Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การผ่าตัดคลอด (Cesarean section) - Coggle Diagram
การผ่าตัดคลอด (Cesarean section)
ความหมาย
การทำคลอดทารกโดยผ่านทางผนังหน้าท้อง (laparotomy) และผนังมดลูก (hysterotomy) โดยทารกต้องสามารถมีชีวิตรอดได้
ข้อบ่งชี้
การผ่าตัดคลอดโดยอนุโลม (relative indication) เป็นข้อบ่งชี้ที่อาจจะผ่าตัด หรืออาจจะคลอดทางช่องคลอดก็ได้ แล้วแต่สภาวะของมารดาหรือทารก
มีแผลเป็นที่ผนังมดลูกมาก่อนโดยอาจเกิดจากการผ่าตัดทำคลอดจาก hysterotomy หรือการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกมดลูกออก (myomectomy)
หลังการเย็บซ่อมแซมผนังช่องคลอดจากภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด (Urinary stress incontinence)
การตกเลือดก่อนคลอดที่อาจมีอันตรายต่อมารดาหรือทารกหากให้คลอดทางช่องคลอด
ครรภ์แฝดที่ทารกไม่ได้อยู่ในท่าศีรษะทั้งคู่
ภาวะที่ทารกมีความเสี่ยงจะเกิด fetal distress
ผู้คลอดที่มีประวัติคลอดยาก ทารกตายหรือพิการจากการคลอดโดยหาสาเหตุไม่ได้
การผ่าตัดคลอดโดยสมบูรณ์ (absolute indication) เป็นข้อบ่งชี้ที่ต้องทำอย่างแน่นอน หากปล่อยให้คลอดเอง อาจมีอันตรายต่อมารดาและทารกได้
การคลอดติดขัด (mechanical distocia) หรือการคลอดไม่ก้าวหน้า
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติที่คลอดเองไม่ได้ เช่น ท่าขวาง ท่าก้น
มีการขวางกั้นของช่องทางคลอดจากก้อนเนื้องอก เช่น เนื้องอกมดลูก หรือเนื้องอกรังไข่
มีความผิดปกติของการหดรัดตัวของมดลูก (uterine dysfunction) ที่แก้ไขไม่ได้ผล
การผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับเชิงกรานมารดา (Cephalopelvic disproportion)
รกเกาะต่ำจนครอบบริเวณปากมดลูก (placenta previa)
สายสะดือเคลื่อนต่ำและพลัดต่ำ (prolapsed of umbilical cord) ขณะที่ทารกยังมีชีวิตอยู่และปากมดลูกยังเปิดไม่หมด
มีความผิดปกติของช่องเชิงกราน (อาจเป็นมาแต่กำเนิดหรือจากอุบัติเหตุ)
มีประวัติเคยผ่าตัดคลอดแบบ Classical C/S
มีการติดเชื้อ Herpes ที่อวัยวะสืบพันธ์ในระยะคลอด
ภาวะที่ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน (fetal distress) ที่ไม่สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้โดยเร็ว
ประเภทการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแบบวางแผนล่วงหน้า (elective cesarean birth) เป็นการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแบบฉุกเฉิน (emergency cesarean birth) เป็นการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า
ชนิดของการผ่าตัดคลอด
ชนิดของการผ่าตัดคลอดที่ผนังหน้าท้อง (abdominal incision)
ผ่าตัดบริเวณผิวหนังแนวขวาง (Transverse skin incision) ข้อดี คือ แผลหายเร็ว ลดความเจ็บปวดได้มากกว่า ไม่เห็นรอยชัดเจน ข้อเสีย ใช้เวลาในการผ่าตัดนานกว่า ทำได้ช้ากว่า และไม่สามารถเปิดแผลให้กว้างถ้าทารกตัวโต
ผ่าตัดบริเวณผิวหนังแนวตั้ง (Low vertical incision / low abdominal incision) การผ่าตัดบริเวณผิวหนังในแนวตั้ง ข้อดี คือ สะดวก รวดเร็ว เสียเลือดน้อยกว่า ข้อเสียคือ แผลแยกง่าย เห็นรอยแผลชัดเจน
ชนิดของการผ่าตัดคลอดที่กล้ามเนื้อมดลูก (uterine incision)
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแบบดั้งเดิม (Classical cesarean section) การผ่าตามแนวตั้งที่ส่วนบนของมดลูก (upper uterine segment)
ใช้ในกรณี มารดาเป็นมะเร็งปากมดลูก รกเกาะต่ำทางด้านหน้า ทารกอยู่ในท่าขวาง มีพยาธิสภาพที่ lower uterine segment เช่นมีหลอดเลือดขอดมากหรือมีเนื้องอกที่มดลูก รายที่ต้องการให้คลอดโดยเร็วที่สุด เป็นต้น
ข้อเสีย เสียเลือดมาก เพราะผ่าตัดที่ส่วนกล้ามเนื้อหนาของมดลูก แผลติดไม่ดี มีอันตรายมดลูกแตกสูง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย หลังคลอดมีอาการท้องอืด การเย็บแผลที่มดลูกยากกว่า
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่นิยมกันมากในปัจจุบัน (Low vertical cesarean section)
ผ่าตามแนวตั้งที่ผนังมดลูก (Low vertical incision), Beck's or Kronig's ไม่ค่อยนิยมทำ เพราะอาจมีการฉีกขาดของแผลลึกไปถึงปากมดลูกและกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงการหายของแผลไม่ดีเท่ากับการผ่าตัดแนวขวาง แต่จะทำในกรณีที่ส่วนล่างของมดลูกแคบเกินกว่าจะผ่าตามแนวขวางได้ เช่น รายที่มีภาวะรกเกาะต่ำทางด้านหลัง
ผ่าตามแนวขวางที่ส่วนล่างของผนังมดลูก (Low transverse incision), Keer's แบบนี้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะการหายของแผลดีกว่าและมีโอกาสฉีกขาดถึงกระเพาะปัสสาวะได้น้อยกว่า
ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดคลอด
ภาวะแทรกซ้อนต่อผู้คลอด
ขณะผ่าตัด เกิดอันตรายต่ออวัยวะในช่องท้อง เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น เกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึก เช่น สำลักเศษอาหาร ความดันโลหิตต่ำ
หลังผ่าตัด ลำไส้อึดแน่น ติดเชื้อที่มดลูกหรือแผลผ่าตัด ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ตกเลือดในช่องท้องในรายที่รุนแรงอาจเสียชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
ถูกมีดบาด กระดูกหัก ข้อเคลื่อน เป็นต้น ทารกเสี่ยงเกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจ และพร่องออกซิเจน