Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติ, image, image - Coggle Diagram
ทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติ
ภาวะขี้เทาอุดกั้น
(Meconium impact) หรือ กลุ่มอาการขี้เทาอุดกั้น (Meconium plug syndrome)
การมีขี้เทาอัดแน่นอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือทวารหนัก มักมีสาเหตุมาจากทางเดินอาหารหรือลำไส้อุดตันแต่กำเนิด
ไม่ถ่ายขี้เทา
ไม่ผายลม
ท้องอืด
อาเจียนเป็นสีน้ำดี
ปวดท้อง
ขาดน้ำ
การไม่สมดุลของน้ าและเกลือแร่
มีไข้
โดยทั่วไปทารกแรกเกิดร้อยละ 95 ขับถ่ายขี้เทาภายใน 24 ชม. แรกหลังเกิด และร้อยละ 98 ภายใน 48 ชม
มักพบในทารกแรกเกิดก่อนกำหนด ทารกที่เกิดจากมารดาเป็นเบาหวาน และทารกที่มารดาได้รับการรักษา
การดูแลรักษา
ทารกแรกเกิดที่มีการขับถ่ายขี้เทาช้า จะต้องได้รับการติดตามประเมินและตรวจวินิจฉัย
ภายหลังจากแพทย์ใช้นิ้ตรวจทางทวารหนัก (Digital rectal examination) ขี้เทาจะค่อยๆ ขับถ่ายออกมาหลังจากนั้นแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ (Stooling pattern) จะเป็นไปตามปกติได้เอง
หากไม่ได้ผล อาจทำการรักษาด้วย การสวนอุจจาระเรดิโอกราฟ (Radiographicc contrast enema)
ก่อนจำหน่ายทารกออกจากโรงพยาบาล บิดามารดาควรได้รับคำแนะนำให้สังเกตการขับถ่ายของทารก หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว
ฟันงอกแรกเกิด
(Neonatal or Predeciduous teeth) หรือฟันงอกแต่กำเนิด (Congenital teeth)
ภาวะที่ทารกมีฟันน้ านม 1-2 ซี่ที่งอกเมื่อแรกเกิด ฟันอาจจมอยู่ในเหงือกหรืองอกขึ้นเหนือเหงือก มักงอกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือฟันอาจงอกหลังเกิด
ขณะดูดนม ทารกจะขบกัดหัวนมมารดา ทำให้หัวนมเป็นแผลและมารดาเจ็บหัวนม ทารกอาจปวดฟัน เหงือกด้านตรงข้ามกับฟันเป็นแผล
ทำให้ดูดนมยาก และทารกเสี่ยงต่อการสำลักเอาฟันที่โยกหลุดง่ายหลุดเข้าปอด
การดูแลรักษา
ควรส่งปรึกษาทันตแพทย์ อาจพิจารณาถอนฟันที่โยกได้มากกว่า 2 มม. ฟันโยกง่าย เนื่องจากไม่มีรากฟันหรือรากฟันขนาดเล็ก ทารกจะไม่เจ็บมาก การถอนฟันมักทำในช่วง 8-10 วัน หลังเกิด เพราะช่วงแรกทารกจะมีเลือดออกง่ายเนื่องจากภาวะ Hypoprothrombinemia
กรณีที่ยังไม่สามารถถอนฟันได้ แนะนำมารดาให้ใช้ผ้าก๊อซพันรองไว้ที่หัวนม 2-3 ชั้น และให้มารดาจับผ้าก๊อซไว้ขณะให้บุตรดูดนม เพื่อไม่ให้หลุดเข้าไปในปากทารก
ภาวะอัณฑะค้าง
(Undescended testis or Cryptochidism)
ภาวะอัณฑะไม่ลงถุงเมื่อแรกเกิด อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างปกติภายใน 3 เดือนหลังเกิด
อายุมากกว่า 3 เดือน ทั้งทารกครบกำหนดและทารกก่อนกำหนดมีโอกาสที่อัณฑะจะเคลื่อนลงถุง โดยการรักษาอาจใช้ฮอร์โมนเพศชายหรือการผ่าตัดแล้วแต่กรณี
เด็กอายุเกิน 1 ปี แล้วอัณฑะมักจะไม่ลงมาถาวร ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ การเป็นหมัน
เด็กมีโอกาสเกิดไส้เลื่อน (Hernia)
อัณฑะบิดขั้ว (Torsion)
เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งอัณฑะ
การดูแลรักษา
แนะนำให้บิดามารดาเมื่อพบความผิดปกติหรือคลำไม่พบอัณฑะ ควรนำบุตรมาพบแพทย์
ภาวะท่อน้ำตาอุดตัน
(Dacryostenosis or Nasolacrimal duct obstruction)
เป็นการอุดตันของท่อระบายน้ำตา (Lacrimal canaliculus) บริเวณปลายท่อที่เปิดสู่โพรงจมูก
พบในทารกแรกเกิดมักเป็นกับตาเพียงข้างเดียว
ทารกจะเกิดอาการในช่วงอายุ 3 สัปดาห์ – 3 เดือนหลังเกิด
อาการแสดง
มีน้ำตาคลอ
น้ำตาไหลตลอดเวลาของตาข้างที่อุดตัน
สาเหตุ
มักเกิดจากลิ้นปิดเปิดในท่อน้ำตาไม่เปิด มีพังผืดบางๆ มากั้นอยู่ ปกติพังผืดนี้จะทะลุออกได้เองในช่วงครบกำหนดคลอดจนถึง 2-3 เดือน หลังทารกเกิด ส่วนใหญ่อาการจะหายไปได้เอง
ทารกบางรายอาจมีการอักเสบ มีขี้ตาแฉะ ตาบวมแดง อาการดีขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะป้ายตาแต่จะไม่หายขาด หากเป็นรุนแรงอาจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อกลายเป็นถุงน้ำตาอักเสบ (Dacryocystitis)
การดูแลรักษา
แนะนำให้สังเกตอาการ หากพบว่าทารกมีน้ำตาไหลตลอดเวลาควรพามาพบจักษุแพทย์
แนะนำวิธีนวดบริเวณหัวตา ร่วมกับการใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตาในกรณีที่มีขี้ตามาก เพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อของถุงน้ำตา
วิธีการนวดบริเวณหัวตา
มารดาหรือผู้นวดต้องตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังทำทุกครั้ง
เริ่มด้วยการใช้นิ้วชี้กดไปที่หัวตาบริเวณถุงน้ำตา (Lacrimal sac) ให้แนบเข้าไประหว่างหัวตากับสันจมูกแล้ววนนิ้วลงน้ำหนักเบาๆ เป็นวงกลมบริเวณหัวตา แล้วจึงรูดนิ้วลงมาตามสันจมูกตามแนวของท่อถุงน้ำตากับโพรงจมูก (Nasolacrimal duct)
การนวดทำให้เกิดแรงดันภายในท่อน้ำตาช่วยให้พังผืดที่ขวางทางออกของท่อน้ำตาทะลุออกได้
ควรนวดบ่อยๆ วันละ 10 ชุดขึ้นไป นวดชุดละ 30-40 รอบ
กลุ่มอาการดาวน์
(Down’s syndrome)
เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 (Trisomy 21)
มีลักษณะผิดปกติทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
ลักษณะอาการแสดง
ศีรษะเล็ก
แบนกว้าง
ท้ายทอยแบน
คอสั้น
ใบหน้ากลม
ตาห่าง หางตาเฉียงขึ้นบน
จมูกเล็ก โคนจมูกและดั้งจมูกแบน
ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ
ช่องปากเล็ก ปากอ้า
มีเส้นลายมือตัดขวางเพียงเส้นเดียวบนฝ่ามือ
ภาวะปัญญาอ่อน
มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติทั้งด้านน้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบศีรษะ
พัฒนาการด้านต่างๆ บกพร่องหรือช้ากว่าเด็กปกติ
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
ด้านการเรียนรู้
ด้านภาษา
ด้านสังคม
พัฒนาการทางเพศ
ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโทสบกพร่อง หรือ ภาวะไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโทส
ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโทสได้สมบูรณ์ ภายหลังจากได้รับนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมประมาณ 30 นาที – 2 ชม. จะมีทำให้ระบบทางเดินอาหารแปรปรวน เกิดอาการท้องอืด มีลมในลำไส้ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาจมีอาเจียน ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ เกิดความไม่สมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย
แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
ภาวะพร่องแลคเทสปฐมภูมิ (Primary lactase deficiency)
พบได้ทั้งในทารกที่ดูดนมมารดา ในเด็ก หรือในผู้ใหญ่ที่ดื่มนม หรือรับประทานอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ของนม
อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ขึ้นไป และจะสร้างมากขณะเป็นทารกที่ดูดนมมารดาได้เพียงอย่างเดียว
การสร้างแลคเทสจะค่อยๆ ลดลงเมื่อทารกอายุประมาณ 2 ปี เมื่อการผลิตเอนไซม์แลคเทสน้อยลงจึงเป็นสาเหตุของภาวะไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโทส
ภาวะพร่องแลคเทสทุติยภูมิ (Secondary or acquired lactase deficiency)
มีสาเหตุจากยาบางชนิด โรค หรือการบาดเจ็บเกี่ยวกับลำไส้ เช่น ลำไส้อักเสบติดเชื้อ โรคแพ้กลูเตนการผ่าตัดลำไส้ การได้รับเคมีบำบัด ซึ่งระดับเอนไซม์อาจกลับสู่ภาวะปกติเมื่อโรค การบาดเจ็บ หรือการรักษาสิ้นสุดลง
ภาวะพร่องแลคเทสแต่กำเนิด (Congenital lactase deficiency)
เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากยีนของทั้งบิดามารดาที่มีภาวะนี้ (Autosomal recessive) เป็นภาวะที่ขาดเอนไซม์แลคเทสอย่างสมบูรณ์ ทารกไม่สามารถดูดนมมารดาได้
ทารกกลุ่มนี้ต้องการนมที่ไม่มีแลคโทส (Lactose free infant formula)
การดูแลรักษา
ส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยนาน 1-2 สัปดาห์ และกลับเป็นปกติ
แนะนำให้เปลี่ยนมาใช้นมที่มีเอนไซม์แลคเทสผสมอยู่ คือ นมถั่วเหลือง (Soy milk) หรือนมที่ทำจากข้าว (Rice milk)
ปัจจัยเสี่ยง
ทารกคลอดก่อนกำหนด อายุเพิ่มขึ้น โรคที่ส่งผลต่อลำไส้เล็ก การรักษาด้วยเคมีบำบัด
ภาวะแทรกซ้อน
เนื่องจากแลคโทสช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุแมกนีเซียมและสังกะสีที่มีความสำคัญกับกระดูก การขาดแลคโทสอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่ใช้ในการบำรุงหรือซ่อมแซมกระดูก ทำให้เกิดกระดูกบาง(Osteopenia) อาจทำให้น้ำหนักลด หรือเกิดการขาดสารอาหาร
การวินิจฉัย
สามารถวินิจฉัยได้จากอาการและการตอบสนองของร่างกายเมื่อลดปริมาณนมที่ดื่มในทารกสามารถวินิจฉัยเพิ่มเติมได้จากการตรวจอุจจาระ โดยตรวจหาค่าความเป็นกรดที่เกิดขึ้นมากผิดปกติ