Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ - Coggle Diagram
โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
HIV
HIV-1
ติดต่อง่ายกว่า
พบได้มาก
ระยะปรากฏอาการของโรคสั้นกว่า HIV2
HIV-2
ติดต่อยากกว่า
ระยะปรากฏอาการของโรคนานกว่า
พบได้ใน West Africa
การแพร่กระจายเชื้อ
ทางเพศสัมพันธ์ โดยติดต่อจากสิ่งคัดหลั่งในช่องทางคลอด น้ำเชื้อของชาย
ความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
ลักษณะของการร่วมเพศ พบว่าการร่วมเพศระหว่างชายกับชายมีโอกาสติดเชื้อเอดส์ได้มากกว่าการร่วม เพศระหว่างชายกับหญิง
การเป็นแผลของอวัยวะเพศ ทำให้เชื้อสามารถผ่านแผลเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น
ขณะมีประจำเดือน หากมีการร่วมเพศทำให้มีการติดเชื้อเข้าโพรงมดลูกง่าย
ทางกระแสเลือด
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
มารดาสู่ทารกโดยได้รับเชื้อในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
การแบ่งระยะของโรคเอดส์
ระยะของโรคเอดส์พิจารณาจากจำนวน CD4
ระยะที่ 1 ค่า CD4 มากกว่า 500 cels/uL
ระยะที่ 2 ค่า CD4 ระหว่าง 200 – 499 cells/uL
ระยะที่ 3 ค่า CD4 น้อยกว่า 200 cells/uL
2.ระยะของโรคเอดส์ที่พิจารณาจากอาการทางคลินิก
ระยะ A อาการอย่างน้อย 1 อย่างจาก 3 อย่างดังนี้
ไม่มีอาการของการติดเชื้อเอดส์
มีอาการของต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว
มีประวัติของการติดเชื้อเอดส์ชนิดเฉียบพลันมาก่อน
ระยะ B มีการติดเชื้อฉวยโอกาส
มีการติดเชื้อ Bacteria
มีการติดเชื้อราที่ปากและช่องคลอด
มีการเสื่อมของเยื่อบุปากมดลูกชนิดปานกลางและรุนแรง(moderate and severe dysplasia) หรือเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะยังไม่ลุกลาม (carcinomainsitu)
มีไข้
งูสวัด (Herpes Zoster)
จ้ำเลือดตามตัว (Idiopathic thrombocytopenic purpura)
อุ้งเชิงกรานอักเสบ (pelvic inflammatory disease)
มีการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Listeria (listeriosis) ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจส่วนต้น โลหิต เป็นพิษ
ระยะ C ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์และมีภาวะหรือโรค
Candidiasis บริเวณหลอดลมหรือปอด
มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม
Cryptococcosis บริเวณเยื่อหุ้มปอดภายนอก
การติดเชื้อ Cytomegalovirus ที่บริเวณนอกเหนือจากตับ ม้าม หรือต่อมน้ำเหลือง
Herpes Simplex ที่เป็นเรื้อรังนานกว่า 1 เดือน
มะเร็งของผิวหนัง (Kaposi sarcoma)
มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
วัณโรคปอดจากเชื้อ mycobacterium tuberculosis
น้ำหนักลด
ผลของการติดเชื้อเอดส์ต่อการตั้งครรภ์
ด้านทารก
การแท้ง
ทารกคลอดก่อนกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
ทารกตายในครรภ์
มีใบหน้าลักษณะผิดปกติ หน้าผากคล้ายกล่อง ศีรษะเล็ก จมูกแบน ตาเฉียง
ด้านมารดา
ทำให้ภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น ทุพโภชนาการ
มดลูกอักเสบภายหลังคลอด
กลไกการติดเชื้อเอดส์จากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อเอดส์ระหว่างอยู่ในครรภ์มารดาโดยเชื้อสามารถถ่ายทอดผ่านรกได้ไปสู่ทารกในครรภ์
การติดเชื้อเอดส์ระหว่างคลอดทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของมารดา อาทิเช่น เลือด น้ำคร่ำซึ่งพบร้อยละ
50 - 60
การติดเชื้อเอดส์ภายหลังคลอดทารกจะติดเชื้อเอดส์ได้จากสารคัดหลั่งของมารดา แต่ส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อเอดส์จากน้ำนม มารดาร้อยละ 10 – 20
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติเป็นหญิงขายบริการ สามีเป็น Bisexual เคยได้รับเลือด
การตรวจร่างกาย มีการติดเชื้อฉวยโอกาส พบรอยโรค ต่อมน้ำเหลืองโต
การประเมินทางด้านจิตใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ELISA และ Western blot
การตรวจภายใน เนื่องจากเชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงจำ เป็นต้องตรวจหาโรคการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นร่วมด้วย เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน เริม หูดหงอนไก่ หูดข้าวสุก
การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์ในระหว่างคลอด
การให้การดูแลตามมาตรฐานการดูแลการคลอดทั่วไป
การใช้หลักการป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อจากเลือด น้ำเหลือง และสารคัดหลั่งโดยหลักการ universal precautions
สถานที่สำหรับการคลอดในหญิงตั้งครรภ์มีครรภ์เหล่านี้ควรแยกห้องเฉพาะเป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ เอดส์ ในกรณีที่ไม่สามารถแยกห้องเฉพาะได้ควรใช้ห้องคลอดสำหรับผู้ติดเชื้อ
การทำคลอดโดยวิธีที่มีบาดแผลต่อมารดาและทารกน้อยที่สุด ควรหลีกเลี่ยงสูติศาสตร์หัตถการต่าง ๆ เช่นใช้ ครีมดึง หรือใช้เครื่องดูดสุญญากาศ เนื่องจากทำให้ทารกมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์จากการมาเพิ่มขึ้น ถ้ามีความ จำเป็นต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการ ต้องใช้ความระมัดระวังมิให้เกิดการบาดเจ็บต่อมารดาและทารก
ในกรณีที่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด ให้เป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางด้านสูติศาสตร์และใช้หลัก universal precaution แม้จะมีการศึกษาพบว่าการผ่าตัดคลอดจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อเอดส์จากมารดาสู่ทารกได้ก็ตาม แต่ก็ไม่มี ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการติดเชื้อเอดส์ในหญิงตั้งครรภ์มีครรภ์จึงไม่ใช่ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอด
ควรหลีกเลี่ยงการทำหัตถการพิเศษต่าง ๆ เช่น เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์ของทารกจากเลือดและ สารคัดหลั่งของมารดาระหว่างคลอด
จากบทความวิจัยแนะนำ
การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีให้ใช้สูตรเดิมเพิ่ม AZT (300mg) ทุก 3 ชั่วโมง หรือ AZT (600mg) ครั้งเดียวก่อนคลอดและการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดแนะนำให้ใช้ Oxytocin แทนเพื่อเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูกเนื่องจากอาจเกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือด
syphilis
หมายถึงการตรวจพบเชื้อ Treponema pallidum ในน้ำเหลืองสตรีตั้งครรภ์ซึ่งอาจจะ ติดเชื้อมาก่อนการตั้งครรภ์หรือเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก ตรวจพบปฏิกริยาของน้ำเหลือง (VDRL) ต่อการติดเชื้อซิฟิลิสเป็นบวก และตรวจพบ เชื้อซิฟิลิสในกระแสเลือด
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก แบ่งอาการป่วยเป็น 3 ระยะของโรค
primary - ระยะแรก แผลริมแข็ง (Chancre) ที่อวัยวะเพศจะมีแผลเดียว ตุ่มแดงแตกออกและขอบแผลแข็งยกนูน อาจตรวจ พบต่อมน้ำเหลืองโต ระยะนี้แผลสามารถหายเองได้ใน 3-6 สัปดาห์ระยะนี้จะมีเชื้อซิฟิลิสในเลือดปริมาณมากส่งผลทำให้ ทารกในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 70-100
2.Secondary – ระยะที่2 ที่พบในระยะนี้ คือ ผื่นสีแดงน้ำตาล (Macular rash) กระจายทั่วลำตัว พบได้ร้อยละ 90 มีผื่น (targeted lesion) ที่ฝ่ามือฝ่าเท้า อาจมีผมร่วงเป็นหย่อม ขนคิ้ว ขนตาร่วงตุ่มนูน (Condyloma lata) ที่บริเวณอวัยวะเพศ มีไข้ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการเหล่านี้จะพบ 2-8 สัปดาห์
3.Tertiary – ระยะที่ 3 พบได้ ประมาณ 40% ของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา เชื้อซิฟิลิสจะค่อยๆทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด เป็นต้น จะปรากฏอาการหลังรับเชื้อ 5 – 30 ปีหรือนานกว่า นั้น ระยะนี้ทารกในครรภ์จะมีโอกาสติดเชื้อร้อยละ 10 กรณี เป็นซิฟิลิสระบบประสาท (Neurosyphilis) จะตรวจพบ CSF ผิดปกติหรือมีอาการทางระบบประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมอง อักเสบ เส้นเลือดในสมองตีบ สูญเสียความทรงจำ เป็นต้น
ซิฟิลิสระยะแฝง (Latent syphilis)ระยะนี้เกิด ขึ้นหลังจากติดเชื้อซิฟิลิสระยะแรกและซิฟิลิสระยะที่สองแล้ว ไม่ได้รับการรักษาอาการที่กล่าวมาข้างต้นสามารถหายไปได้เอง และตรวจไม่พบรอยโรคแต่สามารถตรวจพบการติดเชื้อได้จาก การตรวจเลือด หากเกิดภายใน 12 เดือนหลังจากมีอาการทาง คลินิก เรียกว่า ระยะแฝงช่วงแรก (Early latent) แต่หากนาน กว่า12เดือน หรือไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าระยะแฝง ช่วงหลัง(Latelatent)ซึ่งเป็นระยะที่ตรวจพบมากในสตรีตั้งครรภ์ ระยะนี้ทารกในครรภ์จะมีโอกาสติดเชื้อร้อยละ 30
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อซิฟิลิส
ประวัติตรวจผลเลือดเป็นบวก
มีอาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกาย
อาจพบมีไข้ต่ำ ๆ มีแผล ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
3.การตรวจคัดกรองการติดเชื้อ
การตรวจ VDRL ถ้าผลของ titer ของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อซิฟิลิสมากกว่า 1 : 8 จะต้อง ตรวจ TPHA เพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส
การตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส คือการตรวจภูมิต้านทาน
ผลกระทบต่อทารกตั้งครรภ์
ซิฟิลิสแต่กำเนิดระยะแรก (early congenital syphilis) พบตั้งแต่แรกคลอดจนถึงระยะ 1 ปี
คลอดก่อนกำหนด
พิการแต่กำเนิด มีตับโต ม้ามโต ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าพอง และลอก ในกรณีที่เด็กโตขึ้นจนถึง 2 – 3 เดือน
ดีซ่าน (prolonged jaundice)
แท้ง
ทารกบวมน้ำ (fetal hydrops)
เสียชีวิต
ซิฟิลิสแต่กำเนิดระยะหลัง (late congenital syphilis) พบในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี
แก้วตาอักเสบ (interstitial keratitis)
ฟันหน้ามีรอยแหว่งเว้าคล้าย จอบบิ่น (Hutchinson’s teeth)
มีแผลเป็นคล้ายรอยย่นที่มุมปาก
หูหนวก
ดั้งจมูกยุบ เพดานปากโหว่ หน้าผาก งอก กระดูกหน้าแข้งโค้ง
การพยาบาล
คัดกรองโรค โดยการเจาะ VDRL หญิงตั้งครรภ์ทุกคนครั้งแรกและครั้งที่ 2 (อายุครรภ์32 สัปดาห์)
การประเมินมารดารอคลอดแรกรับ แบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้
2.1 กรณีมารดารอคลอดไม่มีผลตรวจซิฟิลิส ส่วนใหญ่จะพบในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ฝากครรภ์ มาฝากครรภ์ ช้า ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และมักเป็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
สตรีตั้งครรภ์มีประวัติเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ สตรีตั้งครรภ์ไม่ได้ตรวจซิฟิลิสหลังอายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ระยะแรกรับ ซักประวัติตรวจร่างกายดูลักษณะรอยโรคบริเวณ อวัยวะเพศที่อาจส่งผลต่อวิธีการคลอดและตรวจทางห้องปฏิบัติ การที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากผลตรวจผิด ปกติรายงานแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ประเมินสภาพทารกใน ครรภ์เพื่อเตรียมทีมในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดเมื่อ แพทย์วินิจฉัยและทราบระยะของซิฟิลิส ดูแลให้ได้รับยา ปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
2.2 กรณีมารดารอคลอดติดเชื้อซิฟิลิสมาคลอด ซักประวัติเกี่ยวกับการได้รับยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องจนครบ ตามแผนการรักษาและประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ เพื่อวางแผนการดูแลในระยะรอคลอดเช่น ทารกเกิดความพิการ ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นต้นเพื่อเตรียมทีมในการช่วย ฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด รวมถึงตรวจร่างกายดูลักษณะรอย โรคบริเวณอวัยวะเพศที่อาจส่งผลต่อวิธีการคลอด
หญิงตั้งครรภ์ที่รับการรักษาด้วยยา ควรให้คำแนะนำอาการข้างเคียงของภาวะ Jarisch – Herxheimer คือ
ทำให้มีไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ตามกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว เส้นเลือดขยายตัว มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ความดันโลหิตต่ำ และหายใจเร็ว มักเกิดภายหลังจากได้รับ ยา 2 – 8 ชม.แล้ว และจะทุเลาไปภายใน 24 ชั่วโมง ไข้จะขึ้นสูงระหว่าง 6 – 12 ชั่วโมง
มดลูกหดรัดตัวจนเกิด preturm labor ทารกจะ เคลื่อนไหวลดลง หัวใจเต้นเร็ว
5.การพิจารณาวิธีการคลอด การติดเชื้อซิฟิลิส ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ในการช่วยคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ ยกเว้นกรณีผู้คลอดมีรอยโรคแผลริมแข็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์9 เมื่อปากมดลูกเปิดหมดหรือมีข้อบ่งชี้ในการช่วยคลอดดูแลย้าย ผู้คลอดเข้าห้องคลอดซึ่งเป็นห้องแยกสำหรับผู้คลอดติดเชื้อ และดูแลทำคลอดปกติตามมาตรฐานโดยยึดหลักป้องกันการ แพร่กระจายเชื้อ
ดูแลให้การพยาบาลผู้คลอดตามมาตรฐานเพื่อให้ ดำเนินการคลอดเป็นไปตามปกติได้แก่ การประเมินความก้าวหน้าของการคลอด การประเมินเสียงหัวใจทารกในครรภ์ อย่างต่อเนื่องเพราะทารกที่มารดาติดเชื้อซิฟิลิสมีโอกาสเกิด ภาวะทารกตายในครรภ์สูงการใช้เทคนิคผ่อนคลายความเจ็บปวด จากการคลอด การดูแลความสุขสบายทั่วไป การส่งเสริม ความก้าวหน้าของการคลอด และการสังเกตอาการผิดปกติ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะคลอด
4.ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยใช้หลัก Universal precaution ระมัดระวังสิ่งคัดหลั่งหรือเลือด
6.การตรวจรก รกของผู้คลอดที่ติดเชื้อซิฟิลิส จะมีลักษณะใหญ่ ซีดและบวมน้ำ ควรตรวจรกให้ละเอียด เนื่องจากอาจมีเศษชิ้นส่วนของรกตกค้างในโพรงมดลูกส่งผล ให้ผู้คลอดตกเลือดหลังคลอดได้และแพทย์อาจพิจารณา ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (Histopathology) ทั้งรกและ สายสะดือในทารกที่คลอดจากมารดาที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ ซิฟิลิสทุกราย (Strongly recommend) จะพบเชื้อซิฟิลิส