Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีและทารกที่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลสตรีและทารกที่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
สาเหตุ
ตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus) เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virus ผ่านทางเลือด น้ําลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ํานม และผ่านทางรก เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ตับจะ แบ่งตัวได้รวดเร็วส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง
พยาธิสภาพ
ระยะแรก เมื่อได้รับเชื้อ Hepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ ได้รับเชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติซึ่งแสดงว่ายังไม่มีการอักเสบของตับ แต่หากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลบวก และพบ Hepatitis B virus DNA (Viral load) จํานวนมาก
ระยะที่สอง ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัว เหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น ในระยะนี้ร่างกายจะสร้าง Anti- HBe ขึ้นมาเพื่อทําลาย HBeAg
ระยะที่สาม เป็นระยะที่ Anti-HBe ทําลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (Inactive carrier) ซึ่งหากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ Anti-HBe ให้ผลบวก และค่าเอนไซม์ ตับปกติ
ระยะที่สี่ เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (Re-activation phase) ทําให้เกิด การอักเสบของตับขึ้นมาอีก หากตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ Anti-HBe ให้ผลบวก ใน ระยะนี้ถ้า Anti-HBe ไม่สามารถทําลาย HBeAg ได้จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL จะเข้าสู่ภาวะตับ อักเสบเรื้อรังจนเนื้อตับเสียหาย มีพังผืดแทรกจนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับ
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะ ฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน) ดังนั้นในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะ เริ่มด้วยมีไข้ตำ่ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับ โต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเมื่อถึงระยะ นี้ไข้จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้นและส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์
การรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก และตรวจซ้ํา อีกครั้งในไตรมาสที่ 3 หากผลเป็นบวก ตรวจหา HBeAg เพื่อดูความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ
กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus ให้การรักษาดังนี้
ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทํางานหนัก หรือออกกําลังกาย
แนะนําให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
HBsAb หากผลตรวจ เป็นลบ แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวฉีดวัคซีน
ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน อาจให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา ให้ยาแก้อาเจียน รักษาประคับประคองตามอาการ
แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือด เพื่อหา HBsAg และ
รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus และมีค่า HBeAg เป็นบวกหรือ Hepatitis B virus DNA ในกระแสเลือดมากกว่า 20,000 IU/ml ร่วมกับค่าเอนไซม์ตับสูงเกิน 2 เท่าของค่าปกติต้องให้การรักษา ด้วยยา Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) ขนาด 300 mg รับประทานวันละ 1 ครั้ง
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
สาเหตุ
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ Rubella virus (German measles virus) โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ มีระยะฟักตัว 14-21 วัน ระยะติดเชื้อ 7 วัน ก่อนผื่นขึ้นและ 4 วันหลังผื่นขึ้น หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะ 3-4 เดือนแรกของการ ตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสจะสามารถผ่านไปยังทารก ทําให้ทารกเกิดความพิการแต่กําเนิดที่รุนแรงได
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และ ต่อน้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป หลังจากนั้นจะมี ผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (Maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจาย โดยจะเริ่มขึ้นที่ ใบหน้าจากนั้นจะแผ่กระจายลงมาตามหน้าอก ลําตัว แขนขา จนทั่วร่างกายอย่างรวดเร
การรักษา
ให้ภูมิคุ้มกันเนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง คุ้มกับค่าใช้จ่าย และควร เน้นการ ฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองหารายที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพื่อให้วัคซีน
ขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ควรหลีกเลี่ยงให้ห่างจากผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าจะเป็นหัด เยอรมัน ถ้าฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน ควรคุมกําเนิดไว้ 3 เดือน
เมื่อผลการตรวจพบว่าติดหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก แนะนําให้ทํายุติการ ตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกมีโอกาสพิการมีถึงร้อยละ 50
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน ภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสาย สะดือส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
พยาธิสภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลําตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะ เป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ อาจมีอาการปวดข้อ ปวดเข่า พบ ต่อมน้ําเหลืองโต ทั้งสองกลุ่มสามารถทําให้ทารกเกิดการติดเชื้อได้
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
สาเหตุ
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Varicella-zoster virus (HZV) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ ทําให้เกิดโรคงูสวัด สามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น โดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ําโดยตรง สัมผัสกับของใช้ที่ ปนเปื้อนเชื้อ จากตุ่มน้ําของคนที่เป็นสุกใส หรือจากการสูดหายใจเอาละอองเชื้อโรคของตุ่มน้ํา ผ่านเข้าไป ทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ความพิการของทารกในครรภ์มักพบในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อ ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
พยาธิสภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10- 20 วัน ในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า Congenital varicella syndrome ซึ่งเกิด จากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของ ทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในช่วง 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อความพิการของ ทารกในครรภ์ได้สูง
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำๆ นํามาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะ ขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ (Dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตาม ตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่
การรักษา
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส แต่เนื่องจากการติดต่อของ สุกใสนั้น เริ่มได้ตั้งแต่ 2-3 วันก่อนที่จะมีผื่นขึ้น และตลอดเวลาที่กําลังมีผื่นตุ่มสุกใสอยู่ จนกว่าตุ่มเหล่านี้ จะแห้งกลายเป็นสะเก็ด จึงจะพ้นระยะติดต่อ
การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ เช่น การพักผ่อนอย่างเพียงพอ และ ดื่มน้ํามาก ๆ หากมีไข้ ใช้ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มแอสไพริน เพราะอาจทําให้ เกิด Reye’s syndrome ทําให้เด็กเสียชีวิตได้
. การรักษาแบบเจาะจง โดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir ซึ่งควรจะให้ใน ระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น
ในทารกแรกเกิดที่คลอดจากมารดาที่มีการติดเชื้อ 5วันก่อนคลอด ถึง 2 วันหลังคลอด ฉีด ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG ให้ทารกแรกเกิดทันทีเพื่อป้องกันการติดเชื้อสุกใสจากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
สาเหตุ
เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากปรสิตคือToxoplasma gondii ซึ่งเป็นโปรโตซัวชนิดอาศัยในเซลล์ โดยติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์มีพาหะหลักคือ แมว ส่วนพาหะชั่วคราวคือ หนู กระต่าย แกะ รวมทั้งคน การติดต่อเกิดขึ้นได้โดยการรับประทานผัก หรือผลไม้ที่ปนเปื้อนดินที่มี Oocyte ของเชื้อซึ่งขับออกมาปน กับอุจจาระแมว หรือจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อปรุงไม่สุก โดยทั่วไปการติดเชื้อนี้มักหายได้เอง หรือไม่มีอาการ ยกเว้นในกลุ่มคนที่มีความบกพร่องของภูมิต้านทาน
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่ม อาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจ อักเสบ รายที่รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ทดสอบน้ําเหลืองดู titer IgG และ IgM หากมีการ ติดเชื้อเฉียบพลันเมื่อตรวจสอบน้ําเหลืองซึ่งจะเริ่มตรวจพบ Antibody IgM ที่จําเพาะต่อเชื้อภายใน 10 วันของการติดเชื้อ จนสูงสุดใน 1 เดือน และให้ผลลบ 3-4 เดือน
การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ําคร่ำ พบ IgA และ IgM
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินลักษณะสุขภาพของทารกในครรภ์ ลักษณะของรกและน้ําคร่ำ
การรักษา
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
หากจําเป็นต้องทําความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้าง ไข่ดิบ นมสดที่ไม่
ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และควรล้างมือให้สะอาดหลังจับต้องเนื้อสัตว์ดิบ
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนําให้สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ถ้าพบ IgM ในสตรีตั้งครรภ์ให้สันนิษฐานว่ามีการติดเชื้อ และรักษาด้วย Spiramycin จะ
ช่วยลดการติดเชื้อในครรภ์ได้
การวินิจฉัยในทารกก่อนคลอด สามารถกระทําได้ การเจาะเลือดสายสะดือทารกเพื่อหา
การติดเชื้อ และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อหาความผิดปกติทางสรีระของทารก
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
สาเหตุ
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อฟลาวิ ไวรัส (Flavivirus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนําโรค ซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกับที่เป็นพาหะนําโรค โรค ไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) และไข้เหลือง สามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้
พยาธิสภาพ
สามารถแพร่โดยยุงลายที่มีเชื้อแล้วไปกัดคน สามารถติดต่อได้โดยการถูก ยุงลายที่มีเชื้อกัด และโรคนี้ยังสามารถติดต่อ จากคนสู่คนได้โดยผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ มีระยะฟักตัว 3-12 วัน ก่อนแสดงอาการ สามารถพบเชื้อนี้ในน้ําอสุจิได้นาน 6 เดือน
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อย ตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยจะมี อาการที่ไม่รุนแรง และจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและ ทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก ส่วนน้อยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท และระบบ ภูมิคุ้มกัน ทําให้พบอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน้อย
การรักษา
การเฝ้าระวัง ครอบคลุม 4 ด้าน คือ ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา ระบบ เฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กําเนิด และระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท ร่วมกับ การรณรงค์กําจัดลูกน้ํายุงลาย ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้ซิกาโดยเฉพาะ การรักษาทําได้ด้วย การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ํามาก ๆ และรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หรือ บรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAIDs) เนื่องจากยาบางชนิดเป็นอันตรายสําหรับโรคนี้ โดยอาจทําให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น
การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะตั้งครรภ์ (Covid-19 Virus Infection during pregnancy)
สาเหตุ
จากเชื้อไวรัสตระกูล Corona ชื่อ SARS-CoV-2 ส่วนชื่อของโรคติดเชื้อชนิดนี้เรียกว่า COVID-19 ย่อมาจาก CO แทน corona, VI แทน virus, D แทนdisease และ 19 แทน 2019 การติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือจาม อาการของโรคคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
พยาธิสภาพ
เชื้อไวรัสต้องเข้าไปแบ่งตัวและเจริญเติบโตในเซลล์ร่างกาย เช่น เซลล์ของเยื่อบุหลอดลม จึง จะก่อโรคได้ เชื้อใช้ผิวเซลล์ของไวรัสจับกับ Angiotensin converting enzyme II ที่ผิวเซลล์ในร่างกาย เพื่อเข้าไปเจริญเติบโตและเพิ่มจํานวนเชื้อในเซลล์ แล้วเซลล์ที่ติดเชื้อจะเพิ่มจํานวนและปล่อยเชื้อไวรัส ออกมานอกเซลล์เพื่อไปก่อโรคในเซลล์ข้างเคียงต่อไป การที่เชื้อเพิ่มจํานวนมากขึ้นและเข้าไปในเซลล์ ข้างเคียงอีกหลายรอบจะทําลายเซลล์ในหลอดลมและปอด ทําให้ปอดอักเสบและการหายใจล้มเหลวใน ที่สุด
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศา เซลเซียสขึ้นไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ามูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลําบาก
การรักษา
สตรีตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ ยกเว้นกรณีที่มีข้อห้าม เช่น มีอาการแพ้รุนแรง จากการฉีดครั้งแรก
ช่วงอายุครรภ์ที่แนะนําในการฉีดวัคซีน คือ หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห
กรณีสตรีหลังคลอดยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 สามารถเข้ารับวัคซีนได้ หลังจากคลอดทันทีตั้งแต่อยู่ในโรงพยาบาล สามารถฉีดให้มารดาระหว่างให้นมบุตร โดยพบว่าภูมิคุ้มกันที่ เกิดขึ้นจะถูกส่งไปยังบุตรผ่านทางน้ํานม ซึ่งอาจช่วยป้องกันทารกจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้
วัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทยสําหรับสตรีตั้งครรภ์ปัจจุบัน มี 4 ชนิด คือ คือ Sinovac, Sinopharm, AstraZeneca และ Pfizer
ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดี พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ยกเว้นมีความ จําเป็นควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์