Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มี ภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มี ภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์
เคสกรณีศึกษาที่ 1
ภาวะผิดปกติ
ภาวะครรภ์แฝดน้ำ
สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติด้านทารกหรือด้านมารดา สำหรับด้านทารกได้แก่ ทารกในครรภ์มีความพิการของระบบประสาทส่วนกลาง มีการอุดตันของระบบทางเดินอาหาร หรือทารกที่มีภาวะบวมน้ำ ส่วนด้านมารดา ได้แก่สตรีมีครรภ์เป็นโรคเบาหวาน ตั้งครรภ์แฝด
แนวทางการดูแล
ภาวะจิตสังคม
การซักประวัติและการตรวจร่างกายเพือประเมินภาวะแทรกซ้อนของครรภ์แฝดน้ำ
ระบบขับถ่าย
ระบบไหลเวียนเลือด
ระบบหายใจ
ระบบประสาท
ภาวะโภชนาการ
ระบบอวัยวะสืบพันธ์
การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจครรภ์
จากกรณีศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า ก่อนมาโรงพยาบาล 2 วัน ท้องแข็ง แน่นอึดอัดท้อง หายใจไม่สะดวก ตรวจพบมี striae gravidarum ทั่วท้อง เห็นเส้นเลือดดำชัดเจน พบระดับยอดมดลูก 4/4 > ระดับยอดมดลูก 35 cm. ขนาดของมดลูกไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ คลำพบ Fluid Trill
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ เพื่อค้นหาสาเหตุ และความรุนแรงของอาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกาย
การตรวจพิเศษ โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ulrasound)
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของมารดา
ในขณะตั้งครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด สายสะดือพลัดต่ำ
ในระยะคลอด ทำให้มดถูกหดรัดตัวไม่ดี มีผลให้เกิดการคลอดล่าช้า
ในระยะหลังคลอด เนื่องจากมดลูกถูกยืดขยายมาก มีผลให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี และเกิดการตกเลือดในระยะหลังคลอดตามมา
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของทารก
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนด
และเสี่ยงต่อความพิการ เมื่อถุงน้ำคร่ำแตกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสายสะดือย้อย
มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
สาเหตุเกิดจาก ฮอร์โมน hCG ฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนและเอสโตรเจน เมื่อฮอร์โมนดังกล่าวลดลงจึงทำให้เกิดการหลุดลอกของ decidua มีเลือดออกทางช่องคลอดและปวดท้องน้อย และมดลูกหดรัดตัวเพื่อขับตัวอ่อนหรือทารกและรกออกมาจากโพรงมดลูก หากตัวอ่อนหรือทารกตายค้างอยู่ในโพรงมดลูกนานเกิน 6 สัปดาห์ อาจทำให่เกิดการแข็งตัวของเลือดผิดปกติจากภาวะ Hypofibrinogenemia ทำให้มีเลือดออกทั่วร่างกายและเลือดหยุดยาก โดยหญิงตั้งครรภ์รายนี้เป็นการแท้งไม่ครบ คือ มีการตรวจภายในพบปากมดลูกเปิด อาจเห็นชิ้นเนื้อทารกหรือรกบางส่วนคาอยู่ในช่องคลอดหรือปากมดลูก และขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์ โดยทั่วไปถ้าการเเท้งเกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ ส่วนของทารกและรกจะหลุดออกมาทั้งหมด เเต่ถ้าเกิดขึ้นหลังอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ มักจะยังมีรกหรือส่วนของรกค้างอยู่
แนวทางการดูแล
ให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่หญิงตั้งครรภ์
ประเมินสภาพของหญิงตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาตรวจครรภ์
การพยาบาลเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
จากกรณีศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า “หญิงตั้งครรภ์มีอาการเจ็บครรภ์ หน้าท้องแข็งตึง”
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย พบมดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้งใน 60 นาที ร่วมกับปากมดลูกเปิดตั้งแต่ 1 เซนติเมตร
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจช่วยในการวินิจฉัย หรือใช้ในการทำนายล่วงหน้า
1.การซักประวัติ พบลักษณะเหมือนการเจ็บครรภ์จริง ซึ่งต้องแยกจากการเจ็บและ Braxton Hick contraction
ผลกระทบ
ผลต่อมารดา
. เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการนอนบนเตียงและถูกจำกัดกิจกรรมเป็นเวลานาน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
เกิดภาวะเครียดและความวิตกกังวลเกี่ยงกับสุขภาพของทารกและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
ผลต่อทารก
ทารกเกิดก่อนกำหนด มักมีอาการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายไปให้สิ่งแวดล้อมโดยรอบอย่างรวดเร็ว ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ
ทารกเกิดก่อนกำหนด อาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ทารกเกิดก่อนกำหนด มีโอกาสเสี่ยงจากภาวะสมองขาดออกซิเจนและเลือดออกในโพรงสมอง
มีประวัติการเเท้งไม่ครบ
สาเหตุเกิดจากการเจ็บครรภ์มีหลายสาเหตุทั้งมาจากมารดาและทารกในครรภ์ การอักเสบ การมีเลือดออก และการยืดขยายของมดลูกอย่างมาก เช่นที่พบในครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ รวมทั้งการพบปากมดลูกหดสั้นลง (cervical shortening) การคลอดทารกมีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือ 259 วัน โดยเริ่มนับจากวันแรกของวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย โดยทารกที่คลอดในช่วงระหว่างอายุครรภ์ตั้งแต่ 22 สัปดาห์ขึ้นไป ถึงก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ เรียกว่า “การคลอดกาินกำหนด หรือภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด” ทารกมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เรียกว่า “ทารกน้ำหนักน้อย” ถ้ามีน้ำหนักเฉลี่ยน้อยกว่า 1,500 กรัม เรียกว่า “ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยมาก” และทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ซึ่งมักเสียชีวิต เรียกว่า “การแท้ง” ปัจจัยเสี่ยง อายุ น้ำหนัก ประวัติทางสูตินรีเวชกรรม เป็นต้น
จากกรณีศึกษา: หญิงตั้งครรภ์รายนี้มีประวัติการแท้งในครรภ์แรกขณะอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ มีเลือดออกจากช่องคลอด ปวดท้องน้อยมากจึงไปพบแพทย์ แพทย์คลำหน้าท้องไม่พบยอดมดลูกตรวจภายในพบว่าปากมดลูกเปิด จึง ultrasound พบ มีเศษชิ้นเนื้อ เศษรกเกาะอยู่ที่โพรงมดลูก แพทย์จึงทำการรักษาโดยการขูดมดลูก ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากหญิงตั้งครรภ์มีความผิดปกติของระบบร่างกาย เช่น โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของภาวะครรภ์แฝดน้ำได้เช่นเดียวกัน
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ หญิงตั้งครรภ์ให้ประวัติว่ามีเลือดออกจากทางช่องคลอด ร่วมกับมีอาการปวดท้องน้อยมาก
การตรวจร่างกาย แพทย์คลำหน้าท้องไม่พบยอดมดลูกตรวจภายในพบว่าปากมดลูกเปิดจากการ ultrasound พบว่ามีเศษชิ้นเนื้อ เศษรกเกาะอยู่ที่โพรงมดลูก
แนวทางการดูแล
เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการขูดมดลูก
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ความผิดปกติเกี่ยวกับส่วนนำของทารก ทารกมีก้นเป็นส่วนนำ (breech presentation)
สาเหตุและปัจจัยเสริม
ด้านทารก ได้แก่ ทารกมีรูปร่างผิดปกติหรือมีความผิดปกติของระบบประสาท ทารกหัวบาตร ทารกเติบโตช้าในครรภ์ หรือทารกตายในครรภ์
ด้านผู้คลอด ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด มีประวัติคลอดท่าก้นมาก่อน มดลูกหย่อนโดยเฉพาะในครรภ์ที่มารดาผ่านการคลอดบุตรมาหลายครั้ง ภาวะรกเกาะต่ำหรือรกเกาะบริเวณ cornu ของมดลูก ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ภาวะน้ำคร่ำน้อย มดลูกมีลักษณะผิดปกติหรือมีเนื้องอก กระดูกเชิงกรานแคบ
ผลกระทบ
ผลต่อมารดา
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ และถ้าแตกเป็นเวลานานจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การคลอดยากหรือการตลอดยาวนานทำให้ผู้คลอดมีอาการอ่อนเพลียหรือมีภาวะขาดน้ำ
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวนัอยจากการคลอดก่อนกำหนดได้รับอันตรายจากการช่วยคลอด เช่น กระดูกหัก
กรณีศึกษาที่ 3
ภาวะผิดปกติ
ภาวะถุงน้ำคร้ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
หมายถึง ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกเองก่อนมีการเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นขณะอายุครรภ์ครบ กำหนดตั้งแต่ 37 สัปดาห์ (Term PROM) หรือ ก่อนอายุครรภ์ครบก้าหนด 37 สัปดาห์ (Preterm PROM) โดยภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดพบในช่วงอายุครรภ์ครบก้าหนด ประมาณ 10% และก่อนอายุครรภ์ครบกำหนดประมาณ 3% ของการคลอดบุตรทั้งหมด
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ประวัติเคยเกิดภาวะ PPROM มีความเสี่ยงสูงถึง 3 เท่าที่จะเกิดซ้ำอีก
การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis) หรือการติดเชื้อในโพรงมดลูก เป็นสาเหตุส้าคัญของ PPROM อาจเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส รวมทั้งการ ติดเชื้อซ่อนเร้น (occult) ในน้้าคร่ำด้วย
การติดเชื้อในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่าง การติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น Chlamydia trachomatis เป็นต้น
การติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มดลูกมีการหดรัดตัวเพิ่มขึ้น
การตั้งครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้้า ทำให้มดลูกถูกยืดขยายมาก ความดันภายในโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น
ความผิดปกติของปากมดลูก เช่น ปากมดลูกปิดไม่สนิท คอมดลูกสั้น ประวัติเคยท้า cervical conization เป็นต้น รวมทั้งความผิดปกติของมดลูกแต่กำเนิด
การทำหัตถการบางอย่าง เช่น การเจาะถุงน้ำคร่ำ การเย็บผูกปากมดลูก การเจาะตรวจเนื้อรก เป็นต้น
ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa) รกลอกตัวก่อนกำหนด (abruption placentae)
ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง ทำให้ส่วนนำปิดส่วนล่างของเชิงกรานไม่สนิทดี แรงดันที่โพรงมดลูกจะดันมาที่ถุงน้ำคร่ำโดยตรง ท้าให้ถุง น้ำคร่ำแตกได้ง่าย
สามารถประเมินและการวินิจฉัยได้ ดังนี้
การซักประวัติ ซักถามเกี่ยวกับ
1.1 ลักษณะ สี กลิ่น และปริมาณของน้ำคร่ำที่ไหลออกมา
1.2 วันและเวลาที่ถุงน้ำคร่ำแตก
1.3 อายุครรภ์
การตรวจร่างกาย
2.1 Sterile speculum examination
2.2 Coughing หรือ valsalva
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
3.1 Fern test
3.2 Nirazine paper test
3.3 Nile blue test
แนวทางการรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
การตั้งครรภ์ครบกำหนด คือ ชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์เลย oxytocin ถ้าปากมดลูกไม่พร้อม อาจให้ยาพรอสตาแกลน
การตั้งครรภ์ไม่ครบกำหนด คือ พิจารณาชะลอเวลาเพื่อให้สเตรียรอยด์เร่งปอดทารก แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อ
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
หมายถึง การเจ็บครรภ์คลอดที่เกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์ หรือ 259 วัน นับจากวันแรกของ ประจ้าเดือนครั้งสุดท้าย โดยมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่้าเสมออย่างน้อย 4 ครั้ง ใน 20 นาที หรือ 8 ครั้ง ใน 60 นาที ร่วมกับปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจน โดยปากมดลูกเปิดอย่างน้อย 2 เซนติเมตร หรือปากมดลูกบางตัวตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป สาเหตุ ส่วนมากไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด และมีโอกาสเกิดซ้้าในครรภ์ถัดไป
สาเหตุ
สาเหตุทางมารดา ได้แก่
มีประวัติคลอดก่อนก้าหนด
มีประวัติการแท้ง มีอายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
มีน้้าหนักก่อนการตั้งครรภ์น้อยกว่า 50 กิโลกรัม และส่วนสูงน้อย - มีการใช้สารเสพติด
การได้รับการกระทบกระเทือนทางหน้าท้อง หรือการผ่าตัดทางหน้าท้อง เช่น การผ่าตัดไส้ติ่ง
มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต
มีการติดเชื้อต่างๆ เช่น ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ปอดบวม
มีการยืดขยายของมดลูกมาก เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้้า
มีความผิดปกติของมดลูก เช่น มีประวัติการผ่าตัดที่มดลูก ปากมดลูกไม่แข็งแรง
สาเหตุด้านทารก
ทารกมีท่าผิดปกติ
มีการติดเชื้อของทารก
มีความผิดปกติของทารกแต่ก้าเนิด
มีการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้ากว่าปกติ
ทารกเสียชีวิต
สาเหตุด้านรกและถุงน้ำคร่ำที่พบร่วมกับการคลอดก่อนกำหนด
รกเกาะต่ำ
รกลอกตัวก่อนก้าหนด
การติดเชื้อที่ผ่านรก เช่น หัดเยอรมัน ซิฟิลิส และโรคติดเชื้อจากโพรโทซัว
ถุงน้้าคร่้าอักเสบ
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดประเมินได้จาก
การซักประวัติ พบลักษณะเหมือนการเจ็บครรภ์จริง ซึ่งต้องแยกจากการเจ็บครรภ์เตือนและ Braxton Hick contraction
การตรวจร่างกาย พบมดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้ง ใน 60 นาที ร่วมกับปากมดลูกเปิดตั้งแต่ 1 เซนติเมตร หรือปากมดลูกบางตัวตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจช่วยในการวินิจฉัย หรือใช้ในการทำนายล่วงหน้า
ผลกระทบต่อแม่และลูก
มารดา
ท้องผูก กล้ามเนื้ออ่อนแรง น้ำหนักลด วิตกกังวล ซึมเศร้า
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
ทารก
ภาวะแทรกซ้อนในระยะแรก RDS, IVH, NEC, hyperbilirubinemia, Infection
ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลัง เช่น Bronchopulmonary dysplasia, Cerebral palsy, cerebral atrophy
เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงถึง 15 เท่า เมื่อเทียบกับทารกครบกำหนด
แนวทางการรักษา
การซักประวัติอาการและอาการแสดง
ประเมินเพื่อค้นหาปัจจัยส่งเสริมที่เป็นสาเหตุของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ภาวะโภชนาการ
ภาวะจิตสังคมของหญิตั้งครรภ์ต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Fetal Growth Restriction or Intrauterine growth restriction)
เป็นภาวะที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ากว่าที่ ควรจะเป็น โดยทารกจะมีขนาดตัวที่เล็ก และมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 10 เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่อยู่ในช่วงอายุครรภ์เดียวกัน ท้าให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหา สุขภาพต่าง ๆ ระหว่างอยู่ในครรภ์จนถึงหลังคลอด ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของรก เด็กได้รับออกซิเจนหรือสารอาหารไม่เพียงพอ และ ความผิดปกติของโครโมโซมในตัวทารก ภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบ่งออกได้ 2 กลุ่ม
Symmetrical FGR หมายถึง ทารกเจริญเติบโตช้าแบบได้สัดส่วน พบได้ประมาณร้อยละ 20 ทารกจะเจริญเติบโตช้าตั้งแต่ครรภ์อ่อนๆ จำนวนเซลล์ลดลงในทุก ส่วนของร่างกาย อวัยวะต่างๆ เล็กลงได้สัดส่วนกันทุกอวัยวะ เมื่อตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง จะพบความกว้างของศีรษะ เส้นรอบวงศีรษะ เส้นรอบท้อง ความยาว กระดูกต้นขา มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำในอายุครรภ์นั้นๆ
1.1 สภาพแวดล้อม เช่น สตรีมีครรภ์ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่สูง ท้าให้ทารกในครรภ์มีภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง
1.2 ภาวะทุพโภชนาการ หรือสตรีมีครรภ์มีน้้าหนักก่อนคลอดน้อยกว่า 45 กิโลกรัม หรือน้้าหนักไม่เพิ่มขณะตั้งครรภ์
1.3 การได้รับรังสีโดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเซลล์จะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว รังสีสามารถท้าลายเซลล์โดยตรง
Asmmertrical FGR คือ ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าแบบไม่ได้สัดส่วน พบได้ประมาณร้อยละ 80 ทารกจะเจริญเติบโตช้าในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ซึ่ง มีผลต่อขนาดเซลล์ขนาดของเซลล์มากกว่าจ้านวนเซลล์ พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของส่วนท้องจะช้ากว่าส่วนศีรษะ
สาเหตุของ Asymmetrical FGR ได้แก่
2.1 สตรีมีครรภ์เป็นโรคหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน โรคของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ มีการ เปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด เป็นต้น โรคดังกล่าวจะมีขนาดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกเล็กลง ท้าให้ปริมาณการไหลเวียนเลือดไปยังทารกลดลง
2.2 สตรีมีครรภ์เป็นโรคที่เกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงในการจับออกซิเจน เช่น โรคโลหิตจาง โรคหัวใจที่มีภาวะเขียว เป็นต้น
2.3 สตรีมีครรภ์เป็นโรคไตเรื้อรัง มีการสูญเสียโปรตีนออกทางปัสสาวะ
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ เพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมของการเกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
การตรวจร่างกาย
2.1 การตรวจครรภ์
2 2 การชั่งน้ำหนักของสตรีมีครรภ์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4.1 การวัด AC ได้คำน้อยกว่า -2SD ของค่า AC ที่อายุครรภ์นั้นๆ
4.2 การวัดสัดส่วนระหว่างเส้นรอบศีรษะและเส้นรอบท้อง (HC/AC ratio) ได้ค่าน้อยกว่า 1 แต่ในกรณีที่ทารกมีภาวะ asymmetrical FGR จะพบว่าค่า HC/AC ratio มากกว่า +2SD ที่อายุครรภ์นั้นๆ
4.3 การวัดสัดส่วนระหว่างความยาวของกระดูกต้นขาและเส้นรอบท้อง (FL/AC ratio) ได้ค่ามากกว่า 24 % แสดงว่ามีภาวะ asymmetrical FGR
4 การตรวจดูระดับการเสื่อมของรก (placental grading)
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น (teenage or adolescent pregnancy)
หมายถึง การตั้งครรภ์ในสตรีที่อายุต่้ากว่า 20 ปี สามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ วัยรุ่นตอนต้น อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ14ปี วัยรุ่นตอนกลาง อายุ 15-17 ปี และวัยรุ่นตอนปลาย อายุ 18-19 ปี (Davison, London, Lade wig, 2012) ซึ่งการตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่น ตอนต้น และตอนกลาง จะส่งผลกระทบต่อสตรีมีครรภ์และทารกมากกว่าช่วงวัยรุ่นตอนปลาย อุบัติการณ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยทุกๆ ปีจะมีการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นมากกว่า 1 ล้านคน สาเหตุ การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น
มีสาเหตุและปัจจัยส่งเสริม ดังนี้
สภาพครอบครัว
1.1 สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี พ่อแม่ทะเลาะกันเป็นประจ้าท้าให้บรรยากาศในบ้านไม่น่าอยู่ท้าให้วัยรุ่นรู้สึกไม่ดี ไม่อยากอยู่บ้าน ส่งผลท้าให้วัยรุ่นออกจาก บ้านมาหาเพื่อนหรือแฟน
1.2 ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่แยกทางกัน ลูกต้องอยู่กับพ่อหรือแม่ หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช้พ่อแม่ส่งผลท้าให้วัยรุ่นรู้สึกว้าเหว่ขาดความรักและความอบอุ่น ท้าให้ แสวงหาความรักในทางที่ไม่เหมาะสม
1.3 ภาระหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องท้างานจนไม่มีเวลาพูดคุยกับลูก ก่อให้เกิดความห่างเหินระหว่างวัยรุ่นกับพ่อแม่มากขึ้น
อัตราวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วในปัจจุบันมีมากขึ้น เนื่องมาจากปัจจัยต่อไปนี้
2.1 การเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมต่างๆ ท้าให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ ในอัตราที่มากขึ้น
2.2 ระดับการศึกษาหรือสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำ ทำให้ขาดความรู้เกี่ยวกับการแผนครอบครัวและการป้องกันการตั้งครรภ์ ตลอดจนขาดโอกาสในกร เข้าถึงบริการ
2.3 การดื่มสุราหรือการใช้สารเสพติดต่างๆ ท้าให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจและเกิดการตั้งครรภ์ตามมา
การขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์หรือความล้มเหลวในการคุมก้าเนิดด้วยวิธีต่างๆ
สาเหตุ
ปัจจัยทางครอบครัว เช่น ถูกสามีทอดทิ้ง สามีมีภรรยาอยู่แล้ว สามีเสียชีวิต เป็นต้น
2.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย การตั้งครรภ์ เป็นอุปสรรคต่อการท้างาน เป็นต้น
ปัจจัยทางสังคม เช่น การตั้งครรภ์นอกสมรส ถูกชมขืนหรือถูกล่อลวงทางเพศ การตั้งครรภ์เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การขายบริการทางเพศ เป็นต้น
ประเมินและตรวจร่างกาย
2.ประเมินด้านจิตสังคม
1.ซักประวัติและตรวจร่างกายทุกระบบ
แนวทางการรักษา
ส่งตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ประเมินอายุครรภ์
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาวะโถชนาการที่เหมาะสม
ดูแลสภาพจิตใจ
การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (unwanted pregnancy)
ซักประวัติและประเมินทางด้านจิตสังคม
สตรีบางคนตัดสินใจฆ่าตัวตายเนื่องจากคิดว่าการตั้งครรภ์เป็นตราบาปและไม่สามารถหา ทางออกให้กับชีวิตได้
สตรีบางคนปล่อยให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนคลอด เมื่อคลอดบุตรแล้วยังหาทางออก ให้กับปัญหาไม่ได้จึงตัดสินใจฆ่าบุตร
มีการทำแท้ง ซึ่งอาจเป็นการทำแท้งที่ถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย
การใช้สารเสพติดในสตรีมีครรภ์ ( drug addicted pregnancy)
สามารถประเมินและวินิจฉัยได้จาก
การซักประวัติและการสังเกต
การตรวจร่างกาย พบร่องรอยของการใช้สารเสพติด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบสารเสพติดในปัสสาวะ
บุหรี่ มีการขัดขวางการพัฒนาการของเซลล์ประสาทของทารก มีการหดรัดตัวของหลอดลือดดำมดลูก ทารกจึงได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ
แอลกอฮอล์ มีการเจริณเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย
Amphetamine น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจ