Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าอิสระ - Coggle Diagram
ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าอิสระ
1.1 การเลือกหัวข้อเรื่องการค้นคว้าอิสระ
1) เริ่มต้นจากความสนใจของนักศึกษาเอง แล้วค้นคว้าเรื่องที่สนใจนั้นเพิ่มเติมด้วยการตรวจสอบ เอกสาร (Review Literature) เพื่อให้ทราบว่าเรื่องที่สนใจนั้นมีใครเคยศึกษาไว้บ้าง อาจมีประเด็นที่น่าสนใจ ที่ควร ศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเป็นการสนับสนุนความรู้นั้นๆ ให้สมบูรณ์ขึ้น การตรวจสอบเอกสารอาจค้นหาได้จาก วิทยานิพนธ์ รายงานการค้นคว้าอิสระในสาขาที่สนใจ รายงานผลการวิจัย หรือจากการอ่านวารสารวิชาการที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นักศึกษาสนใจและท าการจดบันทึกหนังสืออ้างอิงไว้
2) หัวข้อที่น่าสนใจที่จะท าการศึกษาอาจได้มาจากข้อคิด ข้อเสนอแนะของผู้รู้ในสาขาวิชานั้นๆ ตลอดจนเรื่องราวที่มีการถกเถียง หรือเป็นข้อขัดแย้งที่ยังมิได้ท าการตรวจสอบด้วยวิธีการวิจัย
3) จากประสบการณ์ทำงานของตัวนักศึกษาเอง
1.2 การเขียนข้อเสนอโครงร่าง โครงร่างการค้นคว้าอิสระ ควรประกอบด้วยรายละเอียดที่สามารถแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในหัวข้อ การศึกษา ได้แก่
1) ความสำคัญของปัญหา
2) วัตถุประสงค์ของการศึกษา
3)ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4)การส ารวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5) ขอบเขตของการศึกษา
6) สมมติฐานการศึกษา
7) วิธีการศึกษา
8) ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
9) งบประมาณการศึกษา
10) เอกสารอ้างอิง หรือ บรรณานุกรม
วัตถุประสงค์ของการศึกษา) การเขียนวัตถุประสงค์ของการศึกษา จะต้องระบุให้ชัดเจนและรัดกุมจากปัญหาที่นักศึกษาต้องศึกษา และ ค าตอบที่ต้องการจากเรื่องที่ต้องศึกษา วัตถุประสงค์กับหัวข้อศึกษาจะต้องสอดคล้องกัน โดยเขียนเรียงล าดับเป็น ข้อๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ หมายถึง ส่วนที่ผู้ศึกษาคาดว่าผลที่ได้จากการศึกษานั้นเป็นประโยชน์ในทางวิชาการ และ/หรือ ในทางปรับ ใช้ต่อหน่วยงาน ต่อแวดวงวิชาการหรือต่อสังคมอย่างไรบ้าง
การส ารวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นส่วนที่สรุปแนวคิด ทฤษฎี ผลงานศึกษา รายงานการศึกษาค้นคว้าและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ จะศึกษา ซึ่งจะค้นคว้าได้จากต ารา รายงาน การวิจัย วิทยานิพนธ์หรือเอกสารอื่นๆ ที่เชื่อถือได้ เพื่อดูว่าในเรื่อง นั้นๆ ได้มีการศึกษาไว้แล้วในประเด็นใดบ้าง ใช้วิธีการศึกษาอย่างไรและมีข้อเสนอแนะอย่างไร
ขอบเขตของการศึกษา เป็นการก าหนดกรอบของปัญหาที่จะศึกษาให้ชัดเจนว่า ผู้ศึกษาจะศึกษาครอบคลุมเรื่องใดบ้าง โดยควร ระบุสถานที่ และช่วงเวลาที่จะท าการศึกษาด้วย
สมมติฐาน หมายถึง ข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ของการวิจัยเป็นการสันนิษฐาน หรือเป็นความคาดหมายที่ผู้ศึกษาได้ก าหนดขึ้นไว้ล่วงหน้าถึงทิศทาง ความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยอาศัยความรู้จาก การตรวจสอบเอกสาร ซึ่งเมื่อทดสอบตามวิธีการทดสอบสมมติฐานทางสถิติแล้วตัวแปรต่างๆ อาจมีความสัมพันธ์ กัน โดยมีนัยส าคัญทางสถิติ หรืออาจไม่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีนัยส าคัญทางสถิติก็ได้ สมมติฐานทางสถิตินี้จะมี หรือไม่ก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม แต่สมมติฐานของการศึกษาควรจะมี ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บและ วิเคราะห์ข้อมูล สมมติฐานที่ดี ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
ข้อความต้องเขียนเฉพาะเจาะจง
มีความคิดรวบยอดที่ชัดเจน สามารถให้ค าจ ากัดความได้
สามารถทดสอบได้ด้วยเทคนิคทางสถิติที่มีอยู่
มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีที่มีอยู่
วิธีการศึกษา
1) วิธีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
1 more item...
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา เป็นการวางแผนและระบุช่วงระยะเวลาที่จะใช้ในการศึกษา นับตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการจนถึงการพิมพ์ รายงานและเข้ารูปเล่ม ผ่านการอนุมัติโดยอาจารย์ผู้ควบคุม สามารถก าหนดขั้นตอนที่ส าคัญๆ โดยแสดงเป็น แผนการด าเนินงาน หรือ แกนต์ชาร์ท (Gant Chart) โดยในการค้นคว้าอิสระนี้ นักศึกษาควรใช้เวลาในการศึกษา 1 – 2 ภาคการศึกษา และไม่ควรเกิน 1 ปีการศึกษา
1 more item...
สมมติฐานการศึกษา