Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด, นายจิรวัฒน์ ไพคำนาม…
แนวคิดและกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด
แนวคิดและหลักการในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด (Perioperative Nursing) ครอบคลุม 3 ระยะ
1.ก่อนผ่าตัด (Preoperative): การเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
2.ขณะผ่าตัด (Intraoperative): ดูแลผู้ป่วยในห้องผ่าตัดและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
3.หลังผ่าตัด (Postoperative): การฟื้นฟูสุขภาพ ลดอาการแทรกซ้อน
วัตถุประสงค์หลัก
ป้องกันการติดเชื้อและลดความเสี่ยงระหว่างกระบวนการผ่าตัด
ส่งเสริมการฟื้นฟูให้รวดเร็ว
ให้ผู้ป่วยกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามศักยภาพสูงสุด
การพยาบาลก่อนผ่าตัด (Preoperative Nursing Care)
1.วัตถุประสงค์ของการพยาบาลก่อนผ่าตัด
ลดความกังวลและเตรียมผู้ป่วยให้พร้อม
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ส่งเสริมการฟื้นตัวเร็วหลังผ่าตัด
การเตรียมร่างกายผู้ป่วย
1.เก็บข้อมูลผู้ป่วย
ประวัติทางการแพทย์ (เช่น โรคประจำตัว การแพ้ยา)
ตรวจร่างกาย (Head-to-Toe) และห้องปฏิบัติการ (เช่น CBC, X-ray, EKG)
2.คำแนะนำก่อนผ่าตัด
งดอาหารและน้ำก่อนผ่าตัด 6-8 ชั่วโมง
ทำความสะอาดร่างกายและบริเวณผ่าตัด
เตรียมอุปกรณ์ เช่น NG Tube, Foley Catheter
3.การเตรียมจิตใจผู้ป่วย
ให้ข้อมูลและตอบคำถาม:
กระบวนการผ่าตัดและการดมยา
ธีจัดการกับความเจ็บปวดหลังผ่าตัด เช่น การใช้ PCA (Patient-Controlled Analgesia)
ลดความกังวล
สร้างความไว้วางใจ
ใช้การสัมผัสและการฟังเพื่อสร้างความมั่นใจ
การสอนกิจกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อน
หายใจลึก (Deep Breathing Exercise)
ไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Cough)
การพลิกตัว (Turning) และการลุกจากเตียงเร็ว
การพยาบาลขณะผ่าตัด (Intraoperative Nursing Care)
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลในห้องผ่าตัด
ให้การดูแลที่ปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ
การแบ่งหน้าที่ของทีมพยาบาลในห้องผ่าตัด
Scrub Nurse (พยาบาลส่งเครื่องมือ)
รักษาความสะอาด
จัดส่งเครื่องมือให้ทีมศัลยแพทย์อย่างเหมาะสม
Circulating Nurse (พยาบาลช่วยทั่วไป)
เตรียมอุปกรณ์ ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย
ควบคุมบรรยากาศในห้องผ่าตัดให้ปลอดเชื้อ
การป้องกันอันตราย
การจัดท่านอน: ป้องกันการบาดเจ็บจากการกดทับหรือท่านอนที่ผิดปกติ
ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย: ตรวจอุณหภูมิของผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะ Hypothermia
การป้องกันการติดเชื้อ: ใช้หลัก Sterilization และควบคุมการเข้า-ออกห้องผ่าตัด
การพยาบาลหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น (Recovery Room Care)
การประเมินสภาพหลังผ่าตัด
สัญญาณชีพ: ตรวจวัดทุก 15 นาทีในชั่วโมงแรก เช่น ชีพจร ความดันโลหิต
การตอบสนองของระบบประสาท: ระดับความรู้สึกตัว (GCS)
การดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ระบบหายใจ: สอนการใช้เครื่อง Incentive Spirometry เพื่อป้องกันปอดแฟบ
ระบบไหลเวียนโลหิต: เฝ้าระวังภาวะตกเลือดโดยสังเกตจากปริมาณน้ำเกลือและปัสสาวะ
การพยาบาลหลังผ่าตัด (Postoperative Nursing Care)
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลหลังผ่าตัด
ลดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การเสียเลือด
ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้เร็วที่สุด
2.กิจกรรมฟื้นฟูหลังผ่าตัด
การเคลื่อนไหว: ฝึกผู้ป่วยให้ขยับตัวเร็ว เช่น การลุกนั่ง การเดินเบาๆ
การบริหารร่างกาย: เช่น การยืดเหยียดขา หมุนข้อเท้า
เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน
การติดเชื้อ: ตรวจบริเวณแผลผ่าตัดอย่างสม่ำเสมอ
การสูญเสียเลือด: เฝ้าระวังสัญญาณชีพผิดปกติ เช่น ความดันโลหิตลด
แนวทางการฟื้นฟูและให้ความรู้ผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน
การดูแลแผล
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำความสะอาดแผลและสัญญาณของการติดเชื้อ
การรับประทานยา
อธิบายการใช้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ และผลข้างเคียง
การออกกำลังกาย
ส่งเสริมการทำกายภาพบำบัดและการออกกำลังกายเบาๆ
การสังเกตอาการผิดปกติ
แนะนำให้ติดต่อแพทย์ทันทีหากมีไข้หรือแผลบวมแด
นายจิรวัฒน์ ไพคำนาม 6640000135