Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีปัญหาระบบประสาทสัมผัส การมองเห็น…
การพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีปัญหาระบบประสาทสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน
การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทรับรู้ความรู้สึกในผู้สูงอายุ
การรับรสและกลิ่น
เนื่องจากต่อมรับรสที่ลิ้นลดจำนวนลง
น้ำลายจะข้นขึ้นทำให้ช่องปากแห้งได้ง่ายทำให้ความสามารถในการรับรสด้อยประสิทธิภาพลง
ผู้สูงอายุจึงมักรับประทานอาหารรสจัดขึ้นโดยเฉพาะรสเค็มและรสหวาน
การมองเห็น
มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ที่เปลือกตาบนจะตกลงเล็กน้อย
น้ำตาในเบ้าตามากขึ้นเนื่องจากการอุดตันของท่อทางเดินน้ำตา
อาการเคืองตาเมื่ออยู่ที่มีต้อกระจกอยู่ในที่ๆมีแสงสว่างจ้า
ม่านตามีขนาดเล็กลงเนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนที่ควบคุมการการขยายตัวทำงานลดลง
แก้วตาหรือเลนส์จะขุ่นขึ้นจากการสะสมโปรตีนที่เสื่อมสภาพทำให้แสงผ่านเลนส์ลดลง
การได้ยิน
มีการเปลี่ยนแปลงของหูชั้นในที่เรียกว่า Cochlear
มีการสูญเสียความสามารถในการได้ยินเสียงความถี่สูงแต่สามารถได้ยินเสียงในความถี่ต่ำเหมือนวัยหนุ่มสาวที่เรียกว่าPresbycusis
ผิวหนัง
ผิวหนังของผู้สูงอายุจะบางลงเซลล์ผิวหนังลดลง
ความยืดหยุ่นของผิวหนังไม่ดีผิวหนังเหี่ยวและมีรอยหย่น
ไขมันใต้ผิวหนังลดลงทำให้ร่างกายทนต่อความหนาวเย็นได้น้อยลง
ต่อมเหงื่อเสียหน้าที่ไม่สามารถขับเหงื่อได้จึงเกิดอาการลมแดดได้ง่ายในเวลาที่อาการร้อนจัด
ต่อมไขมันทำงานน้อยลงผิวหนังแห้งและแตกง่ายสีของผิวหนังจางลงเพราะเซลล์สร้างสีทำงานลดลงแต่มีรงควัตถุสะสมเป็นแห่งๆทำให้เป็นจุดสีน้ำตาล
โรคทางระบบประสาทสัมผัสการมองเห็น การได้ยิน
โรคต้อกระจก(Cataract)
พยาธิสภาพ
เป็นภาวะที่เลนส์แก้วตาขุ่น(Opacity)ทำให้การมองห็นค่อยๆลดลงไม่ปวดอาจมองเป็นสองภาพในตาข้างเดียวในที่มีแสงสว่างจ้าการมองเห็นจะลดลงตาในที่สลัวจะมองเห็นดีขึ้นโดยทั่วไปมักเป็นสองข้างเเต่อาจไม่พร้อมกัน
ผลจากการเปลี่ยนแปลงตามวัยก่อให้เกิดการสะสมของสารโปรตีนบริเวณเลนส์หรือการสะสมของน้ำตาลบริเลนส์ในผู้ป่วยเบาหวานซึ่งสามารถอธิบายด้วยทฤษฎีความมีอายุเกี่ยวกับทฤษฎีสะสม
อาการ
ต้อกระจกที่ยังไม่สุก(Immature Cataract)ระยะเริ่มเป็นแก้วตายังขุ่นไม่มากมีลักษณะขุ่นของเปลือกหุ้มแก้วตาแต่Nucleusตาใสและขุ่นตรงกลางแก้วตาแต่รอบๆยังใส
ต้อกระจกที่สุกแล้ว(Mature Cataract)แก้วตาขุ่นทั้งหมดมีความแข็งในขนาดพอดีเมื่อส่องไฟจะไม่พบเงาม่านตาและวัดสายตาแบบนับนิ้วได้หรือเห็นมือโบกไหวไปมาระยะนี้เป็นระยะที่เหมาะกับการผ่าตัดที่สุด
ต้อกระจกที่สุกเกินไป(Hyermature Cataract)เป็นระยะที่แก้วตาบวมและแข็งมากขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้อาจตาบอด
การป้องกัน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เช่น พืชผักสีเขียวให้เพียงพอ การได้รับวิตามินบี 2 เอและอีรวมทั้งแคโรทีนนอยด์ซึ่งทั้งหมดมีฤทธิ์เป็นantioxidantจะช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจกได้
งดบุหรี่
เบาหวานผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
หลีกเลี่ยงการมองในที่แสงจ้าเนื่องจากเลนส์แก้วตาเมื่อถูกรังสีอัลตร้าไวโอเลต(Ultraviolet rays)และรังสีความร้อน(Infraed ray)การป้องกันโดยการสวมแว่นกันแดด
การระมัดระวังในการใช้ยาต่างๆที่มีผลต่อเลนส์แก้วตาเช่นยาหยอดตาสเตยรอยด์
ตรวจตาเป็นระยะเมื่อสายตาเริ่มมัวลงเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาและการมองเห็น
การรักษา
Extracapsular Cataract Extraction(ECCE)
Intracapsular Catarction Extraction(ICCE)
Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular lens(ECCE c IOL
Phacoemulsification with Intraocular Lens(PE c IOL)
โรคต้อหิน(Glauoma)
พยาธิสรีสภาพ
ต้อหินชนิดมุมเปิดเกิดจากการตีบแคบของท่อตะแกรงที่เป็นทางระบายน้ำเลี้ยงภายในลูกตาทำให้การระบายน้ำเลี้ยงภายในลูกตาลดลงในขณะที่การสร้างน้ำเลี้ยงภายในลูกตามีปริมาณเท่าเดิมทำให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้น
อาการ
มีตามัวลงเล็กน้อยเวลาใช้สายตาอาจรู้สึกเมื่อยตาหรือเพลียตาเร็วกว่าปกติความสามารถในการมองใกล้ค่อยๆลดลงเร็วกว่าปกติความดันภายในลูกตาจะพบว่าสูงกว่า 25 mm.Hg.แต่มักไม่เกิน 30mm.Hg.
การป้องกัน
ไม่อยู่ในที่มืดนานๆ
หลีกเลี่ยงอารมณ์ตื่นเต้น
มีปัญหาสายตาสั้นมากหมั่นตรวจตาเสมอ
หลีกเลี่ยงยาขยายรูม่านตา
หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดตาสเตียรอยด์นานๆ
จอประสาทตาลอกหลุด(Retinal Detachment)
ความหมาย
การลอกหลุดระหว่างชั้นเส้นใยประสาท(Sensory layer of ratina)กับชั้นเม็ดสี(Retinal pigment epithelium)ของจอประสาทตา
สาเหตุ
การเสื่อมสภาพของจอประสาทตาและวุ้นตา
การได้รับอุบัติเหตุหรือถูกกระทบกระเทือนบริเวณตา
ภาวะที่ไม่มีแก้วตา(Aphakia)ส่วนใหญ่พบในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอาต้อกระจกออก
อาการ
ระยะเริ่มแรกจะเห็นจุดดำหรือเส้นหยักๆลอยไปมาในตาได้(Flaoating opacities)
มีอาการตามันในรายที่มีเลือดออกในวุ้นตา
ถ้ามีการดึงรั้งหรือลอกจะทำให้เห็นเป็นแสงแวบคล้ายฟ้าแลบในตา
การรักษา
ภาวะนี้จัดเป็นภาวะฉุกเฉินควรให้ผู้ป่วยนนอนนิ่งๆพร้อมทั้งปิดตาทั้ง 2 ข้าง
บางรายรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อให้จอประสาทตากลับเข้าที่และเกิดการยึดกับชั้นคอรอยด์
ปัญหาเกี่ยวกับระบบน้ำตา
ตาแห้ง(Dry eyes)ทำให้มีอาการแสบตา คันตา เนื่องจากเยื่อบุตาแห้ง กระจกตาแห้งมีสาเหตุมาจากในวัยสูงอายุการผลิดน้ำตาจะน้อยลงไม่เพียงพอที่จะเคลือบตาตลอดเวลาหรือมีน้ำตาเพียงพอแต่ไม่มีคุณภาพ
การป้องกัน
อย่าทำงานติดต่อกันนานๆโดยไม่พักสายตาควรพักสายตาโดยมองไกลๆหรือหลับตาเป็นพักๆ
ไม่ทำงานในที่มีแสงจ้า ลมแรงจะทำให้เยื่อบุตาแห้งเร็วขึ้นควรสวมแว่นกันแดด
หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นละอองและควันที่ทำให้เกิดการระคายเคืองตา
การรักษา
ควรใช้ยาหยอดตาที่ช่วยทำให้ตาชุ่มชื้นลดอาการระคายเคืองและหล่อลื่นดวงตาเช่น น้ำตาเทียม
ควรสวมแว่นเพื่อป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้นของดวงตาและปกป้องตาจากลมภายนอก
ประคบร้อนบนเปลือกตา
เปลือกตาผิดปกติ
เกิดเนื่องจากกล้ามเนื้อเปิดและปิดตาหย่อนตามวัยจะเกิดใน 2 ลักษณะ(1)เปลือกตาแบะออก(Ectropion)ทำให้รูเปิดท่อน้ำตาไม่แนบกับตาน้ำตาไม่ไหลลงท่อน้ำตาผู้สูงอายุจะมีน้ำตาคลอหลับตาไม่สนิท เยื่อบุตาและกระจกตาแห้งอาจเกิดแผลที่กระจกตาได้(2)เปลือกตาม้วนเข้า(Entropion)เมื่อกระพริบหรือกลอกตาไปมาขนตาจะสัมผัสถูกดวงตาเกิดการระคายเคือง
การรักษา
ใช้ขี้ผึ้งปฏิชีวนะป้ายตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการผ่าตัดเพื่อแก้ไขเปลือกตา
ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของReceptorsรวมทั้งการสูญเสีย hair cellในCochleaหรือมีการเสื่อมของOrgan of Cortiและ Basilar membraneซึ่งอยู่ในหูชั้นในร่วมกับเส้นประสาทคู่ที่8สูญเสียการทำหน้าที่เยื่อแก้วหูและอวัยวะในหูชั้นกลางแข็งตัวขึ้นจะเกิดการสูญเสียการได้ยินในระดับเสียงสูงมากกว่าระดับเสียงต่ำ
อาการ
มักพบว่าผู้สูงอายุจะฟังเสียงสูงไม่ค่อยได้ยินแต่เป็นอย่างช้าๆตรวจพบSensorineural hearing loss ทั้ง 2 ข้างและอาจพบอาการปวดหูขณะได้ยินเสียงดังร่วมด้วย
การรักษา
ใช้เครื่องช่วยหูฟัง
การป้องกัน
เช็ดทำความสะอาดสะอาดหู
หลีกเลี่ยงอันตรายบริเวณหู
ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในที่เสียงดังมากๆควรใช้เครื่องป้องกันเสียง
ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆเป็นหวัดเรื้อรังควรรีบรักษา
ปัญหาการได้กลิ่นในผู้สูงอายุ
อาการ
ผู้สูงอายุความสามารถในการดมกลิ่นจะไม่ดีเพราะมีการเสื่อมของเยื่อบุโพรงจมูกการ