Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6 โภชนาการของบุคคลในภาวะปกติ - Coggle Diagram
บทที่6 โภชนาการของบุคคลในภาวะปกติ
โภชนาการสำหรับวัยทารก(Nutrition in infancy) วัยทารก หมายถึง เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 1ปี
โภชนาการของวัยทารก
อาหารที่เหมาะสมสำหรับวัยทารก ทั้งชนิดและปริมาณ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง เพราะทารกเป็นระยะที่ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็วน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่ออายุ4-5เดือน ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2เท่าของน้ำหนักแรกเกิด
เมื่ออายุ 1ปี น้ำหนักควรเพิ่มเป็น 3 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด
ความต้องการสารอาหารในทารก
แรกเกิด-6เดือนแรก ทารกได้พลังงานและสารอาหารจากนมแม่อย่างรวดเร็ว
หลังจาก 6 เดือนถึงขวบปีแรก ทารกจะได้รับพลังงานและสารอาหารอื่นร่วมกับนมแม่
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนหลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเสริม นมแม่มีความสำคัญและประโยชน์
มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสารอาหารครบถ้วน ย่อยง่าย
สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อภาวะภูมิแพ้
ทำให้ทารกเจริญเติบโตอย่างเต็มที่
มีผลดีต่อจิตใจแม่และลูก
ช่วยสร้างเสริมพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา
ทำให้มดลูกของแม่เข้าอู่เร็ว
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ช่วยให้ประหยัด
ความพร้อมในการให้อาหารสำหรับทารก
ความพร้อมของระบบทางเดินอาหาร
ความพร้อมของไต
อัตราการกรองของไตของทารก=ร้อยละ 15 ของผู้ใหญ่
ความพร้อมของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ทารก 4-6เดือน มีความพร้อมในการกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว
ข้อแนะนำการให้อาหารสำหรับทารก
ให้นมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ไม่ต้องให้อาหารอื่นแม้แต่น้ำ
เริ่มให้อาหารเสริมเมื่อ อายุครบ 6เดือน เต็มควบคู่ไปกับนมแม่
เมื่อลูกอายุ 10-12 เดือน ให้อาหารที่มีคุณภาพและครบ 5 หมู่ทุกวัน >>เพิ่มจำนวนมื้ออาหารเมื่ออายุลูกเพิ่มขึ้น จนครบ 3 มื้อ
เนื้อสัมอาหาร >>จัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการของทารก (เริ่มจากอาหารเหลว กึ่งเหลว กึ่งแข็ง อ่อนนิ่ม และหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ)
ให้อาหารรสธรรมชาติหลีกเลี่ยงการปรุงแต่งรส
อาหารต้องสะอาดและปลอดภัย
ให้ดื่มน้ำสะอาด งดเครื่องดื่มรสหวานและน้ำอัดลม
เล่นกับลูกสร้างความผูกพัน
หมั่นติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก
การแพ้อาหารในทารก
การแพ้โปรตีนในนมวัวมักเกิดในช่วงอายุ 1-4 เดือน
เด็กอายุต่ำกว่า 7เดือน >>แพ้ไข่ดาว (ผื่นที่แก้มทั้ง2 ข้างภายใน 1-2สัปดาห์ เรียกว่า กลากน้ำนม ) ควรเริ่มให้ไข่ขาวเมื่ออายุ 1ปี
การแห้โปรตีนส่วนใหญ่มีทั้งในรูปแบบของนม (วัว) และอาหารเสริม
การแพ้สารกลูเตน (โปรตีนในอาหารที่ทำจากข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ต)
ในเด็กอายุต่ำกว่า 6เดือน (ท้องเสียเรื้อรัง)
แพ้นมผงผสม ถั่วลิสง ช็อกโก้แลตหรืออาหารทะเล (ผื่นคันที่แก้ม หลังหู และตามข้อพับ)
การเลือกอาหารสำหรับทารก
กินผักผลไม้ทุกวันและกินให้หลากหลายชนิดโดยเฉพาะผักใบเขียวและผักสีส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักขาดขาว ฟักทอง แครอท ผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก ส้ม (มีแร่ธาตุ วิตามิน และใยอาหาร)
กินเนื้อสัตว์ทุกวัน เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู ไก่ ปลาและตับ (มีโปรตีนและธาตุเหล็กสูง)
ให้นมแม่ต่อเนื่องถึงอายุ 2ปี
เด็กอายุ1-2ปี ควรเสริมด้วยนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องหรือนมวัวจืด วันละ2 แก้ว
กินอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงรสอาหารด้วยน้ำตาล น้ำผึ้ง ผงชูรส และผลปรุงรส
ไม่ควรให้อาหารรสหวานจัด มันจัด เค็มจัด
เลือกอาหารทว่างที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยอาหารหลายหมู่ หรือผลไม้ตามฤดูกาล
ให้ทารกได้อาหารที่มีคุณค่าโภชนาการและหลากหลาย เพื่อให้พลังงานและสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของทารก ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ปลา ตับ ไข่ ปละผลไม้ เป็นประจำทุกวัน
โภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (Nutrition in pre-school children). เด็กวัยก่อนเรียน หมายถึง เด็กอายุ 1-6ปี
โภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน
เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองช้ากว่าในวัยทารก
เด็กวัยนี้เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากเด็กยังไม่โตพอที่จะเข้าโรงเรียนและพ่อแม่ต้องไปทำงาน จึงต้องเตรียมอาหารที่้หมาะสมและเพียงพอกับความต้องการของเด็ก
การสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีแก่เด็กวัยเรียน
ต้องจัดอาหารให้เพียงพอ และให้เพิ่มเมื่อเด็กต้องการ
ไม่ควรบังคับหรือฝืนใจเด็ก ควรหาวิธีปรุงอาหารตามที่เด็กชอบ
ควรหัดให้เด็กรับประทานอาหารทุกชนิด ผักและผลไม้สดทุกวัน
หาเทคนิคหรือวิธีการจูงใจให้เด็กรับประทานอาหารให้ครบ5หมู่
ลักษณะและรสชาติต้องจืด อร่อย ไม่เค็มจัด หรือหวานจัดเกินไป
พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีโดยกินอาหารที่มีคุณค่า
ฝึกมารยาทในการรับประทานอาหาร
โภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน (Nutrition in school -age children) เด็กวัยเรียน หมายถึง เด็กอายุ 7-12 ปี
โภชนาการของเด็กวัยเรียน
เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตต่อเนื่อง จากเด็กวัยเรียน
เพศหญิง เริ่มเข้าสู่วัยแรกรุ่น เมื่ออายุ 10ปี เร็วกว่าเพศชายประมาณ 2 ปี
อัตราการเจริญเติบในช่วง วัยเรียนตอนต้นจะเป็นไปอย่างช้าๆ ในช่วงวัยเรียนตอนปลายอัตราการเขริญโตของร่างกายจะสูงมากอีกครั้ง
การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ สมอง และระบบประสาทจะไม่มีการเจริญเติบโตเพิ่มขนาดแต่จะมีพัฒนาการด้านการเสริมสร้างเชาวน์ปัญญา
พฤติกรรมการกินที่เป็นปัญหาของเด็กวัยนี้ คือ
กินอาหารไม่เป็นเวลา มัวแต่เล่นจนลืมกิน
เล่นมากจนเพลียไม่อยากกินอาหาร
จะไม่ลองกินอาหารที่ไม่เคยกิน
เลือกกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ
ความต้องการสารอาหารของเด็กวัยเรียน
พลังงาน ขึ้นกับอัตราการเจริญเติบโตและกิจกรรมที่ทำ อาจคำนวณได้จากน้ำหนัก
ข้อปฏิบัติในการจัดอาหารเด็กวัยเรียน
ควรให้เด็กเป็นผู้เสนอรายการอาหารบ้าง เพื่อให้รู้สึกถึงการมีส่วนร่วม
ฝึกให้เด็กรู้จักความพอดีในการรับประทานอาหารแต่ละประเภท ไม่ควรตามใจหรือให้อาหารเป็นสิ่งต่อรองให้เป็นราวัลหรือทำโทษ
จัดอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละวัน โดยมีปริมาณพอเหมาะกับความต้องการ
ฝึกวินัยในการรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่รับประทานอาหารจุบจิบ หรืออาจจะยอมให้เด็กกินอาหารผิดเวลาบ้างในวันหยุดเพื่อผ่อนคลายความกดดันที่โรงเรียน
ควรมีการสำรองไว้บ้าง เป็นอาหารที่เตรียมได้ง่ายๆแต่มีประโยชน์(เนื่องจาก>> เด็กกินอาหารไม่เป็นเวลาเพราะห่วงเล่น หรือยังไม่หิว)
โภชนาการสำหรับวัยรุ่น (Nutrition in adolescents ) วัยรุ่น หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 13-18ปี วัยที่ร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่
โภชนาการสำหรับวัยรุ่น
วัยรุ่นจะรู้สึกหิวบ่อยและรับประทานอาหารมากขึ้น
วัยรุ่นชายจะได้รับประทานอาหารมากกว่าวัยรุ่นหญิง
ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายอย่าง
มีการสร้างเซลล์เเละเนื้อเยื่อต่างๆมากขึ้น
กระดูกขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ร่างกายสูงขึ้นน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น
ต่อมไร้ท่อต่างๆ ทำงานมากขึ้น
ความต้องการสารอาหารของวัยรุ่น
พลังงาน
วัยรุ่นชายควรได้รับพลังงาน 2,300-2,400 kcal/วัน
วัยรุ่นหญิงควรได้รับพลังงาน 1,850-2,000kcal/วัน
โปรตีน
ควรได้รับโปรตีนอย่างน้อยวันละ 1-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 kg
ปัจจุบันการกำหนดความต้องการโปรตีนตามความสูงของวัยรุ่น
น้ำ
ควรดื่มน้ำวันละ6-8 แก้ว
วิตามิน
วิตามินA>>ใช้ในการเจริญเติบโตและคงสภาพเยื่อบุต่างๆ
วิตามิน B2>>เป็นเอนไซม์ในการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย
วิตามินC >>เป็นส่วนประกอบของเซลล์ใช้ในการสร้างคลอลาเจน
เกลือแร่
ธาตุเหล็ก>>ร่างกายต้องการเหล็กมากขึ้น โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิงในระยะมีประจำเดือน
ไอโอดีน >>ต่อมไธรอยด์มีการผลิตฮอร์โมนมากขึ้น >>ต้องการไอโอดีนมากขึ้น
แคลเซียมและฟอสฟอรัส
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
กินอาหารให้ครบ 3มื้อ หากงดมื้อใดมื้อหนึ่ง เช่น งดมื้อเช้า จะทำให้ขาดสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับไปอย่างน้อย 1ใน 3 ขิงความต้องการทั้งวัน
เด็กวัยรุ่นที่ต้อง
การควบคุมน้ำหนัก
ควรกินอาหารทุกมื้อและถูกต้องตามหลักโภชนาการ
ควรจำกัดอาหารที่ให้พลังงานมาก และให้ประโยชน์น้อย ได้แก่ น้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ขนมหวาน และอาหารให้ไขมันมาก ให้กินผลไม้ให้มากขึ้น