Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์
เคสกรณีศึกษาที่1
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ มีอาการแน่นอึดอัดท้อง หายใจลำบาก ร่วมกับมีอาการเจ็บครรภ์ เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 2 วัน
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
หญิงตั้งครรภ์ G2-P0-0-1-0 อายุ 33 ปี อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ อาชีพรับจ้าง
ครรภ์แรกขณะอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ มีเลือดออกจากช่องคลอด ปวดท้องน้อยมาก แพทย์คลำหน้าท้องไม่พบยอดมดลูก ตรวจภายในพบว่าปากมดลูกเปิด จึง ultrasound พบ มีเศษชิ้นเนื้อ เศษรกเกาะอยู่ที่โพรงมดลูก แพทย์จึงทำการรักษาโดยการขูดมดลูก นอนโรงพยาบาล 2 วัน จึงได้จำหน่ายกลับบ้าน
ครรภ์ที่ 2 นี้ให้ประวัติฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ 8 สัปดาห์ วันนี้มาโรงพยาบาล โดยให้ประวัติว่ามีอาการเจ็บครรภ์ ท้องแข็ง แน่นอึดอัดท้อง หายใจไม่สะดวก เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 2 วัน จึงรับไว้ในโรงพยาบาล
แรกรับ พบหน้าท้องมีลักษณะตึง ใส มี striae gravidarum ทั่วท้อง เห็นเส้นเลือดดำชัดเจน พบระดับยอดมดลูก 4/4 > 🞊 ระดับยอดมดลูก 35 cm. ขนาดของมดลูกไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ คลำส่วนของทารกไม่ชัดเจน พบ fluid thrill วัดสัญญาณชีพ อุณหภูมิ 36.8 องศาเซลเซียส ชีพจร 92 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 22 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 130/80 mmHg.
แพทย์ทำ Ultrasound ผลการตรวจพบทารกเพศชาย ท่า RScA คะเนน้ำหนัก 1,200 กรัม วัด AFI = 26 cm. หญิงตั้งครรภ์มีอาการเจ็บครรภ์ หน้าท้องแข็งตึง ตรวจภายในพบ Cervix dilatation 1 cm. Cervix effacement 80%, MI membrane intact), station -2 Interval 5' 40'' Duration 30'' Intensity ++ ผล EFM พบ negative CST แพทย์ให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
ภาวะผิดปกติ พร้อมข้อมูลสนับสนุน
มีประวัติการแท้งไม่ครบ
S : หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า “ครรภ์แรกอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ มีเลือดออกจากช่องคลอด ปวดท้องน้อยมากจึงไปพบแพทย์”
O : แพทย์คลำหน้าท้องไม่พบยอดมดลูกตรวจภายในพบว่าปากมดลูกเปิด จึง ultrasound พบ มีเศษชิ้นเนื้อ เศษรกเกาะอยู่ที่โพรงมดลูก แพทย์จึงทำการรักษาโดยการขูดมดลูก นอนโรงพยาบาล 2 วัน จึงได้จำหน่ายกลับบ้าน
มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
S: หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า “หญิงตั้งครรภ์มีอาการเจ็บครรภ์ หน้าท้องแข็งตึง”
O : อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ตรวจภายในพบ Cervix dilatation 1 cm. Cervix effacement 80%, MI, station -2 Interval 5' 40'' Duration 30'' Intensity ++ ผล EFM พบ negative CST
ภาวะครรภ์แฝดน้ำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สุขสบาย เนื่องจากแน่นอึดอัดท้อง
มีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ
ข้อมูลสนับสนุน
S; หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า “ก่อนมาโรงพยาบาล 2 วัน ท้องแข็ง แน่นอึดอัดท้อง หายใจไม่สะดวก ”
O: มี striae gravidarum ทั่วท้อง เห็นเส้นเลือดดำชัดเจน พบระดับยอดมดลูก 4/4 > ระดับยอดมดลูก 35 cm. ขนาดของมดลูกไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ คลำพบ Fluid Trill ท่าของทารกผิดปกติ หน้าท้องแข็งตึง วัด AFI = 26 cm. มากกว่าปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติด้านทารกหรือด้านมารดา สำหรับด้านทารกได้แก่ ทารกในครรภ์มีความพิการของระบบประสาทส่วนกลาง มีการอุดตันของระบบทางเดินอาหาร หรือทารกที่มีภาวะบวมน้ำ ส่วนด้านมารดา ได้แก่สตรีมีครรภ์เป็นโรคเบาหวาน ตั้งครรภ์แฝด
เคสกรณีศึกษาที่2
เคสกรณีศึกษาที่ 3
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
มีน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์คลอด เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 15 ชั่วโมง
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
มารดา G2-P0-0-1-0 อายุ 17 ปี อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ มีอาชีพเป็นเด็กเชียร์เบียร์ ไม่ระบุชื่อบิดาของบุตรในครรภ์ ให้ประวัติว่ามีน้ำเดินไหลออกจากช่องคลอดเรื่อยๆ เปียกชุดคลุมท้องเป็นวงกว้าง 10 เซนติเมตร ตั้งแต่เวลา 15.00 น. (10 สิงหาคม 2565) มีอาการเจ็บครรภ์คลอดเมื่อเวลา 06.30 น. (11 สิงหาคม 2565) รับใหม่เวลา 10.00 น.
แรกรับตรวจทางหน้าท้องพบระดับยอดมดลูก 2/4 > 🞊 เล็กกว่าปกติ , FHR 128 /min ทารกอยู่ในท่า LSA น้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 5 กิโลกรัม มารดามีประวัติเป็น mild pre-eclampsia มาตั้งแต่อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ คะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ประมาณ 2,500 กรัม ขณะรับใหม่บ่นกลัวบุตรในครรภ์ไม่แข็งแรง หรือมีความพิการเพราะตนเองชอบสูบบุหรี่เป็นประจำวันละ 5-6 มวนและดื่มสุราวันละ 100 มิลลิลิตร ใจจริงแล้วยังไม่อยากได้ลูก รู้สึกว่ายังไม่พร้อม ฝ่ายชายก็ไม่รับผิดชอบเลี้ยงดูส่งเสีย และยังไม่ได้บอกพ่อแม่ของตนเองด้วย
ขณะรอคลอดเมื่อมดลูกหดรัดตัวจะบิดตัวไปมา แต่ไม่ร้อง ค่อนข้างเก็บตัว ไม่พูดคุยกับใคร ซึมเศร้า ท้องไม่พร้อม จนปากมดลูกเปิดหมดเวลา 13.45 น. ทารกคลอดเวลา 14.45 น. เพศชาย น้ำหนัก 2,050 กรัม วัดสัดส่วนพบเส้นรอบศีรษะมากกว่าเส้นรอบท้อง ผิวหนังเหี่ยวย่น รกคลอดเวลา 15.00 น. Complete รกมีลักษณะ placenta circumvallate คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด น้ำหนัก 300 กรัม หลังคลอดวัดสัญญาณชีพมารดาหลังคลอด อุณหภูมิ 37.3 องศาเซลเซียส ชีพจร 84 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 22 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 110/80 mmHg.
ทารกแรกเกิด Apgar score 6 คะแนน เนื่องจากมี MAS (Meconium Aspiration Syndrome) หลังแก้ไข นาทีที่ 5,10 Apgar score 8, 9 คะแนน
ภาวะผิดปกติที่พบ พร้อมข้อมูลสนับสนุน
ภาวะถุงน้ำคร้ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
เคสกรณีศึกษาที่4
เคสกรณีศึกษาที่ 5
เคสกรณีศึกษาที่6