Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ, C5AAF816-5F82-426C-A9A4-447DC5ED660A,…
หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ
-
มารยาทชาวพุทธ
มารยาทชาวพุทธ เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผน ในการประพฤติปฏิบัติ ซึ้งเป็นแนวปฎิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคม สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างดี โดยเฉพาะมารยาทชาวพุทธที่หล่อหลอมมาจาก หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เป็นกริยาวาจาที่บุคคลในสังคมพึงปฎิบัติต่อกัน
มารยาทในการแต่งกาย
- ความสะอาด ต้องเอาใส่เป็นพิเศษโดยเริ่มต้นด้วยเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า เครื่องประดับ กระเป๋าถือ ต้องสะอาดหมด ใช้เครื่องสำอางค์แต่พอควรและร่างกาย ก็ต้องสะอาดทุกส่วนตั้งแต่ ผม ปาก ฟัน หน้าตา มือ แขน ลำตัว ขาและเท้าตลอดจนถึงเล็บ รวมไปถึงกลิ่นตัวที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต้องอาบน้ำฟอกสบู่ให้หมดกลิ่นตัว ถ้าทำได้ทุกส่วน ก็ถือว่าสะอาด
- ความสุภาพเรียบร้อย คือ เครื่องแต่งกายนั้นต้องอยู่ในลักษณะสุภาพเรียบร้อย ไม่รุ่มร่ามหรือรัดตัวจนเกินไป ไม่ใช้สีฉูดฉาด ควรแต่งให้เข้ากับสังคมนั้น ความสุภาพเรียบร้อยนั้นรวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องประดับและการแต่งหน้าแต่งผมด้วย
- ความถูกต้องกาลเทศะ การแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้มีมารยาทดีย่อมต้องเอาใจใส่ เพราะการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ หมายถึง การเลือกแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมกับเวลายุคสมัยนิยมและสถานที่
มารยาทในการยืน
- การยืนตามลำพัง
การยืนตามลำพังจะยืนแบบใดก็ได้แต่ควรจะอยู่ในลักษณะสุภาพ สบายโดยมีส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อยหรืออยู่ในท่าพัก ปล่อยแขนแนบลำตัว ไม่หันหน้าหรือแกว่งแขนไปมา จะยืนเอียงได้บ้างแต่ควรอยู่ในท่าที่สง่า
- การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่
การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรยืนตรงหน้าผู้ใหญ่ ควรยืนเฉียงไปทางใดทางหนี่ง
2.1 ยืนตรง ขาชิด ส้นเท้าชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือสองข้างแนบลำตัวหรือประสานกันไว้เบื้องหน้าใต้เข็มขัดลงไป ท่าทางสำรวม
2.2 ยืนตรงค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อย มือประสานไว้ข้างหน้า ท่าทางสำรวมการประสานมือ ทำได้ 2 วิธี คือ คว่ำมือซ้อนกัน จะเป็นมือไหนทับมือไหนก็ได้หรือหงายมือทั้งสอง สอดนิ้วเข้าระหว่างร่องนิ้วของแต่ละมือ การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่จะใช้จนถึงการยืนเฉพาะหน้าที่ประทับ การค้อมตัวจะมากน้อยย่อมสุดแล้วแต่ผู้ใหญ่ ถ้ามีอาวุโสหรือเป็นที่เคารพสูง ก็ค้อมตัวมาก
มารยาทในการเดิน
- การเดินตามลำพัง
ควรเดินอย่างสุภาพ ไหล่ตั้ง หลังตรง ช่วงเท้าไม่ยาวหรือสั้นเกินไปแกว่งแขนพองาม สตรีควรระมัดระวังสะโพกให้อยู่ในลักษณะที่เป็นไปโดยธรรมชาติ
- การเดินกับผู้ใหญ่
ควรเดินเยื้องไปทางซ้ายหลังผู้ใหญ่ ห่างกันพอประมาณตามสภาพของสถานที่แต่ให้อยู่ในลักษณะนอบน้อม
3.การเดินผ่านผู้ใหญ่ ในกรณีที่ผู้ใหญ่ยืนอยู่ ให้เดินค้อมหัวผ่านมากน้อยตามอาวุโส ถ้าผู้ใหญ่ทักทาย ให้หยุดยืนน้อมกายลงพูดด้วย เมื่อจบแล้วให้ไหว้ครั้งหนี่งแล้วน้อมตัวเดินผ่านไป
ถ้าผู้ใหญ่นั่งพื้นหรือนั่งเก้าอี้ให้เดินเข่าผ่าน เมื่อผู้ใหญ่ทักทายให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าพูดด้วย เมื่อจบแล้วให้กราบ 1 ครั้ง แล้วเดินเข่าผ่านไป
มารยาทในการนั่ง
- การนั่งเก้าอี้ ควรนั่งตัวตรงหลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าชิด เข่าชิด มือวางบนหน้าขาหรือพาดบนที่เท้าแขนเก้าอี้ก็ได้ไม่ควรโยกเก้าอี้ไปมา ผู้หญิงควรระมัดระวังเครื่องแต่งกายไม่ให้ประเจิดประเจ้อ
- การนั่งกับพื้น ควรนั่งพับเพียบในลักษณะสุภาพ ผู้หญิงถ้าเท้าแขนก็อย่าเอาท้องแขนออกข้างหน้า ผู้ชายไม่ควรนั่งเท้าแขน
มารยาทในการไหว้
การไหว้3 คือ อริยาบถที่มือทั้งสองข้างประนมนิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจดกันไม่เอาปลายนิ้วออกจากกัน การไหว้มีหลายแบบ คือ
- การไหว้พระสงฆ์ เมื่อพนมมือแล้ว ให้ยกมือที่พนมขึ้นจรดหน้าผาก ให้ปลายหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้วค้อมศีรษะ ลงให้ปลายนิ้วจรดต้นผม แนบมือให้ชิดหน้าผาก ค้อมตัวให้มาก ผู้ชายให้ยืนส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ผู้หญิงให้ก้าวขาขวาออกไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วย่อตัวไหว้
- การไหว้บิดามารดา ครูอาจารย์และญาติผู้ใหญ่4 ให้พนมมือยกขึ้นจนนิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ผู้ชายค้อมตัวลงเล็กน้อย ผู้หญิงก้าวขาขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วย่อตัวลงแต่พองาม
- การไหว้ผู้ที่เคารพนับถือทั่วไป ให้พนมมือเอาปลายนิ้วแม่มือจรดปลายคาง นิ้วชี้จรดปลายจมูกก้มหน้าเล็กน้อยพองาม
- การรับไหว้ ให้พนมมือยกขึ้นมาอยู่ที่ระดับอก ปลายนิ้วอยู่ระหว่างปลายคางก้มหน้าเล็กน้อย
มารยาทในการกราบ
- การกราบบุคคล การกราบเริ่มจากการนั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า ค้อมตัวลงหมอบให้เข่าข้างหนึ่งอยู่ระหว่างแขนทั้งสองข้าง วางแขนทั้งสองกราบลงกับพื้นตลอดครึ่งแขนจากศอกถึงมือ พนมมือวางลงกับพื้นแล้วก้มศีรษะลงให้หน้าผากแตะสันมือทำครั้งเดียวไม่แบมือ แล้วทรงตัวขึ้นนั่ง
- การกราบพระพุทธรูป พระสงฆ์การกราบพระพุทธรูปและพระสงฆ์ เรียกว่า การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งประกอบด้วยเข่าทั้งสอง ศอกทั้งสองและหน้าผากหนึ่งรวมเป็นห้าโดยมีลำดับขั้นการปฏิบัติ
มารยาทในการใช้กิริยาวาจา
กิริยาวาจา คือ การแสดงออกของวาจาที่สมบูรณ์ วัฒนธรรมไทยนิยมให้คนสงบเสงี่ยมทั้งกิริยาและวาจาจะโกรธจะเกลียด จะรักท่านไม่ให้แสดงออกนอกหน้า ดังนั้นการแสดงซึ่งกิริยาวาจา ต้องได้รับการควบคุม จึงจะสื่อความหมายตามความประสงค์ของผู้แสดงได้ดี ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ ที่ใช้กับบุคคลที่สูงกว่าตนก็ใช้อย่างหนึ่ง ใช้กับบุคคลเท่ากันหรือต่ำกว่าใช้อีกอย่าง หนี่ง ความยากอยู่ตรงที่การประเมินว่าใครสูงใครต่ำกว่าตน
- การทักทาย มักนิยมกล่าวคำว่า สวัสดี พร้อมกับไหว้ ซึ่งเป็นการทักทายที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย6
- การไปพบผู้ใหญ่ ควรจะขออนุญาตเข้าพบ เมื่อพบแล้วก็ทักทายด้วยกิริยาวาจาพินอบพิเทา สุภาพใช้คำแทนตัวเองและผู้ใหญ่ให้เหมาะสม เช่น ผม กระผม ดิฉัน ท่าน คุณ แล้วใช้คำรับให้เหมาะสมด้วย เช่น ครับ ค่ะ
- การปฏิบัติตัวในสถานที่ทำงาน การใช้กิริยาวาจาจะมีผลต่อความรู้รักสามัคคี การใช้วาจาสุภาพ มิใช่แค่ใช้ถ้อยคำในภาษาให้ถูกต้องเท่านั้น แต่ต้องมีน้ำเสียงที่น่าฟัง อ่อนโยน มีลีลาจังหวะในการใช้ภาษา มีคำลงท้ายที่แสดงความนับถือ รักษาน้ำใจผู้อื่น ไม่ควรพูดซุบซิบนินทาเพราะจะทำให้แตกความสามัคคีได้
- การปฏิบัติตนในที่ประชุม ควรใช้กิริยาวาจาที่สุภาพใช้คำพูดถูกต้องตามหลักภาษาไทยไม่เยิ่นเย้อวกวน ไม่ส่งเสียงตะโกน ไม่พูดอวดเก่ง ไม่พูดอย่างเหน็บแนม ไม่พูดคุยกันเอง ถ้าเป็นผู้แสดงความคิดเห็นก็ควรพูดให้ตรงประเด็นรักษาเวลา เคารพกติกาของที่ประชุมนั้น ๆ
-
-
-
-
-