Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Lymphoblastic Leukemia - Coggle Diagram
Acute Lymphoblastic Leukemia
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC
WBC 150,980 cell/mm
RBC 284,000 / Ul
Hb 7.2 g/Ul
Hct 23.6%
Plt 10,000 cell/mm
Rdw.cr 15.5%
Lymphocyte 5.1%
Blood Chem
BUN 13.41 mg/dl
Creatinine 0.71 mg/dl
Total Protein 6.94 pm/dl
Alb. 3.79 g%
glb 3.15 g%
Chol 1.21%
Total bililubin 0.54 mg/dl
D.Birect 0.14 mg/ dl
B.Indirect 0.40 mg/dl
Blood Chem
AST 67 mg/dl
ALT 26 mg/dl
ALP 160 mg/dl
Uric acid 8.61mg/dl
Na 131 mmol/L
K 4.72mmol/L
Cl 103mmol/L
CO2 26.9
Hemoculture No Growth after 5 days
การตรวจร่างกาย
ผิวหนัง
มีจ้ำเลือดตามตัว และบริเวณข้อมือข้อเท้า
สัญญาณชีพ
อุณหภูมิร่างกาย 35 องศาเซลเซียส ชีพจร 102 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 26 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 108/64 มิลลิเมตรปรอท
ใบหน้า
โครงสร้างได้สัดส่วน ไม่มีบาดแผล
ศีรษะ
ได้รูป รูปร่างปกติกะโหลกศีรษะทั้ง2ข้างอยู่ในลักษณะสมมาตร
ตา
เปลือกตาซีด
หู
รูปทรงปกติ ไม่มีกลิ่นหรือน้ำหนองไหล
จมูก
ลักษณะปกติ ไม่มีบิดเบี้ยว ไม่มีน้ำมูกหรือเลือดกำเดาไหล
คอ
ต่อมน้ำเหลืองที่คอไม่โต คอไม่แข็ง
ปาก
ต่อมน้ำเหลืองที่คอไม่โต คอไม่แข็ง
ทรวงอก
รูปร่างการขยายเท่ากัน 2 ข้าง ชายโครงและหน้าอกกระเพื่อมไม่เท่ากันเวลาหายใจ หายใจหอบเหนื่อยเล็กน้อย
ระบบทางเดินหายใจ
อัตราการหายใจ 26 ครั้ง/นาที ไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย
หัวใจและระบบการไหลเวียนโลหิต
อัตราการเต้น ของชีพจร 102 ครั้ง/นาที ฟังเสียงหัวใจไม่พบความปกติ ความดันโลหิต 108/64 มิลลิเมตรปรอท
ระบบเลือด ต่อมน้ำเหลือง
ต่อมน้ำเหลืองไม่มีบวมหรือโต มีเลือดซึมที่ลิ้น และเลือดออกตามไรฟัน
ระบบกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ
กระดูกสันหลังอยู่ในแนวกลางลำตัวได้สัดส่วน กล้ามเนื้อแขนขาไม่อ่อนแรง ขยับได้ตามปกติ
ระบบประสาท
: ผู้ป่วยตื่นรู้ตัวรู้เรื่องดี ตอบคําถามได้เอง พูดคุยสื่อสารได้ดี
แขน ขา มือและเท้า
มีจุดจ้ำเลือดบริเวณข้อมือและข้อเท้า มีอาการปวดข้อมือและข้อเท้าเล็กน้อย
ระบบทางเดินอาหาร
: ผู้ป่วยตื่นรู้ตัวรู้เรื่องดี ตอบคําถามได้เอง พูดคุยสื่อสารได้ดี
ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์
ปัสสาวะอุจจาระปกติไม่มีเลือดปน
ระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมไทรอยด์ไม่โต
ข้อวินิจการพยาบาล
ปัญหาที่ 1 เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากภูมิต้านทานลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
SD : -
OD :
WBC 150,980cell/mm3
RBC 284,000 / Ul
Hb 7.2 g/Ul
Hct 23.6%,
Plt 10,000 cell/mm3
Lymphocyte 5.1%
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดการติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมินผล
สัญญาณชีพปกติ
การตรวจทางห้องปฏิบัตืการไม่พบเชื้อ
ไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำและให้สวม Mask ทุกครั้งที่ออกนอกหอผู้ป่วย
ล้างมือ 6 ขั้นตอนคือ 1. ฟอกฝ่ามือและง่ามนิ้วมือด้านหน้า 2. ฟอกหลังมือและง่ามนิ้วมือด้านหลัง 3. ฟอกนิ้วและข้อนิ้วมือด้านหลัง 4. ฟอกนิ้วหัวแม่มือ 5. ฟอกปลายนิ้วมือ 6. ฟอกรอบข้อมือโดยล้างมือ 5 เวลา คือ 1. ก่อนการสัมผัสผู้ป่วย 2.ก่อนทำหัตถการสะอาดหรือปราศจากเชื้อ 3. หลังสัมผัสสารน้ำ หรือสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ป่วย 4. หลังสัมผัสผู้ป่วย 5. หลังสัมผัสสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา ceffazolin 750 gm IV q 8 hr เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ดูแลให้บ้วนปากด้วย Special mouth wash prn และ 7.5% NaHCO3 5 mEq + NSS1000 ml อมกลั้วปากหลังอาหารเพื่อป้องกันการเกิดแผลและการติดเชื้อในช่องปาก
ดูแลทำ ความสะอาดร่างกายและสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
ดูแลด้วยหลัก Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ตรวจสอบสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินการติดเชื้อในร่างกาย
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น CBC UA เพื่อประเมินการติดเชื้อในร่างกาย
การประเมิณผล
ผู้ป่วยไม่มีไข้ T = 35 C
BP 108/64 mmHg
PR 102/min RR 26/min
ปัญหาที่ 2 เกิดภาวะซีดเนื่องจากปัจจัยในการสร้างเม็ดเลือดลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
SD:
2 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาลเริ่มมีจ้ำเลือดตามตัว
1 สัปดาห์ต่อมายังมีจุดจ้ำเลือดตามข้อมือ ข้อเท้า
OD:
เปลือกตาซีด
Hct 23.6%
มีเลือดซึมที่ลิ้น
Hb 7.2 g/Ul
มีภาวะซีดและเกล็ดเลือดต่ำ
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้ป่วยมีภาวะซีดลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
RBC > 100000 / Ul
ไม่มีเลือดออกตามร่างกาย
รอยจ้ำเลือดตามร่างกายลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันเพื่อลดการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อ
ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อน ที่มีธาตุเหล็กสูงเพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะซีด เช่น เยื่อบุตาซีด ปลายมือปลายเท้าซีด Capillary refill time มากกว่า 2 วินาทีเพื่อประเมินภาวะซีด
สังเกตอาการเลือดออกภายในและภายนอกร่างกายเช่น จ้ำเลือดที่ผิวหนัง จุดเลือดใต้ผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน ปวดท้อง ท้องอืด ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น เช่น การเจาะเลือด การแปรงฟัน การวัดปรอททางทวารหนัก
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น Hb Hct MCV MCH MCHC เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการพยาบาล
การประเมิณผล
RBC 284,000 / Ul
ไม่มีเลือดออกตามร่างกายเพิ่มขึ้น
รอยจ้ำเลือดตามร่างกายลดลง
ปัญหาที่ 3 เสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่ายเนื่องจากปัจจัยการแข็งตัวของเลือดลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
SD:
มีจ้ำเลือดบริเวณข้อมือ
ข้อเท้า มีเลือดออกตามไรฟัน
มีจ้ำเลือดตามตัว
OD:
เปลือกตาซีด
มีเลือดซึมที่ลิ้น
Hb 7.2 g/Ul
Hct 23.6%
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะเลือดออกง่าย
เกณฑ์การประเมินผล
RBC 100000 / Ul
ไม่มีเลือดออกตามร่างกาย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เลือดออกง่าย เช่น การใช้แปรงสีฟัน การรับประทานอาหาร
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะเลือดออก เช่น จุดเลือดออกเพิ่มมากขึ้น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการพยาบาล
ดูแลบ้วนปากด้วย Special mouth wash และ 7.5% NaHCO3 5 mEq + NSS 1000 ml แทนการแปรงฟันเพื่อป้องกันเลือดออก
ดูแลให้ได้รับอาหารอ่อน งดการรับประทานที่แข็ง กรอบ เพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
ดูแลให้ได้รับ LPPC 1 Unit vein drip in 1 hr ตามแผนการรักษาเพื่อทดแทนเกร็ดเลือดในร่างกาย
ป้องกันการเกิดท้องผูก โดยให้รับประทานอาหารที่มีเส้นใย เช่น ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำให้มากๆ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น Plt PT PTT เพื่อประเมินการแข็งตัวของเลือด
7.ระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น เช่น การตกเตียง การหกล้ม
การประเมิณผล
ไม่มีเลือดออกตามร่างกาย
RBC 284,000 / Ul
ปัญหาที่ 5 เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
ข้อมูลสนับสนุน
SD: น้ําหนัก 29 กิโลกรัม, ส่วนสูง 134 เซนติเมตร
OD:
น้ําหนัก 29 กิโลกรัม, ส่วนสูง 134 เซนติเมตร BMI =16.5
ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย
วัตถุประสงค์
-ไม่มีภาวะขาดสารอาหาร
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น แจ่มใส ไม่มีอาการอ่อนเพลีย
BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ 18.5 - 22.9
เยื่อบุตาล่างสีชมพู
Albumin 3.5 - 5 mg%
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะขาดสารอาหาร เช่น อ่อนเพลีย เยื่อบุตาล่างซีด อาการบวมตามแขนขาเพราะจะทำให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร
ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง เช่น ปลา ไข่ขาวและนม เป็นต้นเพราะโปรตีนเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้ร่างกายและการกินโปรตีนคุณภาพสูงทำให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ได้เต็มที่ลดการทำงานของไตทำให้ของเสียเกิดขึ้นน้อย
ดูแลทำความสะอาดช่องปากก่อนรับประทานอาหารเพราะเป็นการช่วยเพิ่มความอยากอาหารและรับประทานอาหารได้มากขึ้น
อธิบายให้ญาติจัดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาให้รับประทานแต่ไม่ขัดการรักษา เช่น จำกัดอาหารเค็ม จำกัดโปรแตสเซียม เช่น กล้วย ทุเรียน ฝรั่ง ผลไม้แห้ง เป็นต้น เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มากขึ้นไม่ขาดสารอาหาร
ชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพราะจะทำให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร
ติดตามผล Lab Albumin เพราะบ่งบอกถึงระดับโปรตีนในกระแสเลือด ถ้าต่ำกว่าปกติอาจเกิดจากขาดสารอาหารพวกโปรตีน
การประเมินผลการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่มีอาการอ่อนเพลีย
ปัญหาที่ 4 เสี่ยงต่อการเกิดไตวายเนื่องจากภาวะ
Tumor lysis syndrome
ข้อมูลสนับสนุน
SD: -
OD :
BUN 13.41 mg/dl Creatinine 0.71 mg/dl
Uric acid 8.61
K 4.72 mmol/L
Na 131 mmol/L
Cl 103 mmol/L
วัตถุประสงค์:
ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะไตวายตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาล
เกณฑ์การประเมินผล
ปัสสาวะปกติ BUN, Cr อยู่ในระดับปกติ
ไม่มีตัว ตาเหลือง
ไม่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับ 5% D/N/2 500 cc. + 7.5 NaHCO3 20 cc. IV 125 cc./hr ตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันภาวะไตวาย
ดูแลให้ได้รับยา Allopurinal (100mg) 1x3 pc เพื่อลดปริมาณกรดยูริกในร่างกาย
สังเกตและบันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 8 ชั่วโมง เพื่อประเมินความผิดปกติของการคั่งของกรดยูริก
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่น Blood electrolyte, serum uric acid, urine pH เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการดูแล
สังเกตและติดตามอาการ renal failure เช่น ปัสสาวะออกน้อย อาการคลื่นไส้อาเจียน สับสน เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงทัน
การประเมินผล
BUN 13.41 mg/dl
Creatinine 0.71 mg/dl
Uric acid 8.61
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยเด็กชายไทย อายุ 12 ปี รับย้ายจากโรงพยาบาลบางบัวทอง ด้วยอาการซีด มีเลือดบริเวณข้อมือ ข้อเท้า มีเลือดออกตามไรฟัน ให้ประวัติว่า 2 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาลเริ่มมี เลือดตามตัว มารดาไม่ได้พาไป รักษา 1 สัปดาห์ต่อมายังมีจุดเลือดตามข้อมือ ข้อเท้า และเริ่มมีอาการปวดข้อเท้าข้างซ้าย หลังจากเรียนวิชา ลูกเสือ มารดาจึงพาไปรักษาที่โรงพยาบาลบางบัวทอง แพทย์ส่งตรวจ X-Ray ไม่พบกระดูกหัก จึงให้เข้าเฝือกอ่อน และให้ยาเป็น Brufen และ Paracetamal กลับมาดูแลต่อที่บ้าน วันนี้แพทย์นัดมาถอดเฝือก พบว่าผู้ป่วยมีฟันผุ และมีเลือดออกตามไรฟัน มีเลือดบริเวณข้อมือ ข้อเท้า ปฏิเสธอุบัติเหตุ แพทย์พิจารณาตรวจเลือดเพิ่มเติม พบ มีภาวะซีดและเกล็ดเลือดต่ำ แพทย์จึงพิจารณาส่งตัวเพื่อรับการรักษาต่อที่สถาบันสุขภาพเด็กฯ
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดทั้งนี้ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับพยาธิสภาพการเกิดโรคได้แก่
การได้รับหรือสัมผัสกับรังสี
ปัจจัยทางพันธุกรรม นอกจากนี้ โรคทางพันธุกรรมบางชนิดพบว่ามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการเกิดโรคเช่นกัน
จากเคสกรณีศึกษา มารดาเป็น Thalassemia carrier
พยาธิสภาพ
ไขกระดูก หรือ bone marrow เป็นที่อยู่ของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด(สเต็มเซลล์) และเป็นอวัยวะหลักที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดต่างๆ ได้แก่ เม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกจะถูกแทนที่ด้วยเซลล์มะเร็งทำให้การสร้างเม็ดเลือดต่างๆบกพร่องไปดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการและอาการแสดงที่สัมพันธ์กับความบกพร่องของการสร้างเซลล์เม็ดเลือดในไขกระดูก