Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบทางเดินปัสสาวะ และ ระบบสืบพันธ์ุ - Coggle Diagram
ระบบทางเดินปัสสาวะ และ ระบบสืบพันธ์ุ
โรคทางเดินปัสสาวะ
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน
(Acute glomerulonephritis / AGN)
สาเหตุ: มักเกิดหลังการติดเชื้อแบคที่เรีย Group A beta-hemolytic streptococcusเช่น ทอนชิลอักเสบ แผลพุพอง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นลึกอักเสบ ไฟลามทุ่ง ประมาณ 1-4 สัปดาห์
อาการ: ปัสสาวะเป็นสีแดงเหมือนน้ำล้างเนื้อ จำนวนปัสสาวะ มักออกน้อยกว่าปกติ อาจพบอาการบวมที่หน้า หนังตา เท้า และท้อง มักมีปวดศีรษะ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
โรคไตเนโฟรติก (Nephrotic syndrome)
สาเหตุ:ความผิดปกติของหน่วยไตที่ทำหน้าที่กรองปัสสาวะมีการสูญเสียโปรตีนทางปัสสาวะ ทำให้มีระดับโปรตีนในเลือดต่ำ จึงเกิดอาการบวมทั้งตัว ส่วนมากไม่ทราบสาเหตุของความผิดปกติอย่างแน่ชัด
าการ: บวมทั่วตัว (หน้า หนังตา ท้อง และเท้าทั้ง 2 ข้าง) มักจะค่อยๆ เกิดเพิ่มทีละน้อย อาจสังเกตเห็นหนังตาบวมชัดเจนเวลาตื่นนอน
กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis)
อาการ: ปวดบริเวณสีข้างฉับพลัน โดยจะปวดมากที่ข้างใดข้างหนึ่ง และอาจปวดร้าวลงมาที่ขาหนีบ พร้อมกับมีไข้สูง หนาวสั่นมากเป็นพัก อาจมีปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ขัดเบาร่วมด้วย ปัสสาวะมักมีลักษณะขุ่น บางครั้งอาจเป็นหนอง
กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยเป็น เชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ได้แก่ อีโคไล เคล็บชิลลา สูโดโมแนส มักเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากผิวหนังรอบ ๆ ท่อปัสสาวะ เข้ามาในท่อปัสสาวะสู่กระเพาะปัสสาวะและผ่านท่อไตขึ้นมาที่ไต
• กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis) จะแสดงอาการชัดเจน และรุนแรง รักษาหายภายใน2-3 สัปดาห์
• กรวยไตอักเสบเรื้อรัง Chronic Pyelonephritis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไตจากการอุดกั้นหรือความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ไม่แสดงอาการ นอกจากตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย และเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ ผู้ป่วยมักจะมีการอักเสบของกรวยไตเป็นระยะเวลานาน ทำให้เซลล์ของไตถูกทำลาย
ภาวะไตวาย (Renal failure)
เกิดผลกระทบต่อภาวะสมดุลของอิเล็กโทรไลต์และความเป็นกรดด่างในเลือด การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้นำไปสู่อาการผิดปกติของอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย
แบ่งเป็น 2 ชนิด
ไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure)
สาเหตุ: โรคไตโดยตรง หรือภาวะผิดปกตินอกไต ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต ได้แก่ ภาวะช็อค การติดเชื้อรุนแรง การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
ไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure หรือ Chronic Kidney disease)
สาเหตุ: ภาวะแทรกช้อนของเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่ขาดการรักษาอย่างจริงจังและอาจเกิดจากโรคไตเรื้อรัง โรคไตเนโฟรดิก นิ่วไต โรคตเป็นถุงน้ำมาแต่กำเนิด นอกจากนี้อาจเกิดจากโรคเกาต์ เอสแอลอี
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis )
สาเหตุ การติดเชื้อแบคทีเรียเช่น E.coli,Klebsiella,Pseudomonas,Enterobacter เป็นต้น เชื้อโรคเหล่านี้มีมากบริเวณทวารหนัก แล้วปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ
อาการ ปัสสาวะบ่อย แต่ครั้งละน้อยๆ มีอาการคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุด รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย ปวดแสบ ขัด ขณะปัสสาวะโดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด ปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ ในรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะมีเลือดปน
นิ่วในไต (Kidney Stones)
สาเหตุของนิ่วในไตนิ่วในไตอาจเกิดขึ้นได้จากปริมาณของเกลือ แร่ธาตุ และสสารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม กรดออกซาลิกและกรดยูริกในปัสสาวะที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีปริมาณมากเกินกว่าของเหลวในปัสสาวะจะละลายหรือทำให้เข้มข้นน้อยลงจนเกิดการเกาะตัวเป็นก้อนนิ่ว
จะมีอาการปวดร้าวไปที่หลัง และต้นขาด้านใน (ปวดไปที่อัณฑะหรือช่องคลอดข้างเดียวกับท้องน้อยที่ปวด) ผู้ป่วยมักจะปวดจนดิ้นไปมาหรือใช้มือกดไว้จะรู้สึกดีขึ้น บางรายอาจปวดมากจนมีอาการเหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น ใจหวิว คลื่นไส้ อาเจียน
กลุ่มอาการทางระบบสืบพันธ์ุ
อุ้งเชิงกรานอักเสบ
(Pelvic inflammatory disease/PID
สาเหตุ การติดเชื้อแบคทีเรียการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ และเยื่อบุช่องท้องภายในอุ้งเชิงกราน
อาการ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้องน้อย ตกขาวออกเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็น อาจมีอาการปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีประจำเดือนออกมาก และมีกลิ่นเหม็นในรายที่เกิดจากการติดเชื้อหนองใน อาจมีอาการขัดเบา ปัสสาวะปวดแสบขัดร่วมด้วย
ช่องคลอดอักเสบ
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อทริโคโมแนส
(Trichomonas vaginalis)
อาการ
อาการที่พบในเพศชาย รู้สึกแสบเมื่อปัสสาวะ (Urinate) หรือหลั่งน้ำอสุจิ (Ejaculate) ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ มีสารคัดหลั่งสีขาวบาง ๆ ไหลออกมาจากอวัยวะเพศ รอบ ๆ อวัยวะเพศมีอาการบวมแดงหรือเกิดการอักเสบ (Balanitis)
อาการที่พบในเพศหญิง ตกขาวผิดปกติ มีลักษณะเหนียว มีฟอง และมีสีเหลืองหรือเขียว (Yellowish or greenish discharge)ตกขาวมีปริมาณมากกว่าปกติ และมีกลิ่นเหม็นคาวปลา (Fishy smell)พบจุดเลือดบริเวณปากมดลูก (Strawberry cervix)รู้สึกเจ็บ (Soreness) และ คัน (Itchy) บริเวณช่องคลอด ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ รู้สึกแสบเมื่อปัสสาวะ หรือเมื่อมีเพศสัมพันธ์ (Sexual intercourse)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ชื่อว่า Trichomonas vaginalis
ติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้ ระยะเวลาติดต่อ หลังจากติดเชื้อ 5-28 วัน
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา
(Vaginal candidiasis)
สาเหตุ เชื้อราที่ชื่อว่า Candida albicans มีการเพิ่มจำนวนเชื้อรามากกว่าปกติมาจากหลายสาเหตุ เช่น ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน HIV
อาการ คันอย่างรุนแรงและระคายเคืองที่ปากช่องคลอดหรือภายในช่องคลอด มีอาการแสบร้อนโดยเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์หรือการปัสสาวะมีตกขาวผิดปกติอาจมีลักษณะสีขาวข้นคล้ายนมบูดหรือขาวข้นจับตัวเป็นก้อน
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
(Bacterial Vaginosis)
สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Bacterial Vaginosis เกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด
อาการ มีตกขาวผิดปกติ อาจมีระคายเคืองบริเวณช่องคลอด แสบร้อนในขณะปัสสาวะ
ปวดประจำเดือน
(Dysmenorrhea)
Primary Dysmenorrhe
พบช่วงอายุ 15-25 ปี เริ่มมีอาการตั้งแต่มีประจำเดือนครั้งแรกหรือภายใน 3 ปีหลังมีประจำเดือนครั้งแรกเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป
Secondary Dysmenorrhe
มีอาการปวดครั้งแรกเมื่อมีอายุ 25 ปีขึ้นไป ไม่เคยปวดมาก่อนมักมีความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เนื้องอกมดลูก ปีกมดลูกอักเสบ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นต้น
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(Sexually transmitted disorders)
ซิฟิลิส (Syphilis)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Polidum
ระยะที่ 1 เป็นแผล หลังจากติดเชื้อประมาณ 10-90 วัน จะมีตุ่มเล็ก ๆ เท่าหัวเข็มหมุดเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ
ระยะที่ 2 เข้าข้อ ออกดอก พบหลังระยะแรกประมาณ 4-8 สัปดาห์
ระยะที่ 3 ระยะทำลาย เชื้ออาจเข้าสู่สมองและไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาต บ้านหมุน เดินเซ ซัก ความจำเสื่อม ตามัว ตาบอด หูตึง
ฝืมะม่วง
(Lymphogranuloma Venereum : LGV)
อาการ
อาการระยะแรก ช่วง 3-30 วันแรกของการติดเชื้อ มีตุ่มนูนเล็ก ๆ หรือแผลถลอก บริเวณปลายอวัยวะเพศชาย อวัยวะเพศหญิงด้านนอก และริมฝีปาก (Oral sex) ปัสสาวะแสบขัด
ระยะที่ 2 หลังจาก 2-3 สัปดาห์จากระยะแรก ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบบวม แดง ใหญ่เป็นก้อน กลายเป็นฝีมะม่วง อาจจะมีหนองแตกออกสู่ผิวหนังด้านนอก
ระยะที่ 3 มักพบในผู้หญิง หรือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ระยะนี้เป็นผลต่อเนื่องจากระยะที่ 2 ที่ไม่ได้รับการรักษาลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงมีการอักเสบ มีมูกเลือดปนกับหนองไหลออกทางรูทวารหนัก ร่วมกับอาการคัน ท้องผูก
สาเหตุจากเชื้อ Chlamydia trachomatis bacterium เมื่อเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ผิวหนัง จะเกิดแผลที่อวัยวะเพศและทวารหนัก
หนองในเทียม
(Non-gonococcal urethritis/ NGU)
เชื้อที่เป็นสาเหตุมีได้หลายชนิดอาจเป็นเชื้อแบคที่เรีย เชื้อไวรัส เชื้อโปรโตซัว หรือเชื้อราก็ได้ ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคนี้ยังไม่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุแน่ซัด
ผู้ชาย อาการมักเกิดหลังติดเชื้อประมาณ 1-4 สัปดาห์โดยมีอาการแสบที่ปลายท่อปัสสาวะ ปัสสาวะขัดและมีหนองไหล ซึ่งลักษณะเป็นมูกใสหรือมูกขุ่น ๆไม่เป็นหนองข้นแบบหนองในและออกซึมเพียงเล็กน้อยไม่ออกมากแบบหนองใน
ผู้หญิง ส่วนมากมักไม่มีอาการแสดง ส่วนน้อยอาจมีอาการตกขาวอาจทำให้มดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ เป็นหมัน
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
สาเหตุ การติดเชื้อไวรัส HPV 6,11 ระยะฟักตัว 3 สัปดาห์ - 8 เดือน
เป็นติ่งเนื้อสีชมพูหรือขาว ผิวขรุขระเป็นหยักคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำบริเวณที่พบส่วนมากจะเป็นบริเวณปากช่องคลอด รองลงมาคือที่แคมคลิตอริส รอบทวารหนัก ผนังช่องคลอด และปากมดลูก ผู้ชายมักเป็นที่ด้านในของหนังหุ้มปลายองคชาติ ผู้ชายรักเพศเดียวกันพบ
รอบทวารหนัก
หนองในแท้
(Gonorrhea)
สาเหตุเชื้อ Neisseria gonorrhoeae เกิดโรคเฉพาะเยื่อเมือก Mucous Membrane ระยะฟักตัว คือประมาณ 2-10 วัน
ผู้ชาย แสบในลำกล้องเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะขัด มีหนองไหลออกท่อปัสสาวะ ต่อมาหนองข้น และออกมากคล้ายเส้นก๋วยเตี๋ยว
ผู้หญิง ตกขาวเป็นหนองสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น แสบร้อนเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น
โรคต่อมลูกหมากโต
(Benign Prostatic Hyperplasia / BPH )
สาเหตุ ยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่แน่ชัด อาจสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย พบในผู้สูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
อาการ ปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะทันที ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยดๆ รู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืน มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ