Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลระยะยาว (Long-term care) - Coggle Diagram
การดูแลระยะยาว (Long-term care)
หมายถึงการให้บริการที่หลากหลาย ครอบคลุมการให้บริการด้านสุขภาพและบริการดูแลที่เกี่ยวกับการแพทย์แก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือผู้พิการที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้เป็นระยะเวลานาน การดูแลระยะยาวจะเน้นให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการการดูแลของแต่ละคนซึ่งอาจแตกต่างกัน บนพื้นฐานของการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด
รูปแบบการให้บริการ LTC การให้บริการLTC โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบกว้างๆ ได้แก่
การดูแลที่บ้าน/ ชุมชน (home/ community based care)
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีครอบครัว หรือคนใกล้ชิดให้การดูแล และเป็นการดูแลที่ตอบสนองความต้องการ
ด้านจิตใจของผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงที่ต้องการกำลังใจจากคนในครอบครัวมากเป็นพิเศษ
การดูแลในระดับสถาบัน (institutional care)
การดูแลระดับสถาบัน สำหรับรองรับผู้ป่วยหรือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่ไม่มี ครอบครัวหรือชุมชนดูแล หรือผู้ที่ต้องการบริการทางการแพทย์ที่ไม่สามารถจัด ให้บริการที่บ้านได้ สถานบริการที่ให้การดูแลระยะยาวมีหลายรูปแบบ ตามระดับ ความต้องการของผู้ป่วย
ในระบบการดูแลระยะยาว
สหวิชาชีพ ทำหน้าที่ให้บริการด้านสุขภาพและบริการทางการแพทย์
ผู้จัดการเคส (care manager: CM)ทำหน้าที่วางแผนการให้การดูแลด้านสุขภาพ (care plan) ของผู้ป่วยแต่ละราย
ผู้ช่วยเหลือดูแล/ นักบริบาล (caregiver: CG)ทำหน้าที่ให้การช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะติดบ้านติดเตียง
เป้าหมายเฉพาะของการนําร่องการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในพื้นที่
พัฒนาและทดสอบเครื่องมือที่จะใช้ในการคัดกรองและประเมินความจําเป็นในการได้รับบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านบริการสาธารณสุขและบริการด้านสังคมที่เป็น รูปธรรมและเป็นไปได้เหมาะสมสำหรับการจัดระบบการดูแลระยะยาวด้าน สาธารณสุขในพื้นที่
พัฒนาหลักสูตรการอบรมทั้งผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในพื้นที่ (Long Term Care Manager) และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุภาคทางการ (Care Giver) ที่จะไปสนับสนุนการดูแลโดยครอบครัวในชุมชน
พัฒนารูปแบบการอภิบาลและการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในพื้นที่
หลักการสําคัญในการพัฒนา
ผู้มีภาวะทุพลภาพและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดเตียง และติดบ้าน) สามารถเข้าถึงระบบการดูแลระยะยาวที่พึงได้รับได้อย่างเหมาะสมต่อเนื่อง
การสนับสนุนการจัดระบบการดูแลระยะยาวในพื้นที่หรือชุมชนไม่ไปแย่งชิงบทบาทหน้าที่การดูแลของครอบครัว
ในการจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขอาศัยบุคลากรที่มิใช่วิชาชีพ เป็นหลัก เช่น ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ โดยมีบุคลากรด้านวิชาชีพเช่น แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบําบัด เป็นผู้สนับสนุนในการจัดระบบการดูแล
ทุกพื้นที่มีการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในพื้นที่ โดยอาศัย ต้นทุนทางสังคมที่มีอยู่และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บุคลากรที่จำเป็นสำหรับการจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในพื้นที่
ในการจัดระบบการดูแลระยะยาวในพื้นที่นั้นจำเป็นต้องมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการจัดการระบบเพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพลภาพ หรือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาว (LTC manager) ขณะเดียวกันก็ต้องมีผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุภาคทางการ (Care Giver) เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงที่บ้านนอกเหนือจากบุคลากรที่มีอยู่แล้วในระบบอื่นๆ
ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุภาคทางการ (Trained Care Giver)
หมายถึงผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขแก่ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ โดยเป็นผู้ผ่านการอบรมและมีประสบการณ์ในการดูแล ผู้สูงอายุ ทั้งนี้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุภาคทางการนี้ อาจพัฒนาขึ้นมาจากอาสาสมัคร สาธารณสุขหรืออาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ มารับการอบรมและได้รับค่าตอบแทนอย่างเป็นทางการ
บทบาทหน้าที่ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุนั้นประกอบด้วย การช่วยเหลือในการ ดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การดูแลกรณีใช้อุปกรณ์เครื่องช่วย (สาย สวนต่างๆ การให้อาหารทางสาย การใช้เครื่องช่วยหายใจ เครื่องดูดเสมหะ) การดูแลแผล กดทับ การทำกายภาพบําบัดเบื้องต้น การดูแลระยะสุดท้าย เป็นต้น
การวางแผนการดูแลเฉพาะราย(Care Plan)
ผู้จัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข(LTC manager) จะทำการตรวจประเมินภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ (รายละเอียดตามแบบประเมินในภาคผนวก) และ ศักยภาพของครอบครัวผู้สูงอายุ เพื่อประเมินหาความต้องการด้านบริการสาธารณสุข จัดลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อจัดทำแผนการดูแลเฉพาะราย (Care Plan) อาจจัดทำเป็นแผนงานรายสัปดาห์(Weekly Plan)/รายเดือน(Monthly Plan) ตามชุดสิทธิประโยชน์ การดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่กำหนด
การควบคุมกํากับ และติดตามประเมินผล
การควบคุมติดตามกำกับ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งในการตั้งเป้าหมายการดูแลนั้น จะขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา ความต้องการด้านสาธารณสุขของผู้สูงอายุแต่ละราย โดยกำหนดเป็นเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว เมื่อมีการมอบหมายบทบาทภาคีเกี่ยวข้องตามแผนการดูแล ผู้จัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้าน สาธารณสุข(LTC manager)