Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะมดลูกปลิ้น (Uterine inversion) - Coggle Diagram
ภาวะมดลูกปลิ้น
(Uterine inversion)
ความหมาย
ภาวะที่ผนังมดลูกด้านเยื่อบุมดลูกปลิ้นกลับเป็นด้านนอกเกิดภายหลังจากทารกคลอด อาจเกิดขึ้นในระยะที่ 3 ของการคลอดหรือทันทีหลังจากรกคลอด แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1.มดลูกปลิ้นบางส่วน (Incomplete inversion) มดลูกปลิ้นกลับเป็นด้านนอก แต่ยังไม่พ้นปากมดลูก
2.มดลูกปลิ้นทั้งหมด (Complete inversion) มดลูกปลิ้นกลับเป็นด้านนอกและโผล่พ้นปากมดลูก แต่ยังไม่ถึงปากช่องคลอด
3.มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ และเคลื่อนต่ำลงมานอกปากช่องคลอด (Prolapse of complete inverted uterus)
พยาธิสภาพ
เมื่อเกิดการปลิ้นของมดลูกภายหลังทารกคลอดหรือหลังรกคลอด ปากมดลูกและมดลูกส่วนล่างเกิดการหดรัดตัวเป็นวงแหวนล้อมรอบส่วนของปากมดลูกที่หย่อนตัวลงมา ทำให้บริเวณที่ถูกรัดขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดการบวมและมีเนื้อตาย ในที่สุดเนื้อตายนั้นจะหลุดออกมา
สาเหตุ
1.ทำคลอดรกผิดวิธี โดยดึงสายสะดืออย่างแรง ในรายที่รกเกาะบริเวณก้นมดลูก รกยังไม่ลอกตัวและมดลูกหย่อนตัว หรือในรายรกติด
2.อาจเกิดขึ้นเอง เนื่องจากผนังมดลูกหย่อนตัวมากเมื่อมีความดันในช่องท้อง เช่น ไอ จาม ทำให้ผนังมดลูกปลิ้นออกมาได้ง่าย พบได้ในรายที่เคยคลอดมาหลายครั้งหรือในการคลอดเฉียบพลัน
การวินิจฉัย
พบเลือดออกมากทางช่องคลอดภายหลังเด็กคลอด
ปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง
ช็อคเนื่องจากรังไข่ ปีกมดลูกถูกดึงรั้ง ถูกกด และจากการเสียเลือด พบชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ซีด
คลำหน้าท้องจะไม่พบยอดมดลูก
คลำพบผนังมดลูกด้านเยื่อบุมดลูกด้านในโผล่พ้นปากมดลูกออกมาอยู่ในช่องคลอด หรือพ้นปากช่องคลอดออกมา
ภาวะแทรกซ้อน
ผลกระทบต่อทารก
ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดาล่าช้า
การสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกล่าช้า
ผลกระทบต่อมารดา
เลือดออกอย่างรุนแรง
เจ็บปวดมาก
ช็อคจากการเสียเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
การรักษา
การป้องกัน เช่น ทำคลอดรกอย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงการทำคลอดรกโดยวิธีดึงสายสะดือ เมื่อมดลูกหย่อนตัวและรกลอกตัวไม่หมด
ให้ยาระงับปวด และแก้ไขภาวะช็อคโดยให้เลือดทดแทน
ดันมดลูกที่ปลิ้นกลับเข้าที่ ในรายที่ไม่สามารถดันมดลูกกลับได้ จะต้องผ่าตัดเพื่อดึงก้นมดลูกกลับที่เดิม
ระวังการตกเลือดหลังคลอดและการปลิ้นซ้ำ
ให้ยาป้องกันการติดเชื้อ และยาพวกเหล็กรักษาภาวะโลหิตจาง
ในรายที่เลือดออกมาก ควบคุมไม่ได้ จำเป็นต้องตัดมดลูดทิ้ง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดามีโอกาสเกิดมดลูกปลิ้น เนื่องจากทำคลอดรกไม่ถูกวิธี และ/หรือการฝังตัวของรกแน่นกว่าปกติ
1.ตรวจสอบอาการแสดงการลอกตัวของรกอย่างสมบูรณ์
2.คลึงมดลูกให้แข็งก่อนปฏิบัติการช่วยคลอดรก และเมื่อคลอดรกออกมาแต่เยื่อหุ้มรกยังค้างอยู่ ผู้ทำคลอดควรคลำยอดมดลูกว่าหดรัดตัวแข็ง ก่อนที่จะดึงรกเพื่อรั้งให้เยื่อหุ้มรกส่วนที่เหลือออกมาหมด
3.หลังคลอดรกคลึงให้มดลูกหดรัดตัวแข็งเสมอ
4.ประเมินลักษณะมดลูก โดยคลำยอดมดลูกบริเวณหน้าท้อง
มารดามีโอกาสตกเลือดหรือช็อค เนื่องจากมีภาวะมดลูกปลิ้น
1.ให้สารน้ำหรือเลือดทดแทนที่สูญเสียไป เพื่อป้องกันภาวะช็อค
2.บันทึกสัญญาณชีพทุก 15 นาที เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลง
3.ตรวจดูปริมาณเลือดที่ออกมาทางช่องคลอด เพื่อประเมินปริมาณการสูญเสียเลือด
4.รายงานแพทย์ เพื่อดันมดลูกกลับหรือผ่าตัดมดลูก
5.สังเกตอาการของภาวะช็อค เช่น หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก
ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
6.บันทึกปริมาณปัสสาวะที่ออกมา เพื่อประเมินการทำงานของไต
มารดาปวดมดลูกมาก เนื่องจากมดลูกปลิ้น
1.สังเกตอาการของภาวะช็อค เช่น หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก
ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตลดลง
2.ซักถามเกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บปวดของมารดา เพื่อประเมินระดับความเจ็บปวด
3.ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
1.ป้องกันมดลูกปลิ้น โดยการทำคลอดรกให้ถูกวิธี ห้ามดึงสายสะดือ หลังทำคลอดรกคลึงให้มดลูกหดรัดตัวแข็งเสมอ
2.ประเมินสภาพมดลูกโดยการตรวจทางหน้าท้อง และตรวจภายในหลังรกคลอด
3.ให้การช่วยเหลือมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนโดยเร็ว เช่น ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เตรียมให้เลือด บรรเทาอาการปวด
4.ดูแลมดลูกที่ปลิ้นออกมานอกปากช่องคลอดให้ชุ่มชื้นไม่แห้ง โดยใช้ผ้าชุบน้ำเกลือคลุมและกดผนังมดลูกที่ปลิ้นไม่ให้เลือดไหลออกมามากในขณะรอแพทย์มาดันมดลูกกลับ
5.รายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป
6.ดูแลมารดาอย่างใกล้ชิด ประเมินสัญญาณชีพ และระดับความรู้สึกตัว