Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเสพติด - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเสพติด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล :
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 มีภาวะขาดออกซิเจนในบางราย เนื่องจากคัดจมูกเเละมีน้ำมูกคั่ง
การพยาบาล
ดูดเสมหะ น้ำมูกบ่อยๆ เพื่อให้หายใจได้สะดวก
ในรายที่ทารกมีอาการชัก หรือหมดสติ จะมีภาวะขาดออกซิเจนด้วยทำให้สมองได้รับอันตราย
ควรให้ออกซิเจนช่วยโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามความเหมาะสม ดูแลอย่าให้ทางเดินหายใจอุดตันหรือสำลัก
ดูแลให้ได้รับยาถูกต้องตามแผนการรักษาเพื่อควบคุมอาการชัก
ประเมินผลการได้รับออกซิเจนจากการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและสีผิว
บันทึกลักษณะของการชัก ช่วงเวลา และระยะที่ชักตลอดจนสภาพของทารกภายหลังชัก
ข้อมูลสนับสนุน
ถ่ายเหลวบ่อย และอาเจียน
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจพบภาวะไม่สมดุลของอีเล็กโตรไลต์
มีอาการของการเสียสมดุลของสารน้ำซึ่งอาจมีความรุนแรงถึงภาวะ shock ได้
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3 ระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้น
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกนอนไม่หลับ
ร้องกวน
สั่นผวา เกร็ง
ดิ้นถูไถที่นอนจนเป็นแผลถลอกบริเวณ เข่า ศอก จมูก นิ้วเท้า เป็นต้น
การพยาบาล
ลดสิ่งเร้าที่เป็นสาเหตุส่งเสริมให้ระบบประสาทส่วนกลางกระตุ้น เช่น เสียง แสง การสัมผัส ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบและไม่มีแสงสว่างจ้ามากเกินไป
อาจห่อตัวทารกไว้ กอดไว้กับอก หรืออุ้มอย่างเบามือ จะช่วยให้ทารกสงบได้ และไม่ดิ้นจนเกิด แผลถลอก บางแห่งใช้วิธีผูกทารกให้ซบกับอกของผู้ดูแลตลอดเวลาซึ่งได้ผลดีในการช่วยลดอาการกระสับกระส่ายของทารก
ทารกที่ได้รับยารักษาอาการต่างๆ จะสงบลง ควรบันทึกรายงานอาการเปลี่ยนแปลงของทารก อย่างละเอียด เช่น ช่วงเวลาที่นอนหลับ ลักษณะเสียงร้อง รีเฟลกซ์ อาการสั่น และเกร็ง เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 ได้รับแคลอรีและน้ำไม่เพียงพอทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการตามมา
การพยาบาล
ดูดเสมหะ น้ำมูกบ่อยๆ เพื่อให้หายใจได้สะดวก
ในรายที่ทารกมีอาการชัก หรือหมดสติ จะมีภาวะขาดออกซิเจนด้วยทำให้สมองได้รับอันตราย ควรให้ออกซิเจนช่วยโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามความเหมาะสม ดูแลอย่าให้ทางเดินหายใจอุดตันหรือสำลัก
ดูแลให้ได้รับยาถูกต้องตามแผนการรักษาเพื่อควบคุมอาการชัก
ประเมินผลการได้รับออกซิเจนจากการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและสีผิว บันทึกลักษณะของการชัก ช่วงเวลา และระยะที่ชักตลอดจนสภาพของทารกภายหลังชัก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 ได้รับแคลอรีและน้ำไม่เพียงพอทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการตามมา
วัตถุประสงค์ของการพยาบาล
ให้ทารกได้รับแคลอรีและน้ำเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน
การพยาบาล
แบ่งมื้อนมให้บ่อยขึ้น คือ ให้ทุก 2 –3 ชั่วโมง ครั้งละน้อยๆ ก่อนให้นมควรดูดน้ำมูก และเสมหะให้เพื่อให้หายใจสะดวกและดูดนมได้ดี ให้มีเวลาพักระหว่างกินนม เพราะทารกดูดกลืนลำบาก และหงุดหงิด
ในระหว่างที่มีอาการอาเจียนหรือดูดกลืนลำบากมาก ควรให้ทางสายยางแทน เพื่อป้องกันกาสำลักนมเข้าปอด แต่ถ้ามีอาการอาเจียนรุนแรงและขย้อนออกทันทีหลังให้นมทางสายยาง ควรพิจารณาให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำแทน เพราะการให้ทางเดินอาหารเป็นการรบกวนให้ทารกอาเจียนมากขึ้น อาจเกิดอันตรายจากการสำลักหรือสูญเสียอิเล็กโตไลต์ตามมา
ประเมินผลการให้อาหารและแคลอรีที่ทารกได้รับในแต่ละช่วงเวลา และชั่งน้ำหนักทุกวัน บันทึกรายงานและส่งเวรเพื่อให้ทารกได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินจากปริมาณแคลอรีที่ทารกได้รับใน 1 วัน เป็นไปตามเกณฑ์ที่ทารกควรจะได้ ทารกไม่มีอาการขาดน้ำและน้ำหนักเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ
สาเหตุ
สาเหตุจากเฮโรอีน
ทารกในครรภ์ยังติดเฮโรอีนจากมารดาได้ ด้วยเหตุที่เฮโรอีนมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ(molecular weight) เมื่อมารดาเสพสารเสพติดในขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเสพด้วยวิธี รับประทาน ฉีด สูบ หรือสูดดม โมเลกุลของสารเสพติดจะซึมผ่านรกไปสู่ทารก โดยเข้าสู่ระบบไหลเวียนและเนื้อเยื่อของทารกภายใน 1 ชั่วโมง เมื่อทารกได้รับสารเสพติดติดต่อกันตลอดระยะของการตั้งครรภ์ ก็จะเกิดการติดสารเสพติดขึ้น และจะกลายเป็นทารกที่มีภาวะเสี่ยงสูงเมื่อแรกคลอด เพราะทารกไม่ได้รับสารเสพติดจากมารดาอีกต่อไป ส่วนสารเสพติดที่มีอยู่ในกระแสโลหิตก็จะถูกขับออกทางไตและถูกเผาผลาญหมดไปภายใน 48 – 72 ชั่วโมง ทารกแรกเกิดจึงมีอาการที่แสดงถึงการขาดสารเสพติดหรือที่เรียกว่า อาการถอนยา (withdrawal symptom)
สาเหตุจากฝิ่น
มีผลกระทบต่อทารกเหมือนเฮโรอีน ถ้าใช้ระยะใกล้คลอด จะกดศูนย์ควบคุมการหายใจ และทำให้เกิดอาการถอนยาในทารกแรกเกิด
สาเหตุจากแอมเฟตามีน
อาจทำให้ทารกในครรภ์มีความผิดปกติของหัวใจและระบบน้ำดีสูงกว่าปกติ
สาเหตุจากบาบิทูเรต
การเสพขนาดสูงๆ ทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าและหน้าตาผิดปกติ ถ้าเสพเป็นเวลานานทารกจะมีอาการติดยา และถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด จะมีผลไปกดการหายใจของทารก
สาเตุจากวาเลียม
ไม่มีรายงานว่าทำให้ทารกมีความพิการ แต่ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอดจะกดการหายใจ และเกิด reflex ทำให้ทารกแรกเกิดมีภาวะขาดออกซิเจนจนต้องการช่วยการหายใจ กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงและดูดนมได้ดี
สาเหตุจากบุหรี่
สารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์จะมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซติลโคลีน (acetylcholine) โดปามีน (dopamine) และนอร์อีพิเนฟริน (nor epinephrine) ส่งผลให้มีการขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก มีการหดตัวของหลอดเลือดดำมดลูก ทำให้เลือดผ่านรกลดลง ทารกจึงได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ มีผลให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์และเพิ่มอัตราการตายในวัยทารก และยังก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน ซุกซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว ตลอดจนมีปัญหาด้านการเข้าสังคม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้บุหรี่
รกลอกตัวก่อนกำหนด
รกเกาะต่ำ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
การเสียชีวิตและบาดเจ็บในช่วงปริกำเนิด (perinatal)
Sudden infant death syndrome (SIDS)
สาเหตุจากสุรา
สาเหตุจากแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก เกิดความผิดปกติของโครงสร้างสมอง เช่น ไม่มีสมองใหญ่ (anencephaly) สมองใหญ่มีร่องผิดปกติ (schizencephaly) เยื่อหุ้มสมองและเนื้อสมองเลื่อน (lumbarmeningomyelocele) ส่วนด้านพัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะวิตกกังวล (anxiety disorder) มีภาวะซึมเศร้า (depression) พฤติกรรมอันธพาล (conduct disorder) และมีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น อาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง และสมาธิสั้น
เกิดกลุ่มอาการ fetal alcohol syndrome (FAS)
การเจริญเติบโตช้า ก่อนและหรือหลังคลอด
ความผิดปกติบริเวณใบหน้า เช่น ตาเล็ก ดั้งจมูกแบน จมูกสั้น ริมฝีปากบนบาง หูต่ำ หรือระดับหูไม่เท่ากัน
ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ หัวเล็ก ปัญญาอ่อน neurobehavioral development ผิดปกติ เช่น hyperactivity
ผลกระทบ
ทารกเจริญเติบโตช้า
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
ทารกติดเชื้อในครรภ์ หรือติดเชื้อตั้งแต่กำเนิด (congenital infection)
ทารกพิการแต่กำเนิด (congenital anomaly)
น้ำหนักแรกคลอดต่ำ (low birth weight)
ทารกแรกคลอดมีอาการของการขาดยา (neonatal abstinence syndrome, NAS)
โอกาสเกิด sudden infant death syndrome (SIDS) สูง
การประเมินสภาพตาม 11 แบบแผนกอร์ดอน
ซักประวัติมารดาเกี่ยวกับประวัติการคลอด อายุครรภ์
การรับรู้ความเสี่ยงของการใช้สารเสพติดที่กระทบต่อทารกแรกเกิด
การวางแผนที่จะเลิกใช้สารเสพติด
ปริมาณหรือสารเสพติดที่ใช้เป็นประจำ
กิจวัตรประจำวันที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเด็กทารกแรกเกิด
ความสัมพันธ์ในครอบครัว บทบาทหน้าที่
การปรับตัวกับความเครียด สิ่งที่วิตกกังวล
สังเกตสีหน้าท่าทาง พฤติกรรม
และการปฏิบัติตัวต่อความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร
ซักถามมารดาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
สังเกตเด็กทารกโดยการชั่งน้ำหนักทารก
วัดรอบศีรษะ ฟังเสียงร้อง อาจมีเสียงแหลม
หาวบ่อย หายใจเร็ว ความสามารถในการกินนม
ถ่ายบ่อยหรือไม่ วัดความดันโลหิต วัดอุณหภูมิร่างกาย สอบถามการนอนหลับของเด็กทารก