Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chapter12 child of infection Disease, นางสาวอัญทิรา ตากองค์ 64122230102 -…
Chapter12 child of infection Disease
1.1 โรคหัด (Measles or Rubeola)
ความหมาย
โรคหัด เป็นกลุ่มโรคไข้ออกผื่นที่พบบ่อยในเด็กอายุ 8 เดือน - 5 ปี ส่วนทารกที่อายุต่ำกว่า 6-8เดือน มักไม่พบ เนื่องจากได้รับภูมิต้านทานจากมารดาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ยกเว้นในรายที่มารดาไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดหรือไม่เคยเป็นหัดมาก่อน
ลักษณะของเชื้อก่อโรค
เกิดจากเชื้อไวรัส measles อยู่ในตระกูล paramyxovius ซึ่งพบในสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ ได้แก่ น้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ และยังพบในเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วยอีกด้วย
แพร่กระจายทางการหายใจ (air-borne transmission) และทางการสัมผัส (directtransmission)
การติดต่อเริ่มตั้งแต่ 4 วันก่อนผื่นขึ้น ถึง 4 วันหลังผื่นขึ้น โดยทั่วไปเด็กจะมีผื่นขึ้นประมาณวันที่ 14 หลังสัมผัสโรค
ลักษณะทางคลินิก
Prodromal stage: มีไข้เฉียบพลัน ร่วมกับอาการ "3C" ได้แก่ cough (ไอ) coryza (น้ำมูกไหล) และ conjunctivitis (ตาแดง) เป็นประมาณ 3 วัน
Rash stage: หลัง 3 วัน จะมีผื่นขึ้น มีลักษณะเป็นผื่นนูนแดง เรียก "maculopapular rash"เริ่มขึ้นที่บริเวณใบหน้า ไรผม แล้วกระจายไปลำตัวและแขนขา ผื่นมักจะอยู่รวมกัน หลังจากนั้นผื่นจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น (hyperpigmentation) และค่อยๆ ลอก (desquamation) โดยผื่นจะอยู่นานประมาณ5-7 วัน
บางรายอาจพบ "Koplik's spots" มีลักษณะเป็นจุดสีขาวเทาเม็ดเล็กๆ หลายๆ เม็ด บริเวณกระพุ้งแก้มตรงข้ามฟันกรามล่าง ซึ่งมักพบประมาณ 2 วันก่อนผื่นขึ้น และจะจางหายไปเมื่อผื่นขึ้นตามตัวชัดเจน
หากเก็บตัวอย่างเลือด จะพบ "measles IgM" ให้ผลบวกภายใน 1-2 วันหลังจากผื่นขึ้น และจะอยู่นาน 1-2 เดือน และหากเก็บตัวอย่างจากสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ เช่น nasopharyngeal swabหรือ throat swab จะพบสารพันธุกรรมของเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนที่พบ
-หูชั้นกลางอักเสบ (otitis media)
-ปอดอักเสบ (pneumonia)
-กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ (laryngotracheobronchitis)
-ท้องเสีย (diarrhea)
-สมองอักเสบ(acute encephalitis)
แนวทางการรักษา
การให้ Vitamin A เนื่องจากการติดเชื้อหัดทำให้ระดับ vitamin A ในเลือดต่ำลง ซึ่งเป็นสาเหตุ
การเสียชีวิตได้ ดังนั้น การให้ vitamin A จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและความรุนแรงของโรคได้
การให้ intravenous immunoglobulin (VIG) เพื่อลดความรุนแรงของโรค
การให้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น หูชั้นกลางอักเสบ และ
ปอดอักเสบ
การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโดย standard precautions ร่วมกับ air-borne precautions อย่างเคร่งครัด
แยกผู้ป่วย (isolation) ในห้องแยกเดี่ยว หรือห้องความดันลบ (negative pressure room)จนกระทั่งผู้ป่วยผื่นขึ้นแล้ว 4 วัน
การป้องกันโรคด้วยวัคซีน
วัคซีนป้องกันโรคหัด จะอยู่ในรูปแบบของวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (measles-mumps-rubella, MMR) เป็น active immunization โดยฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous, SC) ครั้งละ 0.5ml จำนวน 2 เข็มเริ่มฉีดเข็มแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 18 เดือน - 2 ปีครึ่ง
การพยาบาลเด็กโรคหัด
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ด้วย standard precautions ร่วมกับ air-borne precautionsอย่างเคร่งครัด โดยแยกผู้ป่วย (isolation) ในห้องแยกเดี่ยว หรือห้องความดันลบ (negative pressure room) จนกระทั่งผู้ป่วยผื่นขึ้นแล้ว 4 วัน
ดูแลจัดการเรื่องไข้ ด้วยการให้ยาลดข้และเช็ดตัวลดไข้ตามความเหมาะสม รวมถึงเฝ้าระวังภาวะชักจากไข้สูงในเด็กที่มีอายุ 6 เดือน - 5 ปี หรือเด็กที่มีประวัติชักจากไข้สูง
ดูแลความสะอาดทั่วไปของร่างกายเด็ก ตัดเล็บเด็กให้สั้น และระวังอย่าให้เด็กแกะเกาบริเวณผื่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อนของผิวหนัง
ดูแลให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
ดูแลให้ยาตามอาการ เช่น ยาแก้ไอ (antitussive)
6.ให้คำแนะนำผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลด็ก และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
1.2 โรคหัดเยอรมัน (German Measles or Rubella)
ลักษณะของเชื้อก่อโรค
เกิดจากเชื้อไวรัส rubella อยู่ใน family togaviridae ซึ่งพบในเสมหะ สารคัดหลั่ง เลือด และปัสสาวะของผู้ป่วย
การติดเชื้อเกิดจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อภายหลังคลอด (โรคหัดเยอรมัน และการติดเชื้อแต่กำเนิด (โรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด)
โรคหัดเยอรมัน แพร่กระจายเชื้อทางละอองฝอยของเสมหะ (droplet transmission) ส่วนโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด แพร่กระจายเชื้อด้วยการสัมผัสสารคัดหลั่งและปัสสาวะ (direct transmission)
การติดต่อเริ่มตั้งแต่ 7 วันก่อนผื่นขึ้น ถึง 5-7 วันหลังผืนขึ้น
โรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด (Congenital Rubella Syndrome)
ความหมาย
เด็กที่ติดเชื้อหัดเยอรมันแต่กำเนิด มักมีความผิดปกติในหลายระบบ โดยอาจแสดงอาการตั้งแต่แรกเกิด หรืออาจแสดงอาการเมื่ออายุมากขึ้นจนถึงวัยรุ่นได้ (late-onset) ความผิดปกติที่
แนวทางการรักษา
ให้การรักษาตามอาการและอาการแสดงของระบบอวัยวะต่าง ๆ
สำหรับทารกที่มีอาการที่สงสัยว่าติดเชื้อหัดเยอรมันแต่กำเนิด หรือ ทารกที่เกิดจากมารดาที่สงสัยหรือยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมันระหว่างการตั้งครรภ์ จะได้รับการติดตามประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ อย่างใกล้ชิดในช่วง 12 เดือนแรก และส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางโดยเร็วที่สุด หากพบว่าทารกมีความผิดปกติ
การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
ต้องแยกเด็กโรคหัดเยอรมันอย่างน้อย 7 วันหลังผื่นขึ้น
ในกรณีทารกที่เป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด และในผู้ป่วยที่สงสัย ต้องแยกโรคแบบ contact precaution จนอายุอย่างน้อย 1 ปี หรือตรวจไม่พบเชื้อไวรัสจากสิ่งส่งตรวจ
การล้างมือสามารถช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อในบ้าน โรงเรียนและสถานพยาบาลได้ดี
การป้องกันโรคด้วยวัคซีน
อยู่ในรูปแบบของวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (measles-mumps-rubella, MMR) เป็น active immunization โดยฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง(subcutaneous, SC) ครั้ง
ละ 0.5 ml จำนวน 2 เข็มเริ่มฉีดเข็มแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 18 เดือน - 2 ปีครึ่ง
การพยาบาลเด็กโรคหัดเยอรมัน
ทารกที่เป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด และในรายที่สงสัย ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ด้วยcontact precautions จนเด็กอายุอย่างน้อย 1 ปี หรือตรวจไม่พบเชื้อไวรัสจากสิ่งส่งตรวจ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ด้วย droplet precautions สำหรับเด็กที่เป็นโรคหัดเยอรมัน โดยแยกเด็กอย่างน้อย 7 วันหลังผืนขึ้น
ดูแลความสะอาดทั่วไปของร่างกายเด็ก ตัดเล็บเด็กให้สั้น และระวังอย่าให้เด็กแกะเกาบริเวณผืนเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำช้อนของผิวหนัง
ดูแลให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
ติดตามประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ อย่างใกล้ชิดในช่วง 12 เดือนแรก สำหรับทารกที่เป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด
6.ให้คำแนะนำผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลเด็ก และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
1.3 โรคอีสุกอีใส (Chickenpox or Varicella)
ความหมาย
เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อได้ง่ายมาก แต่สามารถหายได้เอง หลังจากติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต โดยทั่วไปหากเป็นในเด็กอาการจะไม่รุนแรง แต่หากเป็นในทารกแรกเกิดและวัยรุ่นจะมีโอกาสเกิดโรครุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
ลักษณะของเชื้อก่อโรค
เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella-zoster (VCV) ซึ่งอยู่ในสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ และหนองจากตุ่มพองตามร่างกายของผู้ป่วย
แพร่กระจายเชื้อทางละอองฝอยของเสมหะ (droplet transmission) ทางการหายใจ (air-borne transmission) และทางการสัมผัส (direct transmission)
ลักษณะทางคลินิก
Prodromal stge: เริ่มด้วย มีข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย กินได้น้อย ประมาณ 1 วัน
Rash stage: มีผื่นขึ้นร่วมกับอาการคัน (rash highly pruitic ที่บริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า คอและลำตัว มากกว่าแขนขา โดยเริ่มเป็นผื่นแดงแบนราบ (macules) ต่อมากลายเป็นตุ่มนูนขึ้น (papules)แล้วตามด้วยตุ่มน้ำใส (vesicles) และเปลี่ยนเป็นตุ่มหนอง (pustules) แล้วค่อย ๆ แตก แห้งและตกสะเก็ด(crust) การ
ผื่นและตุ่มที่เกิดขึ้นจะจางไปโดยไม่เป็นแผลเป็น ยกเว้นหากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
อาการไข้ จะสัมพันธ์กับปริมาณผื่นที่เกิดขึ้น กล่าวคือ หากมีผื่นน้อย อาจไม่มีไข้หรือไข้ต่ำ ๆหรือหากมีผื่นมาก ไข้มักจะสูง และไข้จะลดลงเมื่อผื่นขึ้นทั้งตัว
ภาวะแทรกซ้อนที่ พบ ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน (secondary bacterialinfections) สมองอักเสบ และปอดอักเสบ เป็นต้น
แนวทางการรักษา
การให้ยาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใส (antiviral agent acyclovir; Zovirax) ในเด็กที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่ ทรก เด็กอายุ 2-12 ปี และเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การให้ varicella-zoster immune globulin หรือ intravenous immunoglobulin (IVIG)
เพื่อลดความรุนแรงของโรค
การให้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
การรักษาตามอาการ ได้แก่ ให้ยาลดไข้ ยาลดอาการคัน และการดูแลผิวหนังเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโดย standard precautions ร่วมกับ air-
borne precautions และ droplet precautions
เด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ให้แยกผู้ป่วย (isolation) ในห้องแยกเดี่ยว หรือห้องความ
ดันลบ (negative pressure room) อย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังมีผื่นขึ้น หรือจนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดและหลุด
เด็กที่อยู่บ้าน ให้หยุดเรียนอย่างน้อย สัปดาห์หลังมีผื่นขึ้น หรือจนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดและหลุดลอกหมด
การป้องกันโรคด้วยวัคซีน
วัคชีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
เป็น active immunization โดยฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous; SC) ครั้งละ 0.5 ml จำนวน 2 เข็มเริ่มฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 1 ปี เข็มแรกเมื่ออายุ 12-18 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 2-4 ปี หากเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป เข็มที่ 1 และ 2 ให้ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน
การพยาบาลเด็กโรคอีสุกอีใส
1.ยึดหลัก standard precautions ร่วมกับ air-borne precautions และ droplet
precautions
ดูแลจัดการเรื่องไข้ โดยเฉพาะในระยะที่ผื่นเริ่มขึ้นมาก
ดูแลความสะอาดทั่ไปของร่างกายเด็ก ตัดเล็บเด็กให้สั้น และระวังอย่าให้เด็กแกะเกาบริเวณผื่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำช้อนของผิวหนัง
ดูแลให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา เพื่อลดความรุนแรงของโรค เช่น Acyclovir และ MG
6.ให้คำแนะนำผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลเด็ก และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
1.4 โรคคางทูม (Mumps or Epidemic Parotitis)
ความหมาย
เป็นโรคติดเชื้อที่ทำให้มีการอักเสบของต่อมน้ำลาย ที่พบมากที่สุดคือ parotid glandsพบมากในด็กอายุ 5-10 ปี และพบได้น้อยในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1ปี
ลักษณะของเชื้อก่อโรค
เกิดจากเชื้อไวรัส Paramyxovirus ซึ่งพบในน้ำลายของผู้ป่วย
แพร่กระจายเชื้อทางละอองฝอยของน้ำลาย (droplet transmission) และทางการสัมผัส(direct transmissio
การติดต่อเริ่มตั้งแต่มีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ถึง วันที่ 9 หรือจนกว่าต่อมน้ำลายจะยุบบวม
ลักษณะทางคลินิก
Prodromal stage: มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย กินได้น้อย ประมาณ 1 วัน หลังจากนั้นจะ“เริ่มปวดใต้ขากรรไกร บริเวณมุมคางแผ่ไปทางหู” หรือ “รู้สึกว่าปวดหู
Parotitis stage: ประมาณวันที่ 3 เด็กจะเจ็บและปวดบริเวณต่อมน้ำลายมาก อาจมีไข้ร่วมด้วยโดยอาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง บางรายอาจเคี้ยวและกลืนอาหารไม่ได้ เนื่องจากอ้าปากไม่สะดวกบางรายต่อมน้ำลายบวมโตมากจนมีอาการบวมลงมาถึงหน้าอก อาการบวมจะเป็นมากที่สุดในช่วง 1-3 วันและจะเริ่มยุบลงในวันที่ 3-7
ภาวะแทรกซ้อนที่พบ ได้แก่ อัณฑะอักเสบ (epididymo-orchitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสมองอักเสบ
แนวทางการรักษา
ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโดย standard precautions ร่วมกับ droplet
precautions
แยกเด็ก (isolation) อย่างน้อย 9 วัน ตั้งแต่มีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ถึง วันที่ 9 หรือจนกว่าต่อมน้ำลายจะยุบบวม
การป้องกันโรคด้วยวัคซีน
วัคชีนป้องกันโรคคางทูม จะอยู่ในรูปแบบของวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (measles-mumps-rubella, MMR) เป็น active immunization โดยฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous, SC) ครั้ง
การพยาบาลเด็กโรคคางทูม
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ด้วย standard precautions ร่วมกับ droplet precautionsอย่างเคร่งครัด
ดูแลจัดการความปวด (Pain management)
ดูแลให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอ โดยให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง เนื่องจากเด็กมักจะรับประทานไม่ได้
ให้คำแนะนำผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลเด็ก และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
1.5 วัณโรค (Tuberculosis; TB)
ความหมาย
วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis ซึ่งพบมากถึงร้อยละ 80 โดยมีการแพร่กระจายเชื้อสูง และเด็กมักได้รับเชื้อนี้จากสิ่งแวดล้อม
ลักษณะของเชื้อก่อโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis จัดอยู่ในกลุ่ม Mycobacterium
tuberculosis complex ซึ่งอยู่ในทางเดินหายใจของผู้ป่วย
แพร่กระจายเชื้อทางการหายใจ (air-borne transmission) เอาละอองฝอยที่มีขนาดเล็ก 1 - 5ไมโครเมตร ที่มีเชื้อวัณโรคปนอยู่ เข้าสู่ถุงลมปอด
ในเด็กที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันจำเพาะหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ จะป่วยเป็นวัณโรคหลังรับเชื้อภายใน 2-8สัปดาห์
ลักษณะทางคลินิก
ลักษณะทางคลินิก
มีไข้เรื้อรัง (ติดต่อกันเกิน 7 วัน) เบื่ออาหาร ไม่เล่น น้ำหนักลด โลหิตจาง ไอเรื้อรังเกิน 2สัปดาห์
ประวัติสัมผัสวัณโรคและ/หรือการทดสอบ tuberculin skin test (TST) หรือ interferongamma release assays (IGRAs)
ภาพเอกซเรย์ทรวงอก
พบได้ในหลายรูปแบบที่จะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยวัณโรค
แนวทางการรักษา
ให้ยาต้านวัณโรคที่ไวต่อเชื้อหลายชนิดร่วมกันในการรักษา ด้วยสูตรยามาตรฐานระยะสั้น(standard short-course chemotherapy) คือ “2HRZE/4HR
ให้ยาถูกต้องตามขนาด เพื่อป้องกันความล้มเหลวในการรักษา ปัญหาเชื้อดื้อยา และผลข้างเคียงจากยาที่ใช้รักษา
ระยะเวลาของการรักษาต้องนานเพียงพอ คือ นาน 6 เดือน
ความต่อเนื่องของการรักษา โดยกำกับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
การป้องกันโรคด้วยวัคซีน
วัคซีนป้องกันวัณโรค คือ BCG เป็น active immunization โดยฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal,ID) 0.1 m( จำนวน 1 เข็ม ตั้งแต่แรกเกิด หรือทุกช่วงอายุ
การพยาบาลเด็กโรควัณโรค
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วย standard precautions ร่วมกับ air-borne precautions อย่างเคร่งครัด โดยแยกเด็กในห้องแยกเดี่ยว หรือห้องความดันลบ จนกว่าจะได้รับต้านวัณโรคครบ 2สัปดาห์
ดูแลให้ได้รับยาต้านวัณโรคอย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษา พร้อมทั้งติดตามอาการข้างเคียงของยา เช่น Rifampicin ทำให้มีปีสสาวะสีส้ม
ให้คำแนะนำเด็กโตและผู้ดูแลเกี่ยวกับการรับประทานยาอย่างถูกต้องตามขนาด และต่อเนื่อง
โรคไข้เลือดออกเดงกี
ความหมาย
เป็นโรคติดเชื้อที่ปัจจุบันยังมีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 10-25 ปี ดยโรคนี้นับเป็นสาเหตุที่สำคัญของการป่วยและการตายในเด็กอย่างน้อยใน 8ประเทศของทวีปเอเชีย
ลักษณะของเชื้อก่อโรค
เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue viruses) ประกอบด้วย 4 สายพันธุ์
เชื้อไวรัสเดงกีสามารถแพร่จากคนสู่คนได้โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะ
3.1 Undifferentiated fever (UF) หรือกลุ่มอาการไวรัส 3.2 ไข้เดงกี (Dengue fever; DF) มักเกิดกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ 3.3 ไข้เลือดออกเดงกี (Dengue hemorrhagic fever; DHF 3.4 ไข้เดงกีที่มีอาการแปลกออกไป (Expanded dengue syndrome/ isolatedorganopathy)
การดำเนินของโรคไข้เลือดออกเดง
ระยะไข้ (Febrile phase)
มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้จะสูงลอยอยู่2-7 วัน โดยประมาณร้อยละ 70 จะมีไข้ 4-5 วัน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง
ระยะวิกฤต/ช็อก (Critical phase)
เป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกหลอดเลือด (plasma leakage) โดยจะเกิดขึ้น
พร้อม ๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง
ระยะฟื้นตัว (Convalescence phase)
เริ่มเกิดขึ้นเมื่อการรั่วของพลาสมาหยุด ระดับ Hct จะลงมาคงที่ ชีพจรจะช้าลงและแรงขึ้น ความดันโลหิตปกติ มี pulse pressure กว้าง จำนวนปัสสาวะจะเพิ่มมากขึ้น
การวินิจฉัยโรค
ไข้เกิดแบบเฉียบพลันและสูงลอย 2 - 7 วัน
อาการเลือดออก อย่างน้อยมี positive tourniquet test ร่วมกับอาการเลือดออกอื่น ๆ
ตรวจ Complete blood count (CBC)
การตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสเดงกี ได้แก่ การตรวจ NS1 Antigen (NS1Ag), Dengue
การพยาบาลโดยทั่วไป
การบันทึกสัญญาณชีพ Intake & Output (V/0) ต้องถูกต้อง สม่ำเสมอตามความจำเป็นในระยะ
การให้ V fluid ตามชนิด อัตรา และปริมาณตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด
การประสานงานในการขอเลือด หรือส่วนประกอบของเลือด และการส่งต่อผู้ป่วย
การเตรียมยา และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือมีภาวะแทรกซ้อน
การสื่อสารระหว่างผู้ป่วย/ญาติ กับทีมแพทย์ผู้รักษา
การประคับประคองด้านจิตใจ และให้ความรู้ ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยและญาติ
การรายงานแพทย์ในกรณีเร่งด่วน (ทันที และในกรณีปกติ (ภายใน 1-8 ชั่วโมง)
โรคแผลพุพอง (Impetigo)
ความหมาย
เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณหนังกำพร้าชั้นตื้น “ ติดต่อได้รวดเร็วทางการสัมผัส
ลักษณะของ
โรคและอาการ
1) non-bullous impetigo เป็นชนิดที่พบมากถึงร้อยละ 70 ของผู้ป่วยที่เป็น impetigo(GABH
2) Bullous impetigo เป็นชนิดที่พบน้อย มักพบในทารกแรกเกิดและเด็กเล็ก เกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus ลักษณะรอยโรคจะต่างจาก non-bullous impetigo คือ บริเวณขอบมักจะไม่แดง
การรักษา
1) การรักษาด้วยยา ได้แก่ ยาปฏิชีวนะชนิดทา เช่น 2% mupirocin ointment, fusidic
acid cream ทาบริเวณรอยโรค
2) การรักษาทั่วไป ได้แก่ ฟอกทำความสะอาดด้วยสบู่หรือน้ำยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคที่เรียเช่น Chlorhexidine
การพยาบาลโดยทั่วไป
การรักษาความสะอาดของร่างกายเด็ก
ตัดเล็บเด็กให้สั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อจากการเกา
การดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาบรรเทาอาการคัน
AIDS / HIV infection
โรคเอดส์
ความหมาย
การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง และเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ ส่วนใหญ่ในเด็กเกิดจากการได้รับ
เชื้อจากมารดา
ลักษณะของเชื้อก่อโรค
แพร่กระจายทางการทางการสัมผัส (direct transmission)
เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV; Human Immunodeficiency Virus) จัดอยู่ในสายพันธุ์Lentiviridae
การติดต่อในเด็ก มากกว่าร้อยละ 90 จะติดต่อจากมารดา โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด
ลักษณะทางคลินิกของเด็กโรคเอดส์
มีตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงมีอาการแสดงของโรคซึ่งอาการจะสัมพันธ์กับระดับ CD4 และอาการของโรคแทรกซ้อน
การวินิจฉัยโรค
การตรวจ HIV DNA PCR
การตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (HIV antibody)ในปัจจุบันที่มีการตรวจ HIV DNA PCR ทำให้ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีเกือบทุกราย
การพยาบาลโดยทั่วไป
การดูแลให้เด็กได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส การป้องกันและรักษาการติดเชื้อฉวยโอกาส ตลอดจนการให้ความรู้แก่เด็กโต วัยรุ่น และผู้ปกครองในเรื่องของการรับประทานยา
การดูแลเด็กและวัยรุ่นอย่างเป็นองค์รวม โดยทำความเข้าใจกับธรรมชาติของวัยรุ่น คือ ต้องการรักษาความลับ ต้องการที่จะทำอะไรได้เหมือนคนอื่น ไม่ต้องการถูกตีตรา และต้องการความเข้าใจไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ หรือการมีคู่รักตามวัย
การดูแลเรื่องอาหารและโภชนาการตามวัย ตลอดจนการติดตามประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
การดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อฉวยโอกาส
การให้คำแนะนำหรือจัดกิจกรรมสำหรับเด็กโตหรือวัยรุ่นในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
นางสาวอัญทิรา ตากองค์ 64122230102