อย่าปล่อยให้เด็กวิ่งหรือนอนกลิ้งกับพื้น เพราะไฟจะลามมากขึ้นไปติดบริเวณอื่น ถ้าไม่มีน้ำให้ใช้เสื้อ หรือผ้าห่มหนา ห่อตัวเด็กแล้วให้นอนกับพื้น ไม่ใช้ผ้าไนล่อนหรือผ้าโปรุงห่อตัวเด็ก ใช้กรรไกรตัดผ้าที่ไหม้ออก แล้วนำส่งโรงพยาบาล
การพยาบาล
-ให้ใช้ความเย็นประคบทันที อย่างน้อย 10-30 นาที
ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดความร้อนบริเวณผิวหนัง ถ้าถูกน้ำร้อนเป็นบริเวณกว้างให้ราดบริเวณนั้นด้วยน้ำเย็น ตัดเสื้อผ้าที่ถูกน้ำร้อนลวกออก ถ้ามีตุ่มใสเกิดขึ้น ห้ามเจาะตุ่มใสนั้นแตกเพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
-บริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้าให้ปิดผ้าก๊อซไว้ ไม่ทายา ครีม โลชั่นหรือขี้ผึ้ง ถ้าผิวหนังถูกของร้อน น้ำมันร้อนลวกเป็น
บริเวณกว้าง จะปวดแสบมาก ควรรีบใช้ผ้าสะอาดคลุมผิวหนังบริเวณ นั้นแล้วรีบส่งโรงพยาบาล
แผลไหม้
ความหมาย
การที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อนหรือสารเคมี อาจจะเกิดตั้งแต่หนังกำพร้าหนังแท้หรือลีกลงไปถึงกระดูกได้
ความลึกของแผลไหม้ (Depth of burn) แบ่งเป็น 3 ระดับ
1.1 First degree burn (1bumn) มีการทำลายเฉพาะชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังบริเวณนั้นจะมีสีชมพูหรือสีแดง มีความนุ่ม ไม่มีตุ่มพอง มีอาการปวดแสบ แผลหายได้เองภายใน 3-5 วัน
1.2 Second degree burn (2burn) แบ่งเป็น 2 ระดับ
Superficial partial thickness (SPT) มีการทำลายชั้นหนังกำพร้าทั้งหมดและบางส่วนของหนังแท้ ได้แก่ ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน รากขน ยังคงอยู่ ผิวจะมีสีแดง มีตุ่มพอง ปวดแสบมาก เพราะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ในชั้นหนังแท้ ระยะเวลาในการหายของแผลประมาณ 7-14 วัน มีแผลเป็น
Deep partial thickness (DPT) มีการทำลายของชั้นหนังกำพร้าทั้งหมด ส่วนมากของหนังแท้ถูกทำลาย แต่ยังคงมีเหลืออยู่บ้างที่งอกขึ้นมาทดแทนกลับคืนเป็นผิวหนังได้ สีผิวจะเป็นสีขาว ชีด ตุ่มพองมีน้อยหรือแฟบ ความรู้สึกปวดแสบลดลง ระยะเวลในการหายของแผลประมาณ 14-28 วัน จะเป็นแผลเป็นมาก
1.3 Third degree burn ( 30 burn) หรือ Full thickness ผิวหนังถูกทำลายทุกชั้น ทั้งชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ทั้งหมด อาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก แผลไหม้จะมีลักษณะขาว ซีด เหลือง น้ำตาลไหม้หรือดำ หนาแข็งเหมือนแผ่นหนัง แห้งและกร้าน
ความกว้างหรือขนาดของแผลไหม้ (Extent of burn)
2.1 Rule of nine คำนวณโดยแบ่งส่วนของร่งกายออกเป็นส่วนๆ ส่วนละ 9% วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและช่วยให้สามารถประเมินขนาดแผลไหม้ได้อย่างรวดเร็ว นิยมใช้กับแผลไหม้ในผู้ใหญ่ ควรระมัดระวังในการคำนวณ
ในเด็กเนื่องจากขนาดของศีรษะต่อสัดส่วนของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงตามอายุ
2.2 Lund and Browder วิธีนี้จะช่วยให้สามารถคำนวณได้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยมีตารางแบ่งชัดเจนในแต่
ละส่วนของร่างกาย
คอ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ คิดเป็น 1%
หน้าอกหรือท้อง หรือแผ่นหลัง คิดเป็น 13%
ต้นแขนด้านหน้า หรือด้านหลัง คิดเป็น 2%
ปลายแขนด้านหน้า หรือด้านหลัง คิดเป็น 1.5%
ฝ่ามือด้านหน้า หรือด้านหลัง คิดเป็น 1.25%
สะโพกซ้ายหรือขวา คิดเป็น 2.5%
เท้าซ้ายหรือขวา คิดเป็น 1.75%
สำหรับสัดส่วนพื้นที่แปรผันตามอายุของเด็ก คือ ศีรษะ (V ตันขา (B) และ ปลายขา
การดูแลและการรักษาพยาบาลเด็กที่ได้รับบาดเจ็บแผลไหม้ น้ำร้อนลวก
ประเมินความลึก ความกว้าง และตำแหน่งของบาดแผล
เมื่อประเมินได้แล้ว จะพิจารณาความรุนแรงของบาดแผล ตลอดจนแนวทางการรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
การประเมินสัญญาณชีพการประเมินสัญญาณชีพ เป็นสิ่งจำเป็นมากในระยะ 24 ชั่วโมงแรกเพราะเนื้อเยื่อของร่างกายถูกทำลายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดความสามารถในการซึมผ่านของเลือด (Permeability) เพิ่มขึ้น เกิดการรั่วของพลาสมาจากหลอดเลือดไปอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ (Interstitial space) มีผลให้บริเวณที่ได้รับความร้อนบวมมากขึ้น
3.การพยาบาลเด็กที่ได้รับอันตรายจากไฟไหม้
-การดูแลให้ได้รับสารน้ำและอิเลคโตรลัยท์ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนหรือคล้ายคลึงกับพลาสมา เช่น Lactate Ring's (RLS) หรือ NSS ตามแผนการรักษา
-แยกผู้ป่วยจากผู้ป่วยติดเชื้อและ ใช้หลัก Sterile technique ในการดูแลจัดสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเทคนิคการทำแผล โดยเฉพาะแผลบริเวณข้อพับ นิ้วมือ นิ้วเท้า ซอกคอ ต้องระมัดระวังการ
ดึงรั้งหรือยึดติด
-ความปวด การประเมินความปวด ดูแลให้ยาลดปวดตามแผนการรักษา
-ปัญหาโภชนาการ สำหรับการดูแลเรื่องอาหารควรเน้นอาหารที่ให้พลังงานสูงโปรตีนสูง เสริมวิตามิน
-ปัญหาความวิตกกังวลของเด็กป่วยและครอบครัว
การพยาบาลทางด้านจิตใจของเด็กที่ได้รับอันตรายจากไฟ น้ำร้อนลวก เน้นเรื่อง Pain managementการปลอบโยนเด็ก
อันตรายจากการพลัดตกหกล้ม ตกจากที่สูง
ลักษณะ
ผิวหนังไม่ฉีกขาด มีบวมกดเจ็บ แดง หรือเขียวคล้ำ ระบม ควรให้การช่วยเหลือคือ ยกอวัยวะส่วนนั้นให้สูงกว่าลำตัวลดอาการบวม ใช้ความเย็นประคบประมาณ 30 นาที จะทำให้หลอดเลือดหดตัว ช่วยห้ามเลือดที่ออกจากผิวหนัง ทำให้อาการบวมลดลง
แผลถลอก เกิดจากถูกของแข็งครูดอย่างแรง ถูกขีดข่วน มีเลือดซึมออกมา ส่วนใหญ่แผลจะไม่สะอาดอาจมีเศษหิน ดิน หรือทรายบริเวณแผล เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้ง่าย ควรให้การช่วยเหลือ คือ ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำกับสบู่ ซับแผลให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
แผลตัด เกิดจากถูกของมีคมบาด ลักษณะขอบของบาดแผลเรียบ ไม่ค่อยเป็นหนองเพราะเลือดออกมาชะล้างสิ่งสกปรก แต่อาจเสียเลือดได้ เช่น มีดบาด กระจกบาด
แผลถูกแทง ต่ำ ลักษณะบาดแผลเล็กแต่ลึก จากการถูกของแข็งที่แหลมคมแทงหรือตำ เช่น เหยียบ
ตะปู เหยียบไม้เสียบลูกชิ้น ห้การช่วยเหลือ คือ ถ้าแผลยาวมากกว่า 1 เซนติเมตร ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อเย็บ
แผล เพื่อให้แผลติดเร็วามเลือดโดยยกบริเวณ
บาดแผลให้สูงขึ้นเหนือระดับหัวใจ ใช้ผ้าสะอาดกดแผลไว้จนเลือดหยุดไหล ทำความสะอาดแผล
ข้อเคล็ด ข้อเท้าแพลง เป็นการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อและเอ็นที่หุ้มกระดูก เกิดจากการเคลื่อนไหวมากกว่า
ปกติ ทำให้ปวดและบวมควรให้การช่วยเหลือ คือ ให้พักข้อนนั้น พันผ้าเพื่องดการเคลื่อนไหว
ประคบความเย็นเป็นเวลาประมาณ 30นาที
กระดูกหัก ส่วนของกระดูกแตก ขาดออกจากกัน อาจมีบาดแผลติดกับผิวหนังภายนอกหรือไม่มีก็ได้วรให้การช่วยเหลือ คือ ให้กระดูกชิ้นที่หักอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว โดยการเข้าเฝือกชั่วคราว เพื่อยึดกระดูกให้อยู่นิ่ง
การสูดสำลักสิ่งแปลกปลอม
ความหมาย
เช่น ก้างปลา กระดูกไก่ สตางค์ ถ้าเข้าหลอดลมอาจทำให้ทางเดินหายใจอุดตันและตายได้กรณีติดคอ จะมีอาการเจ็บเวลากลืน หรือเจ็บคอมากเวลากลืน
การช่วยเหลือเบื้องต้น
1.เช่น ร้องไม่มีเสียง ไม่สามารถไอได้ควรรีบให้การช่วยเหลือทันทีโดยการทำ subdiaphragmatic abdominal thrust (Heimlich maneuver) ในเด็กายุมากกว่า 1 ปีหรือทำ back blow (slap) 5 ครั้ง สลับกับ chest compression (thrust) 5 ครั้งในทารกอายุ
ในกรณีผู้ป่วยหมดสติ ให้เริ่มการกู้ชีวิต (cardiopulmonary resuscitation, CPR) ทันทีโดยทำ chestcompression 30 ครั้ง (ด้วยอัตร100 ครั้ง/นาที) ต่อด้วยการจัดท่าเพื่อเปิดทางเดินหายใจ (head tilt-chin liftmaneuver)
จมน้ำ (Near Drowning)
ความหมาย
การตายที่เกิดเนื่องจากการหายใจจากการจมในของเหลวเมื่อหายใจเข้าจึงเต็มไปด้วยของเหลวที่จม กีดขวางการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในถุงลม ทำให้ขาดออกซิเจนและถึงแก่กรรมภายใน24 ชั่วโมง
สาเหตุ
การจมน้ำตาย เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อย ในเด็กกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 4 ปี มักพบการจมน้ำในบ้าน เช่น อ่างอาบน้ำ ถังน้ำและแหล่งน้ำรอบๆบ้าน ส่วนใหญ่เกิดจากการละเลยหรือการเผอเรอของผู้ดูแลเด็ก
จมน้ำจืด
Hypotonic solution เมื่อสำลักเข้าไปในปอด จะถูกดูดซึมไปในกระแสเลือดทางปอดอย่างรวดเร็ว ช่วงที่ผ่านถุงลมปอด sufactant ในถุงลมปอดจะถูกทำลายทำให้ปอดแฟบ นอกจากนี้ยังทำให้มีการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง
จมน้ำเค็ม
Hypert onic solution ทำให้ของเหลวในหลอดเลือดถูกดึงเข้าไปในถุงลมปอด มีของเหลวในถุงลมปอดเพิ่มมากขึ้น ถุงลมปอดจะโป่งและแตก เกิดเลือดออกในปอดและมีน้ำคั่งเกิด pulmonary edema
การช่วยเหลือเด็กที่ได้รับสารพิษ
ความหมาย
สารที่เข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย การที่ร่างกายได้รับอันตรายจากสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เรียกว่า การได้รับสารพิษหรือการเกิดพิษ (Poisoning)การที่เด็กได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายโดยการจงใจ หรือ อุบัติเหตุ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสารพิษ
ชนิดของสารพิษ
กลุ่มสารพิษที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบ เช่น สีทาบ้าน สีทาของเล่น สีย้อมผ้า ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่
2.กลุ่มสารกัดกร่อน เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดและด่างที่เข้มข้น สามารถทำลายเนื้อเยื่อที่สัมผัสได้ เช่น
น้ำยาล้างสุขภัณฑ์ น้ำยาล้างผ้าขาว
กลุ่มน้ำยาทำความสะอาดเสื้อผ้า หรือทำความสะอาดร่างกาย เช่น ผงซักฟอก น้ำยาซักแห้ง สบู่เหลว
กลุ่มไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำมันก๊ด น้ำมันเบนซิน น้ำมันสำหรับจุดบุหรี่
5.กลุ่มยาฆ่าแมลง เช่น ยาฆ่าแมลงทำลายผักผลไม้ ยาฆ่ามด ปลวก ชนิดที่ใช้มากที่สุดมีส่วนประกอบของ
organo phosphate เป็นอันตรายมากต่อคน เนื่องจากตกค้างในผักและผลไม้
กลุ่มยารักษาโรค ถ้าได้รับเกินขนาดทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น paracetamol,aspirin,morphine,antihistamine
หลักการรักษาเมื่อเด็กได้รับสารพิษ
1.1 ทำให้อาเจียนกรณีรู้สึกตัว ด้วยการรับประทาน syrup ipecac และให้ดื่มน้ำตามมากๆ จะช่วยให้อาเจียนเร็วขึ้นขนาดของ syrup ipecac อายุ 6-12 เดือนให้รับประทาน 10 ml ครั้งเดียวขนาดของ syrup ipecac อายุ 1-2 ปี ให้รับประทาน 10mใ ให้ซ้ำได้อีกใน 15-20 นาที ถ้ายังไม่อาเจียน
ข้อห้ามใช้ syrup ipecac
1.2 ห้ามทำให้เด็กอาเจียนเมื่อ หมดสติ เพราะอาจสำลักเข้าปอดได้ง่าย รับประทานสารพิษพวกกรด เข้มข้น ด่างเข้มข้น เพราะสารพิษที่อาเจียนออกมาจะกัดเนื้อเยื่อของทางเดินอาหารอีกครั้ง
1.3 การล้างท้อง (sastric lavage) ควรทำในรายที่หมดสติ หรือไม่อาเจียนภายหลังการให้ยาแล้ว การล้างท้องจะไม่ได้ผลถ้ารับประทานสารพิษเข้าไปนานเกิน 4 ชม. ยกเว้นยาบางชนิด เช่น aspirin, barbiturate
1.4 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือให้ยาที่ทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง เช่น NaHCO, เพื่อช่วยเร่งขับสารพิษพวก aspirin
1.5 การเปลี่ยนถ่ายเลือด
ป้องกันการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกายเด็กรับประทานสารพิษที่มีฤทธิ์เป็นกรดให้ดื่มนมมากๆ เพื่อลดการระคายเคือง ถ้าเด็กรับประทานสารพิษที่มีฤทธิ์เป็นด่างให้ดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชู แล้วจึงให้ดื่ม นม ไข่ขาวหรือกล้วยสุก เพื่อเคลือบกระเพาะอาหาร
ลดอันตรายของสารพิษ โดยการให้ยาแก้พิษ (antidotes)
การประคับประคองสัญญาณชีพให้เป็นปกติ ตลอดเวลาขณะให้การรักษา
นางสาวอัญทิรา ตากองค์ 64122230102