Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer) - Coggle Diagram
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
(Bladder cancer)
ปัจจัยเสี่ยง / สาเหตุ
บุหรี่
จากกรณีศึกษา ผู้ป่วยมีประวัติสูบบุหรี่มานานเป็นเวลา 11 ปี
การสัมผัสกับสารเคมีต่อเนื่องเป็นเวลานาน
อาชีพที่อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม สี โลหะ ปิโตรเคมี
การใช้น้ำยาย้อมผม
การสัมผัสรังสีประเภท Ionizing radiation
ดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของ Chlorine, Trihalomethane
การติดเชื้อและการระคายเคืองในกระเพาะปัสสาวะแบบเรื้อรัง
การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
พันธุกรรม
การวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
1.การซักประวัติ และตรวจร่างกาย
2.การตรวจปัสสาวะ
เพื่อหาว่ามีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะมากผิดปกติหรือไม่และการตรวจเซลล์วิทยาของปัสสาวะ (urine cytology) อาจพบเซลล์มะเร็งปะปนอยู่
3.การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ
คือ การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะเพื่อตรวจหาตำแหน่ง ขนาด จำนวนและรูปร่างของเนื้องอกและตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
4.การตรวจทางรังสีวิทยา
เพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะในทางเดินปัสสาวะ อาจมีการตรวจเอกซ์เรย์กระดูกและปอด เพื่อดูการแพร่กระจาย
ของมะเร็ง
พยาธิสภาพของโรค
เนื้องอกของกระเพาะปัสสาวะ ร้อยละ 80 เริ่มเป็นที่ด้านล่างของกระเพาะปัสสาวะ คอของกระเพาะปัสสาวะ และรูเปิดของหลอดไตมักจะถูกอุดกั้น น้ำปัสสาวะจะคั่งค้างเกิดเป็นแผล ถ่าย ปัสสาวะเป็นเลือด และมักมีการติดเชื้อร่วมด้วย เมื่อเนื้องอกโตมากขึ้น ความจุของกระเพาะปัสสาวะจะน้อยลง ทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อย
อาการและอาการแสดง
ร้อยละ 75 คือ ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด หรืออาการอื่นๆ
ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะไม่ออก
จากกรณีศึกษา ผู้ป่วยปัสสาวะไม่ออก มีอาการปวดเบ่ง
สวนปัสสาวะ ปัสสาวะมีสีเหลืองเกือบแดง
ส่วนน้อยอาจมีอาการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปวดเบ่งปัสสาวะ
การรักษา
ใช้วิธีตัดเอาก้อนเนื้องอกออก (Transurethral resection of bladder tumor; TUR-BT) แล้วเย็บผนังของกระเพาะปัสสาวะ
ใช้ยาเคมีบำบัด ใส่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แล้วกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วจึงถ่ายทิ้ง
4.ระยะที่ก้อนเนื้องอกลุกลามเข้าไปยังชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะแล้ว (invasive disease) อาจต้องตัดเอากระเพาะปัสสาวะออก (Cystectomy) แล้วเปลี่ยนทางเดินปัสสาวะใหม่ และตัดเอาบางส่วนของลำไส้มาดัดแปลงเป็นกระเพาะ
5.ระยะที่มะเร็งกระเพาะ ปัสสาวะลุกลามออกไปนอกผนังกระเพาะปัสสาวะหรืออวัยวะข้างเคียง (metastatic disease) การรักษาจะใช้วิธีฉายรังสี และ เคมีบำบัดร่วมกัน
ในระยะที่ก้อนเนื้องอกยังไม่ลุกลามถึงชั้นกล้ามเนื้อ (superficial disease) การสอดเครื่องมือเล็กๆ เข้าไปทางท่อปัสสาวะ ปล่อยกระแสไฟฟาจี้ที่ก้อนมะเร็ง ทำลายก้อนมะเร็งให้หมดไป
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
วินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1 ความทนต่อการทำกิจกรรมลดลง เนื่องจากตัวนำออกซิเจนลดลง
1.ประเมินสัญญาณชีพ และสังเกตอาการแสดงของผู้ป่วย เช่น
แนะนำผู้ดูแลให้ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันเท่ที่จำเป็นและส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรม เองโดยเน้นกิจกรรมที่ออกแรงน้อย เช่น รับประทานอาหาร ล้างหน้าแปรงฟันด้วยตนเองบริเวณที่นอน
แนะนำให้จัดวางอุปกรณ์ของใช้ไว้ใกล้ตัวผู้ป่วย เพื่อสงวนการใช้พลังงาน แนะนำผู้ดูแล ในช่วงที่ยังเหนื่อยง่ายควรจำกัดคนเยี่ยม เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
แนะนำให้รับประทานธาตุเหล็กในช่วงท้องว่างหรือรับประทานร่วมกับวิตามินซีเช่นผลไม้จำพวก ฝรั่ง ส้ม เพื่อเพิ่มการดูด ซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น แจ้งให้ผู้ป่วยและญาติเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของยา เช่น ท้องผูก ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีดำ
ควรหลีกเลี่ยงอาหาร เช่น ชา กาแฟ เพราะมีสารแทนนิน ลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ไม่ควร รับประทานอาหารเสริมแคลเซียมหรือนมพร้อมยาธาตุเหล็ก เพราะจะทำให้ลดการดูดซึมธาตุเหล็กเช่นกัน
ส่งตรวจและติดตามผลความเข้มข้นเลือด Hematocrit และ Hemoglobin
วินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 8 ญาติและผู้ป่วยพร่องความรู้ในการดูแลileal conduit จากภาวะแทรกซ้อน
แนะนำให้ผู้ป่วยประเมินและสังเกตบริเวณแผลที่ผ่าตัด ซึ่งไม่ควรมีปวด บวม แดง ร้อน
แนะนำวิธีการเปลี่ยนถุงรองรับปัสสาวะที่ถูกต้อง
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์
คอยสังเกตและสอบถามผู้ป่วยและญาติในประเด็นที่ยังสงสัย
แนะนำการดูแลลำไส้เปิดทางหน้าท้องสำหรับปัสสาวะ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเนื่องจากความไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์
1)ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารปวดศีรษะ สับสน การตอบสนองของ Reflex ลดลง
2) ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ อย่างน้อยทุก1 ชั่วโมงหรือถี่กว่านั้นเมื่อมีอาการไม่คงที่
3.ประเมินระดับความรู้สึกตัวทุก 2 ชั่วโมง
4.ประเมินและบันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก ร่างกาย ทุก 1 ชั่วโมง
5.ดูแลให้ได้รับสารน้ำ ชนิด 3% NaCl, 5%NaCl ตามแผนการรักษาโดยบริหารการให้สารน้ำผ่าน Infusion pump และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนเช่น โซเดียมในเลือดสูงเกินไป หรือ ภาวะแทรกซ้อนที่คุกความชีวิต เช่น Osmotic demyelination syndrome (ODS)
วินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3 มีอาการปวด เนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลายจากการผ่าตัด
ประเมินลักษณะอาการปวดแผลผ่าตัด เช่น ตำแหน่ง ความรุนแรงและความถี่ของการปวด สอบถามระดับคามเจ็บปวดโดยใช้แบบประเมิน Numeric rating scale (NRS) ในการประเมินระดับ Pain score และประเมินสัญญาณชีพ
สังเกตอาการปวดแผลผ่าตัดจากคำบอกเล่าและพฤติกรรมแสดงออกของผู้ป่วย เช่น หน้านิ่วคิ้วขมวด กระสับกระส่าย เป็นต้น
จัดท่านอนในท่า Semi-Fowler's position เพื่อบรรเทาอาการปวดแผลผ่าตัด
สอนให้ผู้ป่วยเอามือหรือหมอนประคองแผลขณะไอ พลิกตัว หรือแนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ
จัดสิ่งแวดล้อม ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนและรบกวนผู้ป่วยน้อยที่สุด
ดูแลให้ยา morphine 3 มิลลิกรัม ทางหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการปวด และเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของยา morphine คือ ง่วงซึม คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
วินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 มีภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากมีระดับอัลบูมินต่ำจากโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ติดตามระดับอัลบูมินในเลือดและค่าทางชีวเคมีอื่น ๆ ที่บ่งชี้ภาวะโภชนาการ เช่น Prealbumin, Total Protein
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยขึ้น (5-6 มื้อต่อวัน) เลือกอาหารที่ให้พลังงานและโปรตีนสูง ย่อยง่ายและลดอาการคลื่นไส้ เช่น อาหารอ่อน รสไม่จัด และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง
ประเมินผิวหนัง ทุกวันเพื่อเฝ้าระวังแผลกดทับ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากภาวะทุพโภชนาการ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 5 เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อหลอดเลือดสมองจากภาวะความดันโลหิตสูง
1.ตรวจวัดสัญญาณชีพ และแนะนำการสังเกตอาการของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น อาการปวดศีรีษะรุนแรง ตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน แขนขาอ่อนแรงซีกเดียว เดินเซ ปากเบี้ยวพูดไม่ชัด
2.ดูแลให้พักผ่อนบนเตียง และวัดความดันโลหิตซ้ำทุก 15-30 นาที
3.สอบถามความรู้เดิมเกี่ยวกับโรคความดันโลหิต ประวัติการใช้ยาต่าง ๆ
อธิบาย แนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ การควบคุมอาหาร ควร รับประทานอาหารจืด ไขมันตำ การรับประทานยา ประเมินความ ถูกต้องของการรับประทานยา แนะนำผู้ดูแลจัดยาให้ผู้ป่วยรับประทานและต่อเนื่อง ไม่ขาดยา
วินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 6 เสี่ยงต่ออันตรายจากภาวะสมองขาดกลูโคสเนื่องจากเกิดภาวะระดับน้ำตาลต่ำระดับรุนแรง
1.สังเกต ประเมินระดับความรู้สึกตัว อาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย เช่น หมดสติ ซึม ชัก สับสน และเจาะตรวจ DTX เพื่อประเมินระดับน้ำตาลมในเลือด
2.วัดสัญญาณชีพ เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยเหลือได้ทันท่วงที
3.ติดตามให้ผู้ป่วยได้รับ 50% Glucose 10-20 ml อย่างรวดเร็ว ต่อ ด้วย 30-40 ที่เหลือ ตามแผนการรักษาเพื่อให้สมองได้รับกลูโคสที่เพียงพอ
สังเกตอาการของผู้ป่วยในขณะที่กำลังฉีด 50% Glucose และหลังฉีดแล้ว โดยผู้ป่วยควร มีอาการดีขึ้นหรือเป็นปกติทันที
5.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ 10%D/N/2 1000 ml vein drip 60 mV/hr. ต่อเนื่องตามแผนการรักษา
ดูแลเจาะ DTX เพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือดที่ 15 นาที
ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดที่ >80-200 มก. โดยปรับอัตราหยดสารละลายเด็กซโตรสให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำอีก
ดูแลให้ได้รับยาฉีดลดระดับน้ำตาลในเลือดตามแผนการรักษา ถ้าตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 7 เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและแผลผ่าตัดเนื่องจากมีทางเข้าของเชื้อโรค
1.ล้างมือก่อนและหลังสัมผัส conduit และถุงเก็บปัสสาวะ ทำความสะอาดรอบๆ stoma ด้วยน้ำเกลือหรือน้ำอุ่น และเช็ดให้แห้ง
2.เปลี่ยนถุงเก็บปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสอบว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ ทาครีมป้องกันการระคายเคืองรอบๆ conduit เพื่อป้องกันการอักเสบของผิวหนัง
3.เฝ้าระวังภาวะติดเชื้อ สังเกตลักษณะของปัสสาวะ หากมีสีขุ่น มีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือดปน ควรแจ้งแพทย์
4.ประเมินแผลผ่าตัด หากพบอาการบวม แดง ร้อน หรือมีหนอง ให้รายงานแพทย์ทันที
5.วัดสัญญาณชีพ หากพบว่ามีไข้หรืออาการหนาวสั่น อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ
6.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแล conduit และป้องกันการติดเชื้อ เช่น แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยล้างทางเดินปัสสาวะและลดโอกาสการติดเชื้อ แนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนถุงเก็บปัสสาวะตามกำหนดและหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณเปิดโดยตรง อธิบายถึงสัญญาณของการติดเชื้อและแนะนำให้รีบพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ
7.สนับสนุนด้านจิตใจและการปรับตัวของผู้ป่วย ให้กำลังใจและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแล conduit ในระยะยาว แนะนำกลุ่มสนับสนุนสำหรับผู้ที่มี Ileal conduit เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ดีขึ้น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 9 มีศักยภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ดีเนื่องจากผู้ป่วยไม่แสดงอาการเครียดหรือวิตกกังวล
1.ประเมินท่าที อารมณ์ และพฤติกรรม ของผู้ป่วยในระหว่างให้การพยาบาล
2.สร้างสัมพันธภาพที่ดีและไว้วางใจกับผู้ป่วย ทักทายด้วยน้ำเสียงสุภาพและเป็นมิตร แนะนำตนเองทุกครั้งก่อนให้การพยาบาล ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยผู้ป่วยเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกและพูดคุยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ใช้คำถามปลายเปิด เช่น “ลุงรู้สึกยังไงบ้างกับการดูแลแผลหรือ stoma?” ตั้งใจฟังโดยไม่แสดงท่าทีตัดสินความรู้สึกของผู้ป่วย
4.ให้ข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังผ่าตัด อธิบายวิธีการดูแลแผลและ stoma อย่างชัดเจน
5.ชักชวนและสอนให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองร่วมกับญาติ ให้ผู้ป่วยลองทำกิจกรรมง่าย ๆ เช่น ล้างแผลหรือเช็ดรอบ ๆ stoma ด้วยตนเอง ให้คำชมเชยหรือกำลังใจเมื่อ
ผู้ป่วยมีความพยายามดูแลตนเอง
6.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยแสดงความคิดเชิงบวกต่อสุขภาพของตนเอง สนทนาในแง่มุมที่ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้แม้จะมี stoma
7.ประสานทีมสุขภาพ เช่น นักจิตวิทยา หรือพยาบาลเฉพาะทาง stoma care หากพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีความกังวลใจในอนาคต