Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีปัญหาระบบประสาทสัมผัส การมองเห็น…
การพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีปัญหาระบบประสาทสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน
การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทรับความรู้สึกในผู้สูงอายุ
ความผิดปกติของการได้กลิ่นในผู้สูงอายุ
อาการและอาการแสดง
ความสามารถในการดมกลิ่นไม่ดีเพราะมีการเสื่อมของเยื่อบุโพรงจมูก พบว่ากลิ่นจะลดลง 60% เมื่อถึงอายุ 60 ปี อันตราย เช่นกลิ่นก๊าซรั่ว
• การมองเห็น
การมองเห็นสีจะลดลง 25% เมื่ออายุ 50 ปี และจะลดลงถึง 50%
เมื่ออายุ 70 ปี ผู้สูงอายุจึงมักชอบสีที่สดสว่างมากกว่าสีอื่น
ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินในผู้สูงอายุ
• หูตึง(Prebycusis)
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ Receptors รวมทั้งการสูญเสีย hair cell ใน Cochles
• มีการเสื่อมของ Organ of Corti และ Basilar membrane ซึ่งอยู่ในหูชั้นในร่วมกับเส้นประสาทคู่ที่ 8 (Auditory nerve)
• สูญเสียการทำหน้าที่เยื่อแก้วหูและอวัยวะในหูชั้นกลางแข็งตัวขึ้น จะเกิดการสูญเสียการได้ยิน ในระดับเสียงสูงมากกว่าเสียงต่ำ
อาการและอาการแสดง
• มักพบว่าผู้สูงอายุจะฟังเสียงสูงไม่ค่อยได้ยิน
• อาจพบอาการปวดหูขณะได้ยินเสียงดังร่วมด้วย
การรักษา
ใช้เครื่องช่วยฟัง
การป้องกัน
1.เช็ดทำความสะอาดหู
2.หลีกเลี่ยงอันตรายบริเวณหู
3.ถ้าอยู่ในที่เสียงดังมากควรใช้เครื่องป้องกันเสียง
4.ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง ๆ
การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน
• พูดเสียงทุ้มช้า ๆชัด ๆ ควรหันหน้าเข้าหาผู้สูงอายุขณะสนทนา
• พูดใกล้ๆข้างๆหูที่ดีของผู้สูงอายุ
• ผิวหนัง
ผิวหนังผู้สูงอายุจะบางลง ความยืดหยุ่นไม่ดี ผิวหนังเหี่ยว ไขมันใต้ผิวหนังลดลงทำให้ร่างกายทนต่อความหนาวเย็นได้น้อยลง
ความผิดปกติของการรับรส
การรับรหวานจะสูญเสียก่อนการรับรสเปรี้ยว รสขม และรสเค็ม จึงเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารไม่อร่อย และเกิดภาวะเบื่ออาหารได้
การพยาบาล
1.จัดเตรียมอาหารให้น่ารับประทานโดยใส่ภาชนะที่สะอาด
2.ทำความสะอาดปากและฟันก่อนรับประทานอาหาร
3.แนะนำผู้สูงอายุและผู้ดูแลอันตรายจากการรับรสและได้กลิ่นลดลง
โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ(Cataract)
ผลจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย ก่อให้เกิดการสะสมของสารโปรตีน บริเวณเลนส์หรือการสะสมของน้ำตาลบริเวณเลนส์ในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งสามารถอธิบาย
ด้วยทฤษฎีความมีอายุเกี่ยวกับทฤษฎีสะสม
อาการของโรค
1.ต้อกระจกที่ยังไม่สุก(Immature Cataract)
แก้วตายังไม่ขุ่นมาก
2.ต้อกระจกที่สุกแล้ว(Mature Cataract)
แก้วตาขุ่นทั้งหมด เมื่อส่องไฟเข้าไปจะไม่พบเงาม่านตา
3.ต้อกระจกที่สุกเกินไป(Hypermature Cataract)
เป็นระยะที่แก้วตาบวมและแข็งมาก ปล่อยทิ้งไว้อาจตาบอด
อาการแสดงที่อาจตรวจพบได้
1.ความสามารถในการมองเห็นลดลง
2.แก้วตามีลักษณะเป็นสีขาวขุ่นหรือเทา
3.ถ้าตรวจด้วยเครื่องส่องดูจอประสาทตาบริเวณรูม่านตาจะพบว่ามีเงาดำหรือเส้นใย
การป้องกัน
1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่นพืชผักสีเขียวให้เพียงพอ ได้รับVitamin B2,A,E
2.งดสูบบุหรี่
3.ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.หลีกเลี่ยงการมองในที่แสงจ้า
5.การระมัดระวังในการใช้ยา เช่นยาหยอดตาสเตียรอยด์
6.ตรวจตาเป็นระยะ
การรักษา
Extracapsular Cataract Extraction (ECCE)
Intracapsular Cataract Extraction (ICCE)
Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens(ECCE c IOL)
4.Phacoemulsification with Intraocular Lens (PE c IOL)
การดูแลหลังผ่าตัด
• ระวังการไอหรือจาม ไม่ควรเบ่งถ่าย ไม่นอนทับบริเวณตาที่ได้รับการผ่าตัด
• หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อน มีกากใยและย่อยง่าย
โรคต้อหินในผู้สูงอายุ (Glaucoma)
ต้อหินชนิดมุมเปิด
พยาธิสภาพ
เกิดจากการตีบแคบของท่อตะแกรงที่เป็นทางระบายน้ำเลี้ยงภายในลูกตา ทำให้การระบายน้ำเลี้ยงภายในลูกตาลดลง
อาการและอาการแสดง
ในระยะแรกอาจมีตามัวเล็กน้อย เวลาใช้สายตาอาจรู้สึกเมื่อยตาเร็วกว่าปกติ ความสามารถในการมองใกล้ค่อยๆลดลง บางรายอาจมึนศีรษะและปวดตื้อๆบริเวณกระบอกตา การตรวจวัดความดันในลูกตาจะพบว่าสูงกว่า 25 mm.Hg แต่มักไม่เกิน 30 mm.Hg
ต้อหินชนิดมุมปิด
อาการและอาการแสดง
ระยะเริ่มแรก ปวดตาและศีรษะข้างเดียวพร่ามัวเล็กน้อย มองไฟเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ
ระยะรุนแรงเฉียบพลัน ปวดตาและศีรษะข้างเดียวอย่างรุนแรงพร่ามัวมาก มองไฟเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง
พยาธิสภาพ
ลานตาแคบลง
มีอาการปวดตาตามมา
การป้องกัน
1.ไม่อยู่ในที่มืดนาน ๆ
2.หลีกเลี่ยงอารตื่นเต้น
3.หลีกเลี่ยงยาขยายรูม่านตา
การรักษา
1.การใช้ยา ได้แก่ ให้ยาลดความดัน เช่น Diamox,20% Manital vein drip,การใช้ยาหยอดตา
2.การรักษาโดยวิธี Laser iridotomy
จอประสาทตาลอกหลุด(Retinal Detachment)
สาเหตุ
• การเสื่อมสภาพของจอประสาทตาและวุ้นตา
• ถูกกระทบกระเทือนบริเวณตา
• ภาวะที่ไม่มีแก้วตา
• การอักเสบภายในลูกตา
• โรคทางกาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
อาการและอาการแสดง
• ระยะแรกจะเห็นจุดดำหรือเส้นหยัก ๆ ลอยไปมาใต้ตาร่วมกับมีอาการตามัว
• ถ้ามีการดึงรั้งหรือลอกจะทำให้เห็นเป็นแสงแวบคล้ายฟ้าแลบในตาโดยไม่มีอาการปวดตา
• ทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือมองเห็นภาพบิดเบี้ยว
การรักษา
ควรให้ผู้ป่วยนอนนิ่ง ๆ พร้อมทั้งปิดตาทั้ง 2 ข้าง
ปัญหาเกี่ยวกับระบบน้ำตา
ตาแห้ง(Dry eyes)
ทำให้มีอาการแสบตา คันตา เนื่องจากเยื่อบุตาแห้ง สาเหตุจากวัยสูงอายุผลิตน้ำตาน้อยลง
การป้องกัน
1.อย่าทำงานติดต่อกันนาน ๆ โดยไม่พักสายตา
2.ไม่ทำงานในที่แสงจ้า
3.หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นละอองและควัน
4.ไม่ควรเปิดพัดลมเข้าตรงหน้า
5.พักผ่อนให้เพียงพอ
6.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การรักษา
ควรใช้ยากยอดตาที่ช่วยทำให้ตาชุ่มชื้น
ควรสวมแว่นเพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นของตา
3.ประคบร้อนบนเปลือกตา
เปลือกตาผิดปกติ
เกิดจากกล้ามเนื้อเปิดและปิดตาหย่อนตามวัย
มี 2 ลักษณะ ดังนี้
1.เปลือกตาแบะออก(Ectropion)
2.เปลือกตาม้วนเข้า(Entropion)
การรักษา
• ใช้ขี้ผึ้งปฏิชีวนะป้ายตา ป้องกันการติดเชื้อ
• การผ่าตัดเพื่อแก้ไขเปลือกตา