Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ลักษณะการจัดการศึกษา แบบเรียนรวมและ การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม, 8 -…
ลักษณะการจัดการศึกษา
แบบเรียนรวมและ
การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
ปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
เน้นแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคและการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะมีความต้องการพิเศษหรือไม่ โดยยึดหลักว่าทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้และสามารถพัฒนาตนเองได้หากได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม
หลักปรัชญาที่เกี่ยวข้อง
2.ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
4.ปรัชญาพุทธิปัญญานิยม (Perennialism)
1.ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)
3.ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
ทฤษฎีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมจำเป็นต้องจัดตามความเหมาะสม โดยพิจารณาความต้องการและความสามารถเพื่อประโยชน์สำหรับนักเรียนอย่างเต็มที่
ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนปกติและที่มีความบกพร่องต่าง ๆเมื่อสังคมไม่สามารถเเยกคนที่มีความบกพร่องออกจากสังคมปกติได้ ดังนั้น ไม่ควรแยกการศึกษาเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง ควรให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนกับนักเรียนปกติเท่าที่สามารถจะทำ
ลักษณะของการจัดการศึกษา
แบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมเป็นแนวทางที่เปิดโอกาสให้เด็กทุกคน รวมถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้เรียนรวมกันในโรงเรียนปกติ โดยมีการปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตร และการสอนให้เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทุกคน
เบรลโล กล่าวว่า ลักษณะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมมุ่งแก้ปัญหาความบกพร่อง
ของนักเรียนให้พัฒนาสู่เกณฑ์มาตาฐาน และพัฒนาตามระบบบมากที่สุด
หลักการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
1.ความเสมอภาค คนมีสิทธิในการได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกหรือจำกัดจากความแตกต่างของแต่ละคน
การมีส่วนร่วม นักเรียนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และชีวิตในโรงเรียนร่วมกันอย่างเต็มที่
3.การยอมรับความแตกต่าง ยอมรับและเคารพความหลากหลายของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างทางร่างกาย ความสามารถ หรือพื้นฐานการศึกษา
การปรับหลักสูตรและการสอน ปรับหลักสูตรและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการและศักยภาพของนักเรียนทุกคน
การสนับสนุนที่เหมาะสม การให้การสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น ผู้ช่วยครู สื่อการเรียนรู้ หรือเทคโนโลยีที่ช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
6.การทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรด้านการศึกษาเพื่อออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม
7.สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศการเรียนที่ปลอดภัยและส่งเสริมการเรียนรู้ในทุกด้าน
8.การประเมินผลอย่างเป็นธรรม การประเมินผลที่ปรับให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน โดยใช้วิธีการที่หลากหลายและยืดหยุ่น
คำศัพท์ที่สำคัญสำหรับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
การเรียนร่วมแบบเต็มเวลา (Mainstreaming) หมายถึง การที่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหรือมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (เช่น นักเรียนที่มีความพิการ หรือมีความผิดปกติทางการเรียนรู้) ได้รับการเรียนในห้องเรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไป
การเรียนร่วมแบบบางเวลา (Integration) หมายถึง การที่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหรือมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เข้ามาเรียนในห้องเรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไป แต่ไม่ใช่การเรียนเต็มเวลาหรือเรียนตลอดทั้งวัน โดยอาจมีการเข้าร่วมกิจกรรมบางส่วนหรือเรียนบางวิชาในห้องเรียนปกติ ขึ้นอยู่กับความสามารถและความต้องการของนักเรียนป โดยไม่แยกออกไปเรียนในห้องเรียนพิเศษหรือโปรแกรมที่แตกต่างจากเพื่อนร่วมชั้น
การเรียนร่วม (Inclusion) หมายถึง การจัดการศึกษาให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเข้าไปเรียนโรงเรียนปกติในชั้นเรียนปกติแบบเต็มเวลา แต่มีการพัฒนาหลักสูตรเฉพาะแผนการสอน วิธีการสอนแบบเฉพาะ เทคโนโลยีที่จะอำนวยความสะดวก การบำบัดหรือช่วยเหลือเฉพาะสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
1.การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติเต็มเวลา
2.การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ
3.การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมในชั้นพิเศษในโรงเรียนปกติ
4.การจัดโรงเรียนพิเศษ
5.การจัดการศึกษาพิเศษนอกโรงเรียน
6.ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน
7.ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริมนักเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลา โดยอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น
8.ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ นักเรียนเรียนในชั้นพิเศษและเข้าเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติมากน้อยตามความเหมาะสม โดยอาจจะเรียนร่วมในบางวิชา
9.การจัดการศึกษาโดยครอบครัว อาจจัดเป็นกลุ่มการเรียน สถานที่เรียน หรือในลักษณะโรงเรียนบ้าน(Home School)
10.การจัดการศึกษาโดยชุมชน เปิดโอกาสให้ชุมชน องค์กรเอกชนหรือสถาบันทางสังคม อาจตั้งศูนย์การเรียนสำหรับกลุ่มนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
11.การจัดการศึกษาในสถานพยาบาลสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสุขภาพและเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งต้องได้รับการดูแลรักษาในสถานพยาบาลเป็นระยะเวลาหนึ่ง
12.การจัดการศึกษาโดยศูนย์การศึกษาพิเศษ
ความหมาย
การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ หรือพฤติกรรม ได้เข้าเรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไปในโรงเรียนปกติ โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกตามความจำเป็น
วิธีการจัดการชั้นเรียนสำหรับการศึกษาแบบเรียนร่วม
การจัดการชั้นเรียนสำหรับการศึกษาแบบเรียนร่วม ต้องมีวิธีการที่สามารถรองรับความแตกต่างของผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือเด็กที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ครูจึงต้องมีการวางแผนและใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดการชั้นเรียน
1.จัดนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเข้าร่วมในชั้นเรียนปกติ และรับบริการพิเศษบ้าง เช่น การสอนซ่อม การฟื้นฟูสมรรถภาพ
2.การจัดชั้นเรียนพิเศษเฉพาะและเข้ารับการเรียนร่วมกับนักเรียนปกติบางวิชา
3.จัดชั้นเรียนพิเศษเฉพาะ แต่ให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้มีกิจกรรมทางสังคมร่วมกับนักเรียนปกติในโรงเรียน
การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องวางแผนอย่างรอบคอบ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้วางหลักเกณฑ์ไว้
1.จำนวนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ หากมีนักเรียน 1-2 คนอาจจะนักเรียนเข้าเรียนในชั้นปกติ
2.ระดับความพิการและความสามารถของตัวนักเรียน
3.ประเภทความพิการ โดยจัดตามลักษณะความพิการหรือปัญหาร่วมที่เกิดจากความพิการประเภทต่างๆ
4.วุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม นักเรียนที่จะเข้าเรียนพร้อมนักเรียนปกติได้ต้องมีความพร้อมด้านอารมณ์และสังคม