Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Birth Asphyxia ภาวะขาดออกซิเจน, พยาธิสภาพ - Coggle Diagram
Birth Asphyxia
ภาวะขาดออกซิเจน
ความหมาย
ภาวะที่ประกอบด้วย เลือดขาดออกซิเจน (hypoxemia) คารบอนไดออกไซด์ในเลือดสูง (hypercapnia) และภาวะกรดจากเมตาบอลิซึม หรอื จากไม่มีการระบายอากาศที่ปอด (ventilation) และปริมาตรเลือดที่ผ่านปอด (pulmonary perfusion) น้อย หรือ มีไม่เพียงพอ หลังจากการคลอด ส่งผลให้อวัยวะที่สําคัญ ขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง ทําให้เกิดการสูญเสียหน้าที่และเสื่อมประสิทธิภาพของอวัยวะนั้นๆ และเกิดความพิการต่างๆทางสมองตามมา
ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด ทําให้เกิดการหายใจทางปากหายใจไม่สม่ำาเสมอและหัวใจเต้นช้าลง ส่งผลให้เกิดภาะเลือดเป็นกรด ค่าความเป็นกรด (pH) ต่าลง ค่าความดันออกซิเจนในเลือด (PaO2) ลดลง ค่าความดันคาร์บอนไดออกไซด์(PaCO2) เพิ่มขึ้น การกระจายของเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป จากเดิม เพื่อให้หัว ใจและสมองได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอ
ปริมาณของเลือดที่ไปสู่ปอด ไต ลําไส้ และลําตัวจะลดลง ทําให้หลอดเลือดฝอยในปอดหดตัวมีเลือดไหลลัดผ่าน foramen ovale และ ductus arteriosus เข้าสู่ระบบหลอดเลือดของร่างกาย เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่จําเป็นของร่างกาย คือ สมองและ หัวใจ ถ้าภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด นานเกิน 5 นาที หัว ใจและสมองก็จะขาดออกซิเจน ถ้าทารกไม่ได้ รับการช่วยยเหลืออย่างทันทวงทีจะทําให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดมากขึ้นทําให้เกิดหลอดเลือดฝอยในปอด หดตัวมากยิ่งขึ้น ทําให้การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
สาเหตุการเกิด
1) ปัจจัยเสี่ยงด้านมารดา ได้แก่ อายุมากกว่า 35 ปี ภาวะรกลอก ตัวก่อนกําหนด ภาวะถุงน้ำคร่ำ แตกก่อนคลอดนาน และภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหติ สูงเบาหวาน
2) ปัจจัยเสี่ยงด้านการ คลอด ได้แก่ การคลอดท่าก้นทางช่องคลอด ภาวะผิดสัดส่วนของศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน ภาวะสายสะดือถูกกดทับ ระยะเวลา การคลอดยาวนาน
3) ปัจจัยเสี่ยงด้านทารก ได้แก่ คลอดก่อน กําหนด ครรภ์แฝด ภาวะน้ำคร่ำ มีขี้เทาปน ภาวะคับขันของ ทารกในครรภ์ และภาวะทารก
เจริญต่ำกว่าปกติ
การรักษา
การรักษาในระยะแรกคลอด
โดยการช่วยกู้ชีพทารกเเรกเกิด ( neonatal resuscitatio):
การรักษาประคับประคองและรักษาตามอาการ เมื่ออทารกอาการดีขึ้นนต้องติดตาม อาการต่อเนื่อง
ภาวะขาดออกซิเจนแบ่งออกเป็น2ระดับ
1.ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดเล็กน้อหรือปานกลางกลาง (mild or moderate birth asphyxia) มีค่าคะแนนแอปการท์ ที่ 1 นาที เท่ากับ 4-7
ช่วยการหายใจ โดยใช้ Bag หรือ mask โดยให้ออกซิเจน ร้อยละ100 และความดันเพียงพอที่ทําให้เกิดการเคลื่อนไหวของทรวงอก ช่วยยหายใจจนกว่า HR > 100 ครั้ง/นาที ทารกตัวแดงดี มีการหายใจเอง ตรวจสอบทารกด้วยระบบ Apgar Score
ขณะให้การพยาบาลทารกควรอยู่ Radiant warmer ส่งหน่วยทารกแรกเกิดเพื่อสังเกตอาการต่ออีก 30-60 นาที อบที่ตู้อบหรือ Radiant warmer
ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดอย่างรุนแรง (severe birth asphyxia) มีค่าคะแนนแอปการท์ ที่ 1 นาทีเท่ากับ 0-3
ช่วยหายใจทันทีที่คลอดเสร็จ (ตัด Cord และผูก Cord ก่อน )โดยใส่ endotrachial tube พร้อมทั้งทำการ clear air way ช่วยการหายใจด้วย bag โดยการให้ออกซิเจน 100% ช่วยนวดหัวใจ เท่ากับ 1:5 ประเมินการเต้นของหัวใจภายใน 1 นาที หรือ อัตราการเต้นของหัวใจภายใน 1 นาที หรือ อัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้งต่อนาที หลังการนวดหัวใจแล้ว ให้การช่วยเหลือด้วยออกซิเจน 100% นาน 2 นาทีและควรได้รับการรักษาด้วยสารน้ำและยา
อาการ
เขียว ไม่หายใจ ตัวอ่อนปวกเปียก หัวใจเต้นช้าขณะคลอดอาจพบขี้เทาในน้ำคร่ำ
การพยาบาล
1.การดูแลเรื่องการหายใจและการให้ออกซิเจน การดูแลการหายใจของทารก คือ ทำทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอโดยดูดเสมหะปากและจมูก โดยใช้ความดันระหว่าง 60-80 มิลลิเมตรปรอท การดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 15 วินาที และให้ออกซิเจนก่อนและหลังดูดเสมหะทุกครั้ง
1.1 จัดท่านอนของทารกให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนอย่างเหมาะสม และ เต็มที่โดยใช้ผ้าหนุนบริเวณคอและไหล่
เพื่อให้ทางเดินหายใจตรงอากาศผ่านเข้าออกได้สะดวก
1.2 การให้ออกซิเจน เนื่องจากทารกมีภาวะแทรกซ้อนจากการให้ออกซิเจนได้ง่ายการปรับให้ออกซิเจนจึงควรตรวจสอบให้แรงดันออกซิเจนในเลือดแดงอยู่ระหว่าง 50-80 มิลลิเมตรปรอท และให้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับปกติอุณหภูมิร่างกาย 36.8-37.4 องศาเซลเซียส จัดให้ทารกนอนอยู่ในตู้อบเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจากผิวกายของทารก การแผ่รังสี และ เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งเมื่อทารกถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
3.การดูแลให้ทารกได้รับสารน้ำและอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและให้นมทางสายยาง โดยต้องตรวจสอบตำแหน่งของสายยางให้อยู่ในกระเพาะอาหารเสมอ และ บันทึกจำนวนนมที่ได้รับในแต่ละมื้อ และตรวจสอบดูปริมาณของนมหรือน้ำย่อยก่อนให้นมทุกครั้ง
การป้องกันการติดเชื้อ โดยปฏิบัติการพยาบาลด้วยวิธีที่ปลอดเชื้ออย่างเคร่งครัด
พยาธิสภาพ