Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อ (HIV/AIDS & Tuberculosis) - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อ
(HIV/AIDS & Tuberculosis)
การติดเชื้อ
ปัจจัยที่ทำให้เกิด
Host
ปกติร่างกายมนุษย์มีกลไกป้องกันการติดเชื้อ (host defense mechanism) อยู่ แต่หาก host defense mechanism บกพร่องหรือไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ ประกอบด้วย 2 กลไกลหลักๆ
กลไกการทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะ (Nonspecific defense mechanisms)
เป็นกลไกที่ป้องกันร่างกายจากจุลชีพโดยมีลักษณะที่ไม่จำเพาะต่อเชื้อจุลชีพชนิดใดชนิดหนึ่งจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทย่อย
First line of defense
เป็นกลไกการป้องกันที่อยู่ภายนอกร่างกายอาจเป็นได้ทั้งชนิด mechanical และ chemicaldefens
ผิวหนัง น้ำลาย น้ำตา ความเป็นกรดของกระเพราอาหาร รวมทั้ง mucous membrane ต่างๆ การไอจาม อาเจียน และท้องเสีย
Second line of defense
เป็นกลไกการป้องกันที่อยู่ภายในร่างกาย เมื่อสิ่งแปลกปลอมสามารถผ่าน first line of defense เข้าสู่ภายในร่างกายได้
การเกิด phagocytosis โดยเม็ดเลือดขาว
การผลิต antimicrobial protein
inflammatory response
กลไกการทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ (Specific defense mechanisms/third line of defense)
เป็นระบบการป้องกันร่างกายที่สลับซับซ้อนและมีความจำเพาะ (specific) ต่อเชื้อจุลชีพ โดย host ต้องเคยสัมผัสเชื้อจุลชีพชนิดนั้นมาก่อน
การท างานของ lymphocytes และการผลิตantibody
Pathogen หรือ Agents
การติดเชื้อนั้น host อาจได้รับสิ่งก่อโรคได้จากหลายแหล่ง เช่น จากคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นในชุมชน ระหว่างการเดินทาง หรือเมื่อเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลก็ได้
การติดเชื้อจุลชีพจะก่อโรคใน host ได้ต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้
Agent
หรือจุลชีพต่างๆ
Reservoir
หรือรังโรค อาจเป็นได้ทั้ง คน สัตว์ เครื่องมือ ของใช้ ความชื้น ดิน น้ำ ที่เป็นแหล่งให้เชื้อก่อโรคอาศัย
Portal of exit
หรือทางออกของเชื้อโรคจาก reservoir
Mode of transmission
หรือวิธีที่เชื้อออกจาก portal of exit แล้วไปยัง host
Portal of entry
หรือทางที่เชื้อโรคจะผ่านเข้าสู่ร่างกายของ host
Host
ที่กลการป้องกันการติดเชื้อมีประสิทธิภาพลดลง
Environment
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลให้จุลชีพแข็งแรงขึ้น host อ่อนแอลงหรือทั้งสองอย่าง การเปลี่ยนแปลงนี้จะสามารถส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหรือเกิดโรคต่างๆ ขึ้นมาได้
อากาศที่หนาวจัดไปอยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลนอาหาร หรือไม่ถูกสุขลักษณะ อาจทำให้ร่างกายของ host อ่อนแอลง และ host เกิดการติดเชื้อได้
อากาศที่ร้อนจัดจะทำให้ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด ส่งผลให้ agent เพิ่มจำนวนขึ้นและมีโอกาสก่อโรคต่อ host ได้เพิ่มมากขึ้น
การประเมิน
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
อาการทั่วไป
จะมีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
ผิวหนัง
อักเสบ ผื่น คัน แผล ตุ่ม/หนอง/ฝี สิ่งคัดหลั่ง
ข้อ
ปวด บวม อุ่น ผิดรูป
ระบบหายใจ
หายใจลำบาก หอบ เหนื่อย เสมหะ/น้ำมูก เจ็บคอ เจ็บเสียด
ระบบทางเดินอาหาร
ท้องเสีย ปวด คลื่นไส้ อาเจียน
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ปวดเอว/หลัง/ท้อง ปัสสาวะบ่อย/กลั้นไม่อยู่ ปัสสาวะแสบ/ขัด/ขุ่น
ระบบประสาท
ปวดศีรษะ ชัก เกร็ง สับสน ซึม กระสับกระส่าย คลื่นไส้ อาเจียน
Sepsis
ไข้สูงหรือตัวเย็น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว จุด/ผื่นทั่วตัว อาการเฉพาะระบบที่ติดเชื้อ หรือพบอาการในหลายๆระบบ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการและรังสีวินิจฉัย
CBC: WBC (จำนวน และชนิดของเม็ดเลือดขาว)
Serologic tests: Antibody
Microscopy +/- ย้อมสี
Culture/Sensitivity: เพาะเชื้อ
Serum biochemical tests: metabolic or enzymatic products
รังสีวินิจฉัย: X-rays, ultrasound, CT scan, MRI
Molecular diagnostics: polymerase chain reaction (PCR)
แนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
มีภาวะติดเชื้อในร่างกาย
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
ได้รับการเก็บ specimen เพื่อส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค ทดสอบความไวต่อยา
ติดตามผลการรักษา
อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา
ติดตามความเปลี่ยนแปลงของอาการ อาการแสดง และผลตรวจต่างๆ
วัดและจดบันทึกผลการประเมินสัญญาณชีพอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะๆ
เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
ใช้ universal precaution อย่างเคร่งครัด ถูกวิธี
เลือกใช้เทคนิค isolation ที่เหมาะสม อาจต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกที่เป็น air flow control หรือ negative pressure
ขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรค สาเหตุ การรักษา และการปฏิบัติตัว
สื่อสาร รับฟังปัญหา ให้คำอธิบาย เปิดโอกาสให้ซักถามระบายความรู้สึก เน้นย้ำเรื่องการได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องครบถ้วนตามแผนการรักษา การสืบค้น ตรวจหาเชื้อก่อโรคการสังเกตอาการที่ผิดปกติ และติดตามการรักษา
ความไม่สุขสบายต่างๆ เช่น ไข้ ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ ข้อต่างๆ จากการติดเชื้อ
ใช้ยาแก้ปวด/ลดไข้ หรือไม่ใช้ยาก็ได้ เช่น การประคบ เช็ดตัวลดไข้ พักผ่อน และการผ่อนคลาย
Tuberculosis
พยาธิสภาพ
วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB)
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Mycobacterium tuberculosis บางครั้งเรียก AFB/Acid Fast Bacilli เกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกายแต่ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอด (ร้อยละ 80) ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้ง่าย และวัณโรคนอกปอด (extra-pulmonary tuberculosis) (ร้อยละ 20) อวัยวะที่พบบ่อย ได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง (พบมากสุด) กระดูก (มักพบที่กระดูกสันหลัง) เยื่อหุ้มปอด ระบบทางเดินปัสสาวะ ลำไส้ เยื่อหุ้มสมอง เยื่อหุ้มหัวใจ ผิวหนัง เป็นต้น
การแพร่กระจายเชื้อ
ผ่านทางฝอยละอองขนาดเล็ก (Airborne) ที่ลอยและกระจายอยู่ในอากาศ เมื่อผู้ป่วยที่มีเชื้อ M. tuberculosis ไอจาม พูดดังๆ ตะโกน หัวเราะ หรือร้องเพลง แล้วบุคคลอื่นมีการสูดหายใจเอาละอองฝอยเข้าไป
ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ประมาณร้อยละ 70 จะไม่ติดเชื้อวัณโรค มีเพียงประมาณร้อยละ 30 ที่ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค
ด้านผู้ป่วยวัณโรค
การป่วยเป็นวัณโรคปอด หลอดลม หรือกล่องเสียง ในระยะที่มีเชื้อในเสมหะ ผู้ป่วยที่มีแผลโพรงในปอดจะมีเชื้อจำนวนมาก เมื่อมีอาการไอ จาม หรืออาการอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการหายใจแรงๆ
ด้านสิ่งแวดล้อม
สถานที่อับทึบและคับแคบ
แสงแดดส่องไม่ถึง
การถ่ายเทอากาศไม่ดี
ด้านระบบบริการ
การวินิจฉัยและรักษาล่าช้า
การให้ยารักษาไม่ถูกต้อง
การรักษาไม่ครบ
การทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอย (เช่น การกระตุ้นให้เกิดการไอ)
เชื้อวัณโรค
อาศัยออกซิเจนในการเจริญเติบโต
อยู่ในละอองฝอยเมื่อผู้ป่วยไอหรือจามออกมา และสามารถล่องลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 30 นาที
สามารถถูกทำลายด้วยสารเคมีบางชนิด อากาศที่ถ่ายเท ความร้อน แสงแดด และแสงอัลตราไวโอเลต
กลุ่มเสี่ยงของการติดเชื้อ
ภูมิต้านทานโรคต่ำ
ได้รับยากดการสร้างภูมิต้านทานโรค
ภาวะโภชนาการไม่ดี
เจ็บป่วยหรือโรคเรื้อรัง
อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่เชื้ออยู่รอด
การวินิจฉัย
อาการและอาการแสดง
ไอเรื้อรังติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป
น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
อ่อนเพลีย
มีไข้เหงื่อออกผิดปกติตอนกลางคืน
ไอมีเลือดหรือเสมหะปน
เจ็บหน้าอก หายใจขัด เหนื่อยง่าย
วัณโรคนอกปอดจะมีอาการเฉพาะตามอวัยวะนั้นๆ
วัณโรคต่อมน้ำเหลืองจะพบต่อมน้ำเหลืองโต
วัณโรคของระบบประสาทส่วนกลางจะมีอาการปวดศีรษะ ความรู้สึกตัวผิดปกติ
วัณโรคทางเดินอาหารมีอาการเบื่ออาหาร แน่นท้อง ท้องเสียเรื้อรัง
Chest X-Ray
ลักษณะภาพรังสีปอดที่เข้าได้กับวัณโรคปอด (typical chest radiograph)
infiltration และ nodule โดยอาจจะพบมี cavity หรือไม่มีก็ได้
ตำแหน่งที่พบรอยโรคบ่อยได้แก่ right upper lobe
Laboratory assessments
การตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ
ผลตรวจเสมหะ (sputum for AFB) เป็นบวก หรือสารคัดหลั่งจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น น้ำจากกระเพาะ หนอง น้ำไขสันหลัง
Polymerase chain reaction (PCR)
Ligase chain reaction (LCR)
Transcription mediated amplification (TMA)
Adenosine deaminase activity (ADA)
การตรวจหาการติดเชื้อวัณโรคแฝง
ทดสอบทุเบอร์คุลิน (tuberculin skin testing)
ถ้ามากกว่า 10 mm แสดงว่าเคยรับเชื้อวัณโรค
ถ้าน้อยกว่า 10 mm อาจตรวจซ้ำหลังจากนั้น 1-3 สัปดาห์ (two-step test) ถ้าครั้งที่ 2 เป็นบวก แสดงว่าเป็น boosted reaction
Interferon-gamma release assay: IGRA
เป็นการตรวจเลือดโดยวัดระดับสาร interferon-gamma ที่เพิ่มขึ้นจากการกระตุ้น antigen ของเชื้อวัณโรค เพื่อช่วยในการวินิจฉัยการติดเชื้อ
ซักประวัติการสัมผัสโรค
การรักษา
สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยารักษาวัณโรค (Anti-tuberculosis agents) เนื่องจากวัณโรคเป็นเชื้อที่ทนทาน
จำเป็นต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกันเพื่อให้ควบคุมเชื้อได้อย่างรวดเร็ว
โดยมีกลุ่มยารักษาหลัก 5 ตัว
Isoniazid (I, H)
ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อ
ผลข้างเคียง
ง่วง ตับอักเสบ ซีด คลื่นไส้/อาเจียน เวียนศีรษะ ชาปลายประสาท (Neuritis, ป้องกันโดยให้ Vit B6)
Rifampicin (R)
ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง ดีเอ็นเอ (DNA) ของเชื้อ
ผลข้างเคียง
ผื่น ตับอักเสบ คลื่นไส้/อาเจียนท้องเสีย มีอาการคล้ายหวัด ปัสสาวะ น้ำตา และเหงื่อเป็นสีส้ม พิษต่อไต (Renal)
Pyrazinamide (Z)
ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกรดไขมันและโปรตีนที่จำเป็นต่อเชื้อ
ผลข้างเคียง
คลื่นไส้/อาเจียนปวดท้อง ตับอักเสบ Hemolytic Anemia ปวดข้อ โดยไม่มีอาการข้ออักเสบรุนแรง
Ethambutol (E)
ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อ
ผลข้างเคียง
ประสาทตาอักเสบ (สายตาแย่ลง ไม่สามารถแยกสีแดงกับสีเขียวได้)
Streptomycin sulphate (S)
ผลข้างเคียง
หูหนวกคลื่นไส้/อาเจียน เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ ไตวาย
ผู้ป่วยใหม่ มีระยะเวลาการรักษา 6เดือน
2 เดือนแรกเป็นช่วงการรักษาเข้มข้น ผู้ป่วยจะได้รับยา 4 ตัว
4 เดือนหลังเป็นช่วงการรักษาต่อเนื่องแพทย์จะลดยาลงเหลือเพียง 2 ตัว
ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และห้ามหยุดยาเองแม้อาการจะดีขึ้นแล้ว
ผู้ป่วยจะไม่แพร่กระจายโรค
หลังเริ่มยาไปแล้ว 2 สัปดาห์
การพยาบาล
2 สัปดาห์แรกที่เริ่มยารักษาวัณโรคถือว่ายังอยู่ในระยะแพร่เชื้อ ต้องแยกผู้ป่วยให้อยู่ในห้องแยก
ผู้ป่วยต้องสวม surgical mask ปิดปากและจมูกตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหาร แปรงฟัน ล้างหน้า
บุคลากรทางการแพทย์และญาติผู้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยต้องสวมหน้ากากกรองอนุภาคชนิด เช่น N95
ไม่ควรอนุญาตให้เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเข้าเยี่ยม โดยไม่จำเป็น
แนะนำให้บ้วนเสมหะลงในภาชนะที่สถานพยาบาลจัดเตรียมไว้ ถ้าไม่มีให้บ้วนใส่กระดาษชำระแล้วใส่ในถุงพลาสติกแล้วปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งขยะ
ให้การดูแลด้านโภชนาการแก่ผู้ป่วยวัณโรค เนื่องจากป่วยวัณโรคจะมีน้ำหนักตัวลดลง จากการเบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน
HIV/AIDS
พยาธิสภาพ
Human immunodeficiency virus, HIV
เป็น RNA virus ใน Family Retroviridae Genus Lentivirus จำนวนของไวรัสที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้ host cell ถูกทำลายมากขึ้น อาการของโรคดำเนินไปอย่างช้าๆ พร้อมกับภูมิคุ้มกันโรคของ host ลดต่ำลง และหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ไวรัสเอชไอวีจะทำให้ host defense mechanism ของผู้ติดเชื้อสูญเสียหน้าที่ไป และเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดอื่นๆ ตามมา
การแพร่กระจายของเชื้อและการป้องกัน
HIV route of transmission
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่มีการป้องกัน
ป้องกันโดยยึดหลัก ABC
A คือ Abstinence
งดการมีเพศสัมพันธ์หรือรณรงค์ให้มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุที่เหมาะสม
B คือ Being faithful
ซื่อสัตย์ต่อคู่นอนหรือมีคู่นอนเพียงคนเดียว
C คือ Condom use
ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ
จากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารก ทารกมีโอกาสได้รับเชื้อจากมารดาได้ระหว่างการตั้งครรภ์ ระยะคลอดและการได้รับนมมารดา ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อ (viral load) ของมารดาขณะนั้น
สามารถลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารกได้โดย
ให้มารดาได้รับยาต้านไวรัสในระยะตั้งครรภ์
ผ่าตัดคลอดแทนการคลอดผ่านช่องคลอด
งดการให้นมบุตร
ทางเลือด
การได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่มีเชื้อ
เข็มที่ปนเปื้อนเชื้อเอชไอวี
การปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี
การป้องกัน
ทำได้ตั้งแต่ก่อนการสัมผัสเชื้อโดยการรับประทานยา pre-exposure prophylaxis (PrEP) ทุกวัน วันละ 1 เม็ด
สารคัดหลั่งที่พบเชื้อเอชไอวีมาก
เลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด และมากที่สุดในน้ำสมองและไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid, CSF)
สารคัดหลั่งที่พบเชื้อเอชไอวีน้อยมาก
น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก และเสมหะ
สารคัดหลั่งที่แทบไม่พบเชื้อเชื้อเอชไอวี
อุจจาระ
ปัสสาวะ และเหงื่อ
การดำเนินของโรค อาการและอาการแสดง
แบ่งระยะการติดเชื้อตามอาการได้เป็น 3 ช่วง
Acute HIV infection (1-6 สัปดาห์)
บางรายไม่มีอาการ บางรายมีอาการคล้ายติดเชื้อไวรัส ไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ เพลีย ปวดเมื่อยตัว และอาการจะดีขึ้นเอง
ผล anti-HIV ให้ผลลบ
(Window period ~ 3 เดือน)
Chronic HIV infection (ตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป)
ไม่มีอาการของการติดเชื้อที่เด่นชัด แต่อาจมีอาการ เช่น ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ท้องเสียเรื้อรัง น้ำหนักลด เริม งูสวัด เชื้อราในช่องปาก ปอดอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นอยู่หลายปี
ผล anti-HIV ให้ผลบวก
Acquired immunodeficiency syndrome, AIDS
ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงมาก (CD4 < 200 cells/dl) มีการติดเชื้อฉวยโอกาส พบมะเร็งบางชนิด เช่น Kaposi's sarcoma, Non-Hodgkin lymphoma, มะเร็งปากมดลูก
ผล anti-HIV ให้ผลบวก
การตรวจวินิจฉัย
ประเมินความเสี่ยง: พฤติกรรมเสี่ยง การรักษาในโรงพยาบาล
ตรวจหา Antibody
ELISA (Screening test)
Western blot (Confirmation test)
ตรวจหา Antigen
HIV PCR for HIV-RNA (Viral load)
pre-test/post-test counselling
การรักษา
ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ควบคุมได้โดยการรับประทานยาต้านไวรัส (Antiretroviral drugs) แบ่งประเภทของยาเป็น 5 กลุ่มหลักๆ
Entry/Fusion inhibitor (EIs)
ยับยั้งการเกาะของไวรัสเข้ากับ Host’s Cell Membrane
Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs)
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Reverse
transcriptase ที่เป็นอนุพันธุ์ของสาร Nucleosides
Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs)
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Reverse
transcriptase ที่ไม่ใช่อนุพันธุ์ของสาร Nucleosides
Protease Inhibitors (PIs)
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Protease
Integrase Inhibitors (IIs)
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Integrase
หลักการของการรักษาด้วยยาต้านไวรัส HIV
ใช้หลักการ HAART (Highly Active Anti-Retroviral Therapy)
ใช้ยาร่วมกันตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อไวรัส
ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ตลอดชีวิต
การให้ยาต้านไวรัส สามารถใช้ได้กับผู้ติดเชื้อทุกระดับ CD4
เป้าหมายของการรักษา คือ Viral Load < 50 copies
ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัส HIV
ระยะสั้น
(Short term)
ผื่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ผิวหนังไวต่อแสง นอนไม่หลับ เจ็บชาตามตัว
ระยะยาว
(Long term)
Metabolic syndrome
HIV-Associated Neurocognitive Disorder (HAND)
HIV-associated nephropathy (HIVAN)
Cardiovascular disease
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่พบบ่อย
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเกี่ยวเนื่องจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเกี่ยวเนื่องจากมีการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ/ปอด
ปวด เกี่ยวเนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหว ติดเชื้อ/อักเสบ มะเร็งของข้อ กล้ามเนื้อ ประสาท
ท้องเสียเกี่ยวเนื่องจากการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ยา การใช้เคมีบำบัด
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเกี่ยวเนื่องจากเบื่ออาหาร ติดเชื้อราในปาก/คอ มีอัตราการเผาผลาญสูงกว่าปกติ
ทนต่อกิจกรรมได้น้อยเกี่ยวเนื่องจากการดำเนินของโรค ซีด
ปัญหาทางจิตใจ สังคม เศรษฐกิจ หรือ การปรับตัวไม่มีประสิทธิภาพต่อความเจ็บป่วยเป็นโรคที่เรื้อรังร้ายแรง
แบบแผนทางเพศที่เปลี่ยนแปลงหรือต้องจำกัด
รับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีไม่สม่ำเสมอ
พร่องความรู้ในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
ติดตามประเมิน/ค้นหาเรื่องไข้อักเสบ Abscess ต่อมน้ำเหลืองโต ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่บ่งชี้การติดเชื้อ ภูมิต้านทานของผู้ป่วย ดูแลและสังเกตผิวหนัง อาการไอ เจ็บคอ และท้องเสีย ยึดหลัก standard precaution อย่างเคร่งครัด ล้างมือก่อนและหลังการพยาบาล เลือกใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ