Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนการพยาบาลผู้สูงอายุ ในศูนย์ฯ บ้านบางละมุง, จัดทำโดย 63010108…
การวางแผนการพยาบาลผู้สูงอายุ
ในศูนย์ฯ บ้านบางละมุง
การประเมิน การตรวจร่างกาย
และการซักประวัติ
ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติที่สำคัญ
ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพผู้สูงอายุ
นางเบญจรัตน์ พันธ์วิวัฒน์ อายุ 70 ปี เพศหญิง
สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ
สถานภาพสมรสหย่าร้าง
โรคประจำตัวและการรักษา
โรคกระดูกบาง มียารับประทานเป็นวิตามินและแคลเซียม
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ผ่าตัดปีกมดลูกซ้ายออก เนื่องจากตรวจพบก้อนเนื้อ
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
บิดาเสียด้วยโรควัณโรคขณะอายุ 55 ปี
มารดาเสียด้วยโรคมะเร็งมดลูกขณะอายุ 56 ปี
น้องชายคนสุดท้องเสียชีวิตด้วยโรคถุงลมโป่งพอง
ระดับการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 4
อาชีพหมอนวดแผนโบราณ รายได้ไม่แน่นอน
น้ำหนัก 51.5 กิโลกรัม
ส่วนสูง 162 เซนติเมตร
BMI 19.62 แปลผลได้ว่าสมส่วน
ภูมิลำเนาเดิมอยู่ชลบุรี
ที่อยู่ปัจจุบัน 14 ถนนบางแสนสาย3 ตำบลแสนสุข
อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ข้อมูลเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพ
การรับรู้ภาวะสุขภาพในปัจจุบัน
มีภาวะกระดูกบาง มีการผ่าตัดก้อนเนื้องอกออกต้องหยุดทำงาน 6 เดือน
ไม่มีประวัติการแพ้ยาและอาหาร
ผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวไม่มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบหรี่
การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย
เมื่อเจ็บป่วยไปโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
ใส่ใจไปพบแพทย์ตลอด หากโรงพยาบาลปัจจุบันรักษา
ไม่ดีก็ไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น
การรับประทานอาหาร
บางวันสองมื้อ(สาย บ่าย) บางวันสามมื้อ(เช้า บ่าย เย็น) ชอบรับประทานแกงส้ม อาหารประเภทต้ม ผักต้ม
และน้ำพริก ไม่ชอบรับประทานของทอด ก่อนผ่าตัด
รับประทานข้าว 3 ทัพพี สามารถรับประทานจนหมด
แต่หลังผ่าตัดรับประทานข้าวได้ลดลงเหลือ 2 ทัพพี
การดื่มน้ำ
1ขวด-1ขวดครึ่ง (600-900 มิลลิลิตร)
การขับถ่ายอุจจาระ
วันละ 1 ครั้ง ลักษณะเป็นก้อน สีเหลืองหรือน้ำตาล
หากไม่ถ่ายจะรับประทานยาระบายมะขามแขกให้ถ่าย
การขับถ่ายปัสสาวะ
วันละ 4-5 ครั้ง สีเหลือง ไมม่มีกลิ่น เคยเดินนวดไม่กล้าถ่ายปัสสาวะ เพราะกลัวห้องน้ำสกปรกทำให้เกิด
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีปัสสาวะเล็ดเวลาไอจามแรงๆ
การออกกำลังกายและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน
ไม่ค่อยออกกำลังกายหลังผ่าตัดทำงานบ้าน
กวาดบ้านรดน้ำต้นไม้
ปกตินอนหลับวันละ 5 ชั่วโมง นอน 22.00 - 05.00 น.
มีสะดุ้งตื่นไปปัสสาวะแต่สามารถกลับมาหลับได้ใน
5-10 นาที
การได้ยินปกติ
การมองเห็นปกติ
การรับสัมผัส/ความสุขสบายปกติ
ความจำปกติ มีการหลงลืมหาของไม่เจอบ้าง
แต่สุดท้ายก็นึกออกและหาของเจอ
หากป่วยจะไปโรงพยาบาลและมีการปรึกษาเพื่อนในชมรมผู้สูงอายุเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ เพื่อนมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน หากใครรู้ก็จะแนะนำแพทย์ทางด้านโรคนั้นๆให้
ความเจ็บป่วยขึ้นกับอายุตามวัยที่เพิ่มขึ้น
ก่อนหน้านี้เป็นหัวหน้าครอบครัวช่วงหย่ากับสามี เพราะลูกกำลังเรียน แต่ปัจจุบันลูกโตกันหมดแล้วจึงช่วยกันดูแล
สัมพันธภาพในครอบครัว กลมเกลียวกันดี เข้าใจกันดี
รักกันดี เมื่อแม่ป่วยลูกไม่มีการเกี่ยงกันมาดูแล
แบบแผนเพศสัมพันธ์
ไม่พบปัญหา
เมื่อมีความเครียดจะพยายามไม่เครียดและมองโลกแง่บวก เคยเครียด 1 ครั้ง มีอาการปวดหัวและมึนหัวมากจนทน
ไม่ได้จึงต้องไปโรงพยาบาล ความเครียดในครั้งนั้นเกิดจากมีทุนทรัพย์ไม่เพียงพอในการดูแลบุตรทั้ง 3 คน
หลังจากแยกทางกับสามี
เมื่อเกิดความเครียดมีผู้ให้ความช่วยเหลือ คือ
บุตรและเพื่อนในชมรมผู้สูงอายุ
ค่านิยมและความเชื่อ ในอดีตยึดติดกับการทำบุญมากจนรู้สึกผิด ปัจจุบันจึงเลิกยึดติดและทำบุญตามโอกาสที่สามารถทำได้ ไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเชื่อว่าก้อนเนื้อที่ทำให้ต้องผ่าตัดมาจากกรรมเก่า
ผลการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
แบบประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติ Barthel ADL Index
(19คะแนน แปลผลคะเเนนระดับสูง มีภาวะพึ่งพาเล็กน้อย)
แบบประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติ Chula ADL Index (9 คะแนน แปลผลช่วยเหลือตัวเองได้)
แบบประเมินการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ
(รุนแรงน้อย แปลผลปริมาณปัสสาวะที่กลั้นไม่อยู่ไม่กี่หยดและเกิดอาการบ่อย)
แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย TGDS
(8 คะแนน แปลผลปกติ)
แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ
(5 คะแนน แปลผลคุณภาพการนอนหลับดี)
แบบประเมินภาวะโภชนาการ MNA
(26 คะแนน แปลผลมีภาวะโภชนาการปกติ)
แบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต ST-5
(1 คะแนน แปลผลเครียดน้อย)
แบบทดสอบความผิดปกติทางการรับรู้ 6CIT
(4 คะแนน แปลผลไม่มีความผิดปกติทางการรับรู้)
การรับรู้ความสามารถในการทรงตัว
(4 คะแนน แปลผลมีการรับรู้ความสามารถในการทรงตัวดี)
แบบประเมินข้อเข่าเสื่อม (0 คะแนน แปลผลปกติ)
แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม
(2 คะแนน แปลผลไม่เสี่ยงต่อการหกล้ม)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยที่ 1
เสี่ยงต่อการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบซ้ำ
เนื่องจากพร่องความรู้ในการดูแลตนเอง
ข้อวินิจฉัยที่ 2
เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากมีภาวะกระดูกบาง
ข้อวินิจฉัยที่ 3
เสี่ยงต่อภาวะท้องผูก เนื่องจากขาดการออกกำลังกาย
ข้อวินิจฉัยที่ 1
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบซ้ำ
เกณฑ์การประเมินผล
ดื่มน้ำ 1,700 ลิตรต่อวัน
ไม่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนี้
รู้สึกปัสสาวะไม่สุด ปวดท้องน้อย ปวดแสบขัด ปัสสาวะขุ่น กลิ่นผิดปกติหรือปัสสาวะมีเลือดปน
ตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบถูก 3 ข้อ
จาก 5 ข้อ
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ให้ความรู้เกี่ยวกับการดื่มน้ำ
น้ำเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องดื่มเป็นประจำทุกวัน หากขาดน้ำจะเสียชีวิตภายใน 2-3 วัน ในหนึ่งวันจึงควรดื่มน้ำเปล่าสะอาดที่อุณหภูมิห้อง อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยดื่มทีละน้อย ไม่ดื่มเร็วหรือมากเกินไป แต่หากมีการออกกำลังกาย ก่อนออกกำลังกาย
20-30 นาที ควรดื่ม 400-600 มล.
และระหว่างออกกำลังกาย ควรจิบน้ำทุกๆ 15-20 นาที
ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการดื่มน้ำ
-กระตุ้นสมอง การดื่มน้ำจะช่วยทำให้สมองทำงานได้ไว
และเกิดสมาธิมากขึ้น
-กระตุ้นระบบการขับถ่าย การดื่มน้ำเปล่าจะช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่ายให้เป็นปกติ
-ทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น เพิ่มการไหลเวียนโลหิต
ให้มีประสิทธิภาพ และช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
-ลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งลำไส้และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
-เพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิว ทำให้ผิวหนังมีสุขภาพดี
ดูอ่อนเยาว์กว่าวัย
หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะ เพราะอาจทำให้แบคทีเรีย
ในกระเพาะปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดี
ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศทุกครั้งหลังจากปัสสาวะและอุจจาระทุกครั้ง โดยเฉพาะเพศหญิงที่มีการติดเชื้อได้ง่ายกว่าเพศชาย เนื่องจากมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่า ในเพศหญิงควรทำความสะอาดอวัยวะสืบเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อลดการนำเชื้อโรคจากรูทวารและช่องคลอดเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
ข้อวินิจฉัยที่ 2
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะกระดูกหัก
เกณฑ์การประเมินผล
ตอบคำถามเกี่ยวกับภาวะกระดูกบาง 3 ข้อจาก 5 ข้อ
แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มอยู่ที่ 0-3 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกบาง
เป็นภาวะที่ร่างกายมีความหนาแน่นและมวลของกระดูกน้อยกว่าปกติ โดยทั่วไปผู้ที่ประสบภาวะนี้มักไม่แสดงอาการเจ็บปวดใดๆ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
และในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงวัยอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงขอกระดูกแต่ละคนในช่วงที่ยังเป็นวัยรุ่น และภาวะนี้อาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้
สาเหตุของกระดูกบาง
เกิดจากร่างกายมีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก จากการที่มีปริมาณแคลเซียมในร่างกายไม่เพียงพอ
วิธีการป้องกัน
-เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น โยเกิร์ต ชีส นม ถั่วชนิดต่างๆ ผักใบเขียวและอาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น ตับ ไข่แดง เนื้อ ฟักทอง เห็ดหอม ปลาทู และปลาซาร์ดีน รวมทั้งอาหารที่มีทั้งแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ซีเรียล ขนมปัง แซลมอน และน้ำส้ม เป็นต้น
-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยไม่หักโหมจนเกินไป รวมทั้งหมั่นตรวจสุขภาพและความพร้อมของร่างกายอยู่เสมอ
-หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
-รับแสงแดดอ่อนๆ ในปริมาณที่เหมาะสม ในช่วงเวลา 06.00-08.00 น. และหลัง 16.00 น. จะมีวิตามินดีมากที่สุด เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีแก่ร่างกาย
-ระมัดระวังในการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่ม
สเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
-ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก
ประเมินการหกล้มโดยใช้แบบประเมินภาวะ
เสี่ยงต่อการหกล้ม
ข้อวินิจฉัยที่ 3
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะท้องผูก
เกณฑ์การประเมินผล
ออกกำลังกาย 30-45 นาทีต่อวัน
และออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
ไม่มีอาการของภาวะท้องผูก คือ ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้ง
ต่อสัปดาห์ ปวดท้องอยากถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก ใช้เวลาในการเบ่งถ่ายนาน อุจจาระแข็ง
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะท้องผูก
อาการ
ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รู้สึกปวดท้องอยากถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก ใช้เวลาในการเบ่งถ่ายนาน มีอุจจาระแข็ง
สาเหตุ
การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อยเนื่องจากกลัวปวดปัสสาวะบ่อยและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แต่เมื่อร่างกายขาดน้ำจะมีกลไกดูดน้ำกลับจากอุจจาระ
ทำให้อุจจาระแข็งและถ่ายยาก ขาดการออกกำลังกายทำให้ลำไส้ไม่เคลื่อนไหว การบีบตัวของลำไส้ลดลง
กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรงจึงไม่มีแรงเบ่งอุจจาระ
ความเครียดจะทำให้ร่างกายลดการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำให้ย่อยอาหารไม่ดี หรือเกิดจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
วิธีการป้องกัน
-ฝึกขับถ่ายอย่างเป็นเวลา
-รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง
-ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน พยายามเคี้ยวอาหาร
อย่างช้าๆ
-ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
-พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ควรหมั่นลุกเดิน
หรือทำกิจกรรมต่างๆ ให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว
-ไม่กลั้นอุจจาระ เมื่อรู้สึกปวด ควรรีบไปเข้าห้องน้ำทันที
-สังเกตอาการท้องผูกที่มีผลข้างเคียงที่เกิดจากยา
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหา
ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย
ช่วยให้การทรงตัวดีขึ้น ทำให้เดินคล่องแคล่ว ลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ทำให้กระดูกแข็งแรง ชะลอโรค
กระดูกพรุน ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานประมาณ 30–45 นาที
โดยเริ่มต้นจากเวลาน้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ
การออกกำลังกายอาจเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย
ทุกรูปแบบ เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ โยคะ เต้นแอโรบิค เป็นต้น ควรเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง ไม่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย
การออกกำลังกายที่ถูกต้องควรเริ่มจากการอบอุ่นร่างกาย เป็นการกระตุ้นความพร้อมก่อนการออกกำลังกายจริง
โดยใช้เวลาประมาณ 5–10 นาที การอบอุ่นร่างกายควรทำโดยเคลื่อนไหวร่างกายแบบเบาๆ เช่น การเดินช้าๆ หรือการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อลดการบาดเจ็บขณะออกกำลังกาย
ประเมินผล
ข้อวินิจฉัยที่ 1
ผู้สูงอายุไม่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถดื่มน้ำได้มากขึ้นแต่ไม่ถึง 1,700 ลิตรต่อวัน อยู่ที่ 1,500
ลิตรต่อวัน และสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ถูก 4 จาก 5 ข้อ
ข้อวินิจฉัยที่ 2
ผู้สูงอายสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับภาวะกระดูกบาง
ถูกต้องทั้งหมด 5 ข้อ และจากการประเมินแบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มอยู่ที่ 2 คะแนน แปลผลได้ว่า
ไม่เสี่ยงต่อการหกล้ม
ข้อวินิจฉัยที่ 3
ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกาย 30 นาทีต่อวัน
และมีการออกกำลังกาย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมทั้งไม่มีอาการของภาวะท้องผูก
จัดทำโดย
63010108 นางสาวกรกมล เลิศล้ำ กลุ่ม 02-10