Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคสุรา - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยโรคสุรา
ความหมาย
สุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หมายถึง เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ ได้แก่ เบียร์ เหล้า สาโท กระแช่ วิสกี้ สปาย ไวน์ เป็นเครื่องดื่มที่ถูกกฎหมาย แอลกอฮอล์ ประกอบด้วย สารเคมีกึ่งธรรมชาติกึ่งสังเคราะห์ มีชื่อทาง เคมีว่า Ethanol
Alcohol Dependence หมายถึง การดื่มสุราเป็นจ านวนมากเป็นเวลานานจนท าให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจ
Alcohol withdrawal อาการขาดแอลกอฮอล์ หรือลงแดง หมายถึง ผู้ที่เสพติดแอลกอฮอล์แล้วมีอาการ
ผิดปกติต่าง ๆ เมื่อต้องหยุดดื่ม ซึ่งอาการนั้นอาจรุนแรงเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
Alcohol withdrawal delirium หรือ Delirium tremens เป็นอาการถอนพิษสุราที่รุนแรงร่วมกับอาการเพ้อ สับสน (delirlum)
-
การประเมินแรกรับ
การซักประวัติ เช่น ชนิดของสุรา ระยะเวลาความถี่ของการใช้สุรา ปริมาณการดื่มสุราต่อวัน ประวัติการ ลดหรือการหยุดดื่มสุรา ประวัติการเกิดอาการหลงลืมชั่วขณะ (Blackout) ประวัติการชัก ประวัติ กรรมพันธุ์ ประวัติการบาดเจ็บทางร่างกาย
การตรวจร่างกาย เช่น การวัดสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว การตรวจระบบประสาท
การประเมินอาการแทรกซ้อนทางกาย เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ ปอดบวม น้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะ electrolyte imbalance ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะ Dehydration โรคตับ โรคตับอ่อน อักเสบ โรคเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น CBC, LFT, Bun, Cr, Electrolyte, X-ray เป็นต้น
การประเมินสภาพจิต โดยประเมินด้านสมาธิ ความจำ การรับรู้เวลา สถานที่ และบุคคล อารมณ์ ความคิด การรับรู้ การตัดสินใจ การหยั่งรู้ในตนเอง แรงจูงใจในการเลิกดื่มสุรา
การประเมินทางด้านสังคม โดยประเมินด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ภาวะเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ แหล่งสนับสนุนทางด้านสังคม
การประเมินทางด้านจิตวิญญาณ โดยประเมินด้านทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม สิ่งยึดเหนี่ยวในชีวิต
การประเมินภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol withdrawal) ประเมินเมื่อแรกรับในผู้ป่วยทุกราย โดยประเมิน ตามแบบประเมิน AWS (Alcohol Withdrawal Scale) เพื่อแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะถอนพิษ สุรา และวางแผนให้การพยาบาลตามความรุนแรงของโรค
ประเมินความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ พลัดตก หกล้ม ตกเตียง โดยใช้แบบประเมิน MFS
-
-
-