Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบัญชี = Accountancy = Accounting - Coggle Diagram
การบัญชี = Accountancy = Accounting
ความหมายของการบัญชี
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ส.บช. (The Institute of CeritfiedAccountants and Auditor of Thailand : ICAAT)
“ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึกจําแนก และทําสรปุ ข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ ในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการ บัญชีก็คือการให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้ท่ี สนใจในกิจกรรมของกิจการ”
สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐอเมริกา
( The American Institute of Certified Public Accountants : AICPA)
” Accounting is the art of recording, classifying and หsummarizing in a significant manner and in terms of money, transactions and events which are, in part at least, of financial character and interpreting the results thereof.”
ศิลปะของการจดบันทึก การจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ และการสรุปผลสิ่งสำคัญในรูปตัวเงิน รายการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน รวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย
การบัญชีมีความหมายที่สำคัญ 2 ประการ
การทำบัญชี (Bookkeeping)
เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Bookkeeper)
ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
การบันทึก (Recording)
การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
การจำแนก (Classifying)
การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้ว มาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของบัญชีประเภทต่างๆ
หมวดสินทรัพย์
หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ
รายได้และค่าใช้จ่าย
การรวบรวม (Collecting)
การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันและหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ
หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ
หลักฐานการับและจ่ายเงิน
การสรุปข้อมูล (Summarizing)
เป็นการนำข้อมูลที่ได้จำแนกให้เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวมาแล้วมาสรุปเป็นรายงานทางการเงิน (Accounting report)
ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไปของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
การให้ข้อมูลทางการเงิน
เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย
ฝ่ายบริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ตัวแทนรัฐบาล นักลงทุน
ข้อมูลทางการเงินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงระบบบัญชี
ประเภทของธุรกิจ
แบบบุคคลธรรมดา
กิจการเจ้าของคนเดียว
มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก
มีการจดทะเบียนการค้าแบบบุคคลธรรมดา
ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว
รวมทั้งเรื่องกำไรหรือขาดทุนก็มีผลต่อเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว
เช่น เจ้าของร้านชำที่เราเห็นได้ทั่วๆ ไป
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ลักษณะธุรกิจคล้ายกับกิจการเจ้าของคนเดียว
เพียงแต่มีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
มีสิทธิ์ในการตัดสินใจ ผลจากกำไร และการขาดทุนเท่าๆกัน
ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตรงที่ไม่ได้จดทะเบียน ทำให้มีสถานะเป็นคณะบุคคลนั่นเอง
แบบนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด
ธุรกิจคล้ายกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
มีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
เพียงแต่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ความแตกต่างคือ หุ้นส่วนมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน คือ แบบรับผิดชอบในหนี้สินแบบจำกัด โดยรับผิดชอบไม่เกินเงินที่ได้ลงทุน แต่ไม่มีการสิทธิการตัดสินใจในกิจการ ส่วนแบบรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด โดยรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน แต่มีสิทธิในการตัดสินใจต่างๆ
บริษัทจำกัด
ธุรกิจที่มีผู้ร่วมดำเนินงานตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
ถือหุ้นในจำนวนเท่าๆ กัน ซึ่งเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น”
รับผิดชอบหนี้สินร่วมกันไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน บริษัทจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ธุรกิจประเภทนี้เหมาะกับกิจการที่มีรายได้หรือมูลค่าสูง
มีความเป็นสากลเพราะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริษัทขึ้นมาบริหารและตัดสินใจการดำเนินงานต่างๆ
บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทจำกัดที่นำหุ้นออกจำหน่ายให้บุคคลทั่วไปซื้อ
ร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัทได้ตามสัดส่วนที่ซื้อ ซึ่งหุ้นดังกล่าวสามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
บริษัทมหาชนจำกัดต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 100 คน แต่ปัจจุบันต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน
องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ
หุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน การชำระค่าหุ้นคือชำระครั้งเดียวเต็มจำนวน และกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน
ลักษณะของธุรกิจ การเกษตร
ปศุสัตว์
ทำสวน
การทำไร่
องค์กรธุรกิจจัดตั้ง มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
ธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งในครัวเรือน อุตสาหกรรมโรงงาน
ธุรกิจเหมืองแร่
ธุรกิจการพาณิชย์
ธุรกิจการก่อสร้าง
ธุรกิจการเงิน
ธุรกิจอาหาร
ธุรกิจการให้บริการ
ธุรกิจอื่นๆ
แพทย์
วิศวกร
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
สถาปนิก
วัตถุประสงค์ของการบัญชี
เพื่อเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางการค้า
เพื่อให้เจ้าของกิจการได้ทราบว่าช่วงเวลานั้น ๆ มีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ อยู่เป็นจำนวนเท่าใดและอย่างไร
เพื่อแสดงผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง และแสดงฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักธุรกิจและประกอบการตัดสินใจในการบริหารของเจ้าของกิจการ
เพื่อให้การจดบันทึกรายการค้านั้นถูกต้อง เป็นตามหลักการบัญชีและตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตและการสูญหายของสินทรัพย์
บทความโดย : amprai
เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นโยเรียงลำดับก่อนหลังและจำแนกประเภทของรายการค้าไว้อย่างสมบูรณ์
องค์ประกอบของงบการเงิน
งบการเงินของกิจการประกอบด้วย 5 ส่วน
งบกระแสเงินสด
กิจกรรมการลงทุน (Cash Flow from Investing: CFI)
ตัวอย่างเช่น
ลบ เงินสดจ่ายเพื่อลงทุนในธุรกิจย่อย
ลบ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อที่ดิน โรงงาน
บวก เงินสดรับจากการขายธุรกิจย่อย
บวก เงินสดรับจากการขายที่ดิน โรงงาน
ข้อสังเกตง่ายๆ
กิจกรรมลงทุนนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเงินสดจ่ายก้อนโตที่เกิดขึ้นไม่บ่อย จึงไม่ผิดที่เรามักเห็นเงินสดสุทธิในกิจกรรมลงทุนติดลบเสมอ แต่ถ้าในอนาคตสร้างเงินสดรับเข้ามาในกิจกรรมดำเนินงานมากกว่าที่ลงทุนไปก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
กิจกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอย่างที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ หรือใช้เงินลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ตัวอย่างเงินสดรับ (เป็นเครื่องหมายบวก) และจ่าย (เครื่องหมายลบ)
กิจกรรมการจัดหาเงิน (Cash Flow from Financing: CFF)
เช่น
บวก เงินสดรับจากการกู้ยืมเงิน
บวก เงินสดรับจากการเพิ่มทุน
ลบเงินสดจ่ายคืนเงินกู้
กิจกรรมนี้อาจจะมีทั้งกระแสเงินสดรับและจ่ายปะปนกันไป ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดหาเงินและช่วงเวลาจ่ายชำระของแต่ละกิจการ
กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดหาเงินของกิจการ โดยปกติแล้วจะมาจาก 2 ทางคือ การกู้ยืมเงิน หรือผู้ถือหุ้นลงทุนเพิ่ม ตัวอย่างเงินสดรับและจ่าย
กิจกรรมดำเนินงาน (Cash Flow from Operating: CFO)
เครื่องหมาย บวก เงินสดรับจากการขายสินค้า หรือการให้บริการ
เครื่องหมายลบ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าบริการ จ่ายค่าแรงพนักงาน
วิธีวัดผลง่ายๆ
ให้สังเกตว่าเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานต้องมีค่าเป็นบวกเสมอ เพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าธุรกิจหลักของเราสามารถสร้างเงินเข้าได้มากกว่าเงินที่จ่ายออกไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา
กิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายในธุรกิจ ที่มีทั้งการรับ (เป็นเครื่องหมายบวก) และการจ่าย (เครื่องหมายลบ)
วิธีการจัดทําางบกระแสเงินสด
การจัดทําางบกระแสเงินสดโดยแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําาเนินงานเป็นวิธีทางตรง (Direct Method)
2.การจัดทําางบกระแสเงินสดโดยแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําาเนินงานเป็นวิธีทางอ้อม (Indirect Method)
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของเจ้าของ
การแสดงมูลค่าหุ้นพื้นฐานตามราคาจดทะเบียน มูลค่าของหุ้นที่เกิดขึ้นตามราคาตลาด ผลกำไรของบริษัท และเงินปันผลสำหรับผู้ถือหุ้น
เหมาะกับการพิจารณาของนักลงทุนว่าควรจะลงทุนในบริษัทดีหรือไม่
เป็นงบที่แสดงการเปลี่ยนแปลงความมั่งคั่งของเจ้าของบริษัท
ทำให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามความต้องการ
นักลงทุนที่เน้นเงินปันผลควรจะดูงบการเงินส่วนนี้ของบริษัทต่างๆ
เพื่อให้เงินนโยบายด้านเงินปันผลของบริษัทในแต่ละปีเมื่อเทียบกับผลกำไรสุทธิ
นักลงทุนที่ไม่เน้นเงินปันผลแต่เน้นมูลค่าของหุ้นก็อาจเลือกลงทุนในบริษัทที่จ่ายปันผลน้อย แต่ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากกำไรสะสมของบริษัท
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หรือ งบกำไรขาดทุน
งบกำไรขาดทุน
การแสดงให้เห็นยอดขายหรือรายได้ของธุรกิจ แล้วเอามาหักลบด้วยต้นทุนต่างๆ ของธุรกิจ
แล้วแสดงผลต่างออกมาเป็นกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของธุรกิจ
สามารถแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เช่น
การแยกรายได้จากการขาย และรายได้จากการบริการ
ไปจนถึงรายได้จากเงินปันผลในหุ้นของบริษัทอื่นๆ ที่บริษัทถือไว้
ส่วนของต้นทุน ก็อาจแยกได้เป็นต้นทุนการขาย ต้นทุนการบริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหารธุรกิจ
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน
นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน
นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งาน
งบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน
ตัวอย่างรายการที่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ลูกหนี้การค้า
การตีมูลค่าสินค้าคงเหลือ
เจ้าหนี้การเค้า
การตัดค่าเสื่อมราคา
การรับรู้รายได้
ประโยชน์ของหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ใช้ดูการตัดค่าเสื่อมราคา เพราะบางทีอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาทำให้กิจการมีกำไรโตขึ้นมากในรอบบัญชีนั้น ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดว่ากำไรที่ได้นั้นมาจากการดำเนินงาน
ใช้ดูการตัดค่าเสื่อมราคา เพราะบางทีอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาทำให้กิจการมีกำไรโตขึ้นมากในรอบบัญชีนั้น ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดว่ากำไรที่ได้นั้นมาจากการดำเนินงาน
ใช้ดูจำนวนลูกหนี้การค้า หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมต้องดูเพราะว่ามีลูกหนี้การค้ามากก็แสดงว่ากิจการขายสินค้าและบริการได้ดี แต่ก็ไม่เสมอไปลูกหนี้การค้าหากมีมากจนผิดสังเกตุอาจะเกิดจากกิจการมีลูก
เมื่อผู้ใช้งบการเงินเปรียบเทียบอัตราการทำกำไรกับกิจการคู่แข่งแล้วพบว่า กิจการสามารถทำอัตรากำไรได้มากว่า
เมื่อพบว่ากิจกรรมมีรายได้โตขึ้นมากๆ ผู้ใช้งบการเงินต้องตรวจดูว่ากิจการมีนโยบายการรับรู้รายได้แบบใด
รายการอื่นๆ ที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน
งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล
สินทรัพย์ = หนี้สิน+ส่วนของผู้ถือหุ้น
งบการเงินที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการ เพื่อให้ทราบว่ากิจการมีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร มีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน เท่าไหร่
ส่วนของสินทรัพย์จะแยกเป็นสินทรัพย์ระยะสั้น หรือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง
เช่น เงินสด, เงินฝาก, หุ้นของบริษัทในบริษัทอื่น
สินทรัพย์ระยะยาว หรือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ
อสังหาริมทรัพย์, เครื่องจักรต่างๆ, ยานพาหนะ
งบดุลที่มีความสมส่วนกันสองข้าง
มีหนี้สินระยะสั้นไม่มากไปกว่าสินทรัพย์ระยะสั้น
มีการขยายตัวของสินทรัพย์ระยะยาวไปพร้อมๆ กับหนี้สินระยะยาว