Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มี ภาวะคลอดยากและสูติศาสตร์หัตถการ, นางสาววิรตี…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มี
ภาวะคลอดยากและสูติศาสตร์หัตถการ
การชักนำการคลอด
ความหมาย
Induction of labor คือ การกระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอดโดยทำให้มดลูกเกิดการหดรัดตัวและหรือทำให้ปากมดลูกนุ่ม ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติเกิดขึ้น
Augmentation of labor คือ การส่งเสริมการเจ็บครรภ์คลอดที่มีอยู่ก่อนแล้วให้มีการหดรัดตัวของมดลูกที่ดีขึ้น
ข้อบ่งชี้
ด้านมารดา
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Pre-eclampsia)
โรคเบาหวาน
ครรภ์แฝดน้ำ (Polyhydramnios)
โรคแทรกช้อนทางอายุรศาสตร์เช่นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต
ครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดอย่างเร็ว
โรคมะเร็งที่ต้องรักษาด้วยรังสีหรือเคมีบำบัด
ด้านทารก
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
ครรภ์เกินกำหนด (Post-term)
เยื่อบุถุงน้ำคร่ำติดเชื้อ (Chorioamnionitis)
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ (PROM) และทารกโตพอที่จะเลี้ยงรอดแล้ว
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
ทารกบวมน้ำ (Hydrops fetalis)
ทารกพิการที่ไม่สามารถมีชีวิตรอดได้
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
ข้อห้ามในการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด
รกเกาะต่ำ (Placenta previa)
เส้นเลือดทอดต่ำหรือทอดผ่านปากมดลูก (Vasa previa)
ทารกท่าขวาง (Transverse lie)
การผิดสัดส่วนระหว่างทารกกับเชิงกรานมารดาชัดเจน (Fetal pelvic Disproportion)
สายสะดืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำ (Funic presentation) หรือสายสะดือพลัดต่ำ (Prolapse cord)
เคยมีแผลผ่าตัดที่คลอดแบบ Classical (Classical caesarean section)
เคยมีแผลผ่าตัดเนื้องอกมดลูกที่เข้าไปในโพรงมดลูก (Full-thickness myomectomy)
โครงสร้างของเชิงกรานผิดรูปชนิดรุนแรง
เริ่มที่อวัยวะสืบพันธุ์ในระยะติดเชื้อ (Active)
ภาวะทารกเครียดเฉียบพลันและรุนแรง (Fetal Distress)
ก้อนเนื้องอกรังไข่หรือมดลูกปิดขวางทางคลอด
วิธีการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด
การชักนำโดยการหัตถการ (Surgical induction of labor)
การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ (Membrane stripping)
การสอดนิ้วเข้าไปเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ (Chorionic Membranes) ออกจากปากมดลูก และ decidua ของมคลูกส่วนล่าง
ก่อนที่จะสอดนิ้วควรทำ fornix test โดยคสำบริเวณ fornix ดูก่อนว่าไม่มีรกเกาะต่ำ เพราะจะทำให้มีการตกเลือดรุนแรงได้
การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำจะ กระตุ้นให้มีการหลั่งเอนไซม์ Phospholipase A2 ออกมาจาก Endocervix และระดับของ prostaglandin E2 alpha สูงขึ้นในเลือด
การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy)
วิธีการเจาะ
ผู้ป่วยนอนอยู่ในท่า Lithotomy สอด bed pan ไว้ใต้ก้นของผู้คลอด ทำความสะอาดปากช่องคลอดและฝีเย็บ ผู้ทำสวมถุงมือปราศจากเชื้อ และชโลม ด้วยน้ำยาหล่อลื่น
สอดนิ้วชี้และนิ้วกลางเข้าไปในปากมดลูกคลำดูว่ามีเส้นเลือดอยู่บนถุงน้ำคร่ำ หรือสายสะดือลงมาอยู่ต่ำกว่ส่วนนำหรือไม่ ถ้ามีควรผ่าท้องทำคลอดแทน
ใช้นิ้วเซาะแยกถุงน้ำคร่ำออกจากปากมดลูกและมดลูกส่วนล่าง
สอคคีบที่มีเขี้ยวเล็ก ๆ เข้าไประหว่างนิ้วมือทั้งสองจับถุงน้ำปิดหรือดึงลงมา ให้ถุงน้ำคร่ำแตก
เอาเครื่องมือเจาะน้ำคร่ำออกจากช่องคลอด ให้คานิ้วมือทั้งสองไว้ในปากมดลูกก่อนเพื่อถ่างขยายรู ปล่อยให้น้ำคร่ำไหลออกมา สังเกตสีและลักษณะของน้ำคร่ำ
ตรวจให้แน่ใจอีกครั้งว่าไม่มีสายสะดือย้อยลงมา ฟังเสียงหัวใจทารกหลังจากเจาะถุงน้ำคร่ำเสร็จ
การพยาบาล
เตรียมเครื่องมือสำหรับใช้ในการเจาะถุงน้ำ
เตรียมผู้คลอดดังนี้ ด้านจิตใจ โดยการอธิบายให้ผู้คลอดทราบและเข้าใจ เตรียมร่างกายจัดท่าผู้คลอดนอนในท่า lithotomy ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และสวนปัสสาวะ
ก่อนแพทย์ลงมือทำ พยาบาลต้องฟังเสียงหัวใจทารกและบันทึกไว้
น้ำคร่ำที่ไหลออกมาต้องบันทึกเกี่ยวกับลักษณะ สี และจำนวนของน้ำคร่ำ
ฟังเสียงหัวใจทารกทันทีภายหลังเจาะถุงน้ำทูนหัว
ใส่ผ้าอนามัยให้ผู้คลอดภายหลังการเจาะถุงน้ำทูนหัว
ภายหลังการเจาะถุงน้ำทูนหัวให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง
ภายหลังการเจาะถุงน้ำทูนหัว ต้องฟังเสียงหัวใจทารกเป็นระยะ
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
การเปลี่ยนผ้าอนามัยให้ทุกครั้งที่น้ำคร่ำเปียกชุ่มพร้อมทั้งทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
การซักนำโดยการให้ยา (Medical induction of labor)
Prostaglandin E2 เป็นเม็ดยาขนาด 10 mg บริหารยาแบบ single dose โดยให้นอนราบอย่างน้อย 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมงหลังสอดยา เมื่อครบ 12 ชั่วโมงหรือเจ็บครรภ์คลอดจึงดึงปลายสายออกจากช่องคลอด
Prepidil เป็นยารูปแบบเจล บรรจุในหลอดปริมาตร 2.5 ml มีตัวยาอยู่ 0.5 mg ใช้สอดเข้าไปฉีดเจลเข้าในรูปากมดลูก หลังจากฉีดเจลแล้วให้นอนราบ 30 นาที ให้ยา ซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง โดยสามารถให้ซ้ำได้ 3 ครั้งใน ระยะเวลา 24 ชั่วโมง
Prostaglandins E1 ใช้ยา Misoprostol ขนาด 25 ไมโครกรัม สอดช่องคลอดทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้าใช้ยาในขนาดที่สูงกว่าหรือใช้ยาถี่เกินไป จะเกิดผลข้างเคียงจากยาสูงขึ้น ได้แก่ ภาวะที่มดลูกถูกกระตุ้นมากเกิน (มดลูกบีบรัดตัวนาน กว่า 90 วินาทีหรือมากกว่า 5 ครั้งใน 10 นาที) ภาวะมดลูกบีบตัวถี่ ภาวะมดลูกแตก
Mifepriston (Mifeprexm) อยู่ในกลุ่ม Anti-progesterone เนื่องจากฮอร์โมน Progesterone ทำหน้าที่ยับยั้งการบีบตัวของมดลูก ดังนั้นยา Mifepristone จึงสามารถชักนำให้ปากมดลูกบางตัว และทำให้มดลูกมีการบีบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Cytotec โดยใช้ยา 25 mcg สอดไปที่ posterior fornix ให้ ยาซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง จนกระทั่งได้การหดรัดตัวที่เหมาะสม
Oxytocin เป็นยาที่นิยมใช้มากที่สุดโดยมดลูกจะเริ่มมีการตอบสนองภายใน 3-5 นาทีภายหลังจากได้รับยา และระดับ Oxytocin จะเข้าสู่ระดับคงที่ภายใน 40 นาที ความเข้มข้นของ Oxytocin เท่ากับ 10 mU/ml ให้ทางหลอดเลือดดำโดยใช้ Infusion pump
การช่วยคลอดท่าก้น
ปัญหาการคลอดทารกท่าก้นทางช่องคลอด
สายสะดือถูกกด
การบาดเจ็บต่อกระดูกและข้อจากการทำหัตถการช่วยคลอด
การบาดเจ็บต่ออวัยวะภายในช่องท้อง ได้แก่ ตับแตก หรือม้ามแตกจากการจับหรือกดบริเวณช่องท้องแรงเกินไป
การบาดเจ็บต่อสมองจากการดึงทารกรุนแรง หรือดึงคลอดศีรษะออกมาเร็วเกินไป
กระดูกสันหลังบริเวณส่วนคอหักพบในทารกท่ากันที่แหงนหน้ามากเกินไป (Hyperextension)
การคลอดก่อนกำหนด
วิธีการคลอดท่าก้นทางช่องคลอด
การให้คลอดเอง (Spontaneous breech delivery)
วิธีของ Tsovjanov โดยปล่อยให้ทารกคลอดตามกลไกธรรมชาติ
การช่วยคลอดบางส่วน (Partial breech extraction หรือ Breech assisting)
การช่วยคลอดส่วนขา ใช้นิ้วมือปัดหรือเขี่ยที่บริเวณด้านในของขาพับ (Popliteal fossa) ให้ต้นขาพลิกกางออก (External rotation และ abduction of thigh)
การช่วยคลอดไหล่และแขน
1) Cat's paw method ใช้ปลายนิ้วมือช่วยคลอดไหลในลักษณะคล้ายแมวตะกุยออกมา
2) Muller's Method จับทารกให้แน่นที่บริเวณตะโพก 2 ข้าง ดึงพร้อมกับหมุนไหล่มาอยู่ในแนวตรง (แนวหน้า-หลัง) ดีงจนไหล่หน้าของทารกคลอดมาเองพร้อมกับแขนและมือ เมื่อไหล่หน้าคลอดแล้วให้ยกทารกขึ้นในแนวตั้งทั้ง ๆ ที่ไหล่ยังอยู่ในแนวหน้าหลังของช่องคลอด แขนหลังและไหล่หลังจะเคลื่อนผ่านฝีเย็บออกมา
3) Classical Method ทำคลอดแขนทีละข้างโดยให้แต่ละแขนคลอดออกทางด้านหลังของช่องเชิงกรานผ่าน ฝีเย็บออกมา
4) Lovset's Method หมุนตัวทารกพร้อมกับดึงลงให้หลังทารกผ่านทางด้านหน้าของช่องเชิงกรานจากไหล่หลัง ซึ่งเดิมอยู่ต่ำกว่าไหล่หน้าขณะที่หัวอยู่ในช่องเชิงกราน ก็จะถูกดึงลงและหมุนไปอยู่ด้านหน้าทำให้พ้นปากช่องคลอดออกมา และเมื่อหมุนกลับอีก 180 องศา ไหล่หลังก็จะกลับขึ้นไปอยู่ข้างหน้า ไหล่ก็จะหลุดออกมา
การช่วยคลอดศีรษะ ตามวิธี Mauriceau-Smellie-Vet Method
การช่วยคลอดทุกส่วนของทารกท่ากัน (Total breech extraction)
การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสูญญากาศ
ข้อบ่งชี้
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ทั้งๆที่ได้ให้ยากระตุ้นแล้ว
มารดาอ่อนเพลียไม่มีแรงเบ่งคลอด
มารดามีโรคแทรกซ้อนที่ไม่ควรออกแรงเบ่งคลอด เช่น โรคหัวใจ ครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ศีรษะทารกอยู่ในท่าปกติซึ่งคลอดยาก เช่น ท่าขวาง (Deep transverse arrest) ท่าท้ายทอยอยู่ ด้านหลัง (Persistent occiput posterior) เป็นต้น
ภาวะทารกเครียด (Fetal distress)
ระยะที่ 2 ของการคลอดยืดเยื้อนานกว่า 2 ชม. ในครรภ์แรกหรือ 1 ชม. ในครรภ์หลัง
ข้อบ่งห้าม
มีการผิดสัดส่วนอย่างชัดเจนระหว่างศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน (Absolute CPD)
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าหน้า ท่าขวาง หรือท่ากันสำหรับท่า brow อาจช่วยคลอดได้ถ้าสามารถใส่ถ้วยให้ศีรษะกัม (Flex) ได้
ภาวะทารกเครียด (Fetal distress) ถ้ารุนแรงและไม่สามารถช่วยคลอดได้เร็วควรช่วยคลอดด้วยวิธีอื่น
ทารกก่อนกำหนด (Premature) มากๆ
ภาวะสายสะดือย้อย
ทารกที่มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด
ภาวะแทรกซ้อน
Artificial caput succedaneum (Chignon)
รอยถลอกและการฉีกขาดของหนังศีรษะ
ผิวหนังตาย (Scalp necrosis) และผมร่วง (Alopecia)
Cephalhematoma
Subgaleal hematoma (SGH) หรือ subaponeurotic hematoma
การตกเลือดภายในสมอง (Intracranial hemorrhage)
การตกเลือดที่จอประสาทตา (Retinal hemorrhage)
บทบาทของพยาบาลในการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสูญญากาศ
ก่อนทำ
การเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้
การเตรียมผู้คลอดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้เตรียมเช่นเดียวกับการช่วยคลอดด้วยคีม
หลังทำ
ดูแลมารดาและทรกเช่นเดียวกับการช่วยคลอดด้วยคีม
ขณะทำ
ก่อนที่แพทย์จะลงมือทำสูติศาสตร์หัตถการ
เมื่อแพทย์ใส่ถ้วยสูญญากาศในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว พยาบาลจะเป็นผู้ช่วยลดความดันสุญญากาศลงทีละน้อย ประมาณ 0.2 กิโลกรัม/ตารางเชนติเมตร ทุก 2 นาที
เมื่อแพทย์จะเริ่มดีงพยาบาลควรตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูกและรายงานให้แพทย์ทราบเป็นระยะ
เมื่อศีรษะทารกเกิด พยาบาลจะเป็นผู้คลายเกลียวที่ Screw ปล่อยให้ลมเข้าชวดสูญญากาศ ถ้วยจะหลุดจากศีรษะทารก
เมื่อทารกเกิด พยาบาลจะต้องช่วยคลอดและถ้าทารกมีอาการที่แสดงว่าขาดออกซิเจน พยาบาลจะต้องช่วยแก้ไขด้วย
การพยาบาลด้านจิตใจ พยาบาลควรอยู่เป็นเพื่อนมารดาตลอดเวลา คอยปลอบโยนให้ กำลังใจ บอกให้มารดารู้ตัวว่าแพทย์จะทำอะไรให้
การช่วยคลอดด้วยคีม
ข้อบ่งชี้
ด้านมารดา
มารดาไม่มีแรงเบ่ง
มารดามีโรคแทรกซ้อนที่ไม่เหมาะสำหรับการออกแรงเบ่งมาก เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ หรือความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
ระยะที่สองของการคลอดที่กำลังจะยึดเยื้อหรือยึดเยื้อมาแล้ว โดยใช้เกณฑ์นานเกิน 2 ชั่วโมง และ 1 ชั่วโมง ในครรภ์แรกและครรภ์หลังตามลำดับ
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี (อาจต้องใช้ Oxytocin กระตุ้นก่อน)
ด้านทารก
fetal distress
หัวเด็กอยู่ในทำผิดปกติ เช่น OT ซึ่งต้องการหมุนเป็น OA เพื่อสะดวกในการคลอด เป็นต้น
ใช้ช่วยคลอดหัวในทารกท่าก้น
ภาวะแทรกซ้อน
ด้านมารดา
การฉีกขาดของช่องทางคลอด
อันตรายต่อกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ
การหย่อนของกล้ามเนื้อ
การแยกของกระดูกหัวหน่าว (Symphysis pubis) และ sacroiliac joint
การตกเลือดหลังคลอด
การติดเชื้อ
ด้านทารก
อันตรายต่อกะโหลกศีรษะทารก
อันตรายต่อสมองทารก
อันตรายต่อเส้นประสาทที่หน้า
กระบอกตาถูกบีบ ทำให้มี retrobulba hematoma อาการตาเหล่และหนังตาตก
หูหนวก เกิดบาดแผลหรือมีเลือดออกภายในหู
บทบาทของพยาบาลในการช่วยคลอดด้วยคีม
ก่อนทำ
การเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการช่วยคลอดด้วยคีม
เตรียมผู้คลอดมีขั้นตอน
ทารกอยู่ในภาวะอันตราย (Fetal distress)
สวนปัสสาวะ
ขณะทำ
ทางด้านจิตใจ พยาบาลควรอยู่เป็นเพื่อนผู้คลอดตลอดเวลา บอกให้ทราบว่าแพทย์กำลังทำ อะไรให้
ก่อนแพทย์จะลงมือทำสูติศาสตร์หัตถการ พยาบาลจะต้องตรวจดูอุณหภูมิ ชีพจรหายใจ ความดันโลหิตของผู้คลอด และฟังเสียงหัวใจทารก ลงบันทีกรายงานไว้เป็นระยะๆ ถ้าผิดปกติต้องรีบรายงานแพทย์
เมื่อแพทย์ใส่คีมเรียบร้อยแล้ว พยาบาลควรตรวจการหดรัดตัวของมดลูก และแจ้งให้แพทย์ ทราบ เพื่อจะได้ดึงพร้อมกับการหดรัดตัวของมดลูก และส่งเสริมให้มารดาเบ่งขณะแพทย์ดึงคีม
เมื่อทารกเกิด พยาบาลต้องช่วยทำคลอดและถ้าทารกมีภาวะ asphyxia พยาบาลต้องช่วย แก้ไขด้วย
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ความหมาย
ทารกต้องมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 1,000 กรัม หรืออายุครรภ์ที่ทารกสามารถมีชีวิตรอดได้แล้ว (คือ 24 สัปดาห์ โดยประมาณ)
ชนิด
Lower segment cesarean section คือการผ่ามดลูกที่บริเวณส่วนล่าง ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่าตามแนวขวางที่เรียกว่า "low transverse cesarean" (LTCS)
Classical caesarean section คือการผ่ามดลูกที่บริเวณส่วนบนตามแนวตั้ง
ข้อบ่งขี้
การคลอดแบบติตขัด (Mechanical dystocia) หรือการคลอดไม่ก้าวหน้า (Failureto progress in labour), การผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับกระดูกเชิงกราน (Cephalopelvic disproportion) ชนิด persistent mentoposterior, การขวางกั้นช่องทางคลอดจากกัอนเนื้องอก เช่น เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ ความผิดปกติของการหดรัดตัวของมดลูก (Uterine dysfunction)
รกเกาะต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดปิดหมด (Placenta previa totalis)
ทารกอยู่ในภาวะเครียด (Fetal distress) ที่ไม่สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้โดยเร็ว
ภาวะสายสะดือย้อยที่ทารกยังมีชีวิตอยู่และปากมดลูกยังเปิดไม่หมด
กระดูกเชิงกรานหักหรือความผิดปกติของช่องทางคลอด
มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม
ข้อห้าม
ทารกเสียชีวิต ยกเว้นว่ามีข้อบ่งขี้ทางฝ่ายมารดาเช่น ตกเลือดก่อนคลอดจากรกเกาะต่ำ
ทารกพิการที่ไม่สามารถมีชีวิตรอดได้หลังคลอด (Incompatible with life)
ภาวะแทรกซ้อน
ขณะผ่าตัด
อันตรายต่อทารก เช่น ถูกของมีคมบาด
อันตรายต่อกระเพาะปัสสาวะและลำไส้
ภาวะแทรกซ้อนจาการให้ยาระงับความรู้สึก เช่น สำลัก
หลังผ่าตัด
ลำไส้อึดแน่น (Paralytic ileus)
มดลูกติดเชื้อ (Metritis)
แผลผ่าตัดติดเชื้อ
การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
การตกเลือดในช่องท้อง
การติดเชื้อในช่องท้องและมีถุงหนองในอุ้งเชิงกราน
การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
Thromboembolic disease
การช่วยทารกที่มีภาวะคลอดไหล่ยาก
ความหมาย
การคลอดติดขัดจากไหล่ต้านหน้า ของทารกไม่สามารถคลอดผ่าน กระดูก Pubic symphysis ได้สะดวก เกิดจาก biacromial diameter ของทารกมีขนาดโตเมื่อเทียบกับความยาวหน้า-หลังของกระดูกเชิงกรานแม่ส่วนใน (pelvic inlet)
อาการแสดง
ศีรษะเด็กแน่นติดกับ Vulva ขณะพยายามคลอดไหล โดยออกแรงดึงในปริมาณพอเหมาะแล้วแต่ ไม่สามารถคลอดไหลได้
หลังคลอดศีรษะแล้วมากกว่า 60 วินาที ไม่สามารถคลอดลำตัวทารกได้
การคลอดที่ต้องอาศัยเทคนิคการทำคลอดเพิ่มเติม
สาเหตุ
องค์ประกอบการคลอด
มารดาอ้วน
มารดาเป็นเบาหวาน
ครรภ์เกินกำหนด (เกิน 42 สัปดาห์)
ทารกเพศขาย
มารดาอายุมาก
น้ำหนักเพิ่มมากเกินไป
มีประวัติคลอดไหล่ยากมาก่อน
ช่องเชิงกรานแคบ หรือเป็นชนิด platypelloid
เคยคลอดทารกตัวโตมาก่อน
ทารกตัวโต
องค์ประกอบในขณะคลอด
arrest disorders
ระยะที่สองของการคลอดยาวนาน
ให้ Oxytocin เสริมการหดรัดตัว
การช่วยคลอดด้วย midforceps หรือเครื่องดูดสูญญากาศ
protraction disorders
การวินิจฉัยการคลอดไหล่ยาก
การวินิจฉัยว่าเป็นการคลอดไหล่ยาก เมื่อศีรษะทารกคลอดแล้วไม่สามารถตึงให้ไหล่หน้าคลอดได้ ในการทำคลอดไหล่ด้วยการดึงศีรษะทารกลงล่างตามปกติและจำเป็นต้องใช้กระบวนการช่วยคลอดไหล่เพิ่มขึ้น
แนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยคลอดไหล่ยาก
ขอความช่วยเหลือ ตามแพทย์หรือผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ามาช่วย ในสถานที่ที่มีความพร้อมควรตามกุมารแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือแก้ไขสภาพทารกหลังคลอดและวิสัญญีแพทย์ ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาสลบ
สวนปัสสาวะ
ควรตัด episiotomy ให้กว้างมากขึ้น หลังจากฉีดยาชาให้เพียงพอ
ใช้ลูกข่างแดงดูดมูกในจมูกและปากทารกให้หมด
ลองดึงศีรษะทารกลงล่างอีกครั้งพร้อม 1 กับให้มารดาเบ่ง ห้ามให้ผู้ช่วยดันยอดมดลูกอย่าง ด็ดขาด เพราะจะทำให้ไหล่หน้าเข้าไปคิดมากขึ้นและอาจจะเกิดมดลูกแตกได้
ทำการช่วยคลอดไหล่ยาก ควรเริ่มต้นด้วยวิธี ดังนี้
6.1 Suprapubic pressure มี 2 วิธี
Mazzant maneuver ให้ผู้ช่วยกดบริเวณเหนือหัวหน่าวลงตรง ๆ ทำให้ไหล่ที่ติดยุบลงไป พร้อมกับผู้ทำคลอดดึงศีรษะทารกลงล่าง
Rubin II maneuver ให้ผู้ช่วยยืนทางฝั่งที่เป็นหลังของทารก พยายามผลักให้ไหล่ทารกเฉียงและงุ้มไปทางหน้าหารก เพื่อให้ไหล่เกิด adduction พร้อมกับผู้ทำคลอดดึงศีรษะทารกลงล่าง
6.2 McRoberts maneuver ให้ผู้ช่วย 2 คน ยกขามารคาออกจาก stirrups ทั้ง 2 ข้าง แล้วงอ ข้อสะโพกขึ้นมาจนดันขาอยู่ชิดกับหน้าท้อง ผู้ทำคลอดดึงศีรษะหารกลงล่างเพื่อให้ไหล่คลอด วิธีนี้มักจะทำร่วมกับ suprapubic pressure
ถ้ายังไม่ตามารถทำคลอดไหล่ทารกได้ พิจารณาช่วยคลอดด้วยวิธีอื่น ดังนี้
7.2 Rubin II maneuver สอดมือเข้าไปในช่องคลอด คลำไปทางด้านหลังของไหล่หน้า คันให้ไหล่เถียงและเกิด adduction ของไหล่ไปทางหน้าอก จะทำให้เส้นผ่าศูนย์กลางของไหล่ลดลง ผู้ทำคลอดดึงให้ไหล่หน้าคลอดออกมา
7.3 Delivery of posterior shoulder ทำมือแบบ accoucheur สอดเข้าไปในมดลูก กดบริเวณข้อพับ แล้วจับข้อมือของทารก ดึงผ่านหน้าอกในแนวเอียงให้ไหล่หลังหมุนและดึงแขนออกมาทางด้านข้างของหน้า
7.4 All-fours position or Gaskin maneuver) จัดให้มารดาอยู่ในทำคุกเข่าทั้ง 2 ข้าง มือทั้ง 2 ข้างยันพื้นไว้ ผู้ทำคลอดดึงศีรษะหารกลงล่างเพื่อทำคลอดไหล่หลังก่อน
7.5 Posterior axilla sling traction ใช้สาย suction คล้องให้รักแร้ของไหล่หลังทารก แล้วดึงไหล่หลังออกมา
7.6 Zavanelli maneuver หมุนศีรษะทารกกลับมาเป็นท่า occiput anterior หรือ occiput posterior ก่อน แล้วดันศีรษะทารกให้กัมและดันกลับเข้าไปในช่องคลอดเพื่อนำไปผ่าท้องทำคลอดทันที
7.1 Woods corkscrew maneuver การหมุนไหล่ไป 180 องศา
กรณีที่ยังทำคลอดไหล่ทารกไม่ได้ให้เลือกทำ ดังนี้
8.2 Cleidotomy ตัดกระดูก clavicle ด้วยกรรไกรหรือมีดใช้ในรายที่ทารกตายแล้ว
8.1 Deliberate fracture of anterior clavicle ทำให้กระดูก clavicle ของทารกหัก
นางสาววิรตี เชื่อมั่น นักศึกษาพยาบาลศาสตรืชั้นปีที่ 3
เลขที่ 74 รหัสประจำตัวนักศึกษา 63115301072