Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.3 การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
9.3 การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
9.3.1 การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virus
ผ่านทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก
พยาธิสภาพ
ระยะที่สอง
ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม
ระยะที่สาม
ระยะที่ Anti-HBe ทำลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000
IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (Inactivecarrier)
ระยะแรก
รับเชื้อ Hepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว จะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติซึ่งแสดงว่ายังไม่มีการอักเสบของตับ หากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลบวก และพบ Hepatitis B virus DNA (Viral load) จำนวนมาก
ระยะที่ส
ระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (Re-activation phase) ทำให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีกตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ Anti-HBe ให้ผลบวก
อาการและอาการแสดง
เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน) ดังนั้นในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลำพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
ทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้โดยรับเชื้อขณะคลอดจากการที่ทารกสัมผัสหรือกลืนสารคัดหลั่งทางช่องคลอด หรือทารกดูดนมมารดาหลังคลอด
การประเมิน
การตรวจร่างกาย
พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจการทำงานของตับ และตรวจหา Antigen และAntibody ของไวรัส ได้แก่ HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
การซักประวัติ
การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือเคยมีอาการแสดงของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี เคยสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือคนที่เป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus ให้การรักษาดังนี้
2.1 ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทำงานหนัก หรือออกกำลังกาย
2.2 แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
2.3 ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน อาจให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ยาแก้อาเจียน รักษาประคับประคองตามอาการ
2.4 แนะนำให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือด เพื่อหา HBsAg และHBsAb
2.5 หลีกเลี่ยงการทำหัตถการที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงสูง
กิจกรรมการพยาบาล
ระยะตั้งครรภ
1.1 ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
1.2 ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อ การดำเนินของโรค แผนการรักษาพยาบาล
1.3 แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
2.ระยะคลอด
2.1 ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
2.2 หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอด
2.3 หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
2.4 ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
2.5 ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด โดยฉีด Hepatitis Bimmunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุดหลังเกิด
2.6 ให้การดูแลผู้คลอดโดยยึดหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด
3. ระยะหลังคลอด
3.1 ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก
3.2 แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นการรักษาความสะอาดของร่างกาย
3.3 แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
9.3.2 หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Rubella virus (German measles virus) โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ มีระยะฟักตัว 14-21 วัน
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลำตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ทารกในครรภ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำปอดบวม กระดูกบาง เป็นต้น
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ
การประเมิน
การซักประวัติ
การสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย
อาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ำเหลืองโต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI)
เจาะเลือดตรวจหา HAI titer อย่างน้อย 2 ครั้ง
การรักษา
ควรเน้นการ ฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองหารายที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพื่อให้วัคซีน
ขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ควรหลีกเลี่ยงให้ห่างจากผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าจะเป็นหัดเยอรมัน ถ้าฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน ควรคุมกำเนิดไว้ 3 เดือน
เมื่อผลการตรวจพบว่าติดหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก แนะนำให้ทำยุติการตั้งครรภ์
กิจกรรมการพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัย
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดำเนินของโรค ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์ และต่อทารกในครรภ์และการรักษาพยาบาล
กรณีที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์
9.2.3 สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Varicella-zoster virus (HZV)
พยาธิสภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ (Dewdrops on a rose petal)
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ร้้อยละ 40 จะมีปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทำให้ซึมลง และมีอาการชัก ทำให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารกในครรภ์
ทารก
การติดเชื้อในครรภ์ โดยทารกในครรภ์มีโอกาสติดได้ร้อยละ 10 เท่าๆ กันทุกไตรมาส
เช่น ความผิดปกติของตา(ต้อกระจก) สมอง (ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก เนื้อสมองเหี่ยวลีบ) แขนขาลีบเล็ก
การติดเชื้อปริกำเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด มีความเสี่ยง
สูงในรายที่สตรีตั้งครรภ์ตมีการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน
การประเมิน
1. การซักประวัต
การสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
2. การตรวจร่างกาย
มีีไข้มีผื่นตุ่มน้ำใสตามไรผม ตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ ลามไปบริเวณหน้าลำตัว
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA
3.2 การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG ต่อไวรัสสุกใสไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA
การรักษา
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส
การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ
การรักษาแบบเจาะจง โดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir
9.3.4 การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
สาเหตุ
เกิดจากปรสิตคือToxoplasma gondii
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารก
ติดเชื้อในครรภ์ ในรายที่มีการติดเชื้อแต่กำเนิดทารกแรกเกิดจะมีลักษณะ ไข้ ชัก
ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebralcalcification)
การประเมิน
ซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค เช่น แมว เป็นต้น ประวัติมีอาการอ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ
ตรวร่างกาย
มักไม่แสดงอาการ หรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจพบภาวะปอดบวมหัวใจอักเสบ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ทดสอบน้ำเหลืองดู titer IgG และ IgM3.
2 การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ำคร่ำ พบ IgA และ IgM
3.3 การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การรักษา
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
หากจำเป็นต้องทำความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้าง ไข่ดิบ
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนำให้สวมถุงมือยาง
ถ้าพบ IgM ในสตรีตั้งครรภ์ให้สันนิษฐานว่ามีการติดเชื้อ และรักษาด้วย Spiramycin
9.3.5 การติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika)
สาเหตุ
ที่เกิดจากเชื้อฟลาวิไวรัส (Flavivirus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค
พยาธิสภาพ
เชื้อไวรัสโรคไข้ซิกาสามารถแพร่โดยยุงลายที่มีเชื้อแล้วไปกัดคน มีระยะฟักตัว
3-12 วัน ก่อนแสดงอาการ สามารถพบเชื้อนี้ในน้ำอสุจิได้นาน 6 เดือน
อาการและอาการแสดง
ระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน อาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3 อาการที่พบบ่อยในคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
และบางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด อาการอื่น ๆ
ทารก
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
การประเมิน
ซักประวัติ
การซักประวัติอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ กำหนดให้มีการคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับประวัติการสัมผัสผู้ป่วยในชุมชนที่มีประวัติการติดเชื้อไวรัสซิกา
ตรวจร่างกาย
มีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ตัวเหลือง ซีด บวมปลายมือปลายเท้า
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เลือด ปัสสาวะ น้ำลาย
การรักษา
กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดมาตรการด้านการเฝ้าระวังคัดกรองโรค โดยได้มีระบบ การเฝ้าระวัง ครอบคลุม 4 ด้าน คือ ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา ระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด และระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท
9.3.6 การติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ขณะตั้งครรภ์
(COVID-19 Virus Infection during
Pregnancy)
สาเหตุ
กเกิดจากเชื้อไวรัสตระกูล Corona ชื่อ SARS-CoV-2
พยาธิสภาพ
เชื้อใช้ผิวเซลล์ของไวรัสจับกับ Angiotensin converting enzyme II ที่ผิวเซลล์ในร่างกาย เพื่อเข้าไปเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนเชื้อในเซลล์ แล้วเซลล์ที่ติดเชื้อจะเพิ่มจำนวนและปล่อยเชื้อไวรัสออกมานอกเซลล์เพื่อไปก่อโรคในเซลล์ข้างเคียงต่อไป
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารก
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด
การประเมิน
ซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ ระยะเวลา
ตรวจร่างกาย
มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้งหายใจติดขัด อาจมีคัดจมูก
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ำ โดยเฉพาะ Lymphocyte ค่า C-reactiveprotein สูงขึ้น
3.2 การยืนยันการติดเชื้อไวรัส โดยตรวจหา Viral nucleic acid
3.3 ให้ส่งสิ่งคัดหลั่งตรวจหาเชื้อไวรัสอื่น เช่น Influenza Virus A and B,
3.4 การส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
การรักษา
1.สตรีตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ ยกเว้นกรณีที่มีข้อห้าม เช่น มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดครั้งแรก
ช่วงอายุครรภ์ที่แนะนำในการฉีดวัคซีน คือ หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
กรณีสตรีหลังคลอดยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 สามารถเข้ารับวัคซีนได้หลังจากคลอดทันที
วัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทยสำหรับสตรีตั้งครรภ์ปัจจุบัน มี 4 ชนิด คือ คือ Sinovac,Sinopharm, AstraZeneca และ Pfizer
ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดี พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ยกเว้นมีความจำเป็นควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์