Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ภาวะที่ค่า systolic BP ≥ 140 mmHg หรือ diastolic BP ≥ 90 mmHg วัดตั้งแต่ 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมงภายหลังพัก
ชนิดของภาวะความดันโลหิตสูง
Gestational Hypertension
ภาวะ BP สูงที่วินิจฉัยเป็นครั้งแรกในระหว่างการตั้งครรภ์ ที่ GA > 20 wk
ไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ (no significant proteinuria)
BP กลับสู่ระดับปกติภายใน 12 wk หลังคลอด
ประมาณร้อยละ 50 จะพัฒนาไปเป็น preeclampsia
Chronic Hypertension
ภาวะ BP สูงที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์
วินิจฉัยได้ก่อน GA 20 wk. จากสาเหตุอื่นๆ
3.1Preeclampsia
ภาวะ BP สูงที่พบครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์ ที่ GA > 20 wk ร่วมกับมี significant proteinuria
อาจมีภาวะบวมผิดปกติร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
BP สูงนานไม่เกิน> 12 wk หลังคลอด
3.2Eclampsia
ภาวะ preeclampsia ที่มีภาวะชักร่วมด้วย
4.Preeclampsia superimposed on chronic hypertension
ภาวะ Preeclampsia ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วย CHT
ปัจจัยเสี่ยง
ไม่เคยคลอดบุตร (nulliparity)
•ประวัติภาวะครรภ์เป็นพิษในครรภ์ก่อน มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 7 เท่า
•ผ่านการคลอดบุตรคนก่อนมานานอย่างน้อย 10 ปี มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
•อายุ 40 ปีขึ้นไป ทั้งที่ไม่เคยผ่านการคลอด&เคยผ่านการคลอดมาแล้ว
•BMI ตั้งแต่ 35 kg/m2 ขึ้นไป หรือ Obesity
Multiple pregnancy
Hypertension โรคไตเรื้อรัง DM
ภาวะโภชนาการบกพร่อง : ขาดวิตามินซี วิตามินอี ขาดแคลเซียม
อาการและอาการแสดง : Preeclampsia
ปวดศีรษะส่วนหน้า (frontal headache)
•การมองเห็นผิดปกติ (visual disturbance)
•เจ็บเสียดยอดอก (epigastric pain)
อาการและอาการแสดง Generalized tonic clonic convulsion
•ปวดศีรษะมาก (throbbing)
•กระสับกระส่าย ไวต่อการกระตุ้น
•ตาพร่ามัว
•อาเจียน
•ระบบประสาทตื่นตัว (hyperreflexia)
ลักษณะของการชัก
ระยะก่อนชัก (premonitoring stage) กระสับกระส่าย ตามองนิ่งอยู่กับที่ ศีรษะหมุนไปด้านหนึ่งจนตึง
ระยะเริ่มแรก (stage of invasion) กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและมุมปากกระตุก ริมฝีปากเบี้ยว
ระยะชักเกร็ง (stage of contraction / tonic stage) กล้ามเนื้อเกร็งทั่วร่างกาย ลำตัวเหยียด ศีรษะหงายไปด้านหลัง
ระยะชักกระตุก (stage of convulsion / clonic stage) กล้ามเนื้อทั่วร่างกายกระตุกอย่างแรง ขากรรไกรกระตุก อาจกัดลิ้นบาดเจ็บ
ระยะหมดสติ (coma / unconscious) นอนนิ่งไม่เคลื่อนไหว ในสภาพหมดแรง อาจหยุดหายใจเป็นบางครั้ง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
•Abruptio placentae
•ภาวะเลือดไม่แข็งตัว (DIC)
•ภาวะหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction)
•ภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure)
•ภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema)
•เลือดออกในสมอง (cerebral hemorrhage)
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ & ทารกแรกเกิด
•ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
•ขาดออกซิเจน มีกรดคั่ง (hypoxia, acidosis, distress)
•ทารกคลอดก่อนก าหนด (preterm birth)
•แท้งหรือเสียชีวิตในครรภ์ (abortion, DFU)
การรักษาในภาวะ Preeclampsia without severe features
•ให้นอนพัก ควบคุมอาการไม่ให้รุนแรงขึ้น
•เฝ้าระวังการเกิด severe features
•ดูแลให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนครบกำหนดคลอด
ให้ bed rest
การรักษาในภาวะ Preeclampsia with severe features
•ป้องกันการชัก ควบคุม BP และยุติการตั้งครรภ์
ให้นอนพักบนเตียงเต็มที่ (absolute bed rest)
เริ่มให้ยา MgSO4 ทันที เพื่อป้องกันการชัก
ให้ยาลดความดันโลหิต เมื่อ systolic BP ≥ 160 / diastolic BP ≥ 110 mmHg
วัด BP ทุก 15 นาที จนกว่าจะคงที่ & ประเมินทุก 1 hr.จนกระทั่งคลอด
ห้ามให้ Tocolysis ในทุกอายุครรภ์
การยุติการตั้งครรภ์ โดยการเจาะถุงน้ำคร่ำและให้ oxytocin แพทย์มักพิจารณาช่วยคลอดด้วย F/E หรือ V/E ในรายที่การคลอดไม่ก้าวหน้าหรือเกิดภาวะ fetal distress พิจารณา C/S
การรักษา Eclampsia
ควบคุมการชัก แก้ไขภาวะพร่อง O2 และความเป็นกรด ควบคุมความดันโลหิต
ยุติการตั้งครรภ์เมื่อควบคุมอาการชักได้แล้ว
ให้ยา MgSO4 เพื่อควบคุมอาการชักและป้องกันการชักซ้ำ
ไม่ควรใช้ diazepam เนื่องจากจะกดระดับความรู้สึก
ให้ MgSO4 ต่อจนครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด
บันทึก I/O เพื่อเฝ้าระวังภาวะ Pulmonary edema
การพยาบาล : Preeclampsia without severe features
•การพักผ่อน นอนตะแคงซ้าย ทำกิจวัตรได้ตามปกติ งดทำงานหนัก
•รับประทานอาหารครบหมู่ อาหารมีกากใย ไม่ต้องจำกัดเกลือ
การสังเกตอาการผิดปกติ บวมผิดปกติ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ปัสสาวะ
ออกน้อยลง BP สูง ให้มาพบแพทย์ทันที
เน้นการมาตรวจตามนัด
บันทึกการดิ้นของทารกในครรภ์ ถ้าดิ้นน้อยลงให้รีบมาพบแพทย์
การพยาบาล : Preeclampsia with severe features
Absolute bed rest
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ลดการกระตุ้นจากแสงและเสียง
หลีกเลี่ยงการ PV
ประเมิน Vital signs โดยเฉพาะ BP ทุก 1 ชม.
บันทึก intake / output
ประเมินอาการ Mg toxicity กรณีได้รับยาMgSO4
ดูแลให้ยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะ Eclampsia
ใส่ oral airway หรือ mouth gag ป้องกันไม่ให้กัดลิ้นและสะดวกในการดูดเสมหะและน้ำลาย เพื่อป้องกันการสำลัก
จัดให้นอนตะแคง ใส่ไม้กั้นเตียง ใช้หมอนรองรับ (ไม่ผูกมัด)
ให้ O2 ขณะและภายหลังชักและประเมินความรุนแรงของการขาด O2
ดูแลให้ยาระงับชักตามแผนการรักษา (MgSO4)