Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การออกแบบและเทคโนโลยี - Coggle Diagram
การออกแบบและเทคโนโลยี
บทที่4 วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน
วัสดุมีอยู่หลายประเภท ทั้งจากธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้นหรือที่เรียกว่า "วัสดุสังเคราะห์"วัสดุบางประเภทอาจนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่มีการแปรรูป หรือมีการแปรรูปให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานโดยกระบวนการในการแปรรูปจะแตกต่างกันตามเหมาะสมของสมบัติวัสดุ และความต้องการในการใช้งาน ในอดีตวัสดุประเภทต่างๆ ยังมีไม่มาก มนุษย์จึงใช้วัสุดที่มาจากธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ทราย เขาสัตว์ หนังสัตว์ ใบไม้ นำมาสร้างเป็นสิ่งของเครื่องใช้ ต่อมาได้มีการนำวัสดุมาพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น โลหะ ไม้ เซรามิก คอมโพสิต และวัสดุใหม่
ในการสร้างชิ้นงานตามแบบร่างที่ออกแบบไว้ใหเมีความถูกต้องทั้งรูปร่าง มาตราส่วน และมีความสวยงามนั้น นอกจากจะต้องเลือกวัสดุที่เหมาะสมแล้ว จะต้องเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับชนิดของงานและวัสดุด้วย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและได้ชิ้นงานตามต้องการเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเครื่องมือพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องมือสำหรับการวัดขนาด เครื่องมือสำหรับการตัด และเครื่องมือสำหรับการเจาะ
บทที่5 กลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
การสร้างและการพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้ที่มีกลไกและการควบคุมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ทั่วไป ให้มีลักษณะรูปแบบที่น่าสนใจ มีคุณค่า มี
ประโยชน์ และมีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ ้น โดยไม่ต้องใช้แรงงานจากคน หรือใช้แรงงานจาก
คนเพียงส่วนหนึ่ง เช่น แต่เดิมการซักผ้าด้วยมือท าได้โดยใช้แปรงซักผ้าเป็นตัวช่วยขจัดคราบ เป็นการใช้
แรงงานแทนคน ต่อมาพัฒนามาเป็นเครื่องซักผ้าแบบกึ่งอัตโนมัติมี 2 ถัง ซึ่งต้องใช้แรงงานคนในการยก
ผ้าเปลี่ยนจากถังซักมายังถังปั่นแห้ง แต่ก็ช่วยผ่อนแรงในการซักและขยี ้ผ้าได้ จนกระทั่งพัฒนามาเป็น
เครื่องซักผ้าอัตโนมัติถังเดี่ยว ซึ่งควบคุมการท างานโดยใช้ระบบสัมผัส ที่สามารถซักผ้าและปั่นแห้งได้
เพียงแค่ตั ้งโปรแกรม โดยมีกลไกและการควบคุมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง
ท าให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบาย ประหยัดเวลา และประหยัดแรงงานในการท างาน
บทที่6 กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา (Problem Identification) เป็นขั้นตอนที่ผู้แก้ปัญหาทำความเข้าใจในสิ่งที่เป็นปัญหาในชีวิตประจำวันที่พบเจอ ซึ่งสามารถใช้ทักษะการตั้งคำถามด้วยหลัก 5W 1H เมื่อเกิดสถานการณ์ปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งคำถามจากหลัก 5W1H ประกอบด้วยWho เป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการ
นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการ และแนวทางการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการตามที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 1 เพื่อหาวิธีการที่หลากหลายสำหรับใช้ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยการค้นหาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น สอบถามจากผู้รู้ สืบค้นหรือสำรวจจากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งการค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้จะเป็นการศึกษาองค์รู้จากทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวมทั้งศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์และสรุปเป็นสารสนเทศและวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอาจมีได้มากกว่า 1 วิธี จากนั้นจึงพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการ ในประเด็นต่างๆ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องและการนาไปใช้ได้จริงของวิธีการแต่ละวิธี ดังนั้นวิธีการที่จะถูกพิจารณาคัดเลือกจะอยู่ภายใต้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก
ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design) เป็นขั้นตอนของการออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการโดยการประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมในขั้นที่ 2 ซึ่งขั้นตอนนี้จะช่วยสื่อสารแนวคิดของการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจโดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การร่างภาพ การอธิบาย เป็นต้น
ขั้นที่ 4 วางแผนและดาเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development) เป็นขั้นตอนของการวางลำดับขั้นตอนของการสร้างช้นงานหรือวิธีการ จากนั้นจึงลงมือสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อที่จะนาผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่ 5 ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and Design Improvement) เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบและประเมินชิ้นงานวิธีการที่สร้างขึ้นว่า สามารถทางานหรือใช้ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร และควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจาลองวิธีการใน ส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดาเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้นจนได้ชิ้นงานวิธีการที่สอดคล้องตามรูปแบบที่ออกแบบไว้
ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Presentation) เป็นขั้นตอนของการคิดวิธีการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชิ้นงานหรือวิธีการที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ
บทที่ 1 เทคโนโลยีที่ซับซ้อน
ระบบทางเทคโนโลยีเป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ ซึ่งเป็นการนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร หรือ องค์ความรู้นามธรรม เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกขึ้น
บทที่2 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
คือ
เทคโนโลยีมีการเปลียนแปลงตลอดเวลา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสาเหตุหรือปัจจัยมาจากหลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ เศรษฐกิจ สังคม
สาเหตุหรือปัจจัยของการเปลี่ยนทางเทคโนโลยี มี 5 ปัจจัย ดังนี้
แก้ปัญหาสนองความต้องการและเพิ่มความสามารถของมนุษย์
ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะวิทยาศตร์และคณิตศาสตร์
เศรษฐกิจหรือฐานะทางการเงิน
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
สังคมและวัฒนธรรมความนิยมแพร่หลาย
บทที่ 3 ผลกระทบของเทคโนโลยี
ผลกระทบ
ผลกระทบด้านบวก
การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน โรงเรียนมากขึ้น
ผลกระทบด้านลบ
ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใด มักจะชอบทำแบบนั้น ไม่ชอบการ เปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงเกิดความวิตกกังวล จนกลาย เป็นความเครียด กลัวว่าคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์
ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือการแลกเปลี่ยนวัฒนรรมของคนในสังคมโลก ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกด้านการแต่งกาย และการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็คทรอนิคส์ ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้น
ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้า และเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป