Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้คำปรึกษา เรื่อง การให้คำปรึกษาเหยื่อค้ามนุษย์, นางสาวภัชชญา โชชัญยะ…
การให้คำปรึกษา เรื่อง การให้คำปรึกษาเหยื่อค้ามนุษย์
ความรู้สึกที่มีต่อเรื่องราวที่ได้ฟัง
รู้สึกสงสารและเห็นใจที่นาอายุยังไม่เท่าไรก็ต้องถูกหลอกให้ไปขายบริการ
รู้สึกดีใจที่นาได้มาพบกับผู้ที่ให้คำปรึกษาที่ดี เข้าใจรับฟังปัญหาและพร้อมที่จะช่วยเหลือ
รู้สึกดีที่ยังมีคนที่ดี คนที่ทำให้อีกฝ่ายมีความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย พร้อมที่จะก้าวผ่านปัญหาของตนไปได้
ขั้นตอนการให้การปรึกษาที่เห็นในวิดิโอ
มี 5 ขั้นตอน
การทำความเข้าใจปัญหาปัญหา สาเหตุความต้องการ
การวางแผนแก้ปัญหา
การสำรวจปัญหา
การยุติการบริการ
การสร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ
ทักษะเทคนิคพื้นฐานในการให้คำปรึกษาที่เห็นในวิดีโอนี้
ทักษะการสรุปความ
การรวบรวมใจความสำคัญทั้งหมดของความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของผู้รับคำปรึกษาที่เกิดขึ้นในระหว่างให้คำปรึกษาหรือในแต่ละครั้ง โดยใช้คำพูดสั้นๆให้ได้ใจความสำคัญทั้งหมด
เช่น
" หนูนากังวลจนนอนไม่หลับไม่รู้จะทำอะไรดี ทุกสิ่งที่หนูพูดให้พี่ฟังทุกคนย่อมประสบปัญหาเมื่อมีความรู้สึกกังวลมากๆ มาช่วยกันคิดดีกว่าว่าอยู่ที่นี่ จะทำวิธีไหนให้คลายกังวลไปได้ "
ทักษะการให้ข้อมูล
เป็นการสื่อสารทางวาจาเกี่ยวกับข้อมูลหรือลายละเอียดต่างๆที่จำเป็นแก่ผู้รับคำปรึกษา เป็นการชี้แนะแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้รับคำปรึกษา
เช่น
" ถ้าหนูกังวลเรื่องเกี่ยวกับงานหรือยังมีความกลัวอยู่ ในวันที่ 9 เดือนหน้าจะได้กลับบ้านแล้วนะ จะมีเจ้าหน้าที่ไปส่งที่ศูนย์สงเคราะห์และยังไปส่งถึงบ้านด้วยปลอดภัยแน่นอน ดังนั้นไม่ต้องกังวลไปนะ"
ทักษะการเงียบ
การเงียบเป็นช่วงระยะเวลาระหว่างการปรึกษาที่ไม่มีการสื่อสารด้วยวาจาระหว่างผู้ให้กับผู้รับคำปรึกษา แต่ยังคงมีการสื่อสารทางอารมณ์และความรู้สึก
เช่น
" หนูนาลองเล่าเรื่องพ่อแม่และครอบครัวให้พี่ฟังบ้างสิคะ "
ทักษะการพิจารณาทางเลือก
กระบวนการเลือกทางใดทางหนึ่งจากหลายๆทางเลือกที่ได้พิจารณาหรือประเมินอย่างดีแล้วว่าเป็นทางให้บรรลุ
เช่น
" หนูนาคิดว่าการมาทำงานที่เมืองไทยมีผลดีอย่างไรและอยู่ที่ลาวเป็นอย่างไร "
ทักษะการสะท้อนความรู้สึก
การมุ่งเน้นที่จะทำให้ความรู้สึกของผู้รับคำปรึกษามีความเด่นชัดมากกว่าเนื้อหา เพื่อให้ผู้ที่มารับการปรึกษาตระหนักรู้ถึงความรู้สึกที่ยังไม่ชัดเจนมากขึ้น
เช่น
" เหมือนหนูนามีความกังวลใจอยู่นะ พูดออกมาได้เลย"
ทักษะการถอดความ
เขียนถึงความคิดของผู้อื่นโดยใช้ถ้อยคำของตนเองแต่พูดให้น้อยลง
เช่น
" ถ้าหนูนามาทำงานที่เมืองไทยจะเจอคนที่ดีและได้เที่ยว คิดว่ามีผลอย่างไร"
ทักษะการให้กำลังใจ
การใช้คำพูดและการกระทำ เพื่อลดและผ่อนคลายความทุกข์ใจ ความเดือดร้อนใจ ความรู้สึกเจ็บปวด ชอกช้ำเพื่อให้ผู้รับการปรึกษา มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต
เช่น
" พี่ดูจากความตั้งใจจริงของหนูนาและการที่หนูนาขยัน มีฝีมือในการทอผ้า พี่คิดว่าหนูนาสามารถทำได้ดีเลย"
ความแตกต่างระหว่างผู้ให้คำปรึกษาคนที่ 1 และ 2
ผู้ให้คำปรึกษาคนที่ 1
ไม่สามารถทำให้หนูนากล้าที่จะระบายสิ่งที่ยังอัดอั้นอยู่ในใจได้
การพูดไม่สามารถเข้าไปได้ถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของหนูหนาได้
ผู้ให้คำปรึกษาคนที่ 2
มีหลักการพูดโน้มน้าวใจที่สามารถเข้าถึงชีวิตที่แท้จริงได้
มีการพูดที่ทำให้หนูนาสบายใจและไว้ใจจนระบายสิ่งที่อัดอั้นใจออกมาได้
มีการพูดให้กำลังใจและทำให้ผู้ที่รับฟังมีกำลังใจ
มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดี สร้างความมั่นใจให้กับอีกฝ่ายเผชิญกับปัญหาจนสามารถผ่านไปได้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ การปรึกษาคนที่ 2 แตกต่างจากคนที่ 1 อย่างไร
มีวิธีการปรับเปลี่ยน โน้มน้าวเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกและปฏิบัติตนเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ต่อจากนี้ดีขึ้น
ผู้ที่รับคำปรึกษามีความรู้สึกคลายความกังวล ลดความประหม่าและมีความรู้สึกอบอุ่นใจจนเริ่มเปิดใจพูดถึงปัญหาของตน
เกิดความสบายใจ ไว้วางใจและระบายความรู้สึกที่อัดอั้นออกมาได้
การที่ผู้ให้คำปรึกษาคนที่ 2 สามารถช่วยเหลือผู้รับบริการได้สำเร็จเกิดจากปัจจัยสนับสนุน
ด้านการมีบุคลิกภาพที่ดี
มีการสื่อสารด้วยวาจาและกิริยาท่าทางที่เกิดจากสัมพันธภาพที่ดี
ด้านการมีจิตใจกว้างไกล มองโลกอย่างกว้างขวางและเข้าใจได้เป็นอย่างดี
ด้านการรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่นได้และสามารถร่วมทุกข์สุขกับผู้ที่มารับคำปรึกษาได้
นางสาวภัชชญา โชชัญยะ ปี 2 เลขที่ 52 รหัสนักศึกษา 64126301053