Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4 การเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลครอบครัว และกลุ่มคนในการดูแลตนเอง,…
บทที่4 การเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลครอบครัว และกลุ่มคนในการดูแลตนเอง
ความหมายและความสำคัญ
การดูแลสุขภาพตนเอง คือ กิจกรรม/พฤติกรรม/การตัดสินใจ ที่ เกี่ยวข้องกับการดูแล รักษาสุขภาพ ของปัจเจกชน ครอบครัว หรือกลุ่ม ซึ่ง เป็นคนละชนิดกับกิจกรรมหรือพฤติกรรมทางสุขภาพที่ทำาโดยวิชาชีพ (Professional care) โดยพฤติกรรมที่ว่านั้น อาจเป็นพฤติ กรรมที่เกิดก่อนหน้าหรือทดแทนการไปใช้บริการของแพทย์
รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเอง 5 ระดับ
1.การดูแลสุขภาพตนเองในฐานะวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต
2.การใช้ยารักษาตนเอง
3.ครอบครวี กลุ่ม และชุมชน กับการดูแลสุขภาพกันเองในปัญหา สุขภาพเรื้อรัง
4.กลุ่มดูแลตนเองและส่งเสริมสุขภาพ
5.การดูแลสุขภาพตนเองในรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางสังคม
แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทฤษฎีของโอเร็ม
จุดเน้นเรื่องการดูแลตนเองระดับบุคคล
โอเร็มอธิบายมโนทัศน์ของการดูแลไว้ว่า “การดูแลตนเองเป็นการปฏิบัติ กิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระทำเพื่อให้เกิด ประโยชน์แก่ตนเองในการ ดำรงไว้ซึ่งชีวิต มีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี”
ทั้งนี้หากบุคคลไม่สามารถดูแลตนเองได้ ย่อมต้องการความช่วยเหลือ จากบุคคลอื่น
แนวคิดทฤษฎีของโอเร็มมี 6 มโนทัศน์หลัก
การดูแลตนเอง (self-care)
ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (therapeutic self-care demand)
ความสามารถในการดูแล ตนเอง (self-care agency)
ความพร่องในการดูแล ตนเอง (self-care deficit)
ความสามารถทาง การพยาบาล (nursing agency)
ปัจจัยเงื่อนไข พื้นฐาน (basic conditioning factors) ซึ่ง 6 มโนทัศน์หลักนี้มีความสัมพันธ์กัน และประกอบกันเป็นทฤษฎีการดูแล ตนเอง ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองและ ทฤษฎีระบบการพยาบาล
ครอบครัวเข้มแข็ง
“ครอบครัวเข้มแข็ง” คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ดำเนิน ชีวิตร่วมกันอย่างมีจุดหมายมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน สามารถ ดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง พร้อมที่จะเกื้อกูลสังคมและ คนรอบข้างปรับตัวได้ในสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ไม่สั่นคลอน กับปัญหาหรือ อุปสรรค เมื่อเผชิญปัญหาก็สามารถร่วมกัน แก้ไขจนลุล่วงไปได้ด้วยดี
มาตรฐานครอบครัวเข้มแข็ง
หมายถึง ข้อกําหนดที่ได้รับการยอมรับเพื่อ นำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ เป็นเครื่อง มือการประเมินผลและการเทียบเคียงเพื่อ แสดงถึงความเข้มแข็งของครอบครัวใน สังคมไทย ตลอดจนการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ การดำเนินงานของหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับเพื่อนำไปสู่ เป้าหมายที่ความเข้มแข็งของครอบครัว
สัมพันธภาพภายในครอบครัว
การที่ครอบครัวมีความปรองดองสามัคคีกัน ทำให้สมาชิก ในครอบครัว มีสุขภาวะทางจิตที่ดี เป็นรากฐานที่ดีที่ทำให้มีการพัฒนาทางจริยธรรม และคุณธรรม และเป็นเกราะป้องกันสิ่งชั่วร้ายอันตรายต่าง ๆ ได้ การ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวนั้น สมาชิกในครอบครัว จึงควรมีการ สื่อสารกัน ทําความเข้าใจกันด้วยเหตุผล ปรารถนาดีต่อกันด้วยความ จริงใจ พร้อมที่จะช่วยเหลือ กัน ร่วมกันสร้างป้อมปราการที่แข็งแรงเพื่อ ฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลายได้
การทำบทบาทหน้าที่ของครอบครัว
ครอบครัวมีหน้าที่สาคัญในการอบรมเลี้ยงดูและดูแลสมาชิก ของครอบครัวให้อยู่อย่างเป็นสุข มีภารกิจในการนำพาสมาชิก ของครอบครัวไปสู่คุณภาพและศักยภาพชีวิต สมาชิกของ ครอบครัวเองก็ต้องร่วมรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตน ด้วยเช่นกัน
การพึ่งตนเองของครอบครัว
สมาชิกของครอบครัวควรสามารถพึ่งตนเองในด้าน ต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะ เป็นด้านเศรษฐกิจ สุขภาวะ ข้อมูล ๆ ข่าวสาร การเรียนรู้ และสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับ สถานการณ์ต่าง ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจะทำให้ ๆ ครอบครัวไม่ประสบปัญหาจนกระทบต่อการดำเนิน ชีวิต
ด้านทุนทางสังคม
ได้รับการยอมรับจากบุคคลและสังคมทั่วไปลักษณะของทุนทางสังคมที่เกื้อหนุนสุขภาวะครอบครัว เช่น
ทางการศึกษา การมีระดับการศึกษาที่สูง มักเป็นที่ยอมรับของสังคม
รู้จักเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและมีคุณธรรมจริยธรรม มีความ เมตตากรุณา อ่อนโยน กตัญญูรู้คุณ
ทางกายภาพ ครอบครัวมีที่พักพิงที่มั่นคง และมีงานทำ
สมาชิกของครอบครัวมีพื้นฐานทางจิตสังคม ในการมุ่งอนาคตและ ผลสัมฤทธิ์ ควบคุมตนเอง รู้จัก พอเพียง และมีจิตสาธารณ
การเสริมสร้างพลังอำนาจครอบครัว
เป็นกระบวนการของการพัฒนาความารู้และทักษะ ปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมในการจัดการสมาชิกและค้นหา ทางออกเพื่อให้ครอบครัวบรรลุตามความต้องการ
หลักการเสริมสร้างพลังอำนาจ
ทำให้สมาชิกมองเห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับครอบครัวและเชื่อว่า ตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้นได้
ใช้ประสบการณ์เดิมของบุคคลเป็นจุดเริ่มต้น โดยให้สมาชิกเชื่อมโยง ประสบการณ์เดิมของตนเชื่อมกับปัจจัยต่าง ๆ ของปัญหาที่ครอบครัว ประสบอยู่ในปัจจุบัน
ให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงตั้งแต่การเลือกประเด็นสุขภาพที่ ต้องการเรียนรู้ วางแผนกิจกรรม ประเมินผลตนเอง ตลอดจนประเมินผลกิจกรรม
4.ใช้การเรียนรู้ร่วมกันแบบกลุ่ม โดยให้สมาชิกช่วยกันสอนช่วยกันชี้แนะ จนแต่ละคนเกิดความรู้ใหม่และลงมือปฏิบัติในสิ่งที่สอดคล้องกับความ เป็นจริง รู้สึกถึงความเป็นครอบครัวของตนและรู้สึกว่าทุกคนมีพลังมาก พอในการแก้ไขปัญหาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ต้องการได้
เน้นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ ความรู้สึกและ ทักษะ
เน้นการสอนที่ยืดหยุ่นและต่อเนื่อง มีการปรับเนื้อหาวิธีการและสื่อให้ เหมาะกับความต้องการของสมาชิกให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและจากการลงมือปฏิบัติ
7.ต้องให้สมาชิกเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาและไม่น่าเบื่อ
คุณลักษณะพยาบาลในการเสริมสร้างพลังอำนาจทางสุขภาพ
มีบุคลิกภาพดี รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีอารมณ์ขัน สื่อสารกับผู้อื่นได้ชัดเจนทั้งการพูด มี ทักษะการพูดที่ดี การเคลื่อนไหว และการใช้สายตา (นิตยา เพ็ญศิรินภา, 2542)
2.มีความกระตือรือร้น รักการเรียนรู้ เปิดเผย จริงใจ พร้อมจะเรียนรู้ไปกับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอยู่เสมอ
4.มีลักษณะไวต่อการรับรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อ ค่านิยม และความพร้อมในการเรียนรู้
6.มีความเชื่อในศักดิ์ศรีของมนุษย์ และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล อันเป็นพื้นฐานไปสู่การให้อิสระแก่ผู้อื่นใน การจัดการเรียนรู้
7.มีจิตสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
8.มีความเชื่อมั่นในการมีส่วนร่วม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
9.มีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะส่งผลต่อเนื้อหาสาระของการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดไว้ล่วงหน้าได้ รวมทั้ง สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
5.มีลักษณะอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ทำตนเหนือผู้อื่น ไม่แสดงท่าทางเบื่อหน่ายหรือหมดพลัง
10.มีทักษะในการฟัง และตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน การระดมความคิดเห็นและการสร้างการมีส่วนร่วม มีทักษะในการจับประเด็น และควบคุมประเด็น ทักษะในการวิเคราะห์ ความสามารถในการแยกแยะ เชื่อมโยง และ รวบรวมประเด็นต่าง ๆ เพื่อหาข้อสรุปได้
นางสาวพรหมพร โอภาภิรัตน์ เลขที่52 ปี2