Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus), หัดเยอรมัน …
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี
(Hepatitis B virus)
สาเหตุ
ไวรัสตับอักเสบชนิดบี
(Hepatitis B virus)
พยาธิสภาพ
ระยะแรก
ไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติ
ระยะที่สอง
มีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน
จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัว เหลืองตาเหลือง
ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น ตรวจเลือดพบ Anti-HBe ให้ผลบวก และจํานวน Hepatitis B virus DNA ลดลง
ระยะที่สาม
อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (Inactive carrier) ตรวจเลือด พบ HBeAg ให้ผลลบ Anti-HBe ให้ผลบวก และค่าเอนไซม์ตับปกติ
ระยะที่สี่
เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก ตรวจเลือดเลือดพบ HBeAg ให้ผลลบ และ Anti-HBe ให้ผลบวก ในระยะนี้ถ้า Anti-HBe ไม่สามารถทําลาย HBeAg ได้จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL จะเข้าสู่ภาวะตับอักเสบเรื้อรังจนเนื้อตับเสียหาย มีพังผืดแทรกจนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับ
อาการและอาการแสดง
ระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ตำ่ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชา
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบ
จะ ไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น
มีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกําหนด
ทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้โดยรับเชื้อขณะคลอดจากการที่ทารกสัมผัสหรือกลืนสารคัดหลั่งทางช่องคลอด หรือทารกดูดนมมารดาหลังคลอด
การประเมิน
ซักประวัติ
การเป็นพาหะ เคยมีอาการแสดง เคยสัมผัสใกล้ชิด
กับคนที่เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือคนที่เป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกาย
พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน
เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลือง ตาเหลือง
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจการทํางานของตับ และตรวจหา Antigen และ Antibody ของไวรัส
การรักษา
พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทํางานหนัก
แนะนําให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือด หากผลตรวจเป็นลบ แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวฉีดวัคซีน
หลีกเลี่ยงการทําหัตถการที่จะทําให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแก่ทารกในครรภ์
พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด เพราะอัตราการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากมารดาสู่ทารก ไม่แตกต่างกันระหว่างคลอดทางช่องคลอดกับคลอดโดยการผ่าตัด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคน
ห้คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับโรค
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการ
มาตรวจตามนัด เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ําครำ่ และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกัน
ถุงน้ําครำ่แตก ก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด
ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ดูแลให้ฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุดหลังเกิด และให้ Hepatitis B vaccine (HBV) 3 ครั้ง
ระยะหลังคลอด
ไม่จําเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก
เน้นการรักษาความสะอาดของร่างกาย
แนะนําให้นําทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
และมาตรวจตามนัด
หัดเยอรมัน
(Rubella/German measles)
สาเหตุ
ติดเชื้อ Rubella virus (German measles virus)
โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก ตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก มีตุ่มผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลําตัวและแขนขา เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ อาจมีอาการปวดข้อ ปวดเข่า พบต่อมน้ําเหลืองโต
อาการและอาการแสดง
มีไข้ตำ่ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็น 1-2 วันก็จะหายไป
หลังจากนั้น มีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (Maculopapular)
ผลกระทบ
ตั้งครรภ์
อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ทารกในครรภ์
เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง
เกล็ดเลือดตำ่ กระดูกบาง
ความผิดปกติถาวร หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น
ภาวะเบาหวาน โรคต่อม ไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน
ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
การประเมิน
ซักประวัติ
การสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ
ตรวจร่างกาย
อาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI)
การรักษา
ให้ภูมิคุ้มกัน
ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก หลีกเลี่ยงให้ห่างจากผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าเป็นหัดเยอรมัน
เมื่อผลการตรวจพบว่าติดหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก แนะนําให้ทํายุติการตั้งครรภ์
กิจกรรมการพยาบาล
ห้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
สตรีที่มาฝากครรภ์หากยังไม่มีภูมิคุ้มกัน แนะนําให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน
แนะนําให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกัน
โรคหัดเยอรมัน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัย
สุกใส
(Varicella-zoster virus: VZV)
สาเหตุ
เชื้อไวรัส Varicella-zoster virus (HZV)
พยาธิสภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ
ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10- 20 วัน
อาการและอาการแสดง
ตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ (Dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ปอดบวม ระบบหายใจล้มเหลว บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง
ทําให้ซึมลง และมีอาการชัก ทําให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารกในครรภ์
ทารก
ติดเชื้อในครรภ์ อาจทําให้ทารกเกิดความพิการ
ก่อนกําเนิดได้
ติดเชื้อปริกําเนิด อัตราเสียชีวิตของทารกที่ติดเชื้อสูง
การรักษา
ป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส
รักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ
รักษาแบบเจาะจง โดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
เน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
กรณีพ้นระยะการติดต่อ หรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้ว สามารถ
แนะนําเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนําการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันท
เน้นยํ้าให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะตั้งครรภ์
(COVID-19 Virus Infection during Pregnancy)
สาเหตุ
เชื้อไวรัสตระกูล Corona ชื่อ SARS-CoV-2
พยาธิสภาพ
เชื้อใช้ผิวเซลล์ของไวรัสจับกับ Angiotensin converting enzyme II
ที่ผิวเซลล์ในร่างกาย เพื่อเข้าไปเจริญเติบโตและเพิ่มจํานวนเชื้อในเซลล์ แล้วเซลล์ที่ติดเชื้อจะเพิ่มจํานวนและปล่อยเชื้อไวรัส ออกมานอกเซลล์เพื่อไปก่อโรคในเซลล์ข้างเคียงต่อไป
อาการและอาการแสดง
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ ไอ นำ้มูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลําบาก
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ําครำ่แตก ก่อนกําหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกําหนด
ทารกในครรภ์
พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ําหนักตัวน้อย คลอดก่อนกําหนด
การรักษา
ถ้ามีไข้ ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
อาการไม่รุนแรง ให้ยาต้านไวรัสเช่นเดียวกับผู้ป่วยทั่วไป เช่น
Lopinavir/Ritonavir, Remdesivir (Nucleotide analog), Chloroquine (Antimalarial drug), Favipiravir
หากอาการแย่ลง เช่น หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น เจ็บหน้าอก หรือมี hypoxia เป็นต้น ควรคิดถึงภาวะ Pulmonary embolism
ไม่ให้ออกซิเจนทาง Face mask หรือ Face mask with bag
ให้เป็น Cannula แทน
On EFM อย่างต่อเนื่องทุกราย กรณีที่สตรีตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ขึ้นไป
การพยาบาล
แยกผู้คลอดอยู่ในห้องแรงดันลบและจํากัดผู้ ช่วยเหลือในการคลอด
2.สังเกตสัญญาณชีพ ผู้คลอดควรมีค่าออกซิเจนมากกว่าร้อยละ 94
กรณีการคลอดปกติควรหลีกเลี่ยงการเร่งคลอด (Induction) ในผู้คลอด ที่มีอายุครรภ์ครบกําหนด อย่างไรขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์หาก
จําเป็นสามารถใช้ยาเร่งคลอดได้
ควรให้ออกซิเจนกับผู้คลอดทางจมูก
On EFM ตลอดเวลา
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะและยาต้านไวรัส
ให้กําลังใจและสังเกตสภาวะด้านจิตใจของมารดา
การติดเชื้อโปรโตซัว
(Toxoplasmosis)
สาเหตุ
ติดเชื้อที่เกิดจากปรสิต คือ
Toxoplasma gondii
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ รายที่รุนแรงมักพบใน
ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกําเนิด ถุงน้ําครำ่และเยื่อหุ้มทารกอักเสบ
ถุงน้ําครำ่แตกก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด
ทารกในครรภ์
ติดเชื้อในครรภ์
การรักษา
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้าง และควรล้างมือให้สะอาดหลังจับต้องเนื้อสัตว์ดิบ
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า หรือ ทําความสะอาดอุจจาระแมว แนะนําให้สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ถ้าพบ IgM ในสตรีตั้งครรภ์ให้สันนิษฐานว่ามีการติดเชื้อ
และรักษาด้วย Spiramycin
กิจกรรมการพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค
เปิดโอกาสให้ซักถาม
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง
แนะนําเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ระยะคลอด
เน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที จากนั้น
ป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด