Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สูติศาสตร์หัตถการ, image, image, image, image, image, image, image, image,…
สูติศาสตร์หัตถการ
การช่วยคลอดด้วยคีม (Forceps extraction)
หมายถึง การใช้คีมดึงศีรษะทารกออกจากช่องคลอด ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อมารดาหรือทารก เพื่อช่วยคลอดทารกในกรณีทารกในครรภ์อยู่ในภาวะคับขัน เพื่อต้อวการให้เกิดการคลอดเร็วขึ้น หรือกรณีที่มารดาไม่มีแรงเบ่งคลอด
ภาวะแทรกซ้อน
ด้านมารดา
การคลอดยาวนาน - การฉีกขาดของช่องทางคลอด
ตกเลือดหลังคลอด จากการฉีกขาดของช่องทางคลอดหรือจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
อันตรายต่อกล้ามเนื้อ Pelvic floor ทำให้มดลูกหย่อน
การติดเชื้อ
อันตรายต่อทวารหนัก
ด้านทารก
Subconjunctival hemorrhage (ภาวะเลือกออกใต้เยื่อบุตา)
Cephallhematoma (ภาวะที่เลือดออกที่เยื่อหุ้มใต้กระโหลกศีรษะ)
Intracranial hemorrhage (เลือดออกในกระโหลกศีรษะ)
Facial palsy (อัมพาตใบหน้า)
Erb's paralysis (อัมพาตของประสาทกล้ามเนื้อแขนส่วนบน)
Asphyxia (ขาดออกซิเจน)
ข้อบ่งชี้
ด้านมารดา
ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน
มารดาอ่อนเพลียไม่มีแรงเบ่งคลอด
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
มารดาไม่ให้ความร่วมมือในการเบ่ง
มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย
ด้านทารก
คลอดท่าก้นที่มีการคลอดศีรษะติดขัดช่วยคลอดตามปกติไม่สำเร็จหรือทำยาก
การหมุนของศีรษะทารกในครรภ์ผิดปกติ เช่น OP
Fetal distress
ภาวะที่ต้องพร้อมก่อนการช่วยคลอดด้วยคีม
ไม่มีการผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและช่องเชิงกรานมารดา
กระเพาะปัสสาวะมารดาว่าง หรือมีการสวนปัสสาวะทิ้ง
ศีรษะทารกอยู่ในอุ้งเชิงกรานมารดา
ปากมดลูกเปิดหมด
ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
ข้อห้ามในการช่วยคลอดด้วยคีม
ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับ bone demineralization เช่น osteogenesis imperfecta
Unengaged fetal head
Fetal distress ที่รุนแรงและไม่สามารถคลอดได้โดยเร็ว
มีภาวะผิดสัดส่วนของศีรษะทารกและช่องเชิงกรานอย่างชัดเจน: CPD
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
ทารกอายุครรภ์ก่อนกำหนด
ไม่ทราบ position ของทารก
ทารกมีปัญหาเลือกออกง่าย เช่น hemophilia
การพยาบาล
การพยาบาลก่อนการช่วยคลอดด้วยคีม
เตรียมด้านร่างกาย ได้แก่ การโกนขนและทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
เตรียมด้านจิตใจ บอกเหตุผล วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการใช้คีมทำหัตถการ
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
จัดเตรียมอุปกรณ์ ผู้คลอดเพื่อทำการคลอด
ประเมิน UC และ FHS
รายงานกุมารแพทย์เพื่อเตรียมให้การช่วยเหลือทารกแรกเกิด
การพยาบาลขณะการช่วยคลอดด้วยคีม
ดูแลด้านจิตใจให้กำลังใจ และแนะนำการปฏิบัติตัวขณะที่แพทย์ช่วยคลอด
ประเมิน FHS ทุก 5 นาที ถ้าผิดปกติรายงานแพทย์
ประเมิน UC และรายงานแพทย์เพื่อเริ่มต้นดึง
เตรียมช่วยเหลือ ถ้าช่วย F/E ไม่สำเร็จ ต้องรีบเตรียมผ่าตัดคลอดทันที
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที 4 ครั้ง 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั้วโมง จนกว่าจะปกติ
การพยาบาลหลังการช่วยคลอดด้วยคีม
1.ระเมินสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที 4 ครั้ง 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั้วโมง จนกว่าจะปกติ
ประเมินลักษณะของแผลฝีเย็บและเลือดที่ออกจากทางช่องคลอด เพื่อเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด
ประเมิน UC ถ้าไม่ดีให้คลึงมดลูกและตรวจสอบกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
ดูแลให้ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก และสารน้ำทางหลอดเลทลือดดำตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินอาการปวดฝีเย็บ ร่วมกับความสุขสบายของมารดาหลังคลอด
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและบุตรหลังคลอด
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
(Cesarean section)
หมายถึง การทำคลอดมารกโดยผ่านทางผนังหน้าท้อง (Laparotomy) และผนังมดลูก (Hysterotomy) โดยทารกต้องมีชีวิตได้หากเป็นการผ่าตัดนำทารกออกจากช่องท้องในรายที่มดลูกแตก หรือตั้งครรภ์ในช่องท้อง หรือทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม
ประเภทของการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง มี 2 แบบ
แบบวางแผนล่วงหน้า (Elective cesarean birth)
เป็นการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
ข้อบ่งห้าม
รกเกาะต่ำชนิดสมบูรณ์
ติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศ
เมื่อสูติแพทย์และมารดาตัดสินใจผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องซ้ำ
ทางหน้าท้องแบบฉุกเฉิน (Emergency cesarean birth)
มารดาจะวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของตนเองและทารกในครรภ์
เป็นการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า
มารดาจะเข้าสู่การผ่าตัดคลอดด้วยความเหนื่อยล้าหลังจากการคลอดที่ยากลำบาก
ผลลัพธ์ทางจิตสังคมของมารดาที่ผ่าตัดคลอดดังกล่าวมักเป็นทางลบ
ชนิดของการผ่าตัดคลอด ทางหน้าท้อง มี 2 แบบ
ผ่าตัดคลอดที่ผนังหน้าท้อง (Abdominal incision) แบ่งเป็น 2 แบบ
Transverse skin insision/pfannenstiel incision
ข้อดี
แผลหายเร็ว
ลดความเจ็บปวดได้มากกว่า
ไม่เห็นรอยแผลชัดเจน
ข้อเสีย
ใช้เวลาในการผ่าตัดนานกว่า ทำได้ช้ากว่า
ไม่สามรถเปิดแผลให้กว้างถ้าทารกตัวโต
การผ่าตัดผิวหนังแนวขวาง
Low vertical incision/Low abdominal midline incision
การผ่าตัดบริเวณผิวหนังแนวตั้ง
ข้อดี
สะดวก
รวดเร็ว
เสียเลือดน้อยกว่า
ข้อเสีย
มักทำในกรณีฉุกเฉิน ทารกตัวโต
ผ่าตัดคลอดที่กล้ามเนื้อมดลูก (Uterine incision) แบ่งเป็น 2 แบบ
Classical cesarean section
ข้อเสีย
เสียเลือดมากกว่า
แผลติดไม่ดี มีอันตรายมดลูกแตกสูง
แพร่การติดเชื้อได้ง่ายมีไข้สูงกว่า
หลังคลอดมีอาการท้องอืด
การเย็บแผลที่มดลูกยาวกว่า
Low vertical cesarean section/Low segment cesarean section
2.1 Lowvertical incision (Beck's or Kronig's)
ไม่นิยม
อาจมีการฉีกขาดของแผลลึกไปถึงปากมดลูกและกระเพาะปัสสาวะ
การหายของแผลไม่ดีเท่ากับการผ่าตัดตามแนวขวาง
จะทำในกรณีที่ส่วนล่างของมดลูกแคบเกินกว่าจะตามแนวขวางได้
2.2 Low transverse incision (Keer's)
นิยมในปัจจุบัน
การหายของแผลดีกว่าและมีโอกาสทะลุถึงกระเพาะปัสสาวะได้น้อยกว่า
ภาวะแทรกซ้อน
มารดา
ขณะผ่าตัดเกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในช่องท้อง
ท้องอืด
ติดเชื้อที่มดลูกหรือแผลผ่าตัด
ตกเลือดในช่องคลอด
อาจเกิด tromboembolism disease
ทารก
อาจถูกมีดบาด
กระดูกหัก
ข้อเคล็ด
เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจและพร่องออกซิเจน
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดโดยสมบูรณ์
การคลอดติดข้อ
รกเกาะต่ำ
Fetal distress
Prolapsed of umbilical cord ที่ทารกยังมีชีวิต
กระดูกเชิงกรานหักหรือมีความผิดปกติของช่องทางคลอด
มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม
การพยาบาล
ก่อนผ่าตัด
เตรียมมารดาด้านจิตใจ
NPO
สวนอุจจาระ
โกนขนบริเวณที่ผ่าตัด
ใส่สายสวนปัสสาวะ
เจาะเลือดส่งตรวจ
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ประเมิน FHS และสัญญาณชีพ
ตรวจสอบถอดฟันปลอมและเครื่องประดับ
ขณะผ่าตัด
เตรียมเครื่องมือและเครื่องช่วยเหลือทารกแรกเกิด
เตรียมท่า Trendelenberg
ทำความสะอาดหน้าท้องและปูผ้า
ช่วยส่งเครื่องมือและเป็นผู้ช่วยแพทย์
บันทึกเวลาคลอด ประเมินร่างกายทารก
ช่วยดูแลทารกแรกเกิด
หลังผ่าตัด
จัดท่านอนราบไม่หนุนหมอน
ตะแคงศีรษะจนกว่าจะรู้สึกตัวดี
ประเมินแผลผ่าตัดว่ามีเลือดซึมหรือไม่
ประเมินเลือดที่ออกจากช่องคลอด
ประเมินสัญญาณชีพ
ดูแลความสุขสบาย
ดูแลให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
ประเมินลักษณะ สี และจำนวนของปัสสาวะ
กระตุ้นสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารก
กระตุ้นให้ทารกดูดนมมารดา
Early ambulation