Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ - Coggle Diagram
หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ
มารยาทชาวพุทธ
การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
วิธีแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
คือ การกราบด้วยวิธีเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบด้วยอวัยวะทั้ง๕ส่วน จดกับพื้น คือ มือ๒ เข่า๒ หน้าผาก๑
ขั้นตอนกราบพระรัตนตรัย
ท่าเตรียม
ชาย : นั่งท่าเทพบุตร
หญิง : นั่งท่าเทพธิดา
จังหวะที่1 : ประนมมือระหว่างอก (อัญชลี)
จังหวะที่2 : ประนมมือก้มศีรษะเล็กน้อย นิ้วหัวแม่มือจดกลางหน้าผาก (วันทา)
จังหวะที่3 : การกราบ (อภิวาท)
การแสดงความเคารพต่อปูชนียสถาน
วิธีการเคารพ
1.ถ้าเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมีพื้นที่เหมาะสมที่จะแสดงความเคารพ
2.ถ้าเป็นสถานที่ไม่เหมาะสมแก่การกราบให้ใช้วิธีประนมมือ
การแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคล
1.การกราบพระ
1.1การกราบพระ ใช้แสดงความเคารพกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
1.2การกราบบิดา มารดา ครู อาจารย์
1.นั่งพับเพียบเก็บเท้า
2.เบี่ยงตัวหมอบลง
3.วางแขนราบลงกับพื้นตลอดครึ่งแขน
4.ประนมมือตั้งลงพื้นก้มศีรษะ
5.ไม่แบมือ แล้วทรงตัวขึ้นนั่ง
2.การไหว้
2.1การไหว้พระสงฆ์ (ขณะยืน)
1.ยกมือที่ประนมขึ้นจดหน้าผาก
2.ปลายหัวแม่มือจดระหว่างคิ้ว ค้อมศีรษะลงให้ปลายนิ้วชี้จดตีนผม ค้อมตัวลงให้มาก
3.ผู้ชายยืนเท้าชิด ผู้หญิงก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า
2.2การไหว้บิดามารดา (ขณะยืน)
1.ประนมมือขึ้นจดส่วนกลางของหน้า
2.ปลายหัวแม่มือจดปลายจมูก ค้อมศีรษะปลายนิ้วชี้จดระหว่างคิ้ว
3.ผู้ชายส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ผู้หญิงก้าวเท้าหน้าย่อตัวลงไหว้
2.3ไหว้ผู้ใหญ่
ยกมือที่ประนมจดส่วนหน้า ปลายหัวแม่มือจดปลายคาง นิ้วชี้จดจมูก
2.4การรับไหว้
ยกมือทั้งสองประนมที่อก ค้อมศีรษะให้ผู้ใหญ่ไหว้เล็กน้อย
การปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร
1.อามิสปฏิสันถาร คือ การต้อนรับสิ่งของ เช่น เมื่อแขกมาให้หาน้ำมารับรองก่อนรับอาหารอื่นๆ
2.ธรรมปฏิสันถาร คือ การต้อนรับด้วยธรรม ต้อนรับที่ทำพอดีสมควรกับฐานะของแขก
หน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธ คือสิ่งที่ชาวพุทธทั่วไปต้องเรียนรู้ เพื่อจะได้ปฏิบัติตนให้ถูกต้อง
การบรรพชาและอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
การบรรพชา การเว้นจากความชั่วทุกอย่าง เดิมคำว่าบรรพชา คือการบวชเป็นภิกษุ
อุปสมบท แปลว่า การเข้าถึงสภาวะอันสูง การบวชเป็นภิกษุ
ประเภทของการบรรพชาและอุปสมบท
1.เอหิภิกขุอุปสัมปทา การบวชที่พระพุทธเจ้าประทานให้โดยเปล่งวาจา
2.ติสรณคมนูปสัมปทา การบวชด้วยวิธีที่พระเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกทำ
3.โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา การบวชด้วยการรับพระโอวาท
4.ปัญหาพยากรณูสัมปทา การบวชด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า
5.ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา การบวชด้วยการรับครุธรรม 8 ประการ
6.ทูเตนอุปสัมปทา การบวชด้วยทูต
7.อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา การบวชจากสงฆ์สองฝ่ายคือ ภิกษุ และภิกษุณี
8.ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การบวชโดยคณะสงฆ์
ประโยชน์ของการบรรพชาและอุปสมบท
1.เพื่อเรียนรู้พระธรรมวินัย
2.เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
3.เพื่อฝึกฝนอบรมให้รู้จักอดทน
4.เพื่อดำรงตนให้เป็นพลดีของสังคม
การบวชเป็นชี ธรรมจาริณี หรือเนกขัมมนารี
ชี หมายถึง สตรีผู้นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้ว โกนผม ถือศีล8
ธรรมจาริณี หมายถึง สตรีผู้ยุ่งขาวห่มขาว ไม่โกนคิ้ว ไม่โกนผม ถือศีล8
วิธีการบวช
1.ผู้บวชแต่งชุดขาว
2.ตัวแทนผู้บวชถวายธูปเทียนแด่พระสงฆ์จำนวน1รูป หรือ4 รูป ขึ้นไป
3.กราบ 3 ครั้ง
4.กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
5.กล่าวคำอาราธนาศีล8
6.รับไตรสรณคมน์
7.สมาทานศีล8
8.นำเครื่องสักการะไปถวายพระ รับฟังโอวาท เสร็จพิธี
ประโยชน์ของการบวช
1.เพื่อฝึกฝนอบรมตน
2.เพื่อเพิ่มพูนบุญกุศล
3.เพื่อให้จิตสงบ
5.เพื่อปลดเปลื้องให้พ้นจากทุกข์
การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และธรรมศึกษา
วัตถุประสงค์ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
1.เพื่อให้มีความรู้ทางพุทธศาสนา
2.เพื่อปลูกฝังศีลธรรม วัฒนธรรม
3.เพื่อให้เยาวชนได้ใกล้ชิดพระภิกษุและสามเณร
4.เพื่อให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ธรรมศึกษา
แบ่งการเรียนเป็น 3 ระดับ
ธรรมศึกษาชั้นตรี ธรรมศึกษาชั้นโท ธรรมศึกษาชั้นเอก
วัตถุประสงค์การจัดธรรมศึกษา
1.เพื่อให้มีโอกาสศึกษาพุทธประวัติ
2.นำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
3.เพื่อความมั่นคงและแพร่หลาย
4.เพื่อสร้างสังคมคุณภาพ
การปลูกจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในสังคมพุทธ
สังคม การอยู่ร่วมกันของสมาชิก
สังคมพุทธ การอยู่ร่วมกัน ประกอบไปด้วยพุทธบริษัท 4
ประเภทแรก = พระภิกษ
ประเภทสอง = คฤหัสถ์ ชาวบ้าน
การบวช : วิธีหนึ่งของการสร้างสมาชิกให้กับสังคมพุทธ
2.ศึกษาคำสอน และปฏิบัติตามคำสอน
3.เผยแผ่คำสอน
4.ปกป้องและรักษาพระพุทธศาสนา
การเข้าค่าย
ค่ายพุทธธรรม ค่ายที่จัดขึ้นเพื่ออบรมส่งเสริมคุณธรรม
ประโยชน์
1.ปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม
2.รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม
3.รู้หลักธรรมคำสอน
4.ได้ฝึกอบรมจิต
การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
ความสำคัญของการประกอบพิธีกรรม
1.เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
2.จุดเริ่มต้นเตรียมตัวให้พร้อม
3.เครื่องควบคุมกาย วาจา ใจ
4.ทำให้คนหมู่มากอยู่ร่วมกันสงบ
การประกอบพิธีกรรม
1.เรียบง่าย 2.ไม่ฟุ่มเฟือย
3.ไม่ยุ่งยาก ไม่มีพิธีรีตองมาก
4.ถูกต้องตามประเพณีนิยม