Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีปัญหาความผิดปกติของน้ำคร่ำ - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาที่มีปัญหาความผิดปกติของน้ำคร่ำ
มารดาที่มีภาวะน้ำคร่ำมาก
การตั้งครรภ์ที่ปริมาณของน้ำคร่ำมากกว่า 2,000 มิลลิลิตร หรือมีค่า amniotic fluid index (AFI) มากกว่า 24 เซนติเมตร
สาเหตุของภาวะครรภ์แฝดน้ำ
ความผิดปกติด้านทารกได้แก่ ทารกในครรภ์มีความพิการของระบบประสาทส่วนกลาง มีการอุดตันของระบบทางเดินอาหาร หรือทารกที่มีภาวะบวมน้ำ
ด้านมารดา ได้แก่ สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน การตั้งครรภ์แฝด
อาการและอาการแสดง
มดลูกมีขนาดโตกว่าอายุครรภ์ คลำส่วน ของทารกในครรภ์ได้ยาก
ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ได้ไม่ชัดเจน
สตรีมีครรภ์จะมีอาการไม่สุขสบาย หายใจ ลำบาก ขาบวม และปัสสาวะบ่อย
การรักษา
โดยการให้ยาในกลุ่ม prostaglandin ได้แก่ indomethacin ซึ่งยามีฤทธิ์ทำให้การดูดซึมของ น้ำที่ปอดทารกเพิ่มมากขึ้น
ทำการเจาะน้ำคร่ำออกทางหน้าท้องในรายที่มีอาการหายใจลำบาก แน่นอึด อัดมาก
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์แนะนำให้นอนศีรษะสูง นับการดิ้นของทารกในครรภ์ สังเกตอาการผิดปกติ มาตรวจตาม นัด และทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลาย และหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด ในกรณีที่สตรีมีครรภ์ ได้รับการเจาะน้ำคร่ำออกทางหน้าท้อง ให้สังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การเจ็บครรภ์คลอด ก่อนกำหนด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด และการติดเชื้อภายในถุงน้ำคร่ำ
ระยะคลอด แนะนำให้นอนตะแคงซ้ายและศีรษะสูงประเมินความก้าวหน้าของการคลอดและเสียงหัวใจ ทารกอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังการเกิดสายสะดือพลัดต่ำ
ระยะหลังคลอด ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ดูแลให้ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ประเมิน ความพิการหรือความผิดปกติของทารก
มารดาที่มีภาวะน้ำคร่ำน้อย
ภาวะที่มีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร หรือมีค่า AFI น้อยกว่า 5 เซนติเมตร
สาเหตุ
ความผิดปกติด้านทารก ได้แก่ ทารกมีความพิการของระบบ ทางเดินปัสสาวะทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม
สาเหตุด้านมารดา ได้แก่ การแตกรั่วของถุงน้ำคร่ำเป็น ระยะเวลายาวนาน การตั้งครรภ์เกินกำหนดมารดามีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมหรือมีการใช้ยา บางอย่าง
อาการและอาการแสดง
ได้แก่ ขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์คลำส่วน ของทารกได้ชัดเจน
ภาวะน้ำคร่ำน้อยส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อทารก
คือเกิดการแท้ง ทารกเกิดภาวะ amniotic band syndrome ทารกมีความพิการ เกิดภาวะ Potter sequences คือทารกเกิดภาวะปอดแฟบ หน้าตาผิดปกติ แขนขาหดเกร็ง ข้อสะโพกเคลื่อน clubfoot และทารกมักเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอด
การรักษา
จะเป็นแบบประคับประคองโดยการติดตามประเมินการเจริญเติบโต การเติมสารละลายเข้าไป ในถุงน้ำคร่ำ (amnioinfusion)
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์ แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มโปรตีน นับการดิ้นของทารกในครรภ์ สังเกตอาการผิดปกติ ติดตามระดับความสูงของยอดมดลูกและมาตรวจตามนัด
ระยะคลอด แนะนำให้นอนตะแคงซ้ายประเมินความก้าวหน้าของการคลอดและเสียงหัวใจทารกอย่าง ใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการให้ยาบรรเทาปวด
ระยะหลังคลอด ประเมินความพิการหรือความผิดปกติของทารกให้การช่วยเหลือทารกแรกเกิดที่มี น้ำหนักตัวน้อย ควบคุมอุณหภูมิประเมินการหดรัดตัวของมดลูก