Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการและพัฒนาการของการพยาบาล และการผดุงครรภ์ในประเทศไทย - Coggle…
วิวัฒนาการและพัฒนาการของการพยาบาล
และการผดุงครรภ์ในประเทศไทย
กำเนิดการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของประเทศไทย
ผู้หญิงสยามในยุคสมัยก่อนจะเสี่ยงอันตรายสูงมากในการคลอดบุตรและทารกที่เกิดมักมีโรคแทรก อัตราการตายของแม่และเด็กอยู่ในระดับสูงในสายตาของมิชชันนารีตะวันตกเห็นว่าการแพทย์ การผดุงครรภ์ของสยาม ขาดความก้าวหน้าจึงได้เสนอให้เปลี่ยนแปลงการแพทย์การผดุงครรภ์เข้าสู่สมัยใหม่
พ.ศ. 2432 สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินี
ในรัชกาลที่ 5 ทรงเลิกบรรทมเพลิง (อยู่ไฟ) แบบไทย มาใช้วิธีการแบบตะวันตก ในคราวประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ พระองค์ ประชวรด้วยพิษไข้ นายแพทย์ปีเตอร์
เกาแวน (Peter Gowan) เข้าถวายการดูแลหลังมีพระประสูติกาล ตามแนวทางการผดุงครรภ์แผนใหม่
พ.ศ. 2439 ได้มีการเปิด
“โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์และการพยาบาลไข้”
ปี 2457 สภากาชาดสยามได้ตั้ง
โรงเรียนนางพยาบาลอย่างแท้จริงขึ้นเป็นปฐมในกรุงสยาม
ปีพุทธศักราช 2460 ได้มีการแลกเปลี่ยนนักเรียนระหว่าง
โรงพยาบาลศิริราชกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดังปรากฏในบันทึกหนังสือสภากาชาดสยามพุทธศักราช 2462 หัวข้อโรงเรียนการ พยาบาล
ปี พ.ศ. 2467 คณะมิชชันนารีอเมริกาได้เปิดโรงเรียนฝึกหัดนางพยาบาลโรงพยาบาลแมคคอร์มิค และได้ดำเนินการขอใช้หลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนนางพยาบาลสภากาชาดสยามพร้อมขอใช้ข้อสอบไล่ด้วย
ปี พ.ศ. 2463 สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้พระราชทานทรัพย์ 80,000.00 บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ และการพยาบาลที่ต่างประเทศ พระราชทานนาม กองทุนว่า “ทุน 6 เจ้าฟ้า”
นักเรียนทุนบางท่านเป็นที่รู้จักของประชาชนอย่างกว้างขวาง
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ต่างกลับมาประกอบหน้าที่การงาน
สนองพระมหากรุณาธิคุณ ถ่ายทอดความรู้ สร้างความ
เจริญก้าวหน้าแก่วิชาชีพประเทศชาติบ้านเมือง
การพัฒนาเข้าสู่วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของประเทศไทย
พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน โดยปรับหลักสูตรจาก เป็น 4 ปี รับผู้เข้าศึกษาจากมัธยมปลายเป็นอย่างต่ำ เนื้อหาสาระครอบคลุมวิวัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์
การแพทย์ การศึกษาทั่วไป การศึกษาวิชาชีพการพยาบาล
การผดุงครรภ์ ความต้องการของสังคมในด้านการ
รักษาพยาบาล
หลักสูตรการเรียนการสอนมีการพัฒนาให้เป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษาเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2499
เกณฑ์ความเป็นวิชาชีพ
มีหลักสูตรตามมาตรฐานวิชาชีพที่เป็นสากล
ผู้สาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในวิชาเฉพาะที่ผู้อื่นไม่สามารถทำได้ มีองค์ความรู้ที่มีขอบเขตชัดเจนและมีลักษณะ เฉพาะเจาะจงของเฉพาะสาขา
สามารถให้บริการทางวิชาชีพได้อย่างเป็นอิสระ
มีค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพ และองค์กรวิชาชีพ ควบคุมกำกับดูแลสมาชิกวิชาชีพ
องค์กรวิชาชีพการพยาบาล
1.องค์กรทางกฎหมายมีพระราชบัญญัติรองรับ เช่นแพทยสภา สภาการพยาบาล ทันตแพทยสภา
สภาทนายความ สภาวิศวกรรม
องค์กรสนับสนุนที่ไม่มีอานาจทางกฎหมายรวมตัว
กันขึ้นด้วยความสมัครใจแล้วขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง
ตามกฎหมาย เช่น แพทยสมาคม สมาคมพยาบาล
แห่งประเทศไทยฯ
ปี พ.ศ. 2470 พยาบาลได้รวมตัวกันเพื่อก่อตั้งสมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม (ปัจจุบันคือ สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ) โดยมีหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลลาศน์ หัวหน้ากองโรงเรียนนางพยาบาล สภากาชาดสยาม
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 94 ปีเต็ม มีส่วนพัฒนาและสนับสนุนช่วยเหลือสมาชิกวิชาชีพในทุกด้านอย่างเหลือคณานับอีกทั้งยัง สนับสนุนให้เกิด “สภาการพยาบาล”
สภาการพยาบาล
พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น จึงทรงประกาศ
พระราชบัญญัติการแพทย์ปีพุทธศักราช 2466 และให้มีหน่วยงานควบคุม ผู้ปฏิบัติต่อผู้เจ็บป่วยทั้งแพทย์และ พยาบาลโดยเรียกว่า การประกอบโรคศิลปะ นับแต่นั้น
ผู้ประกอบโรคศิลปะ แพทย์ พยาบาล จึงปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466
พ.ศ. 2479 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงโปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบ
โรคศิลปะ พุทธศักราช 2479
มีการตราพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511
มาใช้บังคับ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเวชกรรมแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งแพทย์จึงมีชื่อใหม่ว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม”
พ.ศ.2521คณะกรรมการสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
ได้จัดตั้งคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพ ฯ
พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ตราพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และให้จัดตั้ง
สภาการพยาบาล
ใช้เวลา 17 ปีกว่าจะได้เป็นวิชาชีพ ที่มีพระราชบัญญัติวิชาชีพเป็นของตนเอง
การพัฒนาการตนเองสู่การพัฒนาวิชาชีพ
สมาชิกวิชาชีพทุกคนต้องรู้จักพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะ สามารถประกอบวิชาชีพ ในระบบสุขภาพได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มี ความสุข และเป็นกำลังสำคัญ มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้า เป็นที่เช่ือมั่นและศรัทธาของสังคม
ทักษะที่จะทำให้ตนเองประสบความสำเร็จและเป็นที่ต้องการตัวขององค์กรต่างๆ
1) Leadership มีความเป็นผู้นำสูง
2) Critical Thinking มีทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
3) Collaboration มีความสามารถในการทำงาน
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี
4) Communication มีทักษะการสื่อสารที่ดี
5) Adaptability ความสามารถในการปรับตัว
6) Productivity and Accountability ต้องมีความรับผิดชอบสูงและมีความสามารถในการสร้างผลงาน
มากกว่าคนอื่น
7) Innovation มีทักษะในการคิดอะไรใหม่ๆ
9) Global citizenship ทักษะในการปรับตัวให้กับ
วัฒนธรรมใหม่ๆของประเทศต่างๆ
8) Accessing analyzing and synthesizing information ทักษะการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่ได้มา
10) Entrepreneurialism มีความคิดความรู้สึกแบบ
ผู้ประกอบการ