Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 การออกแบบการวิจัยทางส่งเสริม และพัฒนาการเกษตร - Coggle Diagram
หน่วยที่ 4 การออกแบบการวิจัยทางส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
4.1 แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบการวิจัยทางส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
1) ความหมาย ความสำคัญ และลักษณะของแบบการวิจัยทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ความหมาย
การกำหนดวิธีดำเนินการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องในการตอบปัญหาของการวิจัยทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ความสำคัญ
ทำให้เกิดการศึกษาที่เป็นไปตามความต้องการและได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์
ช่วยลดความไม่ถูกต้องในการวิจัยให้น้อยลง
ช่วยให้ผู้วิจัยได้รับประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือได้สูงสุด
ลดความไม่แน่นอน สับสน ในการปฏิบัติกับปัญหาการวิจัย
เป็นแนวทางที่ถูกต้องสำหรับการวิจัย
ลักษณะ
เป็นการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และการวิจัยทางการศึกษา ส่วนใหญ่มักจะเป็นการวิจัยที่เก็บข้อมูลจากคน หรือมีหน่วยวิเคราะห์ที่เป็นคน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือแบบผสมผสานวิธี
2) ประเภทของแบบการวิจัยทางส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
แบบการวิจัยเชิงปริมาณ
แบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
แบบการวิจัยแบบผสานวิธี
3) การเลือกแบบการวิจัยทางส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
หลักการเลือก
พิจารณาแบบการวิจัยที่บ่งบอกถึงวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์
ความพร้อมและทักษะของผู้วิจัยและทีมงานวิจัย
เวลาที่ใช้และงบประมาณ
4.2 การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณทางส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
1) แบบการวิจัยเชิงสำรวจ
ความหมาย
เป็นกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้สำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากร ทั้งหมด เพื่อจะอธิบายทัศนคติ ความคิดเห็น พฤติกรรม หรือลักษณะของประชากรเป้าหมายที่สนใจศึกษา
ประเภท
(1) แบบการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง
(ผู้วิจัยเก็บข้อมูล ณ จุดหนึ่งของเวลา)
(2) แบบการวิจัยเชิงสำรวจแบบระยะยาวต่อเนื่อง
(เก็บข้อมูลเป้าหมายเดียวกันในช่วงต่างกันที่เปลี่ยนไปตามลำดับ)
2) แบบการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์
ความหมาย
เป็นแบบการวิจัยที่ผู้วิจัยใช้สถิติทดสอบความสัมพันธ์เพื่อวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวหรือหลายตัว
ประเภท
(1) แบบการวิจัยเชิงอธิบาย
(2) แบบการวิจัยเชิงทำนาย
3) แบบการวิจัยเชิงทดลอง
ความหมาย
การวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการทดสอบแนวความคิด หรือการปฏิบัติ หรือวิธีการ ว่ามีผลกระทบต่อผลลัพธ์หรือไม่
ประเภท
(1) แบบเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม
(2) แบบเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มหรือแต่ละบุคคล
4.3 การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
ทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
1) แบบการวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล
ความหมาย
กระบวนการในการสร้างทฤษฎีเพื่ออธิบายแนวคิด กระบวนการ การกระทำ หรือปฏิสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่เราสนใจศึกษา
ประเภท
(1) The Systematic Design
(การกำหนดรหัสเพื่อจำแนกข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูลที่ใช้รหัสแล้ว และการบูรณาการข้อมูลที่จัดกลุ่มแล้วให้มีความหมายเป็นเรื่องราว)
(2) แบบการวิจัยแบบ The Emerging Design
(3) แบบการวิจัยแบบ The Constructivist Design
2) แบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา
ความหมาย
เป็นกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการอธิบาย วิเคราะห์ และตีความลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมของกลุ่มในแบบแผนของพฤติกรรม ความเชื่อ และภาษา ซึ่งพัฒนาร่วมกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
ประเภท
(1) แบบการวิจัย Realist Ethnographies
(สะท้อนถึงท่าทีนักวิจัยถ่ายทอดจากบุคคลที่ศึกษาอยู่)
(2) แบบการวิจัยแบบ Case Studies
(วิจัยมุ่งจุดสนใจในการศึกษาโครงการ เหตุการณ์หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคลมากกว่าของกลุ่ม)
(3) การวิจัยแบบ Critical Ethnographies
(ผู้วิจัยมีความสนใจให้ความช่วยเหลือ จากข้อบังคับของกลุ่มชายขอบในสังคม)
3) แบบการวิจัยจากข้อมูลเล่าเรื่อง
ความหมาย
เป็นแบบการวิจัยที่ใช้สำหรับการศึกษาชีวประวัติของบุคคลและประสบการณ์โดยผู้ที่ถูกศึกษาเล่าเรื่องของตน แล้วผู้วิจัยเรียบเรียงเขียนเป็นผลการวิจัย
ประเภท
พิจารณาจากคำถาม 5 ประการ
(1)ใครเป็นคนเขียนหรือบันทึกเรื่องราว
(2) ระยะเวลาในชีวิตที่ถูกบันทึกและนำเสนอ
(3) ใครเป็นคนให้เรื่องราว
(4) ใช้ทฤษฎีเป็นกรอบในการอธิบายหรือไม่
(5) ใช้หลายแบบการวิจัยรวมกันได้ไหม
4.4 การออกแบบการวิจัยแบบผสานวิธีทาง
ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
1) แบบการวิจัยแบบผสมผสาน
ความหมาย
เป็นแบบการวิจัยที่เป็นกระบวนการสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและผสมผสานข้อมูลโดยวิธีเชิงปริมาณและคุณภาพในคราวเดียวกัน หรือตามลำดับต่อเนื่อง เพื่อค้นหาคำตอบการวิจัย
ประเภท
(1) The Convergent Parallel Design
(เก็บข้อมูลพร้อมกันทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้วนำผลมาตอบคำถามวิจัย)
(2) The Explanatory Sequential Design
(รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยเรียงลำดับก่อนหลัง)
(3) The Exploratory Sequential Design
(เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพก่อน แล้วตามด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ)
(4) The Embedded Design (มีวิจัยย่อยเป็นเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ)
2) แบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ความหมาย
เป็นกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบที่ผู้วิจัยใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราว หรือปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้นนำมาพิจารณาหาวิธีปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหา แล้วนำแผนไปปฏิบัติ
ประเภท
(1) แบบที่ 1 Practical Action Research
(มุ่งเน้นศึกษาปัญหาที่เฉพาะเจาะจง ที่ดำเนินโดยนักส่งเสริมแต่ละคนหรือทีมงานในสำนักงาน อาจทำการศึกษาเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ตนรับผิดชอบอยู่ เพื่อปรับปรุงการเรียนรู้เกษตรกร)
(2) แบบที่ 2 Participatory Action Research
(การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมในระดับชุมชน สังคมอุตสาหกรรม หรือองคฺการต่างๆ)