Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคที่พบบ่อย - Coggle Diagram
โรคที่พบบ่อย
Tuberculosis
วัณโรคปอด
พยาธิสภาพ
-
เชื้อวัณโรคสามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศจากผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดและกล่องเสียง การติดเชื้อเกิดขึ้นจากการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อวัณโรคของผู้ป่วยซึ่งเกิดจากการไอหรือจาม พูดหรือร้องเพลง การไอหรือจามหนึ่งครั้งสามารถสร้างละอองฝอยได้ถึงล้านละอองฝอย
เกิดขึ้นเมื่อสูดหายใจเอาเชื้อเข้าไปถึงถุงลมในปอด > เชื้อมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้น > macrophage ไม่สามารถควบคุมเชื้อได้ > มีรอยโรคในเนื้อปอด (primary focus) > เชื้อแบ่งตัวมากขึ้น > ลุกลามไปตาม lymphatic vessels > ลามไปต่อมน้ำเหลืองี่ขั้วปอด > ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น > เชื้อสามารถเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง เข้ากระแสเลือด > กระจายสู่อวัยวะต่างๆ
อาการ
ไอเรื้อรังติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ คือ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้ (มักจะเป็นตอนบ่าย เย็น หรือตอนกลางคืน) ไอมีเลือดปน (hemoptysis) เจ็บหน้าอกหายใจขัด เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
การรักษาพยาบาล
ก่อนเริ่มการรักษาควร
- ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี
- เจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ
- เจาะเลือดดูการทำงานของไต
การรักษาด้วยยา
- แนะนำสูตรยาสำหรับผู้ป่วยใหม่ที่เชื้อไวต่อยาด้วยสูตรยา 2HRZE / 4HR
- ผู้ป่วยบางคนตอบสนองการรักษาไม่ดี สามารถยืดการรักษาในระยะต่อเนื่องจาก 4 เดือน เป็น 7 เดือน
- หลีกเลี่ยงการให้ streptomycin ในหญิงตั้งครรภ์
-
Lung abscess
โรคฝีในปอด
พยาธิสภาพ
การติดเชื้อรุนแรงในปอด > มีการทำลายจนเนื้อปอดเน่าตาย > เกิดเป็นโพรงหนองและหนองในเนื้อเยื่อปอด > ร่างกายพยายามสร้างขอบกันการอักเสบเยื่อพังผืดกั้นไว้ > ถ้าไม่สำเร็จฝีจะกระจายเข้าหลอดลม > หากหนองไม่สามารถระบายออกทางหลอดลม หนองจะในถุงจะมากขึ้นเรื่อยๆ > แตกเข้าช่องเยื่อหุ้มปอด
อาการ
อาการเริ่มแรกเหมือนปอดบวม ระยะแรกเสมหะจะมีจำนวนน้อย แต่3-4 วันต่อมาจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อฝีแตกเข้าหลอดลมจะมีเสมหะเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็นเนื่องจากเชื้อ anerobic bacteria และมีโลหิตปนได้ มี Pleuritic chest pain เสมอ มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ซีด และมี clubbing of finger เคาะปอดได้ยินเสียงทึบ ฟังเสียงหายใจเบา
การรักษาพยาบาล
ทำเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ คือ
- การรับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดนาน 8 สัปดาห์
- การกำจัดเสมหะออกจากปอดโดยจัดท่านอน
- เน้นการทำความสะอาดช่องปาก การใช้น้ำยาบ้วนปาก แปรงฟัน ไหมขัดฟัน ระวังการเกิดเชื้อราในช่องปากจาก Candida albicans
- พยาบาลทำความเข้าใจและประสานวามเข้าใจกับครอบครัวผู้ป่วย
- แนะนำญาติที่จะระมัดระวังไม่ให้มีการสำลักอาหาร น้ำลาย และสิ่งแปลกปลอมจะเข้าสู่ทางเดินอาหาร
-