Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 6 การสร้างเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยทางส่งเสริมแล…
หน่วยที่ 6 การสร้างเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
6.1 การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
1) ความหมายและความสำคัญของเครื่องมือ
เก็บรวบรวมข้อมูล
ความหมาย
เครื่องมือ อุปกรณ์หรือสิ่งที่ผู้วิจัยใช้เป็นสื่อสำหรับเก็บวบรวมข้อมูลตามตัวแปรในการวิจัยที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ
ความสำคัญ
(3) ความสำคัญต่อคุณภาพของการวิจัย
(4) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนสำคัญทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลกระชับตรงประเด็นตามวัตถุประสงค์
(2) เป็นตัวเชื่อมที่สำคัญระหว่างปัญหา วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิดการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลและการรายงานผลวิจัย
(5) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนช่วยในการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
(1) เป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่การหาคำตอบของการวิจัย
2) ประเภทของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
(1) แบบสอบถาม
แบบสอบถามปลายปิด
แบบสอบถามแบบประมาณค่า
แบบสอบถามแบบปลายเปิด
(4) แบบทดสอบ
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้ความจำ ความเข้าใจเฉพาะเรื่องสร้างขึ้นอย่างมีระบบเพื่อเป็นสิ่งเร้าให้ผู้ตอบแสดงพฤติกรรมตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง
(3) แบบสังเกต
ชุดของคำถามหรือแนวทาง ที่ผู้วิจัยใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์/พฤติกรรมของบุคคลขณะที่ปรากฏการณ์/พฤติกรรมนั้นกำลังเกิดขึ้น
(5) เครื่องมืออื่น ๆ
เป็นเครื่องมือที่มีการตั้งคำถามหรือหัวข้อสนทนา มักเป็นลักษณะคำถามแบบปลายเปิด และไม่มีโครงสร้างที่เข้มงวดในการถาม สามารถยืดหยุ่นได้มากกว่า แบบสอบถาม ในแต่ละคำถามสามารถซักถามต่อได้มากเท่าที่ต้องการ แล้วสรุป ข้อมูลมี่รวบรวมได้ในรูปของข้อความ แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ปฏิทิน และตาราง
(2) แบบสัมภาษณ์
เป็นชุดของคำถามที่สร้างขึ้นเพื่อใช้รวบรวมข้อมูล โดยมีการสื่อสารกันระหว่างผู้ถามกับผู้ให้ข้อมูล ทั้งนี้การสื่อสารจะต้องมีจุดมุ่งหมายตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
3) ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 3 สร้างข้อคำถามให้ครบทุกประเด็นตามตัวแปร
ขั้นที่ 4 ทดลองใช้
ขั้นที่ 2 กำหนดประเด็นคำถามในการวิจัย
ขั้นที่ 5 ขั้นตอนปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 1 กำหนดข้อมูลที่ต้องการ
6.2 การตรวจสอบเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
1) แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบ
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
ความหมายของการวัด
การกำหนดจำนวนตัวเลขแก่สิ่งที่สนใจหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้
การกำหนดคุณภาพของการวัด
(2) ความเที่ยงในการวัด
(3) ความว่องไวในการวัด
(1) ความตรงในการวัด
(4) การมีความหมายในการวัด
2) การตรวจสอบความตรงในการวัดของเครื่องมือ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ความหมายของความตรงในการวัด
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นสามารถวัดสิ่งที่ต้องการจะวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยต้องการ และวัดได้ครอบคลุมครบถ้วน ตามเนื้อหาที่ต้องการวัดและถูกต้องตรงตวามเป็นจริง
ประเภทของความตรงในการวัด
(2) ความตรงตามมาตรฐาน
ความตรงที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน
ความตรงในการทำนาย
(3) ความตรงในตัวสร้าง
(1) ความตรงในเนื้อหา
ต้องสามารถระบุขอบเขตทั้งหมดของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เฉพาะที่จะวัด
ต้องเลือกตัวแทนจากเนื้อหาดังกล่าว
ต้องนำตัวแทนที่เลือกมาได้นำมาจัดรูปแบบให้สามารถทำการทดสอบได้
3) การตรวจสอบความเที่ยงในการวัดของเครื่องมือ
เก็บรวบรวมข้อมูล
ความหมายความเที่ยงในการวัด
ความสามารถของการวัดของ
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่จะให้ผลตรงกันทุกครั้งที่ทำการวัด
วิธีการทดสอบความเที่ยง
(4) วิธีการวัดความสอดคล้องภายใน
(3) วิธีการวัดแบบแบ่งครึ่ง
(2) วิธีการวัดแบบที่ทดสอบแทนกันได้
(1) วิธีการวัดซ้ำ
6.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
1) แนวคิดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่จะให้ได้ข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ศึกษา และนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาใช้ในการตอบปัญหาของการวิจัย
2) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่ศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งเป็นเอกสารที่ถามคำถามที่เหมือนกันในกลุ่มประชากรที่ศึกษาทุกคน โดยกลุ่มประชากรที่ศึกษาจะเป็นผู้บันทึกคำตอบเองในการตอบข้อคำถามแต่ละข้อ หรืออาจบันทึกคำตอบโดยสื่ออื่น ๆ ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น
3) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยการสัมภาษณ์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเผชิญหน้าโดยใช้การพูดคุยสนทนาซักถามอย่างมีจุดมุ่งหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เรียกว่า แบบสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วยข้อคำถามที่ผู้เก็บข้อมูลหรือผู้สัมภาษณ์จะสัมภาษณ์ด้วยปากเปล่า
4) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต
การสังเกตเป็นการพิจารณาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการสังเกตด้วย ตา หู และสัมผัส
การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตนั้นเป็นวิธีการที่ใช้ได้ทั้งในงานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพ
5) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเครื่องมืออื่น ๆ
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย ผู้วิจัยสามารถที่จะใช้เครื่องมืออื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์มากขึ้น ได้มีการนำเครื่องมืออื่น ๆ หลายชนิดมาช่วยในการกระตุ้นให้กลุ่มประชากรที่ศึกษาในงานวิจัยตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็น ทำให้ผู้วิจัยได้ข้อมูลเพิ่มเติม