Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.1 การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system…
9.1 การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection during
pregnancy)
ในระยะตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่ไต ลงมาจนถึง ureter มีการขยายใหญ่ขึ้นซึ่งอาจทำให้มีปัสสาวะค้างอยู่นาน และเป็นสาเหตุทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์
มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคที่สำคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่ภายในกรวยไต จนถึงท่อไต โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากโดยเฉพาะด้านขวาเป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนร่วมกับการถูกกดทับของมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทำให้มีการคั่งของน้ำปัสสาวะในไต ท่อไต ค้างอยู่นาน
มีการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ของไต การหมุนเวียนของเลือดเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 70-85 ทำให้ไตต้องปรับตัว
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอด หรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของ ระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัวของขนาดมดลูก
อาการและอาการแสดง
สามารถแบ่งอาการออกตามตำแหน่งที่มี
การติดเชื้อ 2 กลุ่มใหญ่
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI)
ได้แก่ กรวยไตอักเสบโดยจะพบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ำล้างเนื้อ เจ็บบริเวณชายโครง ปวดหลังบริเวณตำแหน่งของไต
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI)
เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น สตรีตั้งครรภ์จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ
ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจะกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ทำให้เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัต
ซักประวัติเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ ซักประวัติอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ เช่น ปัสสาวะลำบาก
การตรวจร่างกาย
จะตรวจพบปัสสาวะขุ่น หรือพบปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ มีไข้ ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจปัสสาวะ (Urine analysis) จะพบไข่ขาว เม็ดเลือดขาวตรวจเพาะเชื้อปัสสาวะ (Urine culture) จะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 105 cfu/ml
การรักษา
การป้องกัน
1.1 แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
1.2 แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
1.3 ทำการคัดกรองการติดเชื้อตั้งแต่ต้น โดยตรวจ Urine culture ในสตรีที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกทุกราย หรือทำเฉพาะในรายที่มีความเสี่ยง
การักษา
2.1 รายที่มีการติดเชื้อแบบ ASB จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาทุกรายเพื่อป้องกันการเกิด Upper UTI โดยให้ยาปฏิชีวนะได้แก่ Ampicillin,Cephalexin, Amoxicillin, Nitrofurantoin หลังจากได้รับการรักษา 7 วัน
2.2 รายที่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่มีความไวต่อเชื้และปลอดภัยต่อมารดาและทารกมากที่สุด
2.3 รายที่เป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ พร้อมทั้งส่งตรวจ Urine culture
กิจกรรมการพยาบาล
ปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอด
เช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป และเน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ให้คำแนะนำเช่นเดียวกับคำแนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์
ปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลระยะตั้งครรภ
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก
แนะนำการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์
ให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความไม่สุขสบาย
เน้นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
ดูแลประคับประคองจิตใจ ในรายที่มีอาการรุนแรง
สังเกตและบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย