Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม - Coggle…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม
ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร (Hostility)
1. ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร
คล้ายกับความโกรธ
มีพฤติกรรมการทําลาย (Destructive) บุคคล
ความต้องการที่จะทําลายผู้อื่นให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย
ความไม่เป็นมิตรมักจะไม่มุ่งตรงต่อสิ่งของหรือตัวเอง
ความไม่เป็นมิตรเป็นผลมาจากความรู้สึกไม่เพียงพอและความรู้สึกสูญเสียความมีคุณค่าในตนเองซึ่งความรู้สึกเหล่านี้อาจถูกอาจถูกเก็บกดไว้ตลอดและอาจมีพฤติกรรม แสดงออกมาอย่างเปิดเผยหรือซ่อนเร้น
3. วิธีการบําบัดทางการพยาบาล
(1) การประเมินปัญหาทางการพยาบาล
การประเมินความไม่เป็นมิตร
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ชีพจรเต้นเร็ว
หายใจถี่ขึ้น
กล้ามเนื้อเกร็ง
ผิวแดง
คลื่นไส้ อาเจียน
ปากแห้ง คอแห้ง
เหงื่ออกตามร่างกาย
ความดันโลหิตสูง
ด้านคําพูด
การพูดกระทบกระเทือน
ส่อเสียด
ดูถูก
ข่มขู่
โต้แย้ง
การดุด่า
พูดจาชวนทะเลาะ
ด้านพฤติกรรม
ท่าทีเฉยเมย
ต่อต้าน
เงียบ
เชื่องช้า
ไม่ยอมสบตา
เดินหนี
กําหมัดแน่น
บางรายมักจะแสดงพฤติกรรมรุนแรง
ทําร้ายร่างกายผู้อื่น
ทำลายสิ่งของ
บางรายอาจแสดงพฤติกรรมแอบแฝง
ทําตัวอ่อนหวาน
น้อมน้อมเกินไป
(2) ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
จะมุ่งเน้นที่การประเมินด้านร่างกาย และด้านสติปัญญา
สิ่งที่ต้องพิจารณ
ปัจจัยต้นเหตุที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพล
ทําให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกไม่เป็นมิตร
กิจกรรมทางการพยาบาล
เป้าหมาย
ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่น
ช่วยเหลือบุคคลนั้นให้เผชิญกับ
ความไม่เป็นมิตรในเชิงสร้างสรรค์
ช่วยทําให้ความรู้สึกความไม่เป็นมิตรลดลงอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
พยาบาลต้องเร่งดําเนินการวิเคราะห์ว่าบุคคลมีภาวะความไม่เป็นมิตรหรือไม่เพื่อจะให้การพยาบาลได้อย่างทันท่วงที
การจัดการกับสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบข้างโดยจัดห้องแยกให้จํากัดพฤติกรรมในกรณีที่มีพฤติกรรมรุนแรง
เตรียมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างฉุกเฉิน
ทีมสุขภาพต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะความไม่เป็นมิตร
พยาบาลต้องอยู่ในอารมณ์ที่สงบ สุขุม เยือกเย็น แต่ฉับไว
ให้การยอมรับพฤติกรรมของบุคคลนั้น
ลดสิ่งกระตุ้น ยั่วยุอารมณ์ให้เกิดความไม่เป็นมิตร
เปิดโอกาสให้บุคคลนั้น ๆ ได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ
ความไม่พอใจ หรือความไม่เป็นมิตร สนับสนุนให้บุคคลดังกล่าวได้พิจารณาการกระทําของตนเองและการเรียนรู้การควบคุมตนเอง
การประเมินผลทางการพยาบาล
การช่วยเหลือมุ่งที่จะช่วยลดความรู้สึกไม่เป็นมิตร
ประเมินว่าบุคคลนั้นสามารถหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่เป็นมิตรได้หรือไม่
สามารถบอกความพูดเกี่ยวกับความรู้สึกไม่เป็นมิตร
แยกแยะสิ่งที่มาคุกคามทางจิตใจ
สามารถหาแนวทางในการป้องกัน
และการเผชิญปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
รวมทั้งเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์
สาเหตุและกลไกทางจิต
มักถูกปลูกฝังตั้งแต่วัยทารกเมื่อมีสิ่งคุกคามทางจิตใจ
ไม่สามารถแสดงออกถึงความคับข้องใจได้
สิ่งแวดล้อม/บุคคลอื่นมีอิทธิพลให้บุคคลเรียนรู้ที่จะ
เก็บซ่อน ความคิด ความรู้สึก ข่มความขมขื่น /เก็บกด
สิ่งที่ตนเองต้องการเอาไว้และเกิดความคับข้องใจของตนเอง
บุคคลมักจะรู้สึกผิดหวังและเจ็บปวดมาก
รู้สึกสูญเสียคุณค่าในตนเอง (Low self-esteem) จนไม่สามารถทนได้
จนเกิดความวิตกกังวลอย่างมากซึ่งจะแสดงความเป็นมิตรออกมาอย่างเปิดเผยหรือแอบเก็บกดความรู้สึกนั้นเอาไว้
ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
1. ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
(1) พฤติกรรมก้าวร้าวทางคําพูด
ใช้คําพูดตําหนิ ติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ พูดในแง่ร้าย เสียงดัง
ขู่ ตะคอก เอะอะอาละวาด วางอํานาจ วาจาหยาบคาย
(2) พฤติกรรมก้าวร้าวแสดงออกทางร่างกาย
มีสีหน้าบึ้งตึงแววตาไม่เป็นมิตร ท่าทางไม่พอใจกระวน
กระวายอยู่ไม่นิ่ง ไม่สนใจเรื่องการกินการนอน การขับถ่าย
พฤติกรรมก้าวร้าวทําลายสิ่งของ
พฤติกรรมก้าวร้าวทําลายสิ่งของ
พฤติกรรมก้าวร้าวทําร้ายตนเอง
(3) การกระทําต่อบุคคลหรือสิ่งของที่เป็นต้นเหตุขัดขวางความต้องการ
(4) การกระทําต่อบุคคลหรือสิ่งของที่คล้ายคลึงกับต้นเหตุ
(5) การกระทําต่อบุคคลหรือสิ่งของอื่น ๆ
(6)กระทําต่อตนเอง
วิธีการบําบัดทางการพยาบาล
(1)การประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประวัติการมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของบุคคลนั้น
การได้รับการวินิจการเจ็บป่วยของบุคคลนั้น
พฤติกรรมในปัจจุบันของบุคคลนั้น
(2) ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการกระทํารุนแรงต่อผู้อื่น (risk for others directed violence)
เสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมรุนแรงต่อตนเอง (high risk from self-directed violence)
เสี่ยงต่อการถูกทําร้ายเนื่องจากมีพฤติกรรมบงการผู้อื่น (manipulate)
ขาดพลังอํานาจ (powerlessness) ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ (helplessness) สิ้นหวัง (hopelessness)
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ (ineffective coping)
(3) การระบุผลลัพธ์ทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
1. ผู้ป่วยไม่ทําร้ายผู้อื่น และทรัพย์สิน ตลอดระยะเวลา 8 ชั่วโมงของการดูแล
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือความสูญเสียลดลงภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ของการดูแล
เป้าหมายระยะยาว
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เหมาะสม
ผู้ป่วยมีการจัดการกับความโกรธ
3. ผู้ป่วยมีการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผู้ป่วยมีการเรียนรู้ทักษะที่จําเป็น
(4) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล
**การช่วยเหลือที่ดีที่สุด คือ การจัดการกับอารมณ์
โกรธก่อนที่บุคคลนั้นจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไว้วางใจ รู้สึกปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ฟังอย่างตั้งใจ (active Listening) เปิดโอกาสให้ได้พูดระบายถึง ความรู้สึกไม่พอใจออกมา รับฟังโดยไม่ขัดจังหวะ ไม่ตําหนิ ไม่โต้แย้ง
เมื่อความโกรธลดลงให้บุคคลนั้นสํารวจถึงสาเหตุที่ทําให้รู้สึกโกรธ ไม่ พอใจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวตระหนักถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกแรงเพื่อปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินที่เกิด จากความกดดัน ความโกรธ เช่น ดนตรี ออกกําลังกาย (การชกกระสอบทราย)
ให้คําแนะนําถึงวิธีการจัดการกับความโกรธในทางที่เหมาะสม จะสามารถแนะนําได้ในกรณีที่บุคคลนั้นมีภาวะอารมณ์ปกติ สามารถรับรู้ เข้าใจเหตุและผลได้
2) สาเหตุ
(1) ปัจจัยทางด้านชีวภาพ (Biological factors)
ระดับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
การเจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกาย
(2) ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
ความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณหนึ่งของมนุษย์ที่แสดงออกของความโกรธ ซึ่งถ้าหันความโกรธเข้าสู่ตนเองจะส่งผลให้บุคคลดังกล่าวมีอารมณ์เศร้าได้
ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา (Psychological Theory)
พฤติกรรมก้าวร้าวเกิดจากการไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (basicneeds)
ทฤษฎีทางด้านสังคมวิทยา (Sociocultural Theory)
เด็กที่มีประวัติถูกทําร้ายร่างกาย (Physical abuse) ประวัติการถูกล่วงเกินทางเพศ (Sexual abuse) การถูกทอดทิ้งในวัยเด็กและการที่พ่อแม่มีพฤติกรรมที่รุนแรง
การถือแบบอย่าง (Modelling)
เด็กจะลอกเลียนแบบการแสดงความโกรธจากพ่อแม่
หรือบุคคลสําคัญในชีวิตของเขา
เด็กที่ดูสื่อ เช่น วิดีโอ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต
ผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence)
1) ความหมาย
การแสดงออกความก้าวร้าวทางด้านกายภาพ (physical aggressive)
(Vacariolis, 2009 อ้างถึงใน เครือวัลย์ ศรียารัตน์, 2558)
เป็นความตั้งใจที่จะใช้กําลังทางกายเพื่อข่มขู่หรือกระทําอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น กลุ่มบุคคล หรือ สังคมโดยจะส่งผลให้เกิดหรือมีความน่าจะเป็นสูงที่เกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิต การกระทบกระเทือนทางจิตใจพัฒนาการที่ผิดปกติหรือภาวะขาดแคลน (World Health Organization, 2013 อ้างถึงใน นันทวัช สิทธิรักษ์, 2558)
การใช้คําพูด พฤติกรรมคุกคามที่มีผลทําให้คนอื่นตกใจกลัว (threaten) มีพฤติกรรมที่พยายามจะใช้กําลังและอาวุธทําร้ายคนอื่น (attempt) และมีการใช้กําลัง หรือ อาวุธทําร้ายคนอื่น (actual) (ณัฐวุมิ อรินทร์, 2553)
วิธีการบําบัดทางการพยาบาล
(1) ประเมินสภาพผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประเมินอาการและการแสดงที่เป็นสัญญาณของพฤติกรรม
ประเมินการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกและอารมณ์อย่างเฉียบพลันและการศึกษาประวัติจากญาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีตมีหรือไม่อย่างไร
พยาบาลควรมีท่าทีที่เป็นมิตร สงบ และให้เกียรติเพื่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ สิ่งที่พยาบาลควรตระหนักเกี่ยวกับท่าทางในระหว่างให้การพยาบาลผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง เพราะทางทางของพยาบาลอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
พยาบาลไม่ยืนเอามือเท้าเอว เพราะอาจดูเหมือนเป็นการวางอํานาจ
พยาบาลไม่ควรยืนเอามือไขว้ข้างหน้าเพราะอาจเป็นการแสดงออกถึงความกลัว หรือความวิตกกังวลของพยาบาล
พยาบาลไม่ควรยืนเอามือไขว้หลัง อาจจะเป็นการแสดงว่าพยาบาลซ่อนบางสิ่งเอาไว้ผู้ป่วยอาจมีความหวาดระแวงเพิ่มขึ้น
ควรยืนเอามือไว้ข้าง ๆ ตัว หรืออาจยืนข้าง ๆ เก้าอี้และเอามือจับเก้าอี้ไว้เพื่อให้เกิดความ
อุ่นใจ ซึ่งไม่ควรจะทําท่ายกเก้าอี้เพราะผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงอาจตีความหมายว่าพยาบาลท่าท้ายได้
(2) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยรวมทั้งลดสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม โดยลดเสียงดัง ลดแสงสว่าง ลดการที่มีคนพลุกพล่านเพื่อลดสิ่งคุกคามความรู้สึกผู้ป่วย
ตรวจค้นผู้ป่วยไม่ให้มีสิ่งของที่อาจใช้เป็นอาวุธได้
ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยขณะพฤติกรรมก้าวร้าวตามระดับความรุนแรงที่ประเมินพยาบาลต้องเผชิญสถานการณ์ด้วยความมั่นใจ อย่างมีแผนระมัดระวัง และมีท่าทีสงบ อยู่ห่างผู้ป่วยพอสมควร
ควรตระหนักถึงช่องว่างระหว่างบุคคล และไม่ควรเข้าหาตัวผู้ป่วยเพื่อลดความรู้สึกถูกคุกคาม
ใช้คําถามปลายเปิดให้ผู้ป่วยได้ระบายความไม่พอใจ
ให้ยาตามแผนการรักษาและรายงานแพทย์ในรายที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น
ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีพฤติก้าวร้าวรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอาจจะต้องมีการจํากัดพฤติกรรม (limit setting) การใช้ห้องแยก (seclusion) การผูกมัดร่างกาย (physical restrain) และการให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
**หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการสงบพยาบาลควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกเกี่ยวกับการถูกการจํากัดพฤติกรรม (limit setting) การใช้ห้องแยก (seclusion) การผูกมัดร่างกาย (physical restrain) เพื่อช่วยลดความโกรธและความกังวลและพยาบาลควรบอกถึงสาเหตุที่ต้องผูกยึดไว้และการยุติการผูกยึดให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้ง
พยาบาลควรให้คําแนะนําเกี่ยวกับวิธีจัดการกับอารมณ์ ความโกรธออกไปในทางที่เหมาะสม