Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.3 การติดเชื้ออื่นๆขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
9.3 การติดเชื้ออื่นๆขณะตั้งครรภ์
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
สาเหตุ
ที่เกิดจากการติดเชื้อ Rubella virus (German measles virus) โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ มีระยะฟักตัว 14-21 วัน ระยะติดเชื้อ 7 วัน ก่อนผื่นขึ้นและ 4 วันหลังผื่นขึ้น
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และ ต่อน้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต จะมี ผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (Maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจาย
ผลต่อทารก
ชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ํา ปอดบวม กระดูกบาง
ถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมอง พิการ และปัญญาอ่อน
พบภายหลังภาวะเบาหวาน โรคต่อม ไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
การประเมิน
การซักประวัติ การสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการ แสดง
ตรวจร่างกายมีไข้ มีผื่นตุ่มน้ําใสตามไรผม ตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาด น้ําค้างบนกลีบกุหลาบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค
ELISA เพื่อนําผลไป พิจารณาการให้วัคซีนหรือประกอบการเดินทางไปต่างประเทศ
การรักษา
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส การฉีดวัคซีนป้องกันสุกใส
การพักผ่อนอย่างเพียงพอ และ ดื่มน้ํามาก ๆ หากมีไข้ ใช้ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มแอสไพริน เพราะอาจทําให้ เกิด Reye’s syndrome ทําให้เด็กเสียชีวิตได้
ใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir ซึ่งควรจะให้ใน ระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น
การพยาบาล
แนะนําให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์ การเว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังการฉีดวัคซีน
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึง ภาวะของโรค การแพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
เน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ใช้หลัก Universal precaution ในการสัมผัสน้ําคาวปลา แนะนําให้แยกของใช้สําหรับมารดา และทารก
แนะนําการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง
ไวรัสตับอักเสบบี( Hepatitis B virus)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virus ผ่านทางเลือด น้ําลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ํานม และผ่านทางรก
พยาธิสภาพ
ระยะแรก เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติแต่หากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลบวก และพบ Hepatitis B virus DNA (Viral load) จํานวนมาก
ระยะที่สอง มีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัว เหลืองตาเหลือง ร่างกายจะสร้าง Anti- HBe ขึ้นมาเพื่อทําลาย HBeAg ดังนั้นหากตรวจเลือดจะพบ Anti-HBe ให้ผลบวกและจํานวน Hepatitis B virus DNA ลดลง
ระยะที่สาม เป็นระยะที่ Anti-HBe ทําลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mLร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ
ระยะที่สี่ เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (Re-activation phase) ทําให้เกิด การอักเสบของตับขึ้นมาอีกจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ Anti-HBe ให้ผลบวก จะเข้าสู่ภาวะตับ อักเสบเรื้อรังจนเนื้อตับเสียหาย มีพังผืดแทรกจนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับ
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับ โต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชา
การประเมิน
การซักประวัติ เคยมีอาการแสดงของ โรคตับอักเสบจากไวรัสบี เคยสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลือง ตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจการทํางานของตับ และตรวจหา Antigen และ Antibody ของไวรัส ได้แก่ HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
การรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก และตรวจซ้ํา อีกครั้งในไตรมาสที่ 3
แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือด เพื่อหา HBsAg และHBsAb หากผลตรวจ เป็นลบ แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวฉีดวัคซีน
รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus แต่ค่า HbeAg เป็นลบ และ เอนไซม์ตับปกติ ไม่จําเป็นต้องรักษา
ทารกที่ติดเชื้อ Hepatitis B virus ควรได้รับการฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุด และฉีด HB vaccine ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด
การพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพให้สตรีตั้งครรภ์และทารกมีสุขภาพที่แข็งแรง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
สาเหตุ
ที่เกิดจากปรสิตคือToxoplasma gondii ซึ่งเป็นโปรโตซัวชนิดอาศัยในเซลล์ โดยติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์มีพาหะหลักคือ แมว
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่ม อาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจ อักเสบ
การประเมิน
การซักประวัติ ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค เช่น แมว เป็นต้น ประวัติมีอาการ อ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ
ตรวจร่างกาย อาจพบภาวะปอดบวม หัวใจอักเสบ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ทดสอบน้ําเหลืองดู titer IgG และ IgM ตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ําคร่ํา พบ IgA และ IgM
การรักษา
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้าง ไข่ดิบ นมสดที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์
รักษาด้วย Spiramycin จะ ช่วยลดการติดเชื้อในครรภ์ได้
การพยาบาล
ติดตามผลการตรวจเลือด รับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ระยะหลังคลอดเฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด การสังเกตอาการผิดปกติของทารก
ไวรัสซิกา(Zika)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อฟลาวิ ไวรัส (Flavivirus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนําโรค
อาการและอาการแสดง
มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อย ตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์ :
มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ อาการไข้ หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ตัวตาเหลือง ชา อัมพาตครึ่งซีก ปวด ศีรษะ ตาแดงและเยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ปวดตามร่างกาย ซีด บวม เลือดออกตามผิวหนัง และอาการทางระบบทางเดินหายใจ
ทารก
ความผิดปกติเกี่ยวกับ ระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
การประเมิน
การซักประวัติ ประวัติการสัมผัสผู้ป่วยในชุมชนที่มีประวัติการติด เชื้อไวรัสซิกา
ตรวจร่างกาย มีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ตัวเหลือง ซีด บวม ปลายมือปลายเท้า เลือดออกตามผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เลือด ปัสสาวะ น้ําลาย เทคนิคที่ ใช้ในการตรวจ ได้แก่ การตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) และการตรวจหาภูมิคุ้มกัน (IgM) ด้วยวิธี ELISA
ตรวจพิเศษ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการ รักษา และไม่ควรรับประทานยากลุ่ม NSAID
ฟังเสียงหัวใจทารก การวัดระดับยอดมดลูก ทํา NST การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
เน้นการรับประทาน อาหารที่มีโปรตีนและวิตามินสูง ในแม่ที่พ้นระยะการติดเชื้อสามารถให้เลี้ยงนมมารดาได้
การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะตั้งครรภ์ (COVID-19 Virus Infection during Pregnancy)
สาเหตุ
จากเชื้อไวรัสตระกูล Corona ชื่อ SARS-CoV-2 การติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือจาม อาการของโรคคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
:อาการและอาการแสดง
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศา เซลเซียสขึ้นไป
การประเมิน
การซักประวัติ ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง หายใจติดขัด อาจมีคัดจมูก มีน้ามูก เจ็บคอไอเป็นเลือด หรือท้องเสีย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ำ ค่า C-reactive proteinสูงขนึ้ เกลด็เลือดต่ําค่าเอนไซม์ตับและCreatinephosphokinaseสูง ตรวจหา Viral nucleic acid ด้วยวิธี Real-Time Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) จากสารคัดหลั่ง เช่น น้ําลายจากจมูกและลําคอ เสมหะ
ตรวจพิเศษ ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์ปอด หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอก พบมีปอดอักเสบ
การรักษา
1.สตรีตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ ยกเว้น มีอาการแพ้รุนแรง จากการฉีดครั้งแรก
ช่วงอายุครรภ์ที่แนะนําในการฉีดวัคซีน คือ หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
การพยาบาล
ระยะห่าง social distancing
เลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ
ล้างมือบ่อย ๆ
การพยาบาลในระยะคลอด ในผู้คลอดที่มีผลตรวจเป็นลบ ควรได้รับการทดสอบโควิด-19 ซ้ำอีกครั้งก่อนที่จะเลือกวิธีการคลอด