Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลลผู้ที่มีอาการปวด - Coggle Diagram
การปฐมพยาบาลลผู้ที่มีอาการปวด
ความเจ็บปวด / ความปวด (Pain) คือ ประสบการณ์เฉพาะบุคคลที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน เกิดร่วมกับการบาดเจ็บ โดยมีองค์ประกอบด้านความรู้สึก อารมณ์และสังคม
ประเภทของความเจ็บปวด
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ความเจ็บปวดเฉียบพลัน (Acute pain)
เป็นสัญญาณเตือนว่ามีการทำลายเนื้อเยื่อ ความปวดจะยังอยู่หากการทำลายเนื้อเยื่อยังไม่หายไป ทั้วไปมักไม่เกิน 3 เดือน
หลักการรักษา
ค้นหาสาเหตุร่วมกับบำบัดความปวดอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อลดความเจ็บปวดของผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อนจากความปวด
ป้องกันการเปลี่ยนแปลงจาก ความปวดเฉียบพลัน > ความปวดเรื้อรัง
โรคที่ทำให้เกิดอาการเจ็บเฉียบพลัน
ปอดบวม เจ็บหน้าอก งูสวัด การอักเสบ การติดเชื้อ
ตัวอย่างการปวด
อาการเจ็บปวดเฉียบพลันเป็นการตอบสนองต่อร่างกายต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็น สารเคมี / ความร้อน / พลังงานกล เช่นการกด การกระแทก การสัมผัส เป็นต้น
ความเจ็บปวดเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากโรคมะเร็ง (chronic non-cancer pain)
เป็นความปวดที่อยู่นานเกิน 3 เดือน แม้พยาธินั้นจะหายไปแล้ว หรือไม่พบพยาธิสภาพ หรือสภาพไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
หลักการรักษา
บำบัดความปวดให้อยู่ในระดับที่ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ อาจมีความปวดบ้างแต่ไม่ทรมานกับความปวด
ตัวอย่างการปวด
อาการเจ็บปวดตามข้อของโรคไขข้ออักเสบ / ปวดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ความปวดเรื้อรังจากโรคมะเร็ง (chronic cancer pain)
เป็นความปวดจากโรคมะเร็งหรือเกี่ยวกับมะเร็ง โดยเฉพาะระยะลุกลามที่ไม่สามารถตัดก้อนเนื้อได้ เจ็บปวดเหมือนปวดเฉียบพลัน
หลักการรักษา
บำบัดความปวดเรื้อรังโดยเน้นคุณภาพชีวิตที่ดี แม้จะมีอาการปวดบ้าง ไม่ทรมานกับความปวด
ถ้าปวดเฉียบพลันให้หาสาเหตุของความปวดร่วมกับบำบัดความปวดเฉียบพลันอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อถึงระยะสุดท้าย ให้บำบัดความปวดโดยนึกถึวความสุขสบาย (comfort care) มากกกว่าคุณภาพ
ชีวิตและอาการข้างเคียง จากยาระงับปวด
กลไกการรับรู้ความเจ็บปวด
การกระตุ้น (Transduction):
การเปลี่ยนสิ่งเร้าทางกายภาพหรือเคมีให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่เส้นประสาทรับรู้ความเจ็บปวด
การส่งสัญญาณ (Transmission):
สัญญาณความเจ็บปวดส่งผ่านเส้นประสาทส่วนปลายไปยังไขสันหลังและสมอง
การรับรู้ (Perception):
สมองส่วนคอร์เท็กซ์ (cortex) ตีความสัญญาณเป็นความเจ็บปวด พร้อมมิติทางอารมณ์
การควบคุม (Modulation):
สมองและไขสันหลังปรับระดับสัญญาณความเจ็บปวดผ่านสารสื่อประสาท เช่น เอนดอร์ฟิน
การประเมินความเจ็บปวด
สามารถประเมินทางคลินิกพื้นฐาน ได้แก่
การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
ผลการตรวจทางห้องแลป
4.การตรวจทางรังสี
วิธีบำบัดความปวด
การบำบัดด้วยยา (pharmacological approach)
คือการให้ยาระงับในกลุ่มต่างๆ ได้แก่
opioids, weak opioids (codeine, tramadol), NSAIDs, COX-2 inhibitor และ paracetamol
การบำบัดความปวดโดยไม่ใช้ยา (non-pharmacological approach)
สามารถลดอาการปวดของผู้ปวดได้ เนื่องจากจะช่วยลดการรับรู้ความเจ็บปวดและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการเจ็บปวดของตนได้
เช่น
การนวด
การประคบร้อน / ประคบเย็น
การเบี่ยงเบนความสนใจ
การฟังเพลง