Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ยกระดับดัชนี สร้างพลเมืองดีในสังคม - Coggle Diagram
บทที่ 3
ยกระดับดัชนี สร้างพลเมืองดีในสังคม
การสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรมเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริต ปลูกจิตสำนึก ปรับเปลี่ยนฐานการคิดให้แก่เยาวชน ให้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบของการทุจริตคอร์รัปชั่น
3.1 จริยธรรมป้องกันการทุจริต จริยธรรมจึงมี 2 ความหมาย คือ ความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์สุขของตนและสังคมซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพและอีกความหมายหนึ่ง คือ การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ
คุณธรรม 8 ประการ
ขยัน หมายถึง ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค
ประหยัด หมายถึง การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของตน แต่พอประมาณให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ
ความซื่อสัตย์ หมายถึง ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำอียงหรืออคติ
สุภาพ หมายถึง เรียบร้อยอ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ
มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม
สามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ความร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการ เกิดการงานอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท
สะอาด หมายถึง ปราศจากความมัวหมองทั้งกายใจและสภาพแวดล้อมความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
มีน้ำใจ หมายความจริงใจที่ไม่เห็นแต่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ในความสนใจ
คุณธรรมแห่งความพอเพียง
การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ความตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ การรู้จักประหยัดและออม ความซื่อสัตย์ ความมีสัมมาคารวะ ความรักชาติ
การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน ศีลเป็นตัวกำหนดที่จะทำให้งดเว้นในการที่จะทำชั่วร้ายใดๆ อยู่ในจิตใจ ส่งผลให้บุคคลมีจิตที่เข้มแข็งรู้เท่าทันความคิด สามารถควบคุมตนได้
การทำสมาธิ เป็นการฝึกให้เกิดความตั้งมั่นของจิตใจทำให้เกิดภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียวของกุศลจิตเป็นจิตใจที่สงบผ่องใสบริสุทธิ์เป็นจิตใจที่เข้มแข็ง
ฝึกการเป็นผู้ให้ เช่น การรู้จักให้อภัย รู้จักแบ่งปันความรู้ ความดีความชอบ บริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์ อุทิศแรงกายแรงใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ
ความซื่อสัตย์: คุณธรรมพื้นฐานในการป้องกัน ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งทางกาย วาจา ใจ มีความละอายและเกรงกลัวต่อการกระท าผิด คนมีศีลธรรมหรือมนุษยธรรม ที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นอารยะชนและมีความซื่อสัตย์สุจริต 3 ประการ
กายสุจริต เป็นความสุจริตทางกาย ท าสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย ละเว้นการบีบคั้น เบียดเบียน มีเมตตากรุณา
วจีสุจริต เป็นความสุจริตทางวาจา ทำสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความจริง
มโนสุจริต เป็นความสุจริตทางใจ ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยใจ ไม่ละโมบไม่เพ็งเล็งคิดหาทางเอาแต่ได้ ให้คิดเสียสละ ทำใจให้กว้างขวาง
ฆราวาสธรรม 4
สัจจะ ความจริง คือ ดำรงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง จะทำอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
ทมะ การข่มใจ คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
ขันติ อดทนคือ มุ่งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน ไม่หวั่นไหว มั่นคงในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
จาคะ เสียสละ คือ มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บำเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาใจตน
3.2 ความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
ความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การกระท าการใด ๆ ของ
ภาครัฐทั้งในระดับบุคคลและองค์กรที่ผู้อื่นสามารถมองเห็นได้คาดเดาได้และเข้าใจได้
หลักธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE) หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดย ถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ
หลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นพื้นฐานที่สำคัญของหลักนิติธรรม เพราะหลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นหลักที่แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของการแบ่งแยกอำนาจการตรวจสอบอำนาจ
หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หลักนิติธรรมมีความเกี่ยวพันกันกับสิทธิในเสรีภาพของบุคคล และสิทธิในความเสมอภาค
หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง การใช้กฎหมายของฝ่ายตุลาการ หรือฝ่ายปกครองที่เป็นการจำกัดสิทธิของประชาชนมีผลมาจากกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบ
หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา เป็นหลักที่เรียกร้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายปกครองทีออกกฎหมายลำดับรอง
หลักความอิสระของผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสามารถทำภาระหน้าที่ในทางตุลาการได้โดยปราศจากการแทรกแซงใดๆโดยผู้พิพากษามีความผูกพันเฉพาะต่อกฎหมายและ ทำการพิจารณาพิพากษาภายใต้มโนธรรมของตนเท่านั้น
หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” เมื่อไม่มีข้อบัญญัติทางกฎหมายให้เป็นความผิด แล้วจะเอาผิดกับบุคคลนั้นๆมิได
หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ หมายความว่า รัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับให้เป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่สูงสุดในระบบกฎหมายของรัฐนั้นและหากกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับ
หลักคุณธรรม (Morality) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์จริงใจประกอบด้วยหลักการส าคัญ 3 หลักการคือหน่วยงานปลอดการทุจริต หน่วยงานปลอดจากการทำผิดวินัยและหน่วยงานปลอดจากการทำผิดมาตรฐานวิชาชีพนิยมและ
จรรยาบรรณ
หลักความโปร่งใส (Accountability) หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้ามหรือเกือบตรงข้ามกับการทุจริตคอร์รัปชั่น
หลักการมีส่วนร่วม (Participation) การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการบริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ
หลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสานึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ กระตือรือร้นในการแก้ปัญหา
หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจากัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่
3.3มาตรการของรัฐในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของรัฐ
ปัญหาการทุจริตในประเทศไทย เป็นปัญหาที่สั่งสมติดต่อกันมายาวนาน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงของประเทศ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
วาระการปฏิรูปที่1 การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2560 - 2579)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12(พ.ศ.2560-2564)
โมเดลประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน (Thailand 4.0)
ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่3 (พ.ศ.2560 - 2564)
3.4 ข้อมูลข่าวสารด้านการป้องกันการทุจริต
การร้องเรียนผ่าน ป.ป.ช. สำหรับการร้องเรียนเรื่องราวการทุจริตปัจจุบัน คณะกรรมการป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดช่องทางการร้องเรียนไว้หลายช่องทาง
การร้องเรียนการทุจริตของหน่วยงานต่างๆ ในแต่ละหน่วยงานจะมีหน่วยจะมีหน่วยรับร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสของตนเอง