Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.2 การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - Coggle Diagram
9.2 การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
9.2.1 การตกขาวผิดปกติ(Abnormal leukorrhea)
1) การตกขาวจากการติดเชื้อรา
(Vulvovaginal candidiasis)
สาเหต
การรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์
การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก
ภูมิต้านทานของร่างกายถูกกดจากการเป็นโรคเอดส์ หรือการได้รับเคมีบำบัด
การควบคุมภาวะเบาหวานไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมาก
การสวมใส่ชุดชั้นในที่แน่นเกินไป ทำให้เกิดความอับชื้น เชื้อราเจริญได้ง่าย
การใช้น้ำยาล้างทำความสะอาดช่องคลอด และปากช่องคลอดบ่อยๆ
ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
พยาธิสภาพ
เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ ทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนังอ่อนนุ่มลง จึงมีโอกาสติดเชื้อราได้มากกว่าสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์และเชื้อราที่ทำให้เกิดการตกขาวผิดปกติได้ถึงร้อยละ 80-90 เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Candida albicans ซึ่งมีระยะฟักตัว 1-4 วัน Candida albicans เป็นเชื้อโรคประจำถิ่น พบได้ในร่างกายมนุษย์ในช่องปาก ทางเดินอาหาร และอวัยวะสืบพันธ์
อาการและอาการแสดง
ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ติดเชื้อราจะไม่มีอาการ มีอาการคันและระคายเคืองมากในช่องคลอด และปากช่องคลอดปาก ช่องคลอดเป็นผื่นแดง ช่องคลอดอักเสบ และบวมแดงแต่ปากมดลูกปกติ ตกขาวมีลักษณะสีขาวขุ่น
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
มีความระคายเคือง คันช่องคลอดมากขึ้น การติดเชื้อราในช่องคลอดทั้งแบบไม่มีอาการและมีอาการ ไม่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์
ทารกในครรภ์
ทารกที่คลอดทางช่องคลอดจากมารดาที่มีการติดเชื้อราในช่องคลอดจะเป็นเชื้อราในช่องปาก (Oral thrush) ได้มากกว่าปกติ 2-35 เท่า
การประเมิน
1. การซักประวัติ
อาการและอาการแสดง ระยะเวลาที่แสดงอาการอาการตก
ขาวผิดปกติและการรักษา
2. การตรวจร่างกาย
ตรวจภายในพบช่องคลอดบวมแดง และตกขาวมีลักษณะขุ่น
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจด้วยวิธี wet mount smear จะพบเซลล์ของยีสต์ (Yeast cell) และเส้นใยของเซลล์เชื้อรา (Mycelium) pH น้อยกว่า 4.5
3.2 การตรวจด้วยวิธีแกรมสเตน (Gram stain) จะพบลักษณะเป็นเหมือนเส้นด้าย (Gram positive pseudomycelial threads)
การรักษา
2% Miconazole cream (5 g) ทาช่องคลอด 7 วัน
Miconazole (100 mg) 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 7 วัน
1% Clotrimazole cream (5 กรัม) ทางช่องคลอด 6 วัน
Clotrimazole (100 mg) 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6 วัน
2) การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ (Vaginal trichomoniasis)
สาเหตุ
การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ หรือเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis (T. vaginalis)
พยาธิสภาพ
เมื่อมีการติดเชื้อ T. vaginalis และเข้าสู่ช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบเยื่อบุช่องคลอดชนิด squamous การติดต่อมีได้ 2 ทางคือ ทางเพศสัมพันธ์ และอวัยวะเพศสัมผัสเชื้อโดยตรง ระยะฟักตัว 5-28 วัน
อาการและอาการแสดง
ผู้ติดเชื้อร้อยละ 50 มักจะพบโรคคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วย เช่น หนองใน ปากมดลูกอักเสบแบบมูกปนหนอง หูดหงอนไก่ เชื้อราในช่องคลอด เป็นต้น
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด มีความสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ทารกในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย
การประเมินและวินิจฉัย
1. การซักประวัติ
ประวัติการมีตกขาวจำนวนมาก เป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการคัน
2. การตรวจร่างกาย
การตรวจภายในช่องคลอด พบตกขาวเป็นฟองสีเหลือเขียว อาจพบจุดเลือดออกเป็นหย่อมๆ ที่ผิวปากมดลูก
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Wet mount smear จะพบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก อาจพบตัวเชื้อพยาธิเคลื่อนไหวไปมา ตกขาวมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
การรักษา
ยาที่ใช้ได้ผลดีที่สุดต่อการติดเชื้อพยาธิ คือ Metronidazole
หลังไตรมาสแรกไปแล้ว จะรักษาด้วย Metronidazole (2 g) รับประทานครั้งเดียว
ให้การรักษาสามีไปด้วย โดยให้ Metronidazole หรือ Tinidazole (2 g) รับประทานครั้งเดียว หรือ Ornidazole (1.5 กรัม) รับประทานครั้งเดียว
กิจกรรมการพยาบาล
1. ระยะตั้งครรภ์
1.1 แนะนำการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
1.2 แนะนำให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
1.3 แนะนำการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
1.4 แนะนำการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาดเสมอ
2. ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด สามารถคลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
3. ระยะหลังคลอด
3.1 แนะนำให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
3.2 หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
3) การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis)
สาเหตุและพยาธิสภาพ
ในช่องคลอดโดยปกติจะมีแบคทีเรียประจำถิ่น Lactobacillus เป็นแบคทีเรียดีทำ
หน้าที่ป้องกันการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียชนิดอื่นและเชื้อรา เป็นสาเหตุทำให้ช่องคลอดอักเสบมีหลายชนิด และเป็นแบคทีเรียที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน (Anaerobes) แบคทีเรียที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบมากที่สุดชื่อ Gardnerella vaginalis ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ คนที่มีอาการตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จะติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นได้ง่ายด้วย เช่น หนองใน หนองในเทียม และเริม เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลำบาก แสบขัด ตกขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ถ้าไม่ได้รักษา อาจทำให้มีการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น
อาจทำให้เกิดการแท้งติดเชื้อ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด และเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
มารดาหลังคลอดอาจมีไข้ ปวดท้องมาก
ทารกในครรภ์
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกำหนด
การประเมิน
1. การซักประวัติ
ประวัติการมีตกขาวจำนวนมาก ปวดแสบปวดร้อนบริเวณปาก ช่องคลอดและในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลำบา เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ
2. การตรวจร่างกาย
ตรวจทางช่องคลอดและการทำ Pap smear จะพบเชื้อแบคทีเรีย
ตรวจความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอด จะได้ผลมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 ตรวจ Wet smear
3.2 การเพาะเชื้อ ตกขาวใน Columbia agar ที่มีเลือดเป็นส่วนผสมหรือมี 5%CO2
การรักษา
ให้ยา Metronidazole (250 mg) วันละ 3 ครั้ง หรืออาจให้ Metronidazole (500mg) วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7-10 วัน
ให้ Ampicillin (500 mg) วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
9.2.2 ซิฟิลิส (Syphilis)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum (T. Pallidum) มีระยะ
ฟักตัวประมาณ 10-90 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห
พยาธิสภาพ
ได้รับเชื้อสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลถลอก หรือทางเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย
ประมาณ 10-14 วัน ร่างกายจะสร้าง Antibody ต่อเชื้อชนิด IgM และ IgG ขึ้นมา เชื้อจะแบ่งตัวทำให้บริเวณผิวหนังหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่เชื้อผ่านเข้าไปจะเกิดการระคายเคือง ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบมีเลือดมาเลี้ยงลดลง เกิดการขาดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย
อาการและอาการแสดง
1. ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (Primary stage)
หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วัน จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็งไม่เจ็บเรียกแผล chancre บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก
2. ซิฟิลิสระยะที่สอง (Secondary stage)
หลังจากแผลหาย จะพบผื่นกระจายทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุรวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ ร่วมกับมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ อาการในระยะนี้จะหายได้เองแม้ไม่ได้รับการรักษา จากนั้นประมาณ 3-12 สัปดาห์จะเข้าสู่ระยะแฝง
3. ระยะแฝง (Latent syphilis)
ระยะนี้จะไม่มีอาการใด ๆ แต่กระบวนการติดเชื้อยัง
ดำเนินอยู่และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้
4. ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส (Tertiary syphilis)
เชื้อจะเข้าไปทำลายระบบหัวใจและหลอดเลือด
ทำให้เกิด Aortic aneurysm และ Aortic insufficiency
ถ้าเชื้อเข้าสู่ระบบประสาทจะเกิดผิวหนังอักเสบ เยื่อบุสมองอักเสบ
และเสียชีวิตในที่สุด
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร
ทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ตายคลอด ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส (Neonatal syphilis)
การประเมิน
1. การซักประวัติ
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อซิฟิลิส หรือมีประวัติเคยป่วยด้วยโรคซิฟิลิสมาก่อน
2. การตรวจร่างกาย
พบผื่นบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต แต่กดไม่เจ็บ มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 ระยะที่เป็นแผลสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจหาเชื้อ T. Pallidum จากแผล chancre หรือผื่น
ตรวจด้วยกล้อง Dark-field microscope
3.2 การคัดกรองส่วนใหญ่นิยมใช้การตรวจด้วยวิธี VDRL
การรักษา
การรักษาเป็นแนวทางเดียวกับสตรีที่ติดเชื้อซิฟิลิสขณะไม่ตั้งครรภ์ โดยยึดหลักการรักษาให้หาย ครบถ้วน และต้องให้สามีมารับการตรวจและรักษาพร้อมกัน
ให้ยา Penicillin G
ระยะ Primary, Secondary และ Early latent syphilis รักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
ระยะ Late latent syphilis จะรักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium (2.4 ล้านยูนิต) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะพก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน
9.2.3 หนองใน (Gonorrhea)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Neiseria gonorrheae หรือ Gonococcus (GC)
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อเชื้อ Neiseria gonorrheae เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก
จะพยายามผ่านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปเพิ่มจำนวนเซลล์ในชั้น Subepithelial tissue จากนั้น เชื้อ
Neiseria gonorrheae จะทำปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อ
เซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง มักพบการอักเสบคือ เยื่อเมือกบริเวณปากมดลูก
อาการและอาการแสดง
มีการอักเสบของปากมดลูกและช่องคลอดทำให้ตกขาวเป็นหนอง
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
มีบุตรยาก กรณีที่มีอาการขณะตั้งครรภ์จะทำให้ถุงน้ำคร่ำอักเสบและติดเชื้อ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ทารก
ทารกแรกเกิดที่คลอดปกติผ่านทางช่องคลอดมีการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก
ช่องคลอด หรืออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การประเมินและวินิจฉัย
1. การซักประวัติ
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองใน หรือมีประวัติเคยป่วยด้วยโรคหนองในมาก่อน
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจขั้นต้นเก็บน้ำเหลืองหรือหนองจากส่วนที่มีการอักเสบมาย้อมสีตรวจ gram stain smear
ยืนยันผลทำได้โดยการเพาะเชื้อ
ตรวจทางช่องคลอดจะพบหนองสีขาวขุ่น บางรายอาจพบเลือดปนหนอง หากมีการอักเสบมากขาหนีบจะบวม กดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน
การรักษา
ตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์ตามปกติ (VDRL)
หากพบว่ามีเชื้อให้ยา Ceftriaxone, Azithromycin, Penicillin ได้ทั้งรับประทานและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% Tetracycline ointment หยอดตาทารก
ทารกที่พบว่ามีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะ Ceftriaxoneตามแผนการรักษาของกุมารแพทย์
9.2.4 การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสคือ Herpes simplex virus (HSV)
เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางเยื่อบ หรือแผลที่ผิวหนัง
พยาธิสภาพ
เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ำใส เล็ก ๆจำนวนมาก เมื่อตุ่มน้ำแตกหนังกำพร้าจะหลุดพร้อมกับทำให้เกิดแผลตื้น ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล
อาการและอาการแสดง
การติดเชื้อปฐมภูมิมักเกิด 3-7 วันหลังการสัมผัสเชื้อ โดยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และคันบริเวณที่สัมผัสโรคจากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะตกสะเก็ด
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ
การติดเชื้อครั้งแรกขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง
ทารก
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด หากทารกมีการติดเชื้อ ในขณะตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดสูง ส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้
การประเมินและ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับการเคยติดเชื้อเริมมาก่อนหรือไม่
เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะสืบพันธ์หรือไม่
การตรวจร่างกาย
พบตุ่มน้ำใส หากตุ่มน้ำแตกจะพบแผลอักเสบ แดง ปวดแสบปวด
ร้อนบริเวณขอบแผลค่อนข้างแข็ง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การเพาะเชื้อใน Hank’s medium
3.3 การทำให้ตุ่มน้ำแตกแล้วขูดบริเวณก้นแผลมาป้ายสไลด์แล้วย้อมสี (Tzanck’s test)
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษา Herpes simplex ให้หายขาดได้ จึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด
ให้ Acyclovir (200 mg) รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน 5-7 วันหากมีอาการของระบบอื่นที่รุนแรงร่วมด้วยอาจให้ Acyclovir (5 mg/kg) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน
9.2.5. หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
สาเหต
เกิดจากการติดเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV)
พยาธิสภาพ
ติดต่อจากการสัมผัสรอยโรคโดยเฉพาะทางเพศสัมพันธ์มีระยะในการฟักตัวประมาณ 3 สัปดาห์จนถึง 8 เดือน เชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นล่างสุดของเยื่อบุ ทำให้เซลล์ที่แบ่งตัวเปลี่ยนรูปร่างและหน้าที่จนควบคุมไม่ได้ เกิดเป็นเนื้องอกนูนออกมา
อาการและอาการแสดง
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ขนาดแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณอับชื้น เช่น ปากช่องคลอด หรือในช่องคลอด เป็นต้น
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด และมารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ทารก
ติดเชื้อหูดหงอนไก่ระหว่างตั้งครรภ์และขณะคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
1. การซักประวัติ
ประวัติเคยติดเชื้อหูดหงอนไก่มาก่อน หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่
2. การตรวจร่างกา
ย
พบรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ผิวขรุขระคล้ายดอก
กะหล่ำบริเวณปากช่องคลอด ในช่องคลอด
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หรือตรวจ Pap smear หรือตรวจหาเชื้อ HPV โดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) หรือการตรวจ DNA (DNA probe)
การรักษา
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% Trichlorracetic acid หรือ Bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ Laser หรือ Cryosurgery หรือ Electrocoagulation withcurettage
แนะนำการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
9.2.6 การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ (Human Immunodeficiency Virus [HIV] duringpregnancy)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
ภายหลังการติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ HIV จะใช้ส่วน GP120 ที่ผิวของเชื้อ HIV จับกับCD4 receptor ของเซลล์เม็ดเลือดขาว จากนั้นเชื้อ HIV จะเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านั้น แล้วใช้ Enzyme reverse transcriptase สร้าง viral DNA แทรกเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดขาวแล้วเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวที่มีเชื้อไวรัส HIV
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างตั้งครรภ์ ผ่านเซลล์trophoblast และ macrophages เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์
การติดเชื้อ HIV ระหว่างคลอด เนื่องจากระหว่างคลอดทารกจะสัมผัสกับเลือดของมารดา น้ำคร่ำ
การติดเชื้อ HIV ระยะหลังคลอด ติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับสาร
คัดหลั่งของมารดา แต่ส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากน้ำนมมารดา
อาการและอาการแสดง
1. ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HI
V
ร่างกายเริ่มสร้าง Antibody กินเวลาประมาณ 1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ จากนั้นจะเริ่มมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต
2. ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ
ร่างกายจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป ไม่มีอาการจะนาน 5-10 ปี
4. ระยะป่วยเป็นเอดส์
ไข้ ผอม ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่ง ซีด อาจพบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง ระบบภูมิคุ้มกันจะเสื่อมเต็มที่ ทำให้เชื้อโรคฉวยโอกาสเข้ามาในร่างกาย ทำให้เกิดวัณโรคปอด ปอดอักเสบ
3. ระยะติดเชื้อที่มีอาการ
มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.80C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และมีปริมาณ CD4 ต่ำ มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
ทารก
มีโอกาสที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมิน
1.ซักประวัติ
ประวัติการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ รวมทั้งซักประวัติอาการและอาการแสดงของโรคเอดส
2. ตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายทั่วไป ซึ่งหากเป็นระยะที่แสดงอาการอาจพบว่ามีไข้ ไอ ต่อมน้ำเหลืองโต มีแผลในปาก มีฝ้าในปาก ติดเชื้อราในช่องคลอด
3. ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจเชื้อ HIV (HIV viral testing) เป็นการตรวจหาเชื้อ HIV ได้แก่ ตรวจหาโปรตีนชนิด p24 Antigen
3.2 การตรวจหา Antibody ต่อเชื้อ HIV เป็นวิธีมาตรฐานสำหรับกาวินิจฉัย
3.3 การตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 lymphocyte และการตรวจวัดปริมาณ Viralload เพื่อใช้ในการประเมินความรุนแรงของโรค
4. ตรวจพิเศษ
ตรวจเสมหะและเอกซเรย์ ในรายที่สงสัยจะเป็นวัณโรคปอด หรือปอดอักเสบแทรก เจาะหลังในรายที่สงสัยจะเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
การรักษา
การให้ยาต้านไวรัสแก่สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV เพื่อลดปริมาณของเชื้อ HIV ในเลือดให้ต่ำ
ที่สุด คือน้อยกว่า 50 copies/ml และเพิ่มปริมาณ CD4 ให้สูงที่สุด
การให้ยาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสระหว่างตั้งครรภ์ หาก CD4 < 200 cells/mm3
ป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส PCP โดยให้ยา TMP-SMX (80/400 mg) ให้กินครั้งละ 2 เม็ด ทุก 24 ชั่วโมง หรือ double strength TMP-SMX (160/800 mg) 1 เม็ด ทุก 24 ชั่วโมง
หลังคลอดหลีกเลี่ยงการให้ยากลุ่ม Ergotamine เช่น Methergine เป็นต้น
หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะทารกโดยไม่จำเป็น
หลีกเลี่ยงการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา