Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Labor Room แผนกห้องคลอด - Coggle Diagram
Labor Room แผนกห้องคลอด
Birth asphyxia
(ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด)
ภาวะที่ประกอบไปด้วยเลือดขาดออกซิเจน (hypoxemia) คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง (hypercapnia) และมีภาวะกรดจากเมตาบอลิซึม(acidosis)หรือจากการไม่มีการระบายอากาศที่ปอด (ventilation) ร่วมกับปริมาตรเลือดที่ผ่านปอด (pulmonary perfusion) มีน้อยหรือมีไม่เพียงพอ หลังจากการคลอด ส่งผลให้อวัยวะที่สำคัญขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง ทำให้เกิดการสูญเสียหน้าที่และเสื่อมประสิทธิภาพของอวัยวะนั้นๆ เช่น ภาวะ Hypoxic-ischemic encephalopathy(HIE) ผลที่ตามมาคือ learning disabilities, cerebral palsy,
ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด (birth asphyxia) จากการจำแนกโรคขององค์การอนามัยโลก ตาม ICD 10 (The International Classification of Disease 10 Version 2016) ใช้ APGAR score ที่ 1 <,= 7
ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรก
เกิดอย่างรุนแรง (severe birth asphyxia)มีค่า APGAR score ที่ 1 นาที
เท่ากับ 0-3
ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดเล็กน้อยหรือ
ปานกลาง (mild or moderate birth asphyxia)
มี APGAR score ที่ 1 นาที เท่ากับ 4-7
สาเหตุ
ปัจจัยเกี่ยวกับการคลอด
การคลอดยาวนาน
มารดาได้รับยาขณะคลอด
ทารกอยู่ในภาวะขับคัน
น้ำคร่ำเขียว
การคลอดติดไหล่
ศีรษะทารกไม่ได้สัสส่วนกับเชิงกราน
สายสะดือพลัดต่ำ
ครรภ์แฝด
ทารกท่าผิดปกติ
ปัจจัยด้านมารดา
ภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะแทรกซ้อน อื่นๆ
การติดเชื้อ
ตั้งครรภ์เกินกำหนด
ตกเลือดขณะตั้งครรภ์
ปัจจัยด้านทารก
คลอดก่อนกำหนด
IUGR
พิการแต่กำเนิด
น้ำหนักตัวน้อย
การติดเชื้อ
แนววทางการรักษาและการพยาบาล ประเมินเมื่อศีรษะทารกคลอดแล้ว 1 นาที
คะแนน 0-3 Severe birth asphyxia สามารถช่วยเหลือโดยให้ external resuscitation (การช่วยฟื้นคืนชีพ)
คะแนน 4-6 Mild birth asphyxia สามารถให้การช่วยโดยช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง โดยการดูดสารคัดหลั่งและกระตุ้นการหายใจ โดยการลูบหลัง ตีบริเวณฝ่าเท้า
คะแนน 7-10 ภาวะปกติ ต้องการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย เช่น ช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง อบอุ่นร่างกาย
การพยาบาลทารกที่มีภาวะขาดออกซิเจน (วิไล เลิศธรรมเทวี, 2558) ดังนี้
.
ประเมินภาวะหายใจลำบาก ได้แก่ สีผิว สัญญาณชีพ การเคลื่อนไหวของทรวงอก พฤติกรรม
ประเมินอาการและอาการแสดง โดยเฉพาะอาการทางระบบประสาท ได้แก่ ซึม ตัวเย็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้นลดลง รูม่านตาขยายกว้าง ไม่ตอบสนองต่อแสง หยุดหายใจบ่อยชีด หัวใจเต้นช้า และอาการชัก
ดูแลให้ออกซิเจน หรือดูแลทารกขณะใส่เครื่องช่วยหายใจตามแผนการรักษา
ดูแลเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง การดูดเสมหะและน้ำลาย ระมัดระวังไม่ให้ทารกขาดออกซิเจนรวมทั้งระมัดระวังการเกิดภาวะแทรกช้อนจากการกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส ซึ่งมีผลทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว หัวใจเต้นช้า ภาวะพร่องออกซิเจน หรือมีความคันในกะโหลกศีรษะสูง ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในช่องสมอง
จัดท่านอนให้ศีรษะและลำคออยู่ในท่ที่เป็นกลาง (neutral position) และลำคอเหยียดเล็กน้อย(sniffing position) โดยใช้ผ้าม้วนหนุนไหล่ จะช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้าง
ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ติดตามค่าอิเล็โทรลัยด์ และค่าก๊าซในเดือดตามแผนการรักษา
สังเกตและประเมินภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดแฟบ ภาวะมีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด และปอดอักเสบ เป็นต้น โดยประเมินจากภาวะหายใจลำบาก การขยายตัวของทรวงอกไม่เท่ากันและอาการของการติดเชื้อ
Amniotic fluid embolism
ภาวะน้ำคร่ำอุดหลอดเลือด
เป็นกลุ่มอาการแพ้ที่เกิดจากการที่น้ำคร่ำรั่วเข้าสู่กระแสเลือดของมารดา จากภาวะที่มีการฉีกขาดของถุงน้ำคร่ำแล้วน้ำคร่ำไหลเข้าไปในหลอดเลือดเล็กๆ ที่บริเวณปากมดลูกและส่วนล่างของมดลูกที่มีการฉีกขาด ทำให้หลอดเลือดในปอดอุดตัน มีผลกระทบทำให้เกิดการขาดออกซิเจน (hypoxia) ความดันโลหิตต่ำ (hypotension) ภาวะช็อกจากระบบไหลเวียนเลือด และหัวใจล้มเหลว (cardiovascular collapse) และการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (coagulopathy) จึงเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตของมารดา
ปัจจัย
การผ่าท้องทำคลอด
กำรตั้งครรภ์แฝด
การฉีกขาดของมดลูก
การชักจากครรภ์เป็นพิษ
รกเกาะต่ำ
อาจเกิดในขณะทำแท้งหรือการเจาะน้ำคร่ำ
การให้ออกซิโตซิน
รอกลอกตัวก่อนกำหนด
ครรภ์แฝดน้ำ
เกิดขึ้นได้บ่อยในระยะเจ็บครรภ์คลอด หรือเพิ่งคลอดใน 30 นาที หรือ 48 ชั่วโมงหลังคลอด
อาการและอาการแสดงของภาวะน้ำคร่ำอุดตันหลอดเลือด ได้แก่ กระสับกระส่าย หายใจลำบากเจ็บหน้ำอก หนาวสั่น เหงื่อออกมาก เกิดภาวะหายใจล้มเหลว มีอาการเขียวทั่วร่างกาย มีอาการไอ และเสมหะเป็นฟองสีชมพูจากภาวะน้ำท่วมปอด ความดันโลหิตต่ำอย่างรวดเร็วจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ทำให้ชัก หมดสติ และเสียชีวิต รายที่ไม่เสียชีวิตจะมีอาการผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ทำให้ตกเลือดรุนแรงและมดลูกหดรัดตัวไม่ดีซึ่งอาจเสียชีวิตได้ในระยะต่อมา
หลักการพยาบาล
ให้ผู้คลอดนอนศีรษะสูงทันทีและให้ออกซิเจนเพื่อแก้ไขภาวะหายใจลำบาก
งดอาหารและน้ำทางปาก ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำและให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด หากทารกในครรภ์ยังอยู่ ให้ประเมินการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่อง และรายงานแพทย์เพื่อช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
เตรียมอุปกรณ์การช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อมสำหรับสตรีตั้งครรภ์และทารก
ส่งตรวจการแข็งตัวของเลือด หมู่เลือด จองเลือด ตามแผนการรักษา และเตรียมพร้อมสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกรณีทารกยังมีชีวิต
ดูแลให้ผู้คลอดได้รับยามอร์ฟีน เพื่อให้คลายความวิตกกังวลและความกลัว และให้ยาแอม-มิโนไพริน เพื่อลดการหดเกร็งของหลอดลม จะช่วยลดการคั่งของหลอดเลือดดำในปอด และลดอากาหอบเขียว ดูแลให้ได้รับยาดิจิทำลิส หรือโดปามีน เพื่อช่วยให้หัวใจบีบตัวช้าลง แต่บีบตัวแรงขึ้น เลือดจะออก
จากหัวใจมากขึ้น ดูแลให้ได้รับไฮโดรคลอติโซนขนาดสูงเข้ำหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยแก้ไขภาวะหดเกร็งของหลอดเลือดแดงฝอยของปอด
เตรียมเพื่อให้ผู้คลอดได้รับเลือดและสารที่เป็นองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด (fibrinogen) หรือเพื่อแก้ไขภาวะะตกเลือดเนื่องจากมีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ภายหลังการแก้ไขภาวะระบบหัวใจและหายใจล้มเหลวได้แล้ว
ใส่สายยางสวนคาปัสสาวะไว้เพื่อบันทึกจำนวนปัสสาวะที่แน่นอน เนื่องจำกในรายที่เสียเลือดมากอาจเกิดภาวะไตวายอย่างเฉียบพลันได้
สังเกตและบันทึกจำนวนเลือดที่ออกจำกช่องคลอด
ดูแลด้านจิตใจ ใช้คำพูดปลอบโยนญำติและครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์ที่เกิดความเศร้าโศกหรือสูญเสีย